จากมติชนออนไลน์
ปัญหาการได้รับข้อมูลไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงินยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัญหาอีกหนึ่งรูปแบบที่พบบ่อยที่สุดคือมีผู้ต้องการฝากเงินแบบบัญชีเงินฝากประจำกับธนาคาร แต่มารู้ภายหลังว่ากลายเป็นการทำประกันเมื่อถอนเงินแล้วกลับพบว่าไม่สามารถรับเงินเต็มจำนวน
กรณีนี้ คุณกาญจนา แสมขาว ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโสฝ่ายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวพร้อมแนะนำข้อปฏิบัติสำหรับประชาชนเพื่อป้องกันปัญหาทำประกันโดยผิดพลาด
จากที่มีพนักงานธนาคาร หรือเจ้าหน้าที่ขายประกันต่างๆ มาเสนอขายประกันโดยอธิบายว่าเป็นประกันที่อยู่ในรูปแบบเงินออมมีจริงหรือไม่?
ต้องขอเรียนในเบื้องต้นว่าตัวกรมธรรม์ประกันชีวิตจะให้การคุ้มครองใน 2 กรณี 1.คุ้มครองการเสียชีวิต 2.คุ้มครองการอยู่รอด เมื่อผู้ทำประกันภัยมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญาตามที่กรมธรรม์ประกันภัยระบุไว้ ก็จะได้รับเงินผลประโยชน์ตามที่กรมธรรม์กำหนด ซึ่งดูจากลักษณะของการจ่ายผลประโยชน์ จะคล้ายคลึงกับการออมเงิน โดยคนขายประกันอาจจะพูดให้ผู้ฟังจนเข้าใจคลาดเคลื่อนไปได้ว่าเป็นเงินออม คือจริงๆ กรมธรรม์ประกันชีวิตรูปแบบนี้ ถูกออกแบบให้ตรงกับความต้องการของประชาชนทั่วไป เพราะฉะนั้นความคุ้มครองจะมีหลากหลายมาก ความคุ้มครองอาจจะเป็นแบบตลอดชีพ อันนี้คือประชาชนประสงค์ที่จะได้รับการคุ้มครองตลอดชีวิต คือเสียชีวิตเมื่อไหร่ บริษัทก็จะจ่ายผลประโยชน์ให้ ระยะเวลาประกันภัยก็จะยาว หรือบางคนอยากต้องการความคุ้มครองในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เมื่อครบกำหนดก็จะได้เงินไปก้อนนึง ก็จะมีความคุ้มครอง 10 ปี หรือ 20 ปี อันนี้จะเรียกว่าเป็นแบบสะสมทรัพย์
มีข่าวออกมาว่ามักมีเจ้าหน้าที่พนักงานธนาคารเสนอขายประชาชนโดยอธิบายว่าเป็นเงินออม แต่กลายเป็นทำประกันชีวิต ปัญหานี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ประการแรกก็คือตัวโปรดักต์ประกันชีวิต ถ้าหากยกเลิกก่อนครบกำหนดสัญญาที่ทำไว้ ยืนยันได้เลยว่าจะไม่ได้รับเงินเต็มจำนวน ต้องอยู่จนครบกำหนดสัญญา เพราะฉะนั้นเวลามีคนมาเสนอขายบอกว่าเป็นเงินออม โดยมีการคุ้มครองประกันชีวิตด้วย ขอให้เข้าใจไว้เลยว่านั่นคือผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต เพราะฉะนั้นเข้าใจในเบื้องต้นแล้วว่าเป็นผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต และเจ้าหน้าที่กำลังเสนอขายให้ คงต้องสอบถามรายละเอียดว่าระยะเวลาประกันภัยครบกำหนดเมื่อไหร่ ? ชำระเบี้ยเมื่อไหร่ ? ชำระกี่ปี ? เพื่อทำความเข้าใจและดูกำลังของตัวเองด้วยว่าจะชำระเบี้ยได้จนครบกำหนดเวลาหรือไม่ ส่วนตัวผลประโยชน์ของกรมธรรม์ตรงตามความต้องการหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้เราเข้าใจข้อเท็จจริงมากยิ่งขึ้นว่าเรากำลังทำอะไรอยู่
พนักงานขายประกันจะได้รับอบรมจากบริษัทขายประกันโดยตรงก่อนที่จะออกภาคสนามหรือไม่?
