(เนื้อหาบางส่วน)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
[๒๘๖] ดูกรมาคัณฑิยะ
ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านได้เห็นหรือได้ฟังบ้างหรือว่า
พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้เอิบอิ่มเพรียบพร้อม บำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณห้ายังละกามตัณหาไม่ได้
ยังบรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามไม่ได้แล้ว
เป็นผู้ปราศจากความระหายมีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว หรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่?
ข้อนี้ ไม่มีเลย ท่านพระโคดม.
ดีละมาคัณฑิยะ ข้อนี้แม้เราไม่ได้เห็นไม่ได้ฟังมาว่า
พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้เอิบอิ่มเพรียบพร้อม บำเรอตนอยู่ ด้วยกามคุณห้า ยังละตัณหาไม่ได้
ยังบรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามไม่ได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว
หรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่
ดูกรมาคัณฑิยะ
ที่แท้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว
หรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่.
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นล้วนรู้ ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งกามนั่นเทียว ตามความเป็นจริง แล้วละกามตัณหา บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามแล้ว
จึงเป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว หรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่.
[๒๘๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม ทางมีองค์แปดเป็นทางอันเกษม.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์นักไม่เคยมีมาแล้ว เพียงข้อที่ท่านพระโคดมตรัสดีแล้วนี้ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง
พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง แม้ข้าพเจ้าก็ได้ฟังข้อนี้มา ต่อปริพาชกทั้งหลายแต่ก่อน ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ผู้กล่าวกันอยู่ว่า
ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ข้อนี้ย่อมสมกัน.
ดูกรมาคัณฑิยะ
ก็ข้อที่ท่านได้ฟังมาต่อปริพาชกทั้งหลาย ก่อนๆ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ผู้กล่าวกันอยู่ว่า
ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้นั้น
ความไม่มีโรคนั้นเป็นไฉน นิพพานนั้นเป็นไฉน?
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ทราบว่า มาคัณฑิยปริพาชกเอาฝ่ามือลูบตัวของตัวเอง กล่าวว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้น คือ อันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้
ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าเดี๋ยวนี้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุขอะไรๆ มิได้เบียดเบียนข้าพเจ้า.
[๒๘๘] ดูกรมาคัณฑิยะ
เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปดำและขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง
ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
เขาได้ฟังต่อคนผู้มีจักษุกล่าวว่า ดูกรผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้. เขาพึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวผ่อง.
บุรุษคนหนึ่งเอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่า มาลวงบุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้นว่า
ดูกรบุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านผืนนี้ เป็นผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทิน สะอาด ดังนี้. เขารับเอาผ้านั้นไว้ห่ม แล้วดีใจ
เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด ดังนี้.
ดูกรมาคัณฑิยะ
ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น รู้อยู่ เห็นอยู่ รับเอาผ้าเทียมอันเปื้อนเขม่านั้นไว้ห่ม แล้วดีใจ
เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้
หรือว่าเปล่งวาจาแสดงความยินดี ด้วยเชื่อต่อบุคคลผู้มีจักษุเล่า?
ท่านพระโคดม
บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น ไม่รู้ไม่เห็นเลย รับเอาผ้าเทียมอันเปื้อนเขม่าเข้าไว้ห่ม แล้วดีใจ
เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้ ด้วยเชื่อต่อบุคคลผู้มีจักษุเท่านั้น.
ดูกรมาคัณฑิยะ
ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ไม่มีจักษุ ไม่รู้ความไม่มีโรค ไม่เห็นพระนิพพาน เออก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ยังกล่าวคาถานี้ได้ว่า
ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้.
ดูกรมาคัณฑิยะ
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้ตรัสพระคาถาไว้ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรมทางมีองค์แปดเป็นทางเกษม. บัดนี้ คาถานั้นเป็นคาถาของปุถุชนไปโดยลำดับ.
ดูกรมาคัณฑิยะ
กายนี้แลเป็นดังโรคเป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ ท่านนั้นกล่าวกายนี้เป็นดังโรคเป็นดังหัวฝี
เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ว่า ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้.
ก็ท่านไม่มีจักษุของพระอริยะ อันเป็นเครื่องรู้ความไม่มีโรคอันเป็นเครื่องเห็นนิพพาน.
Ref.
มาคัณฑิยสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=4769&Z=5061
ชวนอ่าน "มาคัณฑิยสูตร"
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
[๒๘๖] ดูกรมาคัณฑิยะ
ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านได้เห็นหรือได้ฟังบ้างหรือว่า
พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้เอิบอิ่มเพรียบพร้อม บำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณห้ายังละกามตัณหาไม่ได้
ยังบรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามไม่ได้แล้ว
เป็นผู้ปราศจากความระหายมีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว หรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่?
ข้อนี้ ไม่มีเลย ท่านพระโคดม.
ดีละมาคัณฑิยะ ข้อนี้แม้เราไม่ได้เห็นไม่ได้ฟังมาว่า
พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้เอิบอิ่มเพรียบพร้อม บำเรอตนอยู่ ด้วยกามคุณห้า ยังละตัณหาไม่ได้
ยังบรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามไม่ได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว
หรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่
ดูกรมาคัณฑิยะ
ที่แท้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว
หรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่.
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นล้วนรู้ ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งกามนั่นเทียว ตามความเป็นจริง แล้วละกามตัณหา บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามแล้ว
จึงเป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว หรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่.
[๒๘๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม ทางมีองค์แปดเป็นทางอันเกษม.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์นักไม่เคยมีมาแล้ว เพียงข้อที่ท่านพระโคดมตรัสดีแล้วนี้ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง
พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง แม้ข้าพเจ้าก็ได้ฟังข้อนี้มา ต่อปริพาชกทั้งหลายแต่ก่อน ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ผู้กล่าวกันอยู่ว่า
ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ข้อนี้ย่อมสมกัน.
ดูกรมาคัณฑิยะ
ก็ข้อที่ท่านได้ฟังมาต่อปริพาชกทั้งหลาย ก่อนๆ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ผู้กล่าวกันอยู่ว่า
ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้นั้น
ความไม่มีโรคนั้นเป็นไฉน นิพพานนั้นเป็นไฉน?
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ทราบว่า มาคัณฑิยปริพาชกเอาฝ่ามือลูบตัวของตัวเอง กล่าวว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้น คือ อันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้
ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าเดี๋ยวนี้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุขอะไรๆ มิได้เบียดเบียนข้าพเจ้า.
[๒๘๘] ดูกรมาคัณฑิยะ
เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปดำและขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง
ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
เขาได้ฟังต่อคนผู้มีจักษุกล่าวว่า ดูกรผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้. เขาพึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวผ่อง.
บุรุษคนหนึ่งเอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่า มาลวงบุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้นว่า
ดูกรบุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านผืนนี้ เป็นผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทิน สะอาด ดังนี้. เขารับเอาผ้านั้นไว้ห่ม แล้วดีใจ
เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด ดังนี้.
ดูกรมาคัณฑิยะ
ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น รู้อยู่ เห็นอยู่ รับเอาผ้าเทียมอันเปื้อนเขม่านั้นไว้ห่ม แล้วดีใจ
เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้
หรือว่าเปล่งวาจาแสดงความยินดี ด้วยเชื่อต่อบุคคลผู้มีจักษุเล่า?
ท่านพระโคดม
บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น ไม่รู้ไม่เห็นเลย รับเอาผ้าเทียมอันเปื้อนเขม่าเข้าไว้ห่ม แล้วดีใจ
เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้ ด้วยเชื่อต่อบุคคลผู้มีจักษุเท่านั้น.
ดูกรมาคัณฑิยะ
ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ไม่มีจักษุ ไม่รู้ความไม่มีโรค ไม่เห็นพระนิพพาน เออก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ยังกล่าวคาถานี้ได้ว่า
ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้.
ดูกรมาคัณฑิยะ
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้ตรัสพระคาถาไว้ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรมทางมีองค์แปดเป็นทางเกษม. บัดนี้ คาถานั้นเป็นคาถาของปุถุชนไปโดยลำดับ.
ดูกรมาคัณฑิยะ
กายนี้แลเป็นดังโรคเป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ ท่านนั้นกล่าวกายนี้เป็นดังโรคเป็นดังหัวฝี
เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ว่า ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้.
ก็ท่านไม่มีจักษุของพระอริยะ อันเป็นเครื่องรู้ความไม่มีโรคอันเป็นเครื่องเห็นนิพพาน.
Ref.
มาคัณฑิยสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=4769&Z=5061