บ้านเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็อยากได้ เนื่องจากราคาที่แพง ทำให้ไม่ค่อยมีคนจะซื้อเงินสดซักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่เเล้วก็กู้กันทั้งนั้น
ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบคือ
- จอง จ่ายดาวน์ หรือ มัดจำไปแล้ว ดันกู้ไม่ผ่าน รู้หรือไม่ ยอดคนกู้ไม่ผ่านล่าสุด 25% (อ้างอิง
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1374120660) หลายคนเสียเงิน ขาดทุน มากมาย
- วางแผนว่าจะส่งเท่านี้ เเต่เอาเข้าจริง มันไม่ได้เป็นตามคาด จะยกเลิกก็กลัวจะโดนยึดเงินดาวน์ เลยต้องปล่อยเป็นภาระภายหลัง
- เตรียมเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายในการโอนไม่เพียงพอ แบบนี้ปวดหัวแน่นอน
ผมว่าเราควรเตรียมตัวกันให้รอบคอบกว่านี้ จะได้ไม่เสียเงินไปฟรี (เป็นแสนนะ)
ลองดูว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ แผนเราเสียได้
1. เงินที่สามารถ ชำระค่าบ้านต่อเดือนได้ ต้องไม่เกิน 40% ของเงินเดือนนะ หลายคนคำนวนผิด จะทำให้กู้ไม่ผ่านเอาดื้อๆ
2. เเล้วธนาคารให้กู้ได้ 80-90% ของราคาประเมิน นะ ย้ำ ราคาประเมิน อาจจะมากกว่า หรือ น้อยกว่าราคาที่เราซื้อจริง (ส่วนใหญ่ก็น้อยกว่าทั้งนั้น) เเล้ว กู้ได้ไม่เต็มอีก (ยกเว้นอาชีพบางอาชีพที่กู้ได้เต็มเช่น หมอ ทนาย) อย่าลืมเตรียมเงินไว้สำหรับดาวน์(หรือค่าใช้จ่ายส่วนเกิน) 10-20% หรือมากกว่านั้นในกรณีที่ประเมินได้น้อยด้วยล่ะ
3. ค่าประกันต่างๆ เช่น อัคคีภัย ประมาณ 0.35% ของราคาบ้าน หลายครั้งพนักงาน ธนาคารยังเสนอให้ทำประกันชีวิตส่วนตัวอีก เพื่อค้ำวงประกัน ซึ่งหลายที่ก็บังคับทำ บางที่ก็ไม่บังคับ (เเต่ถ้าทำลดดอกเบี้ยได้) หรือ ประกันชีวิตเเบบสะสมทรัพย์ ช่วยทำเพื่อให้ การกู้ผ่านไปได้อย่างรวดเร็ว และราบรื่น (คหสต)
4. ค่าอากรแสตมป์ 0.005% ของวงเงินกู้
5. ค่าใช้จ่ายในการโอน 2% ของราคาประเมิน และ ค่าธรรมเนียมในการ จดจำนอง 1% ของสัญญาจำนอง อันนี้จ่ายที่ ที่ดิน
6. ค่าประเมิณ 2000-3000 บาท เฮ้ยเเต่เดี๋ยว บางธนาคารฟรีค่าประเมิณนะ เเต่เคยเเอบถามเค้าบอกว่าไม่ได้ฟรีหรอก เเต่จ่ายให้ลูกค้า ซึ้งโครต..
