30 วิทยุชุมชนชายแดนใต้เฮ คสช.อนุญาตให้ออกอากาศชั่วคราวเฉพาะเดือนรอมฎอน ตั้งแต่ 17 มิถุนา ถึง 16 กรกฎา 58 เน้นประชาสัมพันธ์ทำความดีตามหลักศาสนาอิสลาม ด้านวิทยุมัสยิดกลางยะลาอินเทรนด์ จัดรายการรอมฎอนแห่งการใคร่ครวญ แฟนรายการชี้วิทยุชุมชนใกล้ชิดประชาชน คนฟังเข้าใจง่าย เรียกร้องให้เปิดตลอด เพราะตอบโจทย์คนในพื้นที่ เปิดชื่อ 10 วิทยุชุมชนออกอากาศพิเศษช่วงรอมฎอน
30 วิทยุชุมชน คสช.อนุญาตให้ออกอากาศรอมฎอน
วันที่ 25 มิถุนายน 2558 พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ได้แถลงข่าวกรณีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ศสช.) อนุญาตให้สถานีวิทยุชุมชน และสถานีวิทยุสาธารณะ จำนวน 30 สถานีที่อยู่ระหว่างขออนุญาตออกอากาศต่อ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สามารถออกอากาศได้ในเดือนรอมฎอน ประจำปี ฮ.ศ.1436 ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน – 16 กรกฎาคม 2558 เพื่อช่วยในการประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง
วิทยุมัสยิดกลางยะลา จัดรายการรอมฎอนแห่งการใคร่ครวญ
ต่อกรณีดังกล่าว นายหะซัน ภาลาวัน หัวหน้าสถานีวิทยุประจำมัสยิดกลางจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า สถานีวิทยุประจำมัสยิดกลางยะลาได้ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2558 แล้ว โดยเนื้อหารายการส่วนใหญ่เป็นเรื่องจริยธรรมและคุณธรรมตามหลักศาสนาอิสลาม
“เรามีรายการเดือนรอมฎอนแห่งการใคร่ครวญด้วย และรายการการถือศีลอดตามแบบอย่างของท่านนบีมูฮัมหมัด โดยเชิญนักวิชาการศาสนามาบรรยายในแต่ละวัน ซึ่งในเดือนรอมฎอนปีนี้ทางสถานีได้เตรียมผู้บรรยาย 15 คน สลับกันมาจัดรายการ” นายหะซัน กล่าว
นายหะซัน เปิดเผยด้วยว่า อย่างไรก็ตาม มีหลายรายการที่ทางสถานีวิทยุ ไม่สามารถจัดได้เหมือนที่ผ่านมา เช่น รายการสุขภาพ รายการเยาวชน และรายการสตรี เป็นต้น เพราะปีนี้ได้รับอนุญาตให้ออกอากาศได้กระชั้นชิดเกินไป ไม่ทันเตรียมการประกอบกับสามารถออกอากาศได้แค่เดือนเดียวเท่านั้น
“หลังจากประชาชนรับทราบว่าสถานีวิทยุมัสยิดกลางยะลาออกอากาศได้ คนในยะลาหลายคนได้ไปซื้อวิทยุเครื่องใหม่เพื่อจะเปิดฟังรายการของสถานี เพราะวิทยุเครื่องเก่าเสีย เนื่องจากไม่ได้เปิดมานานตั้งแต่วิทยุชุมชนถูกสั่งปิดตั้งแต่ปีที่แล้ว คนในพื้นที่สถานีวิทยุมัสยิดกลางยะลาเป็นสถานีวิทยุของเขาเอง เมื่อทางสถานีออกอากาศคนก็อยากฟัง” นายหะซัน กล่าว
วิทยุชุมชนใกล้ชิดประชาชน คนฟังเข้าใจง่าย
นายซูฟียาน ดาตู ชาว อ.เมือง จ.ยะลา แฟนรายการของสถานีวิทยุมัสยิดกลางยะลา กล่าวว่า ดีใจที่สถานีวิทยุชุมชนในพื้นที่ได้ออกอากาศได้อีกครั้ง โดยเฉพาะในเดือนรอมฎอน เพราะประชาชนได้ฟังรายการเกี่ยวกับศาสนาเพื่อจะได้รู้ว่าเดือนรอมฎอนสำคัญอย่างไร จะได้นำไปปฏิบัติได้
