คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
เท่าที่ทราบพระพุทธองค์จริงโกนศีรษะหมด เเต่ที่เห็นน่าจะเป็นการจินตนการสร้างของผู้สร้าง เเต่เเฝงปรัชญาไว้ด้วย ที่ทำเพื่อไม่ให้ดูกลมเรียบอย่างเดียว เพราะจริงจริงพระพุทธเจ้าทรงมีเเสงออร่า หรือเเสงที่คนธรรมดาอาจมองเห็นหรือไม่เห็นก็ได้เป็นรัศมีอยู่รอบกาย คนเราทุกคนมีเเสงรอบตัว เเต่พลังมากน้อยเเตกต่างกันไป คนที่เห็นเเสงดังกล่าว จะสามารถทราบถึงอุปนิสัย จิตใจ ความคิด พื้นเพ ฯลฯ ของเจ้าของร่างนั้นด้วย คนเราเมื่อตาย เเสงนี้จะดับไป
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
หลักฐานอ้างอิงเรื่องพระเกศาของพระพุทธเจ้า มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาครับ
อรรถกถามธุรัตถวิลาสินี อธิบายความพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พุทธวงศ์
"พระโพธิสัตว์ตรัสว่า เจ้ายังบวชไม่ได้ เจ้าต้องกลับไป ทรงห้าม ๓ ครั้งแล้วทรงมอบอาภรณ์และม้ากัณฐกะแล้วทรงดำริว่า ผมของเราอย่างนี้ไม่เหมาะแก่สมณะ จำจักตัดผมเหล่านั้นด้วยพระขรรค์ ทรงจับพระขรรค์อันคมกริบด้วยพระหัตถ์ขวา รวบพระจุฬาพร้อมด้วยพระเมาลีด้วยพระหัตถ์ซ้ายแล้วตัด เหลือพระเกศาสององคุลีเวียนขวาติดพระเศียร พระเกสาเหล่านั้นก็มีประมาณเท่านั้น จนตลอดพระชนมชีพ ส่วนพระมัสสุก็เหมาะแก่ประมาณพระเกสานั้น แต่พระองค์ไม่มีกิจที่จะต้องปลงพระเกศาและพระมัสสุอีกเลย
พระโพธิสัตว์ทรงรวบพระจุฬาพร้อมด้วยพระเมาลี อธิษฐานว่า ถ้าเราจักเป็นพระพุทธเจ้าไซร้ ผมนี้จงตั้งอยู่ในอากาศ ถ้าไม่เป็นไซร้ ก็จงหล่นลงเหนือพื้นดิน แล้วเหวี่ยงไปในอากาศ กำพระจุฬามณีนั้น ไประยะประมาณโยชน์หนึ่งแล้วก็ตั้งอยู่ในอากาศ.
ลำดับนั้น ท้าวสักกะเทวราชทรงตรวจดูด้วยจักษุทิพย์ ทรงเอาผอบรัตนะขนาดโยชน์หนึ่งรับกำพระจุฬามณีนั้น แล้วทรงสถาปนาเป็นพระจุฬามณีเจดีย์สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ ขนาด ๓ โยชน์ไว้ในภพดาวดึงส์. "
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความในคัมภีร์ลลิตวิสตระ คัมภีร์พุทธประวัติมหายาน ตอนนี้กล่าวไว้ว่า
"พระโพธิสัตว์ทรงพระดำริอีกว่า เมาลี และการบรรพชาจะทำอย่างไร พระองค์ตัดพระเมาลีด้วยมีด แล้วโยนขึ้นไปในอากาศ พระเมาลีนั้นเทวดาชั้นดาวดึงส์ได้มารับเอาไปเพื่อบูชา จึงมีการบูชาพระเมาลีในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จนกระทั่งทุกวันนี้ แม้ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ก็ได้ประดิษฐานเจดีย์ไว้ และเจดีย์นั้นเรียกว่า จุฬาประดิครหณะเจดีย์ คือ เจดีย์รับพระเมาลีแม้ทุกวันนี้"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สังเกตุได้ว่า คัมภีร์ฝ่ายมหายานซึ่งแต่งขึ้นก่อนประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องพระเกศาไว้ว่ายาว 2 นิ้วเวียนขวาติดกับพระเศียร เหมือนกับคัมภีร์มธุรัตถวิลาสินี ซึ่งพระพุทธโฆษาจารย์แต่งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 9 โดยอาจสรุปความตามมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 11