จริงๆ ใบอนุญาตจะต้องผ่านการสอบจากสำนักงานคปภ. ว่ามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องตัวประกันชีวิตและประกันวินาศภัยสำนักงานคปภ.จะเป็นคนสอบ ถ้าผ่านก็จะออกใบอนุญาตให้แล้วก็ไปขาย ส่วนในเรื่องการอบรมของการขายผลิตภัณฑ์ของแต่ละบริษัท ตัวบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัยจะเป็นคนอบรมให้
ตลอดช่วงที่ผ่านมามีผู้คนมาร้องเรียนขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับการออมเงินแต่กลับเป็นการซื้อประกันบ้างหรือไม่?
ก็มีบ้าง ซึ่งถ้าหากท่านใดทำไปแล้วเกิดปัญหาขึ้นมาอยากให้มาร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เราก็จะหาข้อเท็จจริงว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ถ้าสาเหตุเกิดมาจากการขายที่ผิดพลาด คปภ. จะช่วยดำเนินการและหาทางช่วยเหลือ
รูปแบบการทำประกันในรูปแบบเงินออมระยะสั้นเป็นอย่างไร ?
จริงๆ แล้ว ไม่อยากให้ใช้คำว่าเงินออม อยากจะบอกว่ามันคือผลประโยชน์ความคุ้มครองการอยู่รอดของการประกันชีวิต อย่างที่บอกระยะสั้นเนี่ย มันเป็นแบบสะสมทรัพย์ คือถ้าหากพวกประกันภัยแบบสะสมทรัพย์ จะให้ความคุ้มครองในกรณีที่ผู้ทำประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนด ก็จะได้ผลประโยชน์ตามระบุในกรมธรรม์ไป หรือว่าผู้ประกันภัยมีชีวิตอยู่รอดครบกำหนดสัญญาที่กำหนดไว้ก็จะได้ผลประโยชน์ตามที่กรมธรรม์กำหนดไว้เหมือนกัน เขาก็จะกำหนดระยะเวลาประกันภัยเป็น 10 ปี 20 ปีแล้วแต่กรณี
แตกต่างจากระยะยาวอย่างไร ?
ส่วนใหญ่ระยะยาว จะเป็นการคุ้มครองการเสียชีวิตตลอดชีวิตของผู้ทำ จะคล้ายกับลักษณะที่ว่า เป็นการซื้อความคุ้มครองเพื่อเป็นมรดกให้กับลูก ซึ่งคนเราถ้าอยากจะเก็บเงินสักก้อนให้กับลูก โดยที่ผู้ทำเองก็ยังไม่ทราบว่าตัวเองจะเสียชีวิตเมื่อไหร่ โดยมีความมุ่งหมายที่จะเก็บเงินให้ได้หนึ่ง เราก็ไม่แน่ใจว่าเราจะได้มั้ย แต่การทำประกันชีวิตอย่างเช่นเราอยากจะมีเงินให้กับลูกสัก 5 ล้าน เราก็สามารถไปซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ ที่ทุนประกัน 5 ล้านบาท เมื่อพ่อ-แม่ เสียชีวิตไปลูกก็จะได้รับทุนประกันตัวนั้นไป 5 ล้านบาท
ทำไมต้องถึง 90 ปี เพราะบางคนมองว่าถ้ารู้แต่แรกคงไม่ทำ
เพราะมันเป็นกรมธรรม์แบบตลอดชีพ จุดประสงค์คือซื้อไว้เผื่อผู้ประกันภัยเสียชีวิตก็จะมีเงินเผื่อไว้ให้ลูก เพราะฉะนั้นความคุ้มครองจึงยาวมาก ที่จริง 90 ปีนี้สั้นลงมาแล้ว ในอดีต 99 ปี แต่ในลักษณะที่เอาไปขายต้องบอกว่าเป็นการขายที่ผิดวัตถุประสงค์ของผู้ซื้อ ไม่ใช่ว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตแบบ 90 ปีมันจะไม่ดี แต่มันอยู่ที่วัตถุประสงค์ของผู้ซื้อ ถ้าผู้ซื้อต้องการเก็บเงินไว้เป็นมรดกให้กับลูกหลาน ก็สมควรที่จะซื้อกรมธรรม์ลักษณะนี้ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต ควรจะศึกษารายละเอียดข้อตกลงความต้องการให้ชัดเจนให้ตรงกับความต้องการของตัวเอง
สรุปได้ว่า ประชาชนที่โดนหลอกให้ซื้อไปในลักษณะนี้แสดงว่าเป็นลักษณะระยะยาว?
