11 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้ คือวันครบรอบวันสวรรคตสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่จะมีการจัดงานพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่จังหวัดลพบุรี เป็นประจำทุกปี และรวมถึงในอีกหลายจังหวัด เช่น พระนครศรีอยุธยา จันทบุรี ตราด อุบลราชธานี ยโสธร เป็นต้น
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติ และนำชาติรอดพ้นจากการถูกล่าเป็นอาณานิคม ในสมัยที่พระองค์ครองราชย์ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑ เป็นยุคที่มหาอำนาจตะวันตกแผ่อิทธิพลเข้ามา โดยเฉพาะฮอลันดา ซึ่งหลังจากยึดชวาหรืออินโดนีเซียได้แล้ว ก็คุกคามสยามและมีท่าทีที่ไม่น่าไว้วางใจ สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงย้ายที่ประทับไปอยู่เมืองละโว้หรือลพบุรี ให้ห่างทะเลออกไปอีกเพื่อความปลอดภัย แล้วส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ซึ่งทรงพระบรมเดชานุภาพในยุโรป และกำลังขัดแย้งกับฮอลันดา เพื่อเป็นการคานอำนาจ

ราชทูต ‘โกษาปาน’ ที่ทรงส่งไปนั้น เป็นผู้มีความสามารถอย่างสูง สร้างผลงานจนกระเดื่องเลืองลือไปทั่วยุโรป และทำให้พระมหากษัตริย์ของฝรั่งเศสกับพระมหากษัตริย์ของสยาม ซึ่งอยู่คนละซีกโลก ไม่เคยเห็นพระพักตร์กันเลย มีความรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนมกันได้ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ รับสั่งถึงสมเด็จพระนารายณ์ว่า “พระเจ้ากรุงสยาม น้องของข้า” ส่วนสมเด็จพระนารายณ์ก็รับสั่งถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ว่า “พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส สหายของข้า”
พระปรีชาญาณ ของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
หลังจากที่ฝรั่งเศสและไทย กลายเป็นสหาย เป็นพี่น้องกัน สานสัมพันธไมตรี แต่สัมพันธไมตรีนี้ก็มีสิ่งลับลวงพราง พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงส่งทหารฝรั่งเศส ๖๓๖ คน ในบังคับบัญชาของนายพลเดฟาซ มาช่วยคุ้มกันกรุงสยามตามคำขอของสมเด็จพระนารายณ์ แต่ก็มีคำสั่งลับให้พยายามยึดเมืองธนบุรีอันเป็นเมืองหน้าด่าน กับเมืองมะริดทางภาคใต้ใช้เป็นสถานีการค้าของฝรั่งเศสในตะวันออกไกล พร้อมกับส่งทั้งราชทูตและบาทหลวงมาเกลี้ยกล่อมให้พระเจ้ากรุงสยามเปลี่ยนศาสนาเข้ารีตเป็นคริสต์ให้ได้ เพื่อกระเดื่องพระเกียรติของพระองค์ กับให้สินบนมหาศาล ทั้งหุ้นในบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส และตำแหน่งเคานต์พร้อมที่ดินในกรุงปารีส แก่เจ้าพระยาวิชเยนทร์ หรือคอนสแตนติล ฟอลคอน อัครมหาเสนาบดีสยามเชื้อชาติกรีก เพื่อช่วยหนุนนโยบายทั้งสองนี้ให้ประสบความสำเร็จ

แต่จะด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของแผ่นดินสยามหรืออย่างใดก็ไม่ปรากฏชัด นอกจากนายพลเดฟาซและเจ้าพระยาวิชเยนทร์จะทำงานนี้ไม่สำเร็จแล้ว แม้แต่ชีวิตตัวเองก็ยังรักษากันไว้ไม่ได้ทั้งสองคน อีกทั้งบรรดาราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาทั้งสองคณะ โดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะเปลี่ยนศาสนาพระเจ้ากรุงสยาม แม้จะคาดคั้นอย่างไม่เกรงพระบรมเดชานุภาพ ต่างก็หงายหลังกลับไปเมื่อได้รับคำตอบที่ไม่อาจโต้แย้งได้
เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงบ่ายเบี่ยง จนราชทูตลาลูแบร์เห็นว่า ไม่สามารถต้อนพระเจ้ากรุงสยามเข้ามุมได้แล้ว จึงใช้วิธียื่นบันทึกความทรงจำ ขอให้ทรงตอบเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มีรับสั่งกับเจ้าพระยาวิชเยนทร์ที่มาหว่านล้อมอีกคนว่า พระองค์มีความลำบากพระทัยต่อข้อเสนอของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ที่จะให้พระองค์ละจากศาสนาดั้งเดิมที่ทั่วราชอาณาจักรของพระองค์ได้นับถือติดต่อกันมาถึงสองพันสองร้อยยี่สิบเก้าปี แล้วหันไปรับสิ่งที่พระองค์ไม่เคยรู้เรื่องมาก่อนเลย