แนวทางที่น่าเดินตาม : จากความล้มเหลวก้าวสู่ความยิ่งใหญ่ของวงการฟุตบอลเยอรมัน

ผมเห็นมีบทความที่น่าสนใจจากสู้สู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาระบบเยาวชนของทางเยอรมันครับ ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นหลักไมล์แบบอย่างของวง
การฟุตบอลไทยบ้านเราเพื่อนำไปพัฒนาต่อไป ขอบคุณ คุณ Absolutewit แห่งสู้สู้ผู้แปลบทความดีๆ

ลิงค์ต้นทางมีรูปสวยงาม  http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=356142.msg6880562;topicseen#new

ส่วนตรงนี้คือเนื้อความของผู้แปลไม่มีรูปครับ ผมก็อปปี้มาให้เพื่อความสะดวก

===============================================

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า ผมแปลและรวบรวมเฉพาะใจความสำคัญของเนื้อหาที่ได้อ่านในบทความภาษาอังกฤษสองฉบับ
ซึ่งผมคิดว่าในเนื้อหาพูดถึงแนวทางการพัฒนาด้านฟุตบอลของเยอรมันที่น่าสนใจหลังจากปี 2000 สำหรับแฟนบอลเยอรมัน
คงทราบดีว่าเป็นยุคตกต่ำสุดขีดของวงการฟุตบอลเยอรมัน ผมจะขอยกมาถึงบางตอนที่น่าสนใจมาแปลแบบรวบรัดใจความนะครับ


ความล้มเหลวในฟุตบอล Euro 2000 ที่ฮอลแลนด์และเบลเยี่ยมเป็นเจ้าภาพร่วม ผลคือเยอรมันได้อันดับสุดท้ายของกลุ่มเก็บ
ได้เพียงแต้มเดียวจากการเสมอโรมาเนีย และนอกนั้นแพ้ให้ต่ออังกฤษและโปรตุเกส ทำให้เยอรมันจอดป้ายแค่รอบแรก
ซึ่งในทีมชุดนั้นของเยอรมันเต็มไปด้วยดาวโรยของวงการเยอรมัน เรียกได้ว่าค่าเฉลี่ยของอายุนักเตะอยู่ที่ 29 ปี ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ Lothar Matthäus
ณ ตอนนั้นเขาอายุได้ 39 ปีและยังมีนักเตะอายุ 30 ปีอัพ อยู่ในทีมชุดนั้นถึง 10 คนด้วยกัน

จากเหตุผลดังกล่าวทำให้ DFB หันกลับมาคิดทบทวนรูปแบบการพัฒนาวงการฟุตบอลของประเทศเยอรมันโดยละเอียดใหม่อีกครั้ง
ที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า overhaul นั้นเอง จากความล้มเหลวครั้งนั้นทำให้ DFB ขอความร่วมมือจาก 36 สโมสรของ 2 Division
สูงสุดของประเทศมาร่วมกันหาแนวทางการปฏิวัติวงการฟุตบอลเยอรมันใหม่ จากประชุมครั้งนี้ได้กำหนดแนวทางหลักที่ DFB
วางไว้คือ Homegrown player ซึ่งในแนวทางของ DFB จะต่างไปจากรูปแบบที่ Homegrown ที่ FIFA พยายามออกกฎ fifa's 6+5 rules
มาใช้ในการแข่งระดับสโมสรคือ ใน line-up 11 ตัวจริง fifa พยายามจะผลักดันให้ต้องมีอย่างน้อย 6  คนจะต้องมาจากชาติของลีกของตัวเอง
แต่เป็นที่ทราบๆกันว่า fifa’s 6+5 rules ถูกปฏิเสธจาก EU ในภายหลังเนื่องจากพิจารณาแล้วผิดกฎหมายแรงงานของยุโรป
กฎนี้ทาง AFC ของทางเอเชียได้นำมาประยุกต์เป็น 3+1 ในการแข่งขัน ACL ในปัจจุบัน

ย้อนกลับมาที่  Homegrown player ที่ทาง DFB กำหนดไว้เป็นแนวทางคือใน สโมสรแต่ละสโมสรจะต้องมีนักเตะเยอรมันในทีม
อย่างน้อย 12 คน (ถามว่ามันคือกฎหรือไหม ตอบเลยว่าไม่ใช่ มันคือแนวทางที่ DFB ให้กับทีมสมาชิกร่วมกันปฏิบัติ) จากแนวทาง
ดังกล่าวทำให้ในฤดูกาล 2003-2004 มีอัตราส่วนนักเตะเยอรมันในลีกอยู่ที่  44 % (ในปัจจุบันอยู่ที่ 62%)

แผนดังกล่าวนี้เป็นขั้นแรกของการปฏิวัติวงการฟุตบอลเยอรมัน โดยเริ่มจากแผนพัฒนาเยาวชนและยึดเอาสโมสรแต่ละแห่งเป็น
ศูนย์กลางในการพัฒนานักเตะเยาวชนป้อนสู่สโมสร จากสโมสรป้อนสู่ทีมชาติต่อไปหรือจะเรียกอีกอย่างคือ สร้างตัวเลือกของนักเตะ
ให้เพิ่มมากขึ้นอัตราการประสบความสำเร็จก้อจะมากขึ้นตามไปด้วย