ใช่ค่ะ เป็นกรมธรรม์ระยะยาว ซึ่งถ้าผู้ประกันภัยที่ซื้อไปอายุเยอะๆ แล้วก็ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะเก็บประกันภัยเอาไว้ให้ลูกหลานก็ไม่สมควรจะซื้อ
ถ้าคนที่ซื้อไปแล้วเค้าไม่ได้สังเกตว่าในใบกรมธรรม์นั้นมีอะไรบ้าง ถ้าเซ็นไปแล้ว จะสามารถร้องเรียนอะไรได้หรือไม่ ?
ก่อนอื่น เคสส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น มันจะเกิดขึ้นที่ธนาคาร พนักงานธนาคารเป็นคนขายแล้วบอกว่าเป็นเงินออม ทำให้คนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นการฝากเงิน ซึ่งการซื้อประกันชีวิตนี้จะต่างกับการฝากเงินกับธนาคาร เพราะถ้าจะซื้อประกันชีวิตได้เนี่ย ผู้ประกันภัยต้องเขียนใบคำขอเอาใบประกันชีวิต เป็นการแถลงสุขภาพ แถลงประวัติของตัวเอง เพื่อให้บริษัทนั้นไปพิจารณาว่าจะรับประกันชีวิตหรือไม่ เพราะฉะนั้นถ้าหากไปธนาคารก็อยากจะฝากไว้ว่า ถ้าพนักงานธนาคารเอาอะไรมาให้เซ็น ควรจะสังเกตซักนิดนึง เพื่อไม่ให้เราคิดว่าเป็นการฝากเงินแต่กลับกลายเป็นซื้อประกันชีวิตไป ก็ให้สังเกตซักนิดนึงว่าพนักงานธนาคารเอาอะไรมาให้เซ็นอ่านให้ละเอียด อันนี้ก็จะเป็นขั้นตอนแรกที่อาจจะไม่ถูกการเสนอขายที่ผิดพลาดและเกิดผลเสียกับตัวผู้ประกันภัย
ถ้าพนักงานเอามาเสนอขาย แล้วในใบกรมธรรม์ระบุไว้อย่างหนึ่ง แล้วพอเอาเข้าจริงๆ มันมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไปได้หรือไม่ ?
ในกรมธรรม์มันเปลี่ยนเงื่อนไขไม่ได้ เพียงแต่ว่าถ้าพนักงานเสนอขายกับในตัวกรมธรรม์ที่ออกมาไม่เหมือนกันเนี่ย สามารถยกเลิกกรมธรรม์ได้ภายใน 15 วัน ผู้ประกันภัยจะได้รับค่าเบี้ยประกันภัยคืนนะคะ แต่อาจจะมีการถูกหักค่าใช้จ่ายฉบับละ 500 บาท ถ้าชำระเบี้ยไป 20,000 ก็จะได้คืน 19,500 บาท ประมาณนี้ก็คือจะถูกหักค่าใช้จ่ายฉบับละ 500 ทุกฉบับค่ะ
มีข้อเตือนใจคนในปัจจุบัน รวมถึงข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับการทำกรมธรรม์ต่างๆ ?