และว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นภาระของพระผู้เป็นเจ้า ผู้สร้างสวรรค์และพิภพกับมนุษย์ทั้งหลาย หากเป็นพระประสงค์ของพระองค์ ก็อาจประทานร่างกายและจิตวิญาณให้แก่มวลมนุษย์เสมอเหมือนกันไป ต้องนับถือศาสนาเดียวกันทุกคนตามที่พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นเลิศที่สุด แต่ที่ลัทธินิกายหลากหลายยังคงธำรงอยู่ ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เชื่อได้ว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าก็ทรงพอพระทัยที่จะได้รับการเคารพบูชาโดยนัยแห่งลัทธิศาสนาและศาสนพิธีที่แตกต่างกันไป
บาทหลวงตาชารด์ได้บันทึกความเห็นต่อรับสั่งนี้ไว้ว่า
“...จากการให้เหตุผลที่ว่านี้ ชี้ให้เราตระหนักในพระปรีชาญาณของพระมหากษัตริย์องค์นี้ได้เป็นอย่างดีว่า ทั้ง ๆ ที่มิได้ทรงรอบรู้วิทยาการทางภาคพื้นยุโรป ก็ทรงสามารถแสดงออกซึ่งเหตุผลอันเต็มไปด้วยพลังและความแจ่มแจ้ง เป็นที่รับฟังได้ตามนัยแห่งปรัชญาของผู้นอกศาสนาคริสตัง... มิสงสัยเลยว่า พระองค์ได้ตรัสออกมาดังที่พระองค์ทรงคิดอยู่ด้วยความจริงพระทัย และในการที่พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นสัจธรรมอีกด้วย...”
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แผ่นดินสยามเปรียบดัง ‘แผ่นดินอินเตอร์’ มีคนหลายชาติหลายภาษา ทั้งยุโรปและเอเซียเข้ามาเดินกันขวักไขว่ การค้าขายและวิทยาการต่าง ๆ เจริญรุ่งเรือง พระราชพงศาวดารกรุงสยามบันทึกไว้ว่า
“...เมืองลพบุรีและพระนครศรีอยุธยาเป็นมหาบรมสุข สนุกมั่งคั่ง พรั่งพร้อมด้วยพลช้างพลม้า พลานิกรทวยหาญล้วนแกล้วกล้าสามารถ ปราศจากอริราชไพรีมิได้มาย่ำยีบีฑา ระอาพระเดชานุภาพกฤษฎาธิการ และโดยยุติธรรมโบราณราชบรมกษัตริย์สืบมา ฟ้าฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ธัญญาหารก็บริบูรณทั่วนิคมชนบท...”
ทรงนำประเทศฝ่าคลื่นลมไปสู่ความมั่นคงผาสุกด้วยพระปรีชา จนคนรุ่นหลังได้สดุดีพระเกียรติเป็นมหาราชพระองค์หนึ่งของชาติไทย นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ควรแก่การยกย่องให้เป็นบูรพกษัตริย์องค์สำคัญพระองค์หนึ่ง ที่ให้ไทยเป็นไทย จวบจนทุกวันนี้
และในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้กองทัพบกจัดสร้างอนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในอิริยาบถทรงยืน ความสูง 13.90 เมตร ขึ้นมา เป็นหนึ่งในอนุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม 7 พระองค์ ณ “อุทยานราชภักดิ์” อุทยานที่สร้างขึ้น ด้วยความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อเป็นการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งสยาม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ทรงสร้างคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ต่อประเทศชาติ อันนำมาสู่ความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นปึกแผ่นของชาติไทยตราบจนทุกวันนี้
สิ่งที่สำคัญ ในการจัดสร้างอุทยานครั้งนี้ คือการเปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคเอกชน ได้ร่วมกันบริจาค เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในผู้จัดสร้าง และได้แสดงความจงรักภักดี ด้วยการ ทำให้ อุทยานราชภักดิ์ แห่งนี้เป็นอนุสรณ์แก่อนุชนรุ่นหลัง เพื่อเผยแพร่พระราชประวัติของกษัตริย์แห่งสยามที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการต่อไป
หากประชาชนคนไทยท่านไหน หรือ หน่วยงานไหน ต้องการร่วมบริจาคสมทบทุน สามารถบริจาคได้ที่ ธนาคารทหารไทย,ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกรไทย และเคาท์เตอร์เซอร์วิสที่ร้าน 7/11 ทุกสาขา ทั้งนี้สามารถนำใบเสร็จการบริจาคมาลดหย่อนภาษีได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-297-7581-4 ตามวันและเวลาราชการ
