พลังงานทดแทน ควรมาแทนที่พลังงานเชื้อเพลิง Fossil Fuel

หากพวกเราหันมาใช้พลังงานทดแทนกัน,,,จะทันช่วยโลกใบนี้ไหม ?


คำตอบคือ ,,ขึ้นอยู่กับพวกเราจะเข้าใจความหมายและประโยชน์ของพลังงานทดแทนมากน้อยแค่ไหน ,,,? และหากพวกเราเริ่มใช้พลังงานทดแทนกันตอนนี้ ความเป็นไปได้ที่จะช่วยโลก ,,,คงทัน,,,

พลังงานทดแทน คือพลังงานที่สามารถมาแทนที่พลังงานที่เราใช้หมดไป ในที่นี้หมายถึงพลังงานที่ได้มาฟรีจากธรรมชาติ เช่น แสงอาทิตย์ ลม หรือพลังคลื่นทะเล ,,, คะยิ่งอธิบายยิ่ง งง เอาอย่างแล้วกันคะ ขออนุญาตยกตัวอย่างกันเลย เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ คือ แผงโซล่าที่ทุกคนเรียกกัน หรือ พลังงานลม คือ กังหันลม หลายๆท่านอาจเคยเห็นตัวอย่างของทั้งสองพลังงานนี้แล้ว มีอีกพลังงานหนึ่งที่ใช้คลื่นทะเลเป็นตัวผลิตกระแสไฟฟ้า วิธีการทำงานคล้ายกับกังหันลม เพียงแต่ใช้คลื่นทะเลแทนลม

เหตุที่ถูกเรียกพลังงานที่กล่าวมาเป็น พลังงานทดแทน เนื่องจาก เป็นพลังงานที่ธรรมชาติมีอยู่ทุกวัน ปกติเราจะมีลม มีแสงอาทิตย์ มีคลื่นทะเล เกิดขึ้น ทุกๆวัน เมื่อพลังงานที่ถูกผลิตได้ถูกนำมาใช้ จะมีพลังงานตัวใหม่มาแทน โดยที่พลังงานตัวใหม่นี้มีอยู่แล้วในธรรมชาติ และเป็นรูปพลังงานที่เมื่อนำมาใช้จะไม่มีวันหมดไปจากโลก ความเป็นไปได้ของการนำพลังงานที่สะอาดพวกนี้ ( คือผลของการใช้ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ) มาแทนที่พลังงานเชื้อเพลิงที่เรียกว่า Fossil Fuel คือพลังงานเชื้อเพลิงที่ผลของการใช้ ผลิต CO2 / คาร์บอนไดอ๊อกไซด์เข้าสู่อากาศ ทำให้อุณหภูมิปกติของโลกร้อนขึ้น ความเป็นไปได้ที่จะมาทดแทนหรือมาแทนที่พลังงาน fossil fuel นี้มีสูงมากทีเดียว

การที่พวกเราทำความเข้าใจถึงประโยชน์การนำพลังงานทดแทนมาใช้ ว่า,,

เมื่อกังหันเริ่มหมุนด้วยแรงของลม การหมุนของกังหันด้วยลมนั้นก่อให้เกิด พลังงานไฟฟ้า และเมื่อกระแสไฟฟ้าที่มาจากกังหันลม ถูกส่งเก็บไว้ในแบตเตอรี่ หรือแหล่งเก็บกระแสไฟฟ้า เพื่อจะนำกระแสไฟฟ้ามาใช้ตามชุมชน ตามบ้าน ตามอาคารพาณิชย์  วิธีการนี้เรียกได้ว่า เราผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานลม ซึ่งเป็นพลังงานที่ธรรมชาติผลิตขึ้นเอง เราจะรู้ว่าพื้นที่ที่เหมาะสมกับการมีกังหันลมมากที่สุดคือ พื้นที่ใกล้ทะเล เพราะที่แถวนั้น มีลมทะเลพัดผ่านอยู่ตลอดเวลา


สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ก็เช่นกัน จากแผงโซล่า เปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นกระแสไฟฟ้า และมีวิธีขั้นตอนการเก็บกระแสไฟฟ้าเอาไว้ใช้เหมือนกับกระไฟฟ้าที่มาจากกังหันลม เพียงแต่กระแสไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่ามาจากแสงอาทิตย์ และทุกๆวันพระอาทิตย์ส่องสว่างโลกให้เป็นสัญญาณของวันใหม่ แผงโซล่าจึงผลิตกระแสไฟฟ้าตามความต้องการของผู้ใช้ได้ทุกวัน หากพวกเราเข้าใจว่าหลังคาเป็นอีกที่ ที่เราสามารถให้แผงโซล่าผลิตกระแสไฟฟ้า เพราะเป็นพื้นที่ที่รับแสงตลอดทั้งวัน เราจะสามารถปรับพลังงานทดแทนพวกนี้มาให้เป็นประโยชน์กับการช่วยโลกของเรา

การที่ดิฉันตั้งคำถามขึ้นว่า หากพวกเราหันมาใช้ พลังงานทดแทน เราจะทันช่วยโลกไหม ?
ไม่ได้เป็นการกระเเหน่ะ หรือถามเพื่อให้ผู้อ่านไม่ชอบขี้หน้าไปเปล่าๆ แต่ดิฉันถามเพื่อให้พวกเราชาวไทย มีไหวพริบกับเทคโนโลยีใหม่ๆพวกนี้ เพราะอะไรก็ตามเมื่อมีคุณย่อมมีโทษห้อยหลังมาด้วย

การที่เราทำความเข้าใจหลักการทำงานของพลังงานทดแทนพวกนี้  ผลลัพธ์คือ เราจะไม่เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ทำลายโลกอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์อีก เพราะเท่าที่ผ่านมา พลังานเชื้อเพลิง หรือน้ำมัน หรือ FOSSIL FUEL เป็นพลังงานที่ผลิต คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (Co2) เข้าสู่โลกและผลที่ได้คือโลกเราร้อนขึ้น

อย่ารีบทำและนำพลังงานทดแทนมาใช้เพื่อที่จะให้ใครเค้ายกยอ หรือ ต้องการเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีเพื่อหาผลประโยชน์ให้กับตน เพราะอะไรก็ตามเมื่อมีประโยชน์ย่อมมีโทษอยู่เสมอ การที่เราทำความเข้าใจเทคโนโลยีที่ถูกค้นพบมาตั้งแต่ตอนประมาณปี ค.ศ. 1950 แต่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเพราะเชื่อว่า พลังงานทดแทนอาจเป็นพลังงานที่สามารถมาแทนพลังงานเชื้อเพลิงอย่างน้ำมันได้ การทำความเข้าใจถึงประโยชน์และโทษครั้งนี้ อาจจะเป็นผลดีมาก เพราะหากเรายิ่งเข้าใจวิธีการทำงาน เราอาจค้นพบวิธีการช่วยโลกได้อีกทาง,,,,ทุกปัญหามีคำตอบอยู่ในตัวคำถาม,,,,,หรือไทยอาจเป็นประเทศแรกที่ผลิตรถที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นตัวเคลื่อนแทนการใช้น้ำมัน  หรืออาจจะเป็นประเทศแรกในโลกที่,,,,,,??,,,,

,,,,ตอนนี้อาจจะไม่ใช่เป็นช่วงเวลาที่เราต้องมาหาผลประโยชน์ให้กับตัว เพราะอนาคตลูกหลานของเรา ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจการหลีกเลี่ยงผลิต Co2 กับ Cfc ในแต่ละวัน,,,,เมื่อพวกเราเข้าใจว่า ผลกระทบของภาวะโลกร้อนไม่ได้เป็นผลกระทบที่ไกลตัวเลยสักนิด ความกระตือรือล้นที่จะช่วยลดความร้อนให้กับโลก อาจจะเริ่มต้นที่ตัวเรา


&$&$


การหาวิธีอื่นมาคลายความร้อนโดยที่ไม่ใช้แอร์กันทุกบ้าน เพราะแอร์ผลิตสารที่เรียกว่า CFC ( สารทำความเย็นที่บรรจุไปด้วย carbon, hydrogen, chlorine, and fluorine ) ที่ทำลายชั้นโอโซน ได้นั้น อนาคตลูกหลานของเราคงจะประสพกับปัญหาภาวะโลกร้อนน้อยลง หรือ อาจจะไม่เจออีกเลย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่