7. ค่าส่วนกลางล่วงหน้า อันนี้ตัวดีเลย บางโครงการ 2 ปี บางโครงการ 5ปี ใครไม่ได้เตรียมเงินส่วนนี้ไว้มีจุกเหมือนกันนะ
8. ค่าของเครื่องใช้หรือ ของตบเเต่ง ซึ่งหลายโครงการให้มา โล่งๆ ต้องซื้อของเข้าอยู่เเล้ว ถ้าเป็นบ้านก็ต้องซื้อเยอะหน่อย นะครับ
9. มิเตอร์น้ำไฟ ประมาณ 7,000 บาท เเพงเหมือนกัน เตรียมไปด้วย
10. ดูด้วยว่า ตัวเองกู้ได้กี่ปี หลายคนเลยที่ กู้ไม่ได้ 30 ปี ยิ่งเวลาน้อย จำนวนเงินที่ต้องจ่ายต่อเดือนก็มากขึ้นนะ อย่าลืมล่ะ
ต่อไปนี้เป็น บิ๊กเซอร์ไพร้ ถ้าใครโดนก็ถือว่าฟาดเคราะห์นะครับ
1. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ในกรณีซื้อมือสอง เเล้ว ทางเจ้าของห้องบอกว่าค่าโอนคนละครึ่ง ดูตรงส่วนนี้ให้ดี เเล้วตกลงกันให้ชัดเจน ซึ่ง หลายครั้งเจ้าของจะโมเม เอารวมในค่าโอนด้วย ดูดีๆนะ 3% โครตเยอะ (เคยโดนมาเเล้ว จ่ายและเจ็บ แบบงงๆ)
2. ค่าพื้นที่ส่วนเกิน อันนี้จะเกิดจาก Developer condo รายใหม่ๆ ที่หวังดีเเถมพื้นที่ใช้สอยให้... แต่เอ็งดันมาเก็บเพิ่มเนี่ยะนะ (ผมโดนไปห้องละ 60,000 5 ห้องที่แทบบิน )
3. กู้ไม่ผ่านต้องกู้ร่วม เเต่โดยปกติเเล้ว ธนาคารจะคิดระยะเวลาผ่อนชำระ ตามคนอายุน้อย และ คิดเครดิตจาก คนที่เครดิตมากกว่า แต่จะมีบางเคสที่ เซอร์ไพร้ คือ ธนาคารดันคิด ระยะเวลากู้ ตามคนอายุมากซะงั้น ( ส่วนตัวเคยกู้ร่วมกับพ่อ ธนาคารคิดอายุของพ่อทำให้กู้ได้เเค่ 10 ปี ผ่อนต่อเดือนเพิ่มมาเกิบ 3 เท่า แผนการเงินที่วางไว้พังหมด )
เวลากูเงินระยะยาวแบบนี้ควรวางเเผนให้รอบคอบนะครับ ผมรู้เลยว่ามันเครียดพอสมควร และ การเตรียมตัวที่ไม่ดีนี้ มันจะบีบให้เราต้องขายบ้านของเราในราคาถูก เพื่อลดภาระ ขาดทุนกันเป็นเเถว ซึ่งหลายคนจะเข็ดจาก อสังหา เพราะเรื่องเเบบนี้เเหล่ะครับ
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะครับ ผิดพลาดยังไงขออภัย
ถ้าชอบบทความแนวนี้ อัพเดตให้เรื่อยๆที่
www.facebook.com/kim.properth
หรือ Blog ของผม
www.properth.com
อย่าไปเอ๋อเวลาโอน! มาดูค่าใช้จ่ายอื่นๆในการซื้อบ้านที่หลายคนคาดไม่ถึง
ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบคือ
- จอง จ่ายดาวน์ หรือ มัดจำไปแล้ว ดันกู้ไม่ผ่าน รู้หรือไม่ ยอดคนกู้ไม่ผ่านล่าสุด 25% (อ้างอิง http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1374120660) หลายคนเสียเงิน ขาดทุน มากมาย
- วางแผนว่าจะส่งเท่านี้ เเต่เอาเข้าจริง มันไม่ได้เป็นตามคาด จะยกเลิกก็กลัวจะโดนยึดเงินดาวน์ เลยต้องปล่อยเป็นภาระภายหลัง
- เตรียมเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายในการโอนไม่เพียงพอ แบบนี้ปวดหัวแน่นอน
ผมว่าเราควรเตรียมตัวกันให้รอบคอบกว่านี้ จะได้ไม่เสียเงินไปฟรี (เป็นแสนนะ)
ลองดูว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ แผนเราเสียได้
1. เงินที่สามารถ ชำระค่าบ้านต่อเดือนได้ ต้องไม่เกิน 40% ของเงินเดือนนะ หลายคนคำนวนผิด จะทำให้กู้ไม่ผ่านเอาดื้อๆ
2. เเล้วธนาคารให้กู้ได้ 80-90% ของราคาประเมิน นะ ย้ำ ราคาประเมิน อาจจะมากกว่า หรือ น้อยกว่าราคาที่เราซื้อจริง (ส่วนใหญ่ก็น้อยกว่าทั้งนั้น) เเล้ว กู้ได้ไม่เต็มอีก (ยกเว้นอาชีพบางอาชีพที่กู้ได้เต็มเช่น หมอ ทนาย) อย่าลืมเตรียมเงินไว้สำหรับดาวน์(หรือค่าใช้จ่ายส่วนเกิน) 10-20% หรือมากกว่านั้นในกรณีที่ประเมินได้น้อยด้วยล่ะ
3. ค่าประกันต่างๆ เช่น อัคคีภัย ประมาณ 0.35% ของราคาบ้าน หลายครั้งพนักงาน ธนาคารยังเสนอให้ทำประกันชีวิตส่วนตัวอีก เพื่อค้ำวงประกัน ซึ่งหลายที่ก็บังคับทำ บางที่ก็ไม่บังคับ (เเต่ถ้าทำลดดอกเบี้ยได้) หรือ ประกันชีวิตเเบบสะสมทรัพย์ ช่วยทำเพื่อให้ การกู้ผ่านไปได้อย่างรวดเร็ว และราบรื่น (คหสต)
4. ค่าอากรแสตมป์ 0.005% ของวงเงินกู้
5. ค่าใช้จ่ายในการโอน 2% ของราคาประเมิน และ ค่าธรรมเนียมในการ จดจำนอง 1% ของสัญญาจำนอง อันนี้จ่ายที่ ที่ดิน
6. ค่าประเมิณ 2000-3000 บาท เฮ้ยเเต่เดี๋ยว บางธนาคารฟรีค่าประเมิณนะ เเต่เคยเเอบถามเค้าบอกว่าไม่ได้ฟรีหรอก เเต่จ่ายให้ลูกค้า ซึ้งโครต..