“วิทยุชุมชนเป็นสถานีวิทยุที่คนในพื้นที่ฟังมากที่สุด เพราะตอบโจทย์ความต้องการของคนในพื้นที่ได้มากที่สุด เพราะมีรายการบรรยายธรรม เปิดเสียงอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน เพลงอนาซีด และจัดรายการเป็นภาษามลายู ทำให้ประชาชนในพื้นที่เข้าใจเนื้อหารายการได้ง่าย” นายซูฟียาน กล่าว
อยากให้เปิดตลอด เพราะตอบโจทย์คนในพื้นที่
นายซูฟียาน กล่าวอีกว่า เมื่อวิทยุชุมชนถูกสั่งปิด ประชาชนส่วนใหญ่ก็ไม่เปิดฟังวิทยุเลย จึงทำให้รู้สึกเงียบเงาแม้จะมีวิทยุของรัฐก็ตาม แต่ประชาชนในพื้นที่ก็ไม่ค่อยฟัง เพราะส่วนใหญ่มีรายการที่ไม่ตอบโจทย์ประชาชนในพื้นที่ เพราะใช้ภาษาไทยและเนื้อหารายการส่วนใหญ่ก็ไม่เกี่ยวกับศาสนา
“หากเป็นได้อยากให้รัฐบาลอนุญาตให้เปิดสถานีวิทยุชุมทุกเดือน ไม่เฉพาะเดือนรอมฎอนเท่านั้น เพราะวิทยุชุมชนไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองและธุรกิจ แต่เป็นรายการที่ให้ประโยชน์ประชาชนในพื้นที่อย่างมาก” นายซูฟียาน กล่าว
เปิดชื่อ 10 วิทยุชุมชนออกอากาศพิเศษช่วงรอมฎอน
ด้านศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) ได้สำรวจสถานีวิทยุชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ออกอากาศในช่วงเดือนรอมฎอนปีนี้ในเบื้องต้น พบว่ามี 10 สถานี อยู่ในจังหวัดปัตตานี 6 สถานี ยะลา 2 สถานี และนราธิวาส 2 สถานี ส่วนใหญ่เป็นรายการพิเศษเดือนรอมฎอนและออกอากาศในช่วงกลางวันไปจนถึงเวลาละศีลอดในช่วงดวงอาทิตย์ตกดิน ดังตารางนี้
ปัตตานี
ยะลา-นราธิวาส
<< 9 รอมฎอน >> 30 วิทยุชุมชนชายแดนใต้เฮ คสช.อนุญาตออกอากาศชั่วคราวเฉพาะรอมฎอน
30 วิทยุชุมชนชายแดนใต้เฮ คสช.อนุญาตให้ออกอากาศชั่วคราวเฉพาะเดือนรอมฎอน ตั้งแต่ 17 มิถุนา ถึง 16 กรกฎา 58 เน้นประชาสัมพันธ์ทำความดีตามหลักศาสนาอิสลาม ด้านวิทยุมัสยิดกลางยะลาอินเทรนด์ จัดรายการรอมฎอนแห่งการใคร่ครวญ แฟนรายการชี้วิทยุชุมชนใกล้ชิดประชาชน คนฟังเข้าใจง่าย เรียกร้องให้เปิดตลอด เพราะตอบโจทย์คนในพื้นที่ เปิดชื่อ 10 วิทยุชุมชนออกอากาศพิเศษช่วงรอมฎอน
30 วิทยุชุมชน คสช.อนุญาตให้ออกอากาศรอมฎอน
วันที่ 25 มิถุนายน 2558 พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ได้แถลงข่าวกรณีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ศสช.) อนุญาตให้สถานีวิทยุชุมชน และสถานีวิทยุสาธารณะ จำนวน 30 สถานีที่อยู่ระหว่างขออนุญาตออกอากาศต่อ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สามารถออกอากาศได้ในเดือนรอมฎอน ประจำปี ฮ.ศ.1436 ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน – 16 กรกฎาคม 2558 เพื่อช่วยในการประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง
วิทยุมัสยิดกลางยะลา จัดรายการรอมฎอนแห่งการใคร่ครวญ
ต่อกรณีดังกล่าว นายหะซัน ภาลาวัน หัวหน้าสถานีวิทยุประจำมัสยิดกลางจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า สถานีวิทยุประจำมัสยิดกลางยะลาได้ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2558 แล้ว โดยเนื้อหารายการส่วนใหญ่เป็นเรื่องจริยธรรมและคุณธรรมตามหลักศาสนาอิสลาม