การสร้างพระพุทธรูป เป็นการสร้างจากการจินตนาการความที่ปรากฏในคัมภีร์ สร้างขึ้นครั้งแรกประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 หลังจากชาวกรีกได้เข้าไปบุกรุกอินเดียได้ ในยุคของพระเจ้าเมนันเดอร์มหาราช (พระยามิลินท์) ในสมัยนั้น พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เจริญรุ่งเรือง มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้น ตามคติความเชื่อเดิมของชาวกรีก พระพุทธรูปในสมัยแรกนี้ เรียกว่า พระพุทธรูปสมัยคันธาระ มีต้นแบบมาจากรูปปั้นเทพเจ้ากรีก พระเกศายังไม่เป็นแบบปัจจุบัน แต่ก็มีลักษณะเกล้าพระเกศาต่างจากเทวรูปกรีก อาจจะเป็นประเพณีนิยมของชนชั้นสูงในสมัยนั้น
จากนั้นพระพุทธศาสนาก็เสื่อมลงในอินเดีย แต่กลับเจริญรุ่งเรืองในลังกาแทน พุทธศตวรรษที่ 9 พระพุทธโฆษาจารย์ได้แต่งคัมภีร์อธิบายข้างต้น เขียนอธิบายไว้ว่าหลังจากตัดพระโมลีแล้ว พระเกศายาวเพียงสองนิ้ว วนขวาติดกับพระเศียรแล้วไม่ยาวอีกเลย พระพุทธรูปสมัยหลังจากนี้ น่าจะมีอิทธิพลมาจากคัมภีร์นี้ มีปรากฎเป็นหลักฐานให้เห็นว่ามีพระพุทธรูปอีกทีในบันทึกของพระเหี้ยนจัง (พระถังซัมจั๋ง) ประมาณปี พ.ศ.1100 กว่า ๆ
พระพุทธรูปของไทย ตลอดจนภาพวาดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็ได้รับอิทธิพลต่อเนื่องสืบต่อกันมาครับ
อรรถกถามธุรัตถวิลาสินี อธิบายความพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พุทธวงศ์
"พระโพธิสัตว์ตรัสว่า เจ้ายังบวชไม่ได้ เจ้าต้องกลับไป ทรงห้าม ๓ ครั้งแล้วทรงมอบอาภรณ์และม้ากัณฐกะแล้วทรงดำริว่า ผมของเราอย่างนี้ไม่เหมาะแก่สมณะ จำจักตัดผมเหล่านั้นด้วยพระขรรค์ ทรงจับพระขรรค์อันคมกริบด้วยพระหัตถ์ขวา รวบพระจุฬาพร้อมด้วยพระเมาลีด้วยพระหัตถ์ซ้ายแล้วตัด เหลือพระเกศาสององคุลีเวียนขวาติดพระเศียร พระเกสาเหล่านั้นก็มีประมาณเท่านั้น จนตลอดพระชนมชีพ ส่วนพระมัสสุก็เหมาะแก่ประมาณพระเกสานั้น แต่พระองค์ไม่มีกิจที่จะต้องปลงพระเกศาและพระมัสสุอีกเลย
พระโพธิสัตว์ทรงรวบพระจุฬาพร้อมด้วยพระเมาลี อธิษฐานว่า ถ้าเราจักเป็นพระพุทธเจ้าไซร้ ผมนี้จงตั้งอยู่ในอากาศ ถ้าไม่เป็นไซร้ ก็จงหล่นลงเหนือพื้นดิน แล้วเหวี่ยงไปในอากาศ กำพระจุฬามณีนั้น ไประยะประมาณโยชน์หนึ่งแล้วก็ตั้งอยู่ในอากาศ.