ที่อยากจะฝากไว้เพราะว่าตอนนี้ทางธนาคารก็ได้ใบอนุญาตเป็นนายหน้านิติบุคคลแล้ว เขาสามารถขายตัวโปรดักต์ประกันชีวิตได้แล้ว ก็อยากจะให้สังเกตนิดนึงเวลาไปธนาคาร ถ้าพนักงานธนาคารบอกว่า มีรูปแบบการออมเงินแบบใหม่ให้ผลตอบแทนเท่านั้นเท่านี้ ก็อยากให้สังเกตนิดนึงว่าเป็นการซื้อประกันชีวิตหรือเปล่า เพราะว่าข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นมาเนี่ย เกิดจากพนักงานธนาคารอาจจะพูดข้อมูลไม่ครบถ้วน แล้วก็จะเป็นผลเสียต่อผู้ประกันภัย และอาจจะทำให้ภาพพจน์ของธุรกิจประกันภัยไม่ค่อยดี ซึ่งจริงๆ มันไม่ใช่ ตัวกรมธรรม์ประกันชีวิตเนี่ยมันมีประโยชน์ ถ้าผู้ซื้อซื้อตรงตามความต้องการของตัวเองเนี่ยก็จะมีประโยชน์มาก เพราะฉะนั้นในกรณีที่เป็นการซื้อประกันชีวิต ก็อยากให้สังเกตว่าข้อตกลงความคุ้มครองยังไง ระยะเวลาความคุ้มครองเท่าไหร่ ระยะเวลาชำระเบี้ยเท่าไหร่ เพื่อให้ตัวเองนั้นได้พิจารณาว่ามีความสามารถในการชำระเบี้ยให้ครบที่กรมธรรม์กำหนด ผลประโยชน์ก็จะได้รับตามที่กรมธรรม์กำหนด
มีลูกบอกลูก! คปภ.แนะแนวป้องกันปัญหาทำบัญชี "เงินฝาก" แต่กลายเป็น "ซื้อประกัน"
ปัญหาการได้รับข้อมูลไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงินยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัญหาอีกหนึ่งรูปแบบที่พบบ่อยที่สุดคือมีผู้ต้องการฝากเงินแบบบัญชีเงินฝากประจำกับธนาคาร แต่มารู้ภายหลังว่ากลายเป็นการทำประกันเมื่อถอนเงินแล้วกลับพบว่าไม่สามารถรับเงินเต็มจำนวน
กรณีนี้ คุณกาญจนา แสมขาว ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโสฝ่ายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวพร้อมแนะนำข้อปฏิบัติสำหรับประชาชนเพื่อป้องกันปัญหาทำประกันโดยผิดพลาด
จากที่มีพนักงานธนาคาร หรือเจ้าหน้าที่ขายประกันต่างๆ มาเสนอขายประกันโดยอธิบายว่าเป็นประกันที่อยู่ในรูปแบบเงินออมมีจริงหรือไม่?
