เปิดธรรมที่ถูกปิด พุทธวจน ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐเป็นลาภอย่างยิ่ง บัดนี้คาถานั้นเป็นคาถาของปุถุชนไปโดยลำดับ

พระศาสดาตรัสถึงความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ

....................................................................


ภารทวาชะได้ฟังธรรมการตามรักษาความจริงจากพระพุทธเจ้าจนเลื่อมใส

กำลังสนทนากับมาคัณฑิยปริพาชก
...........................................................................................
   ดูกรสหาย   !    เครื่องลาดหญ้าที่ปูไว้ใน
โรงบูชาไฟของท่านภารทวาชะนี้ เป็นของใครหนอ เห็นจะเป็นที่นอนสมควรแก่สมณะ

ภารทวาชะ               มีอยู่          !   ท่านมาคัณฑิยะ พระสมณโคดมศากยบุตรออกบวชจาก
ศากยสกุล เกียรติศัพท์
อันงามของท่านพระโคดมนั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า
...................................................
ที่นอนนี้ปูไว้แล้วสำหรับท่านพระโคดมนั้น.

มาคัณฑิยปริพาชก       ท่านภารทวาชะ   !   พวกเราที่ได้เห็นที่นอนของท่านพระโคดมผู้กำจัดความเจริญนั้น
ชื่อว่าได้เห็นชั่ว.

................................................................................................................................
พระผู้มีพระภาค     ได้ทรงสดับคำสนทนานี้ของพราหมณ์ภารทวาชโคตรกับมา
คัณฑิยปริพาชก ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์.
............................................................................................................
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาค
เสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ประทับนั่งบน
เครื่องลาดหญ้าที่เขาลาดไว้. ลำดับนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
นั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเขาว่า

ดูกรภารทวาชะ    !   ท่านกับมาคัณฑิยปริพาชกปรารภถึงเครื่องลาดหญ้านี้ ได้เจรจาโต้ตอบกันอย่างไรบ้าง?
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรตกใจ เกิดโลมชาติชูชัน  

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ภารทวาชะ          ข้าพเจ้า   !  ปรารถนาจะกราบทูลเรื่องนี้แก่ท่านพระโคดม
แต่ท่านพระโคดมตรัสเสียก่อนที่ข้าพเจ้ายังไม่ทันกราบทูล.

................................................................................................
ลำดับนั้น มาคัณฑิยปริพาชกกำลังเดินเที่ยวไปมาแก้เมื่อยอยู่
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร
แล้วได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่าน
การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

ดูกรมาคัณฑิยะ   !      นัยน์ตามีรูปเป็นที่มายินดี ... หูมีเสียงเป็นที่มายินดี ...
จมูกมีกลิ่นเป็นที่มายินดี ...
ลิ้นมีรสเป็นที่มายินดี ... กายมีโผฏฐัพพะเป็นที่มายินดี ... ใจมีธรรมารมณ์เป็นที่มายินดี ยินดีแล้ว
ในธรรม อันธรรมให้บันเทิงแล้ว ใจนั่นตถาคตทรมานแล้ว คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว สำรวมแล้ว
อนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อสำรวมใจนั่น ดูกรมาคัณฑิยะ คำที่ท่านกล่าวว่า พระสมณโคดม
เป็นผู้กำจัดความเจริญนั้น ท่านหมายเอาความข้อนี้ละซิหนอ.

มาคัณฑิยะ    ท่านพระโคดม  !   ก็คำที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า พระสมณโคดมเป็นผู้กำจัดความเจริญนี้
ข้าพเจ้าหมายเอาความข้อนี้แหละ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะคำเช่นนี้ลงกันในสูตรของ
ข้าพเจ้า.

.........................................................................................................................

ดูกรมาคัณฑิยะ     !           เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ก็เป็นผู้อิ่มหนำ
เพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บำเรอตนด้วยรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่
ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดด้วยเสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู ...
ด้วยกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ... ด้วยรสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ... ด้วยโผฏฐัพพะอันจะพึง
รู้แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ
กำหนัด

ดูกรมาคัณฑิยะ  !   ปราสาทของเรานั้น ได้มีถึงสามแห่ง คือปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน
ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน. เรานั้นให้บำเรอด้วยดนตรี
ล้วนแต่สตรีไม่มีบุรุษเจือปนในปราสาท เป็นที่อยู่ในฤดูฝนตลอดสี่เดือนไม่ได้ลงภายใต้ปราสาท


สมัยต่อมา     !   เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องออกไป แห่งกามทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง แล้วละตัณหาในกามบรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะปรารภกาม เป็นผู้ปราศจาก
ความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่. เรานั้นเห็นหมู่สัตว์อื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม
ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่ เสพกามอยู่

เรานั้น  !   ย่อมไม่ทะเยอทะยานต่อสัตว์เหล่านั้น ไม่ยินดีในกามนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรายินดี
ด้วยความยินดีที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมอยู่ จึงไม่ทะเยอทะยานต่อธรรมอันเลว
ไม่ยินดีในธรรมอันเลวนั้น.