“เรามีรายการเดือนรอมฎอนแห่งการใคร่ครวญด้วย และรายการการถือศีลอดตามแบบอย่างของท่านนบีมูฮัมหมัด โดยเชิญนักวิชาการศาสนามาบรรยายในแต่ละวัน ซึ่งในเดือนรอมฎอนปีนี้ทางสถานีได้เตรียมผู้บรรยาย 15 คน สลับกันมาจัดรายการ” นายหะซัน กล่าว
นายหะซัน เปิดเผยด้วยว่า อย่างไรก็ตาม มีหลายรายการที่ทางสถานีวิทยุ ไม่สามารถจัดได้เหมือนที่ผ่านมา เช่น รายการสุขภาพ รายการเยาวชน และรายการสตรี เป็นต้น เพราะปีนี้ได้รับอนุญาตให้ออกอากาศได้กระชั้นชิดเกินไป ไม่ทันเตรียมการประกอบกับสามารถออกอากาศได้แค่เดือนเดียวเท่านั้น
“หลังจากประชาชนรับทราบว่าสถานีวิทยุมัสยิดกลางยะลาออกอากาศได้ คนในยะลาหลายคนได้ไปซื้อวิทยุเครื่องใหม่เพื่อจะเปิดฟังรายการของสถานี เพราะวิทยุเครื่องเก่าเสีย เนื่องจากไม่ได้เปิดมานานตั้งแต่วิทยุชุมชนถูกสั่งปิดตั้งแต่ปีที่แล้ว คนในพื้นที่สถานีวิทยุมัสยิดกลางยะลาเป็นสถานีวิทยุของเขาเอง เมื่อทางสถานีออกอากาศคนก็อยากฟัง” นายหะซัน กล่าว
วิทยุชุมชนใกล้ชิดประชาชน คนฟังเข้าใจง่าย
นายซูฟียาน ดาตู ชาว อ.เมือง จ.ยะลา แฟนรายการของสถานีวิทยุมัสยิดกลางยะลา กล่าวว่า ดีใจที่สถานีวิทยุชุมชนในพื้นที่ได้ออกอากาศได้อีกครั้ง โดยเฉพาะในเดือนรอมฎอน เพราะประชาชนได้ฟังรายการเกี่ยวกับศาสนาเพื่อจะได้รู้ว่าเดือนรอมฎอนสำคัญอย่างไร จะได้นำไปปฏิบัติได้
“วิทยุชุมชนเป็นสถานีวิทยุที่คนในพื้นที่ฟังมากที่สุด เพราะตอบโจทย์ความต้องการของคนในพื้นที่ได้มากที่สุด เพราะมีรายการบรรยายธรรม เปิดเสียงอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน เพลงอนาซีด และจัดรายการเป็นภาษามลายู ทำให้ประชาชนในพื้นที่เข้าใจเนื้อหารายการได้ง่าย” นายซูฟียาน กล่าว
อยากให้เปิดตลอด เพราะตอบโจทย์คนในพื้นที่
นายซูฟียาน กล่าวอีกว่า เมื่อวิทยุชุมชนถูกสั่งปิด ประชาชนส่วนใหญ่ก็ไม่เปิดฟังวิทยุเลย จึงทำให้รู้สึกเงียบเงาแม้จะมีวิทยุของรัฐก็ตาม แต่ประชาชนในพื้นที่ก็ไม่ค่อยฟัง เพราะส่วนใหญ่มีรายการที่ไม่ตอบโจทย์ประชาชนในพื้นที่ เพราะใช้ภาษาไทยและเนื้อหารายการส่วนใหญ่ก็ไม่เกี่ยวกับศาสนา
“หากเป็นได้อยากให้รัฐบาลอนุญาตให้เปิดสถานีวิทยุชุมทุกเดือน ไม่เฉพาะเดือนรอมฎอนเท่านั้น เพราะวิทยุชุมชนไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองและธุรกิจ แต่เป็นรายการที่ให้ประโยชน์ประชาชนในพื้นที่อย่างมาก” นายซูฟียาน กล่าว
เปิดชื่อ 10 วิทยุชุมชนออกอากาศพิเศษช่วงรอมฎอน
ด้านศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) ได้สำรวจสถานีวิทยุชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ออกอากาศในช่วงเดือนรอมฎอนปีนี้ในเบื้องต้น พบว่ามี 10 สถานี อยู่ในจังหวัดปัตตานี 6 สถานี ยะลา 2 สถานี และนราธิวาส 2 สถานี ส่วนใหญ่เป็นรายการพิเศษเดือนรอมฎอนและออกอากาศในช่วงกลางวันไปจนถึงเวลาละศีลอดในช่วงดวงอาทิตย์ตกดิน ดังตารางนี้
ปัตตานี
ยะลา-นราธิวาส