✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋ พระศาสดาตรัสถึงบุรุษผู้รู้ความ ไม่เป็นคนโอ้อวด ✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋
ความโอ้อวดของเวขณสปริพาชก ว่ารู้วรรณ
เวขณสปริพาชกยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้เปล่งอุทานในสำนักพระผู้
มีพระภาคว่า นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้.
พระศาสดาตรัสว่า
ดูกรกัจจานะ !
เทวดาเหล่าใดย่อมสู้แสงพระจันทร์และแสงพระอาทิตย์ไม่ได้
เทวดาเหล่านั้นมีมากยิ่งกว่าเทวดาพวกที่สู้แสงพระจันทร์และแสงพระอาทิตย์ได้ เรารู้เรื่องเช่นนั้น
ดีอยู่ ถึงกระนั้น เราก็ไม่กล่าวว่า วรรณใดไม่มี วรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เมื่อเป็น
เช่นนี้ ท่านก็ชื่อว่ากล่าวอยู่ว่า วรรณใดเลวกว่า และเศร้าหมองกว่าแมลงหิงห้อย วรรณนั้น
เป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ แต่ท่านไม่ชี้วรรณนั้นเท่านั้น.
ดูกรกัจจานะ ! กามคุณ ๕ เหล่านี้กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักเกี่ยวด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต
... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ ...
รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ...
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก
เกี่ยวด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
ดูกรกัจจานะ ! กามคุณ ๕ เหล่านี้แล ความสุขโสมนัส
อันใด อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น ความสุขโสมนัสนี้ เรากล่าวว่า กามสุข.
ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันเรากล่าว กามสุข ว่าเลิศกว่า กาม ทั้งหลาย
กล่าวสุขอันเป็นที่สุดของกาม ว่าเลิศกว่า กามสุข
ในความสุขอันเป็นที่สุดของกามนั้น เรากล่าวว่าเป็นเลิศ
ดูกรกัจจานะ ! ข้อที่ว่ากามก็ดี กามสุขก็ดี สุขอันเป็นที่สุดของกามก็ดี
นี้ยากที่ท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจเป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น
มีความประกอบเนื้อความเป็นประการอื่น มีลัทธิอาจารย์เป็นประการอื่นจะพึงรู้ได้
ดูกรกัจจานะ ! ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์มีกรณียะได้ทำเสร็จแล้ว
มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันถึงแล้วตามลำดับ มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุเหล่านั้นแล จะพึงรู้ข้อที่ว่า กาม กามสุข หรือสุขอันเป็นที่สุดของกามนี้ได้
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
เวขณสปริพาชกโกรธ ขัดใจ เมื่อจะด่าว่าติเตียนพระผู้มีพระภาค คิดว่าเราจักให้พระสมณโคดมได้รับความเสียหาย
ดังนี้ จึงได้กราบทูลว่าก็เมื่อเป็นเช่นนั้น สมณพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ไม่รู้เงื่อนเบื้องต้น ไม่รู้เงื่อนเบื้องปลาย
แต่ปฏิญาณอยู่ว่า เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีดังนี้ ภาษิตของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงความเป็นคำน่าหัวเราะทีเดียว
ถึงความเป็นคำต่ำช้าอย่างเดียว ถึงความเป็นคำเปล่า ถึงความเป็นคำเหลวไหลแท้ๆ.
ดูกรกัจจานะ ! สมณพราหมณ์เหล่าใด เมื่อไม่รู้เงื่อนเบื้องต้น เมื่อไม่รู้เงื่อน
เบื้องปลาย มาปฏิญาณว่า เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นควรถูกข่มขี่สมกับเหตุ
ดูกรกัจจานะ ! ก็แต่ว่า เงื่อนเบื้องต้นจงงดไว้เถิด เงื่อนเบื้องปลายจงงดไว้เถิด
บุรุษผู้รู้ความ ไม่เป็นคนโอ้อวดไม่มีมายา เป็นคนซื่อตรง ขอจงมาเถิด
เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติตามคำที่เราสอนแล้ว ไม่นานก็รู้จักเอง จักเห็นเอง
ได้ยินว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจากเครื่องผูก คือ เครื่องผูกคืออวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น.
ดูกรกัจจานะ ! เปรียบเหมือนเด็กอ่อนยังนอนหงาย จะพึงถูกเขาผูกไว้ด้วยเครื่องผูกที่
ข้อเท้าทั้งสอง ที่ข้อมือทั้งสอง ที่คอหนึ่ง เป็นห้าแห่ง เครื่องผูกเหล่านั้นจะพึงหลุดไปเพราะ
เด็กนั้นถึงความเจริญ เพราะเด็กนั้นถึงความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เขาพึงรู้ว่าเป็นผู้พ้น
และเครื่องผูกก็ไม่มี ฉันใด
กัจจานะ ! บุรุษผู้รู้ความก็ฉันนั้นแล เป็นคนไม่โอ้อวด ไม่มีมายา
เป็นคนซื่อตรง ขอจงมาเถิด เราจักสั่งสอน เราจักแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติได้ตามคำที่เราสอนแล้ว
ไม่นานนักก็จักรู้เอง จักเห็นเอง ได้ยินว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจากเครื่องผูก คือ
เครื่องผูกคืออวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น.