ดูกรมาคัณฑิยะ  !   เปรียบเหมือนคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดีเป็นคนมั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เอิบอิ่มเพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บำเรอตนด้วยรูปอันพึงจะรู้แจ้ง
ด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก  ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ
กำหนัด ด้วยเสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู ... ด้วยกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ... ด้วยรสอันจะ
พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ... ด้วยโผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ
น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.

เขาประพฤติกายสุจริต  !   วจีสุจริตมโนสุจริต เมื่อตายไปพึงเข้าถึงสุคติ โลก สวรรค์
พึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์. เทพบุตรนั้นอันหมู่นางอัปสรแวดล้อมในนันทวัน
เอิบอิ่ม เพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้าอันเป็นทิพย์บำเรอตนอยู่ ในดาวดึงส์เทวโลก.

เทพบุตรนั้น        !       ได้เห็นคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้เอิบอิ่มเพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บำเรอตนอยู่.

ดูกรมาคัณฑิยะ  !  ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เทพบุตรนั้นอันหมู่นางอัปสรแวดล้อมอยู่ในนันทวัน
เอิบอิ่มเพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้าอันเป็นทิพย์บำเรอตนอยู่ จะพึงทะเยอทะยานต่อคฤหบดีต่อบุตรคฤหบดีโน้น
หรือต่อกามคุณห้าของมนุษย์ หรือจะพึงเวียนมาเพราะกามของมนุษย์บ้างหรือหนอ?


มาคัณฑิยะ   ไม่เป็นอย่างนั้น !   ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกามอันเป็นทิพย์ น่าใคร่
ยิ่งกว่า และประณีตกว่า กว่ากามของมนุษย์.

ดูกรมาคัณฑิยะ   !   เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน
...................................................
เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไป แห่งกามทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง แล้วละตัณหาในกาม ได้บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้น เพราะปรารภกามได้แล้ว
เป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่
....................................................
ย่อมไม่ทะเยอทะยาน ไม่ยินดีในกามนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรา
ยินดีอยู่ด้วย ความยินดีที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ทั้งเป็นความยินดีที่ล่วงเลยความสุข
เป็นของทิพย์ตั้งอยู่
จึงไม่ทะเยอทะยานต่อธรรมอันเลว ไม่ยินดีในธรรมอันเลวนั้นเลย.
....................................................................................

ดูกรมาคัณฑิยะ  !   เปรียบเหมือนบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวสุก อัน
กิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิต
ของเขาพึงตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดทำยารักษาบุรุษนั้น บุรุษ
นั้นอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข มีเสรีภาพ มีอำนาจในตนเอง
จะไปไหนได้ตามความพอใจ. บุรุษมีกำลังสองคนช่วยกันจับบุรุษนั้นที่แขนคนละข้าง ฉุดเข้าไป
ในหลุมถ่านเพลิง. ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะต้องดิ้นรนไป
อย่างนี้ๆ บ้างซิหนอ?


มาคัณฑิยะ   เป็นอย่างนั้น  !  ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไฟโน้นมีสัมผัสเป็นทุกข์
มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก.

ดูกรมาคัณฑิยะ !   ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อน
ยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก แต่ในบัดนี้เท่านั้น หรือแม้เมื่อก่อนไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์
มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก?

มาคัณฑิยะ              ท่านพระโคดม !   ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความเร่าร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก
ทั้งในบัดนี้ และแม้เมื่อก่อน ไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก
แต่ว่าบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวสุก ถูกกิมิชาติบ่อน เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ
มีอินทรีย์อันโรคกำจัดเสียแล้วโน้น กลับได้ความสำคัญผิดในไฟนี้อันมีสัมผัสเป็นทุกข์นั้นแลว่า
เป็นสุขไป.

ดูกรมาคัณฑิยะ    !   กามทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
                          ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพาน
                          เป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึง
                          อมตธรรม ทางมีองค์แปดเป็นทางอันเกษม.


ดูกรมาคัณฑิยะ  !   ก็ข้อที่ท่านได้ฟังมาต่อปริพาชกทั้งหลาย ก่อนๆ ผู้เป็นอาจารย์และ
ปาจารย์ผู้กล่าวกันอยู่ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้นั้น
ความไม่มีโรคนั้นเป็นไฉน นิพพานนั้นเป็นไฉน? เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ทราบว่า

มาคัณฑิยปริพาชกเอาฝ่ามือลูบตัวของตัวเอง กล่าวว่า

มาคัณฑิยะ    ข้าแต่ท่านพระโคดม    !  ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้
ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าเดี๋ยวนี้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข
อะไรๆ มิได้เบียดเบียนข้าพเจ้า.



...............................................................................................................
ดูกรมาคัณฑิยะ   !   กายนี้แลเป็นดังโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ ท่านนั้นกล่าวกายนี้เป็นดังโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ว่า ท่านพระโคดม ความไม่มีโรค
นั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้. ก็ท่านไม่มีจักษุของพระอริยะ อันเป็นเครื่องรู้ความไม่มีโรค
อันเป็นเครื่องเห็นนิพพาน.

...................................................................................................................
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่