ควบคุมร้านเหล้ารอบสถานศึกษา แก้ปัญหาได้จริงหรือไม่?

ปัจจุบันมีผลสำรวจพบว่ากลุ่มที่สัดส่วนนักดื่มเพิ่มขึ้น คือกลุ่มเยาวชน( อายุ15-24ปีโดยประมาณ) และกลุ่มนักดื่มเยาวชนเกินครึ่ง ล้วนแล้วแต่เคยดื่มหนักแบบที่เรียกว่าหัวราน้ำเลยทีเดียว นิสิต-นักศึกษา เป็นกลุ่มเยาวชนที่มีช่วงอายุสามารถซื้อและดื่มแอลกอฮอล์ได้ตามกฎหมาย ผู้ประกอบการจึงเล็งเห็น ว่ากลุ่มนิสิต-นักศึกษาเหล่านี้เป็นกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายหลักในการสร้างรายได้ และกอบโกยผลกำไรจึงทำให้ในทุกพื้นที่ย่านมหาวิทยาลัย มีร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สถานบันเทิง ผับ บาร์ กระจายอยู่มากมาย และมีแนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ดีการดื่มของเยาวชนนั้นก่อให้เกิดผลกระทบตามมาในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเยาวชนผู้ดื่มเอง เช่น ผลการเรียนตกต่ำ การพลาดพลั้งมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ บลาๆๆๆๆๆ

นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสังคมอีกด้วย เช่น การเมาแล้วขับทำให้เกิดอุบัติเหตุ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นว่าการดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนก่อให้เกิดผลทางลบ และเรื่องนี้นับเป็นปัญหาสำคัญขั้นวิกฤตที่ควรเร่งแก้ไขอย่างรวดเร็ว  ทว่ากฎหมายการควบคุมแอลกอฮอล์เดิมที่มีผลบังคับใช้อยู่ ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการ ซึ่งแปลว่า ความเข้มงวดของมาตรการกฎหมายยังคงน้อยไป หรือ มีเพียงการกวดขันควบคุมเป็นพักๆ ไม่ต่อเนื่องจนกลายเป็นความเคยชินที่เกิดขึ้นในสังคม ระบบการจัดโซนนิ่งที่ห้ามไม่ให้มีสถานบันเทิงหรือร้านขายแอลกอฮอล์อยู่ในระยะ 300 เมตรโดยรอบมหาวิทยาลัย จะช่วยลดปริมาณความหนาแน่นของร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ และระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางจากมหาวิทยาลัยไปร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใกล้ที่สุดเพิ่มขึ้น 1 นาที ส่งผลต่อความน่าจะเป็นในการดื่มแอลกอฮอล์ที่ลดลงได้ร้อยละ 2 ซึ่งถือว่าระบบการจัดโซนนิ่งช่วยลดอัตรานักดื่มหน้าใหม่และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นลงได้

กฏหมายการควบคุมร้านเหล้ารอบสถานศึกษาจะได้ผลจริงหรือไม่? แล้วเพื่อนๆล่ะคะ มีความคิดเห็นกันอย่างไรบ้าง?

*ข้อมูลอ้างอิงจาก ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่