ลำดับนั้น ท้าวสักกะเทวราชทรงตรวจดูด้วยจักษุทิพย์ ทรงเอาผอบรัตนะขนาดโยชน์หนึ่งรับกำพระจุฬามณีนั้น แล้วทรงสถาปนาเป็นพระจุฬามณีเจดีย์สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ ขนาด ๓ โยชน์ไว้ในภพดาวดึงส์. "
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความในคัมภีร์ลลิตวิสตระ คัมภีร์พุทธประวัติมหายาน ตอนนี้กล่าวไว้ว่า
"พระโพธิสัตว์ทรงพระดำริอีกว่า เมาลี และการบรรพชาจะทำอย่างไร พระองค์ตัดพระเมาลีด้วยมีด แล้วโยนขึ้นไปในอากาศ พระเมาลีนั้นเทวดาชั้นดาวดึงส์ได้มารับเอาไปเพื่อบูชา จึงมีการบูชาพระเมาลีในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จนกระทั่งทุกวันนี้ แม้ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ก็ได้ประดิษฐานเจดีย์ไว้ และเจดีย์นั้นเรียกว่า จุฬาประดิครหณะเจดีย์ คือ เจดีย์รับพระเมาลีแม้ทุกวันนี้"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สังเกตุได้ว่า คัมภีร์ฝ่ายมหายานซึ่งแต่งขึ้นก่อนประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องพระเกศาไว้ว่ายาว 2 นิ้วเวียนขวาติดกับพระเศียร เหมือนกับคัมภีร์มธุรัตถวิลาสินี ซึ่งพระพุทธโฆษาจารย์แต่งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 9 โดยอาจสรุปความตามมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 11
การสร้างพระพุทธรูป เป็นการสร้างจากการจินตนาการความที่ปรากฏในคัมภีร์ สร้างขึ้นครั้งแรกประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 หลังจากชาวกรีกได้เข้าไปบุกรุกอินเดียได้ ในยุคของพระเจ้าเมนันเดอร์มหาราช (พระยามิลินท์) ในสมัยนั้น พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เจริญรุ่งเรือง มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้น ตามคติความเชื่อเดิมของชาวกรีก พระพุทธรูปในสมัยแรกนี้ เรียกว่า พระพุทธรูปสมัยคันธาระ มีต้นแบบมาจากรูปปั้นเทพเจ้ากรีก พระเกศายังไม่เป็นแบบปัจจุบัน แต่ก็มีลักษณะเกล้าพระเกศาต่างจากเทวรูปกรีก อาจจะเป็นประเพณีนิยมของชนชั้นสูงในสมัยนั้น
จากนั้นพระพุทธศาสนาก็เสื่อมลงในอินเดีย แต่กลับเจริญรุ่งเรืองในลังกาแทน พุทธศตวรรษที่ 9 พระพุทธโฆษาจารย์ได้แต่งคัมภีร์อธิบายข้างต้น เขียนอธิบายไว้ว่าหลังจากตัดพระโมลีแล้ว พระเกศายาวเพียงสองนิ้ว วนขวาติดกับพระเศียรแล้วไม่ยาวอีกเลย พระพุทธรูปสมัยหลังจากนี้ น่าจะมีอิทธิพลมาจากคัมภีร์นี้ มีปรากฎเป็นหลักฐานให้เห็นว่ามีพระพุทธรูปอีกทีในบันทึกของพระเหี้ยนจัง (พระถังซัมจั๋ง) ประมาณปี พ.ศ.1100 กว่า ๆ
พระพุทธรูปของไทย ตลอดจนภาพวาดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็ได้รับอิทธิพลต่อเนื่องสืบต่อกันมาครับ
แสดงความคิดเห็น
ทำไม พระพุทธเจ้า ถึงเป็นทรงผมนี้ครับ อยากรู้มาก
ทั้งใน พระพุทธรูป ในภาพวาด หรือแม้กระทั่งในหนังที่กำลังฉายในช่อง Workpoint
ก็ต้องเป็นทรงนี้ ทำไมครับ มีที่มาไหม