ต้องขอเรียนในเบื้องต้นว่าตัวกรมธรรม์ประกันชีวิตจะให้การคุ้มครองใน 2 กรณี 1.คุ้มครองการเสียชีวิต 2.คุ้มครองการอยู่รอด เมื่อผู้ทำประกันภัยมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญาตามที่กรมธรรม์ประกันภัยระบุไว้ ก็จะได้รับเงินผลประโยชน์ตามที่กรมธรรม์กำหนด ซึ่งดูจากลักษณะของการจ่ายผลประโยชน์ จะคล้ายคลึงกับการออมเงิน โดยคนขายประกันอาจจะพูดให้ผู้ฟังจนเข้าใจคลาดเคลื่อนไปได้ว่าเป็นเงินออม คือจริงๆ กรมธรรม์ประกันชีวิตรูปแบบนี้ ถูกออกแบบให้ตรงกับความต้องการของประชาชนทั่วไป เพราะฉะนั้นความคุ้มครองจะมีหลากหลายมาก ความคุ้มครองอาจจะเป็นแบบตลอดชีพ อันนี้คือประชาชนประสงค์ที่จะได้รับการคุ้มครองตลอดชีวิต คือเสียชีวิตเมื่อไหร่ บริษัทก็จะจ่ายผลประโยชน์ให้ ระยะเวลาประกันภัยก็จะยาว หรือบางคนอยากต้องการความคุ้มครองในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เมื่อครบกำหนดก็จะได้เงินไปก้อนนึง ก็จะมีความคุ้มครอง 10 ปี หรือ 20 ปี อันนี้จะเรียกว่าเป็นแบบสะสมทรัพย์
มีข่าวออกมาว่ามักมีเจ้าหน้าที่พนักงานธนาคารเสนอขายประชาชนโดยอธิบายว่าเป็นเงินออม แต่กลายเป็นทำประกันชีวิต ปัญหานี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ประการแรกก็คือตัวโปรดักต์ประกันชีวิต ถ้าหากยกเลิกก่อนครบกำหนดสัญญาที่ทำไว้ ยืนยันได้เลยว่าจะไม่ได้รับเงินเต็มจำนวน ต้องอยู่จนครบกำหนดสัญญา เพราะฉะนั้นเวลามีคนมาเสนอขายบอกว่าเป็นเงินออม โดยมีการคุ้มครองประกันชีวิตด้วย ขอให้เข้าใจไว้เลยว่านั่นคือผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต เพราะฉะนั้นเข้าใจในเบื้องต้นแล้วว่าเป็นผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต และเจ้าหน้าที่กำลังเสนอขายให้ คงต้องสอบถามรายละเอียดว่าระยะเวลาประกันภัยครบกำหนดเมื่อไหร่ ? ชำระเบี้ยเมื่อไหร่ ? ชำระกี่ปี ? เพื่อทำความเข้าใจและดูกำลังของตัวเองด้วยว่าจะชำระเบี้ยได้จนครบกำหนดเวลาหรือไม่ ส่วนตัวผลประโยชน์ของกรมธรรม์ตรงตามความต้องการหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้เราเข้าใจข้อเท็จจริงมากยิ่งขึ้นว่าเรากำลังทำอะไรอยู่
พนักงานขายประกันจะได้รับอบรมจากบริษัทขายประกันโดยตรงก่อนที่จะออกภาคสนามหรือไม่?
จริงๆ ใบอนุญาตจะต้องผ่านการสอบจากสำนักงานคปภ. ว่ามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องตัวประกันชีวิตและประกันวินาศภัยสำนักงานคปภ.จะเป็นคนสอบ ถ้าผ่านก็จะออกใบอนุญาตให้แล้วก็ไปขาย ส่วนในเรื่องการอบรมของการขายผลิตภัณฑ์ของแต่ละบริษัท ตัวบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัยจะเป็นคนอบรมให้
ตลอดช่วงที่ผ่านมามีผู้คนมาร้องเรียนขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับการออมเงินแต่กลับเป็นการซื้อประกันบ้างหรือไม่?
ก็มีบ้าง ซึ่งถ้าหากท่านใดทำไปแล้วเกิดปัญหาขึ้นมาอยากให้มาร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เราก็จะหาข้อเท็จจริงว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ถ้าสาเหตุเกิดมาจากการขายที่ผิดพลาด คปภ. จะช่วยดำเนินการและหาทางช่วยเหลือ
รูปแบบการทำประกันในรูปแบบเงินออมระยะสั้นเป็นอย่างไร ?
