พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง อดีตนายตำรวจใหญ่ที่คุ้นเคยกับห้องขังของประเทศไทยเป็นอย่างดี คงคาดไม่ถึงว่าจะมีโอกาสได้ “ทัศนศึกษา” ห้องขังของแดนอาทิตย์อุทัย หลังจากถูกควบคุมตัวในข้อหาพกพาอาวุธปืนในประเทศญี่ปุ่น
ตามกฎหมายของญี่ปุ่น ผู้ต้องหาจะถูกควบคุมตัวที่สถานีตำรวจได้ไม่เกิน 72 ชั่วโมง โดยหลังจากนั้นจะถูกส่งตัวไปยัง “สถานควบคุมตัว” เพื่อรอว่าอัยการจะสั่งฟ้องศาลหรือไม่โดยจะถูกควบคุมตัวได้ไม่เกิน 20 วัน
ในช่วงที่ถูกคุมขังนี้ทางตำรวจและอัยการจะทำการสอบปากคำ และทำเอกสารคำให้การ ในกรณีที่ความผิดทางอาญานั้นเป็นความผิดสถานเบา เจ้าหน้าที่จะใช้วิธี “ฟ้องแบบรวบรัด” คือ ดำเนินการการฟ้องไปพร้อมๆการทำสำนวนสอบสวน ซึ่งผู้ต้องหาจะถูกปล่อยตัวชั่วคราวได้ แต่ถ้าอัยการพิจารณาให้ดำเนินการฟ้องร้องอย่างเป็นทางการตามประมวลกฏหมาย ผู้ต้องหาจะต้องถูกคุมขังต่อไปจนกระทั่งถึงวันขึ้นศาล ซึ่งอาจใช้เวลานาน 2-3 เดือน
ถึงแม้จะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าพล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง จะถูกฟ้องร้องต่อศาลหรือไม่? แต่แน่นอนว่าขณะนี้อดีตนายตำรวจใหญ่ของไทย กำลังใช้ชีวิตอยู่ภายในสถานควบคุมตัวแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น
สถานควบคุมตัว เป็นสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาในระหว่างรอการฟ้องร้อง ซึ่งสภาพสถานที่ย่อมดีกว่า “เรือนจำ” หรือ “คุก” ซี่งใช้ควบคุมตัวนักโทษที่มีความผิดตามกฎหมาย แต่ก็ไม่ใช่สถานที่สะดวกสบายเป็นแน่
ภายในห้องขังมีสุขาส่วนตัว
ว็บไซต์กระทรวงยุติธรรมของญี่ปุ่น ระบุถึงชีวิตประจำวันของผู้ต้องหาว่า สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติในพื้นที่ที่กำหนด โดยมีเงื่อนไขว่าห้ามใช้โทรศัพท์และเครื่องมือสื่อสารทุกประเภท และผู้ต้องหาอาจถูกสวมกุญแจมือหรือเครื่องพันธนาการถ้าจำเป็น ขณะที่การเข้าเยี่ยมจะมีกำหนดเวลาวันละหนึ่งครั้ง โดยจะมีเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างใกล้ชิด
ผู้ต้องหาจะได้รับอาหารวันละ 3 มื้อ และยังสามารถซื้อเครื่องดื่ม, ขนม หรือของใช้ส่วนตัวอื่นๆ เพิ่มเติมได้จากร้านค้าภายในสถานควบคุมตัว
สำหรับสภาพภายในสถานควบคุมตัวแต่ละแห่งจะแตกต่างกันไป โดยมีทั้งห้องขังเดี่ยวและห้องรวม ซึ่งทั้งหมดจะมีสุขาอยู่ภายในห้อง แต่ถ้าจะอาบน้ำต้องใช้ห้องอาบน้ำรวม