เปิดธรรมที่ถูกปิด พุทธวจน เมื่อปฏิบัติได้ตามคำที่เราสอนแล้วไม่นานนักก็จักรู้เองจักเห็นเอง
ความโอ้อวดของเวขณสปริพาชก ว่ารู้วรรณ
เวขณสปริพาชกยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้เปล่งอุทานในสำนักพระผู้
มีพระภาคว่า นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้.
พระศาสดาตรัสว่า
ดูกรกัจจานะ ! เทวดาเหล่าใดย่อมสู้แสงพระจันทร์และแสงพระอาทิตย์ไม่ได้
เทวดาเหล่านั้นมีมากยิ่งกว่าเทวดาพวกที่สู้แสงพระจันทร์และแสงพระอาทิตย์ได้ เรารู้เรื่องเช่นนั้น
ดีอยู่ ถึงกระนั้น เราก็ไม่กล่าวว่า วรรณใดไม่มี วรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เมื่อเป็น
เช่นนี้ ท่านก็ชื่อว่ากล่าวอยู่ว่า วรรณใดเลวกว่า และเศร้าหมองกว่าแมลงหิงห้อย วรรณนั้น
เป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ แต่ท่านไม่ชี้วรรณนั้นเท่านั้น.
ดูกรกัจจานะ ! กามคุณ ๕ เหล่านี้กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักเกี่ยวด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต
... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ ...
รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ...
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก
เกี่ยวด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
ดูกรกัจจานะ ! กามคุณ ๕ เหล่านี้แล ความสุขโสมนัส
อันใด อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น ความสุขโสมนัสนี้ เรากล่าวว่า กามสุข.
ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันเรากล่าว กามสุข ว่าเลิศกว่า กาม ทั้งหลาย
กล่าวสุขอันเป็นที่สุดของกาม ว่าเลิศกว่า กามสุข
ในความสุขอันเป็นที่สุดของกามนั้น เรากล่าวว่าเป็นเลิศ
ดูกรกัจจานะ ! ข้อที่ว่ากามก็ดี กามสุขก็ดี สุขอันเป็นที่สุดของกามก็ดี
นี้ยากที่ท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจเป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น
มีความประกอบเนื้อความเป็นประการอื่น มีลัทธิอาจารย์เป็นประการอื่นจะพึงรู้ได้
ดูกรกัจจานะ ! ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์มีกรณียะได้ทำเสร็จแล้ว
มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันถึงแล้วตามลำดับ มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุเหล่านั้นแล จะพึงรู้ข้อที่ว่า กาม กามสุข หรือสุขอันเป็นที่สุดของกามนี้ได้
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
เวขณสปริพาชกโกรธ ขัดใจ เมื่อจะด่าว่าติเตียนพระผู้มีพระภาค คิดว่าเราจักให้พระสมณโคดมได้รับความเสียหาย
ดังนี้ จึงได้กราบทูลว่าก็เมื่อเป็นเช่นนั้น สมณพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ไม่รู้เงื่อนเบื้องต้น ไม่รู้เงื่อนเบื้องปลาย
แต่ปฏิญาณอยู่ว่า เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีดังนี้ ภาษิตของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงความเป็นคำน่าหัวเราะทีเดียว
ถึงความเป็นคำต่ำช้าอย่างเดียว ถึงความเป็นคำเปล่า ถึงความเป็นคำเหลวไหลแท้ๆ.
ดูกรกัจจานะ ! สมณพราหมณ์เหล่าใด เมื่อไม่รู้เงื่อนเบื้องต้น เมื่อไม่รู้เงื่อน
เบื้องปลาย มาปฏิญาณว่า เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นควรถูกข่มขี่สมกับเหตุ
ดูกรกัจจานะ ! ก็แต่ว่า เงื่อนเบื้องต้นจงงดไว้เถิด เงื่อนเบื้องปลายจงงดไว้เถิด
บุรุษผู้รู้ความ ไม่เป็นคนโอ้อวดไม่มีมายา เป็นคนซื่อตรง ขอจงมาเถิด
เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติตามคำที่เราสอนแล้ว ไม่นานก็รู้จักเอง จักเห็นเอง
ได้ยินว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจากเครื่องผูก คือ เครื่องผูกคืออวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น.
ดูกรกัจจานะ ! เปรียบเหมือนเด็กอ่อนยังนอนหงาย จะพึงถูกเขาผูกไว้ด้วยเครื่องผูกที่
ข้อเท้าทั้งสอง ที่ข้อมือทั้งสอง ที่คอหนึ่ง เป็นห้าแห่ง เครื่องผูกเหล่านั้นจะพึงหลุดไปเพราะ
เด็กนั้นถึงความเจริญ เพราะเด็กนั้นถึงความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เขาพึงรู้ว่าเป็นผู้พ้น
และเครื่องผูกก็ไม่มี ฉันใด
กัจจานะ ! บุรุษผู้รู้ความก็ฉันนั้นแล เป็นคนไม่โอ้อวด ไม่มีมายา
เป็นคนซื่อตรง ขอจงมาเถิด เราจักสั่งสอน เราจักแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติได้ตามคำที่เราสอนแล้ว
ไม่นานนักก็จักรู้เอง จักเห็นเอง ได้ยินว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจากเครื่องผูก คือ
เครื่องผูกคืออวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น.