จริงๆ แล้ว ไม่อยากให้ใช้คำว่าเงินออม อยากจะบอกว่ามันคือผลประโยชน์ความคุ้มครองการอยู่รอดของการประกันชีวิต อย่างที่บอกระยะสั้นเนี่ย มันเป็นแบบสะสมทรัพย์ คือถ้าหากพวกประกันภัยแบบสะสมทรัพย์ จะให้ความคุ้มครองในกรณีที่ผู้ทำประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนด ก็จะได้ผลประโยชน์ตามระบุในกรมธรรม์ไป หรือว่าผู้ประกันภัยมีชีวิตอยู่รอดครบกำหนดสัญญาที่กำหนดไว้ก็จะได้ผลประโยชน์ตามที่กรมธรรม์กำหนดไว้เหมือนกัน เขาก็จะกำหนดระยะเวลาประกันภัยเป็น 10 ปี 20 ปีแล้วแต่กรณี
แตกต่างจากระยะยาวอย่างไร ?
ส่วนใหญ่ระยะยาว จะเป็นการคุ้มครองการเสียชีวิตตลอดชีวิตของผู้ทำ จะคล้ายกับลักษณะที่ว่า เป็นการซื้อความคุ้มครองเพื่อเป็นมรดกให้กับลูก ซึ่งคนเราถ้าอยากจะเก็บเงินสักก้อนให้กับลูก โดยที่ผู้ทำเองก็ยังไม่ทราบว่าตัวเองจะเสียชีวิตเมื่อไหร่ โดยมีความมุ่งหมายที่จะเก็บเงินให้ได้หนึ่ง เราก็ไม่แน่ใจว่าเราจะได้มั้ย แต่การทำประกันชีวิตอย่างเช่นเราอยากจะมีเงินให้กับลูกสัก 5 ล้าน เราก็สามารถไปซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ ที่ทุนประกัน 5 ล้านบาท เมื่อพ่อ-แม่ เสียชีวิตไปลูกก็จะได้รับทุนประกันตัวนั้นไป 5 ล้านบาท
ทำไมต้องถึง 90 ปี เพราะบางคนมองว่าถ้ารู้แต่แรกคงไม่ทำ
เพราะมันเป็นกรมธรรม์แบบตลอดชีพ จุดประสงค์คือซื้อไว้เผื่อผู้ประกันภัยเสียชีวิตก็จะมีเงินเผื่อไว้ให้ลูก เพราะฉะนั้นความคุ้มครองจึงยาวมาก ที่จริง 90 ปีนี้สั้นลงมาแล้ว ในอดีต 99 ปี แต่ในลักษณะที่เอาไปขายต้องบอกว่าเป็นการขายที่ผิดวัตถุประสงค์ของผู้ซื้อ ไม่ใช่ว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตแบบ 90 ปีมันจะไม่ดี แต่มันอยู่ที่วัตถุประสงค์ของผู้ซื้อ ถ้าผู้ซื้อต้องการเก็บเงินไว้เป็นมรดกให้กับลูกหลาน ก็สมควรที่จะซื้อกรมธรรม์ลักษณะนี้ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต ควรจะศึกษารายละเอียดข้อตกลงความต้องการให้ชัดเจนให้ตรงกับความต้องการของตัวเอง
สรุปได้ว่า ประชาชนที่โดนหลอกให้ซื้อไปในลักษณะนี้แสดงว่าเป็นลักษณะระยะยาว?
ใช่ค่ะ เป็นกรมธรรม์ระยะยาว ซึ่งถ้าผู้ประกันภัยที่ซื้อไปอายุเยอะๆ แล้วก็ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะเก็บประกันภัยเอาไว้ให้ลูกหลานก็ไม่สมควรจะซื้อ
ถ้าคนที่ซื้อไปแล้วเค้าไม่ได้สังเกตว่าในใบกรมธรรม์นั้นมีอะไรบ้าง ถ้าเซ็นไปแล้ว จะสามารถร้องเรียนอะไรได้หรือไม่ ?