ผู้ต้องหาชาวอเมริกันรายหนึ่ง ที่เคยใช้ชีวิตในสถานควบคุมตัวที่เมืองซับโปโร นาน 12 วัน ได้เล่าถึงชีวิตภายในห้องขังว่า ห้องมีขนาดเล็กราว 1.6เมตร X 3เมตร ปูด้วยเสื่อทาทามิ ภายในห้องมีฟูกนอนพร้อมหมอนและผ้าห่มเก่าๆ และทุกห้องติดตั้งกล้องเพื่อสอดส่องพฤติกรรมของผู้ต้องหา
ผู้ต้องหาสามารถสวมใส่เสื้อผ้าของตัวเองได้ แต่เสื้อผ้าที่มีเชือกผูกจะถูกตัดเชือกออก เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
ผู้ต้องหาสามารถอาบน้ำได้ทุก 4 วันในระหว่างช่วงพัก 30 นาที และสามารถล้างหน้าแปรงฟันได้ทุกเช้าและเย็น
ผู้ต้องหาจะมีเวลายืดเส้นยืดสายในลานออกกำลังกายวันละ 15 นาที และยังสามารถสูบบุหรี่ได้
ผู้ต้องหาชาวต่างชาติที่เคยใช้ชีวิตในห้องขังของแดนอาทิตย์อุทัย บอกว่า ห้องขังของญี่ปุ่นมีความปลอดภัย ไม่มีเหตุทะเลาะวิวาทของผู้ต้องหาเหมือนในสหรัฐฯ เพียงแต่ชีวิตเต็มไปด้วยความน่าเบื่อ เพราะต้องอุดอู้อยู่ในห้องขังแคบๆ เกือบตลอดทั้งวัน
อดีตดินแดนอาทิตย์อุทัยไม่มีตำรวจ ตำรวจในยุคแรกคือบรรดาซามูไรที่ปกป้องพื้นที่ให้กับขุนศึกต่างๆ และเมื่อกิจการตำรวจสมัยใหม่ของญี่ปุ่นถูกก่อตั้งเมื่อ 61 ปีก่อน เหล่าซามูไรได้เปลี่ยนจากการรับใช้ขุนศึก มาเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ให้กับประชาชนทุกคน
แต่ตำรวจญี่ปุ่นก็ไม่เคยป่าวประกาศตัวเอง ทั้งๆที่สามารถพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า “มีวันนี้เพราะประชาชนให้”.
http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9580000072078
ไขกุญแจห้องขังญี่ปุ่น ส่องชีวิต “คำรณวิทย์”
ตามกฎหมายของญี่ปุ่น ผู้ต้องหาจะถูกควบคุมตัวที่สถานีตำรวจได้ไม่เกิน 72 ชั่วโมง โดยหลังจากนั้นจะถูกส่งตัวไปยัง “สถานควบคุมตัว” เพื่อรอว่าอัยการจะสั่งฟ้องศาลหรือไม่โดยจะถูกควบคุมตัวได้ไม่เกิน 20 วัน
ในช่วงที่ถูกคุมขังนี้ทางตำรวจและอัยการจะทำการสอบปากคำ และทำเอกสารคำให้การ ในกรณีที่ความผิดทางอาญานั้นเป็นความผิดสถานเบา เจ้าหน้าที่จะใช้วิธี “ฟ้องแบบรวบรัด” คือ ดำเนินการการฟ้องไปพร้อมๆการทำสำนวนสอบสวน ซึ่งผู้ต้องหาจะถูกปล่อยตัวชั่วคราวได้ แต่ถ้าอัยการพิจารณาให้ดำเนินการฟ้องร้องอย่างเป็นทางการตามประมวลกฏหมาย ผู้ต้องหาจะต้องถูกคุมขังต่อไปจนกระทั่งถึงวันขึ้นศาล ซึ่งอาจใช้เวลานาน 2-3 เดือน
ถึงแม้จะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าพล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง จะถูกฟ้องร้องต่อศาลหรือไม่? แต่แน่นอนว่าขณะนี้อดีตนายตำรวจใหญ่ของไทย กำลังใช้ชีวิตอยู่ภายในสถานควบคุมตัวแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น