โดยแผนการพัฒนาระบบเยาวชนได้เริ่มใช้ทันทีในปี 2000 หลังจากนั้น 2 ปี ฟุตบอลโลก 2002 เยอรมันฟอร์มทีมใหม่โดยเสี่ยง
ด้วยการนำสายเลือดใหม่ลงแข่งขัน โดยครั้งนั้นเยอรมันส่งทีมที่มีค่าอายุเฉลี่ยน้อยสุดตั้งแต่เคยมีมาคือ 24.7 ปี
และในครั้งฟุตบอลโลกครั้งนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของนักเตะระดับดาวซัลโวฟุตบอลโลกอย่าง Miloslav Klose นั้นเอง ผลงานของเยอรมัน
เป็นที่น่าพอใจคือได้รองแชมป์ในครั้งนั้น แต่สิ่งที่ได้มากกว่าคือ
ผลลัพธ์ของสมการที่เยอรมันกำลังมาได้ถูกทางแล้ว

เยอรมันไม่หยุดเพียงการพัฒนาเยาวชนเพียงเท่านั้น ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่พัฒนาในลำดับที่สองคือเรื่องทรัพยากรผู้ฝึกสอนและการยก
ระดับสิ่งอำนวยด้านการฝึกซ้อมต่างๆ โดยจากแนวทางการพัฒนาผู้ฝึกสอนของ DFB ได้ลงไปคลุกคลีกับแต่ละสโมสรเรื่องการ
อบรมผู้ฝึกสอน ทำให้ข้อมูลล่าสุดที่อ้างอิงข้อมูลของ UEFA กับตัวเลขผู้ฝึกสอนในแต่ละระดับของวงการฟุตบอลเยอรมันมีดังนี้ คือ
ระดับ B License 28400 คน / ระดับ A License 5500 คน /ระดับ Pro License 1070 คน นับเป็นตัวเลขที่ทาง DFB พอใจ
เป็นอย่างมาก เพราะสิ่ง DFB คิดอยู่คือ “ นักเตะเยาวชนจะเก่งและเข้าใจเกมฟุตบอลขึ้นอยู่กับคุณภาพของทรัพยากรผู้ฝึกสอนนั้นเอง”

และคงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าผลผลิตจากโครงการที่ DFB สร้างในเรื่องของผู้ฝึกสอนหนึ่งในนั้นคือ Joachim Löw
ซึ่งทราบกันดีอยู่แล้วว่าเขาคือคนที่พาเยอรมันคว้าแชมป์โลก 2014 ล่าสุดเมื่อปีที่ผ่านมาสดๆร้อนๆ

หากจะย้อนดูพัฒนาการที่ทาง DFB วางแนวทางไว้จะเริ่มเห็นผลนั้นน่าจะเริ่มจากที่ปี 2000 มาอีก 9 ปีถัดมาคือชุด
U-21 ปีที่ก้าวขึ้นมาคว้าแชมป์ยุโรปได้สำเร็จ โดยถล่มอังกฤษ 4-0 ในนัดชิงชนะเลิศ

นักเตะเกินกว่าครึ่งทีมของชุดนี้ก้าวมาสู่ชุดใหญ่ที่คว้าแชมป์โลก 2014 ในที่สุด
โดยชุดที่คว้าแชมป์ U-21 ในปี 2009 ประกอบด้วยผลผลิตในระบบที่ DFB วางไว้ทั้งสิ้น โดยก้าวขึ้นไปคว้าแชมป์โลก2014 ถึง 6 คนดังนี้
1.   Manuel Neuer
2.   Benedikt Höwedes
3.   Jérôme Boateng
4.   Sami Khedira
5.   Mesut Özil
6.   Mats Hummels
หลังจากปี 2009 ไม่นานก้อเริ่มมี Golden boy ของวงการลูกหนังเยอรมันเกิดขึ้นมาอีกมากมายอาทิเช่น
Macro reus , Mario gotze , Tony Kloos,Julian Draxler  และอีกมากมายที่กำลังฉายแววในการแข่งขัน U-21 ปี 2015
ซึ่งกำลังแข่งขันกันที่ประเทศสาธารณรัฐเช็กอยู่ตอนนี้ และทางเด็กจาก DFB เหล่านี้ถูกยกให้เป็นเต็งหนึ่งที่จะคว้าแชมป์ในครั้งนี้

=== คห. ผู้แปล =======
ซึ่งมองย้อนกลับมาที่วงการฟุตบอลไทยของเรา ผมมองว่าเราสามารถที่จะคิดแบบที่ DFB ทำในที่กล่าวมาข้างต้นได้
โดยเริ่มที่การพัฒนา Academy ในแต่ละสโมสรให้มีการพัฒนาเยาวชน โดยการจัดลีกเยาวชน เสริมสร้างโอกาสและทางเลือกให้
มากขึ้น โดยเน้นที่คุณภาพควบคู่กับปริมาณนักเตะเยาชน และสิ่งที่วงการฟุตบอลไทยยังขาดคือทรัพยากรผู้ฝึกสอนที่ได้ A license
จนถึง Pro license ยังมีน้อย ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาได้ในทุกระดับ ซึ่งอยากบอกว่ามันยังไม่สายไป ถ้าเราจะหันมาพัฒนาระบบ
เยาวชนและผู้ฝึกสอนในระดับ A license จนถึง Pro license โดยตั้งเป้าหมายระดับทวีปเป็นเป้าหมายแรกๆ แล้วค่อยๆขยับสเกล
ไปสู่ฟุตบอลโลกต่อไป
================= END===========================

คห.ผมเอง:
จากบทความนี้น่าจะเป็นคำตอบสำหรับหลายคนนะครับ สำหรับโควต้าอาเซียนในไทยลีก ที่ผมคิดว่าตาม ACL นั้นดีอยู่แล้ว ส่วนการพัฒนาโค้ชที่มาคุมเยาวชนเรา ควรต้องมีโค้ชที่มีคุณภาพครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่