อยากให้คนไทยเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอุทยานราชภักดิ์แห่งนี้ ‘ให้อุทยานราชภักดิ์แห่งนี้ เป็นอุทยานของคนไทย เพื่อคนไทยและประเทศไทย’
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ด้วยพระปรีชาญาณ ที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้ชาติไทย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติ และนำชาติรอดพ้นจากการถูกล่าเป็นอาณานิคม ในสมัยที่พระองค์ครองราชย์ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑ เป็นยุคที่มหาอำนาจตะวันตกแผ่อิทธิพลเข้ามา โดยเฉพาะฮอลันดา ซึ่งหลังจากยึดชวาหรืออินโดนีเซียได้แล้ว ก็คุกคามสยามและมีท่าทีที่ไม่น่าไว้วางใจ สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงย้ายที่ประทับไปอยู่เมืองละโว้หรือลพบุรี ให้ห่างทะเลออกไปอีกเพื่อความปลอดภัย แล้วส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ซึ่งทรงพระบรมเดชานุภาพในยุโรป และกำลังขัดแย้งกับฮอลันดา เพื่อเป็นการคานอำนาจ
ราชทูต ‘โกษาปาน’ ที่ทรงส่งไปนั้น เป็นผู้มีความสามารถอย่างสูง สร้างผลงานจนกระเดื่องเลืองลือไปทั่วยุโรป และทำให้พระมหากษัตริย์ของฝรั่งเศสกับพระมหากษัตริย์ของสยาม ซึ่งอยู่คนละซีกโลก ไม่เคยเห็นพระพักตร์กันเลย มีความรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนมกันได้ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ รับสั่งถึงสมเด็จพระนารายณ์ว่า “พระเจ้ากรุงสยาม น้องของข้า” ส่วนสมเด็จพระนารายณ์ก็รับสั่งถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ว่า “พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส สหายของข้า”
พระปรีชาญาณ ของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
หลังจากที่ฝรั่งเศสและไทย กลายเป็นสหาย เป็นพี่น้องกัน สานสัมพันธไมตรี แต่สัมพันธไมตรีนี้ก็มีสิ่งลับลวงพราง พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงส่งทหารฝรั่งเศส ๖๓๖ คน ในบังคับบัญชาของนายพลเดฟาซ มาช่วยคุ้มกันกรุงสยามตามคำขอของสมเด็จพระนารายณ์ แต่ก็มีคำสั่งลับให้พยายามยึดเมืองธนบุรีอันเป็นเมืองหน้าด่าน กับเมืองมะริดทางภาคใต้ใช้เป็นสถานีการค้าของฝรั่งเศสในตะวันออกไกล พร้อมกับส่งทั้งราชทูตและบาทหลวงมาเกลี้ยกล่อมให้พระเจ้ากรุงสยามเปลี่ยนศาสนาเข้ารีตเป็นคริสต์ให้ได้ เพื่อกระเดื่องพระเกียรติของพระองค์ กับให้สินบนมหาศาล ทั้งหุ้นในบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส และตำแหน่งเคานต์พร้อมที่ดินในกรุงปารีส แก่เจ้าพระยาวิชเยนทร์ หรือคอนสแตนติล ฟอลคอน อัครมหาเสนาบดีสยามเชื้อชาติกรีก เพื่อช่วยหนุนนโยบายทั้งสองนี้ให้ประสบความสำเร็จ
แต่จะด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของแผ่นดินสยามหรืออย่างใดก็ไม่ปรากฏชัด นอกจากนายพลเดฟาซและเจ้าพระยาวิชเยนทร์จะทำงานนี้ไม่สำเร็จแล้ว แม้แต่ชีวิตตัวเองก็ยังรักษากันไว้ไม่ได้ทั้งสองคน อีกทั้งบรรดาราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาทั้งสองคณะ โดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะเปลี่ยนศาสนาพระเจ้ากรุงสยาม แม้จะคาดคั้นอย่างไม่เกรงพระบรมเดชานุภาพ ต่างก็หงายหลังกลับไปเมื่อได้รับคำตอบที่ไม่อาจโต้แย้งได้
เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงบ่ายเบี่ยง จนราชทูตลาลูแบร์เห็นว่า ไม่สามารถต้อนพระเจ้ากรุงสยามเข้ามุมได้แล้ว จึงใช้วิธียื่นบันทึกความทรงจำ ขอให้ทรงตอบเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มีรับสั่งกับเจ้าพระยาวิชเยนทร์ที่มาหว่านล้อมอีกคนว่า พระองค์มีความลำบากพระทัยต่อข้อเสนอของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ที่จะให้พระองค์ละจากศาสนาดั้งเดิมที่ทั่วราชอาณาจักรของพระองค์ได้นับถือติดต่อกันมาถึงสองพันสองร้อยยี่สิบเก้าปี แล้วหันไปรับสิ่งที่พระองค์ไม่เคยรู้เรื่องมาก่อนเลย และว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นภาระของพระผู้เป็นเจ้า ผู้สร้างสวรรค์และพิภพกับมนุษย์ทั้งหลาย หากเป็นพระประสงค์ของพระองค์ ก็อาจประทานร่างกายและจิตวิญาณให้แก่มวลมนุษย์เสมอเหมือนกันไป ต้องนับถือศาสนาเดียวกันทุกคนตามที่พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นเลิศที่สุด แต่ที่ลัทธินิกายหลากหลายยังคงธำรงอยู่ ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เชื่อได้ว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าก็ทรงพอพระทัยที่จะได้รับการเคารพบูชาโดยนัยแห่งลัทธิศาสนาและศาสนพิธีที่แตกต่างกันไป