สถานควบคุมตัว เป็นสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาในระหว่างรอการฟ้องร้อง ซึ่งสภาพสถานที่ย่อมดีกว่า “เรือนจำ” หรือ “คุก” ซี่งใช้ควบคุมตัวนักโทษที่มีความผิดตามกฎหมาย แต่ก็ไม่ใช่สถานที่สะดวกสบายเป็นแน่
ภายในห้องขังมีสุขาส่วนตัว
ว็บไซต์กระทรวงยุติธรรมของญี่ปุ่น ระบุถึงชีวิตประจำวันของผู้ต้องหาว่า สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติในพื้นที่ที่กำหนด โดยมีเงื่อนไขว่าห้ามใช้โทรศัพท์และเครื่องมือสื่อสารทุกประเภท และผู้ต้องหาอาจถูกสวมกุญแจมือหรือเครื่องพันธนาการถ้าจำเป็น ขณะที่การเข้าเยี่ยมจะมีกำหนดเวลาวันละหนึ่งครั้ง โดยจะมีเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างใกล้ชิด
ผู้ต้องหาจะได้รับอาหารวันละ 3 มื้อ และยังสามารถซื้อเครื่องดื่ม, ขนม หรือของใช้ส่วนตัวอื่นๆ เพิ่มเติมได้จากร้านค้าภายในสถานควบคุมตัว
สำหรับสภาพภายในสถานควบคุมตัวแต่ละแห่งจะแตกต่างกันไป โดยมีทั้งห้องขังเดี่ยวและห้องรวม ซึ่งทั้งหมดจะมีสุขาอยู่ภายในห้อง แต่ถ้าจะอาบน้ำต้องใช้ห้องอาบน้ำรวม
ผู้ต้องหาชาวอเมริกันรายหนึ่ง ที่เคยใช้ชีวิตในสถานควบคุมตัวที่เมืองซับโปโร นาน 12 วัน ได้เล่าถึงชีวิตภายในห้องขังว่า ห้องมีขนาดเล็กราว 1.6เมตร X 3เมตร ปูด้วยเสื่อทาทามิ ภายในห้องมีฟูกนอนพร้อมหมอนและผ้าห่มเก่าๆ และทุกห้องติดตั้งกล้องเพื่อสอดส่องพฤติกรรมของผู้ต้องหา
ผู้ต้องหาสามารถสวมใส่เสื้อผ้าของตัวเองได้ แต่เสื้อผ้าที่มีเชือกผูกจะถูกตัดเชือกออก เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
ผู้ต้องหาสามารถอาบน้ำได้ทุก 4 วันในระหว่างช่วงพัก 30 นาที และสามารถล้างหน้าแปรงฟันได้ทุกเช้าและเย็น
ผู้ต้องหาจะมีเวลายืดเส้นยืดสายในลานออกกำลังกายวันละ 15 นาที และยังสามารถสูบบุหรี่ได้
ผู้ต้องหาชาวต่างชาติที่เคยใช้ชีวิตในห้องขังของแดนอาทิตย์อุทัย บอกว่า ห้องขังของญี่ปุ่นมีความปลอดภัย ไม่มีเหตุทะเลาะวิวาทของผู้ต้องหาเหมือนในสหรัฐฯ เพียงแต่ชีวิตเต็มไปด้วยความน่าเบื่อ เพราะต้องอุดอู้อยู่ในห้องขังแคบๆ เกือบตลอดทั้งวัน
อดีตดินแดนอาทิตย์อุทัยไม่มีตำรวจ ตำรวจในยุคแรกคือบรรดาซามูไรที่ปกป้องพื้นที่ให้กับขุนศึกต่างๆ และเมื่อกิจการตำรวจสมัยใหม่ของญี่ปุ่นถูกก่อตั้งเมื่อ 61 ปีก่อน เหล่าซามูไรได้เปลี่ยนจากการรับใช้ขุนศึก มาเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ให้กับประชาชนทุกคน แต่ตำรวจญี่ปุ่นก็ไม่เคยป่าวประกาศตัวเอง ทั้งๆที่สามารถพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า “มีวันนี้เพราะประชาชนให้”.
http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9580000072078