ก่อนอื่น เคสส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น มันจะเกิดขึ้นที่ธนาคาร พนักงานธนาคารเป็นคนขายแล้วบอกว่าเป็นเงินออม ทำให้คนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นการฝากเงิน ซึ่งการซื้อประกันชีวิตนี้จะต่างกับการฝากเงินกับธนาคาร เพราะถ้าจะซื้อประกันชีวิตได้เนี่ย ผู้ประกันภัยต้องเขียนใบคำขอเอาใบประกันชีวิต เป็นการแถลงสุขภาพ แถลงประวัติของตัวเอง เพื่อให้บริษัทนั้นไปพิจารณาว่าจะรับประกันชีวิตหรือไม่ เพราะฉะนั้นถ้าหากไปธนาคารก็อยากจะฝากไว้ว่า ถ้าพนักงานธนาคารเอาอะไรมาให้เซ็น ควรจะสังเกตซักนิดนึง เพื่อไม่ให้เราคิดว่าเป็นการฝากเงินแต่กลับกลายเป็นซื้อประกันชีวิตไป ก็ให้สังเกตซักนิดนึงว่าพนักงานธนาคารเอาอะไรมาให้เซ็นอ่านให้ละเอียด อันนี้ก็จะเป็นขั้นตอนแรกที่อาจจะไม่ถูกการเสนอขายที่ผิดพลาดและเกิดผลเสียกับตัวผู้ประกันภัย
ถ้าพนักงานเอามาเสนอขาย แล้วในใบกรมธรรม์ระบุไว้อย่างหนึ่ง แล้วพอเอาเข้าจริงๆ มันมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไปได้หรือไม่ ?
ในกรมธรรม์มันเปลี่ยนเงื่อนไขไม่ได้ เพียงแต่ว่าถ้าพนักงานเสนอขายกับในตัวกรมธรรม์ที่ออกมาไม่เหมือนกันเนี่ย สามารถยกเลิกกรมธรรม์ได้ภายใน 15 วัน ผู้ประกันภัยจะได้รับค่าเบี้ยประกันภัยคืนนะคะ แต่อาจจะมีการถูกหักค่าใช้จ่ายฉบับละ 500 บาท ถ้าชำระเบี้ยไป 20,000 ก็จะได้คืน 19,500 บาท ประมาณนี้ก็คือจะถูกหักค่าใช้จ่ายฉบับละ 500 ทุกฉบับค่ะ
มีข้อเตือนใจคนในปัจจุบัน รวมถึงข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับการทำกรมธรรม์ต่างๆ ?
ที่อยากจะฝากไว้เพราะว่าตอนนี้ทางธนาคารก็ได้ใบอนุญาตเป็นนายหน้านิติบุคคลแล้ว เขาสามารถขายตัวโปรดักต์ประกันชีวิตได้แล้ว ก็อยากจะให้สังเกตนิดนึงเวลาไปธนาคาร ถ้าพนักงานธนาคารบอกว่า มีรูปแบบการออมเงินแบบใหม่ให้ผลตอบแทนเท่านั้นเท่านี้ ก็อยากให้สังเกตนิดนึงว่าเป็นการซื้อประกันชีวิตหรือเปล่า เพราะว่าข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นมาเนี่ย เกิดจากพนักงานธนาคารอาจจะพูดข้อมูลไม่ครบถ้วน แล้วก็จะเป็นผลเสียต่อผู้ประกันภัย และอาจจะทำให้ภาพพจน์ของธุรกิจประกันภัยไม่ค่อยดี ซึ่งจริงๆ มันไม่ใช่ ตัวกรมธรรม์ประกันชีวิตเนี่ยมันมีประโยชน์ ถ้าผู้ซื้อซื้อตรงตามความต้องการของตัวเองเนี่ยก็จะมีประโยชน์มาก เพราะฉะนั้นในกรณีที่เป็นการซื้อประกันชีวิต ก็อยากให้สังเกตว่าข้อตกลงความคุ้มครองยังไง ระยะเวลาความคุ้มครองเท่าไหร่ ระยะเวลาชำระเบี้ยเท่าไหร่ เพื่อให้ตัวเองนั้นได้พิจารณาว่ามีความสามารถในการชำระเบี้ยให้ครบที่กรมธรรม์กำหนด ผลประโยชน์ก็จะได้รับตามที่กรมธรรม์กำหนด