บาทหลวงตาชารด์ได้บันทึกความเห็นต่อรับสั่งนี้ไว้ว่า
“...จากการให้เหตุผลที่ว่านี้ ชี้ให้เราตระหนักในพระปรีชาญาณของพระมหากษัตริย์องค์นี้ได้เป็นอย่างดีว่า ทั้ง ๆ ที่มิได้ทรงรอบรู้วิทยาการทางภาคพื้นยุโรป ก็ทรงสามารถแสดงออกซึ่งเหตุผลอันเต็มไปด้วยพลังและความแจ่มแจ้ง เป็นที่รับฟังได้ตามนัยแห่งปรัชญาของผู้นอกศาสนาคริสตัง... มิสงสัยเลยว่า พระองค์ได้ตรัสออกมาดังที่พระองค์ทรงคิดอยู่ด้วยความจริงพระทัย และในการที่พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นสัจธรรมอีกด้วย...”
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แผ่นดินสยามเปรียบดัง ‘แผ่นดินอินเตอร์’ มีคนหลายชาติหลายภาษา ทั้งยุโรปและเอเซียเข้ามาเดินกันขวักไขว่ การค้าขายและวิทยาการต่าง ๆ เจริญรุ่งเรือง พระราชพงศาวดารกรุงสยามบันทึกไว้ว่า
“...เมืองลพบุรีและพระนครศรีอยุธยาเป็นมหาบรมสุข สนุกมั่งคั่ง พรั่งพร้อมด้วยพลช้างพลม้า พลานิกรทวยหาญล้วนแกล้วกล้าสามารถ ปราศจากอริราชไพรีมิได้มาย่ำยีบีฑา ระอาพระเดชานุภาพกฤษฎาธิการ และโดยยุติธรรมโบราณราชบรมกษัตริย์สืบมา ฟ้าฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ธัญญาหารก็บริบูรณทั่วนิคมชนบท...”
ทรงนำประเทศฝ่าคลื่นลมไปสู่ความมั่นคงผาสุกด้วยพระปรีชา จนคนรุ่นหลังได้สดุดีพระเกียรติเป็นมหาราชพระองค์หนึ่งของชาติไทย นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ควรแก่การยกย่องให้เป็นบูรพกษัตริย์องค์สำคัญพระองค์หนึ่ง ที่ให้ไทยเป็นไทย จวบจนทุกวันนี้
และในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้กองทัพบกจัดสร้างอนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในอิริยาบถทรงยืน ความสูง 13.90 เมตร ขึ้นมา เป็นหนึ่งในอนุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม 7 พระองค์ ณ “อุทยานราชภักดิ์” อุทยานที่สร้างขึ้น ด้วยความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อเป็นการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งสยาม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ทรงสร้างคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ต่อประเทศชาติ อันนำมาสู่ความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นปึกแผ่นของชาติไทยตราบจนทุกวันนี้
สิ่งที่สำคัญ ในการจัดสร้างอุทยานครั้งนี้ คือการเปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคเอกชน ได้ร่วมกันบริจาค เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในผู้จัดสร้าง และได้แสดงความจงรักภักดี ด้วยการ ทำให้ อุทยานราชภักดิ์ แห่งนี้เป็นอนุสรณ์แก่อนุชนรุ่นหลัง เพื่อเผยแพร่พระราชประวัติของกษัตริย์แห่งสยามที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการต่อไป
หากประชาชนคนไทยท่านไหน หรือ หน่วยงานไหน ต้องการร่วมบริจาคสมทบทุน สามารถบริจาคได้ที่ ธนาคารทหารไทย,ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกรไทย และเคาท์เตอร์เซอร์วิสที่ร้าน 7/11 ทุกสาขา ทั้งนี้สามารถนำใบเสร็จการบริจาคมาลดหย่อนภาษีได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-297-7581-4 ตามวันและเวลาราชการ
อยากให้คนไทยเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอุทยานราชภักดิ์แห่งนี้ ‘ให้อุทยานราชภักดิ์แห่งนี้ เป็นอุทยานของคนไทย เพื่อคนไทยและประเทศไทย’