7. ค่าส่วนกลางล่วงหน้า อันนี้ตัวดีเลย บางโครงการ 2 ปี บางโครงการ 5ปี ใครไม่ได้เตรียมเงินส่วนนี้ไว้มีจุกเหมือนกันนะ
8. ค่าของเครื่องใช้หรือ ของตบเเต่ง ซึ่งหลายโครงการให้มา โล่งๆ ต้องซื้อของเข้าอยู่เเล้ว ถ้าเป็นบ้านก็ต้องซื้อเยอะหน่อย นะครับ
9. มิเตอร์น้ำไฟ ประมาณ 7,000 บาท เเพงเหมือนกัน เตรียมไปด้วย
10. ดูด้วยว่า ตัวเองกู้ได้กี่ปี หลายคนเลยที่ กู้ไม่ได้ 30 ปี ยิ่งเวลาน้อย จำนวนเงินที่ต้องจ่ายต่อเดือนก็มากขึ้นนะ อย่าลืมล่ะ
ต่อไปนี้เป็น บิ๊กเซอร์ไพร้ ถ้าใครโดนก็ถือว่าฟาดเคราะห์นะครับ
1. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ในกรณีซื้อมือสอง เเล้ว ทางเจ้าของห้องบอกว่าค่าโอนคนละครึ่ง ดูตรงส่วนนี้ให้ดี เเล้วตกลงกันให้ชัดเจน ซึ่ง หลายครั้งเจ้าของจะโมเม เอารวมในค่าโอนด้วย ดูดีๆนะ 3% โครตเยอะ (เคยโดนมาเเล้ว จ่ายและเจ็บ แบบงงๆ)
2. ค่าพื้นที่ส่วนเกิน อันนี้จะเกิดจาก Developer condo รายใหม่ๆ ที่หวังดีเเถมพื้นที่ใช้สอยให้... แต่เอ็งดันมาเก็บเพิ่มเนี่ยะนะ (ผมโดนไปห้องละ 60,000 5 ห้องที่แทบบิน )
3. กู้ไม่ผ่านต้องกู้ร่วม เเต่โดยปกติเเล้ว ธนาคารจะคิดระยะเวลาผ่อนชำระ ตามคนอายุน้อย และ คิดเครดิตจาก คนที่เครดิตมากกว่า แต่จะมีบางเคสที่ เซอร์ไพร้ คือ ธนาคารดันคิด ระยะเวลากู้ ตามคนอายุมากซะงั้น ( ส่วนตัวเคยกู้ร่วมกับพ่อ ธนาคารคิดอายุของพ่อทำให้กู้ได้เเค่ 10 ปี ผ่อนต่อเดือนเพิ่มมาเกิบ 3 เท่า แผนการเงินที่วางไว้พังหมด )
เวลากูเงินระยะยาวแบบนี้ควรวางเเผนให้รอบคอบนะครับ ผมรู้เลยว่ามันเครียดพอสมควร และ การเตรียมตัวที่ไม่ดีนี้ มันจะบีบให้เราต้องขายบ้านของเราในราคาถูก เพื่อลดภาระ ขาดทุนกันเป็นเเถว ซึ่งหลายคนจะเข็ดจาก อสังหา เพราะเรื่องเเบบนี้เเหล่ะครับ
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะครับ ผิดพลาดยังไงขออภัย
ถ้าชอบบทความแนวนี้ อัพเดตให้เรื่อยๆที่ www.facebook.com/kim.properth
หรือ Blog ของผม www.properth.com