จากมติชนออนไลน์
หลังจากที่ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และนักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม โพสต์เฟซบุ๊ก ภาพซากปลากระเบนแมนต้า ซึ่งเป็นกลุ่มปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก บนท้ายรถกระบะ พร้อมกับเรียกร้องให้มีการคุ้มครองปกป้อง สัตว์ในกลุ่มนี้อย่างจริงจัง โดยเสนอให้กำหนดเป็นสัตว์คุ้มครอง ตามกฎหมาย
จากกรณีดังกล่าว ผู้สื่อข่าว มติชนออนไลน์ ได้สอบถามไปยัง ดร.ธรณ์ ซึ่งดร.ธรณ์ ได้ให้ความกระจ่างมาดังนี้
ปัจจุบัน ปลากระเบนแมนต้า ยังไม่ได้เป็นสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองใดๆ ตามกฎหมายไทยเลย ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองจากกฎหมายทางฝั่งกรมประมง ว่าด้วยการห้ามทำการประมง หรือเป็นสัตว์คุ้มครอง จากพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 จากทางฝั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การที่จะผลักดันปลากระเบนแมนต้าให้ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย อาจจะเป็นเรื่องยากในแง่ที่ว่า ปัจจุบันเรามีข้อมูลเกี่ยวกับปลาตัวนี้ค่อนข้างน้อย ซึ่งจากแวดวงนักดำน้ำ คาดว่า ทางฝั่งทะเลอันดามัน เคยพบอยู่ราว 50 ตัวเท่านั้น จำนวนที่มีน้อยขนาดนี้ ก็ยิ่งสมควรที่จะได้รับความคุ้มครองโดยเร็ว
ในขณะที่ ผู้ดูแลเพจ Thailand Manta Project ซึ่งเน้นการศึกษาวิจัยปลากระเบนราหูในประเทศไทย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปลากระเบนแมนต้ามาว่า ปลากระเบนแมนต้ามีชื่อไทยว่า กระเบนราหู แต่นักดำน้ำ ลูกเรือในฝั่งทะเลอันดามันจะเรียกภาษาอังกฤษกันว่า แมนต้า กระเบนแมนต้า เป็นสัตว์ที่มีลูกน้อยมาก เมื่อเทียบกับสัตว์น้ำสายพันธุ์อื่น โดยตัวเมียต้องมีอายุ 10 ปี จึงเริ่มผสมพันธุ์ ใช้เวลาตั้งครรภ์นาน 1 ปี และให้กำเนิดลูกครั้งละ 1ตัวเท่านั้น หลังกำเนิดลูก ก็จะต้องพักตัวอีก 2-5 ปี จนกว่าจะเริ่มผสมพันธุ์ได้ใหม่
ดังนั้น การจับปลากระเบนแมนต้าไป 1 ตัว ก็เท่ากับต้องใช้เวลาอีกหลายปีเพื่อจะได้ประชากรมาทดแทน รวมทั้ง ในตลาดยาจีน มีตำรับยาจีน ที่มีเหงือกปลากระเบนแมนต้าเป็นส่วนผสมสำคัญ ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้ปลาชนิดนี้ลดจำนวนลงอย่างน่าใจหาย เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ หากเรายังไม่เห็นความสำคัญที่จะปกป้อง ด้วยการให้กฎหมายเข้ามาคุ้มครองการล่า และการทำประมง
“ปลากระเบนแมนต้า” ใหญ่ยักษ์ น่ารักแค่ไหน ไม่ร่วมปกป้อง หมดจากทะเลไทยแน่
หลังจากที่ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และนักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม โพสต์เฟซบุ๊ก ภาพซากปลากระเบนแมนต้า ซึ่งเป็นกลุ่มปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก บนท้ายรถกระบะ พร้อมกับเรียกร้องให้มีการคุ้มครองปกป้อง สัตว์ในกลุ่มนี้อย่างจริงจัง โดยเสนอให้กำหนดเป็นสัตว์คุ้มครอง ตามกฎหมาย
จากกรณีดังกล่าว ผู้สื่อข่าว มติชนออนไลน์ ได้สอบถามไปยัง ดร.ธรณ์ ซึ่งดร.ธรณ์ ได้ให้ความกระจ่างมาดังนี้
ปัจจุบัน ปลากระเบนแมนต้า ยังไม่ได้เป็นสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองใดๆ ตามกฎหมายไทยเลย ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองจากกฎหมายทางฝั่งกรมประมง ว่าด้วยการห้ามทำการประมง หรือเป็นสัตว์คุ้มครอง จากพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 จากทางฝั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การที่จะผลักดันปลากระเบนแมนต้าให้ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย อาจจะเป็นเรื่องยากในแง่ที่ว่า ปัจจุบันเรามีข้อมูลเกี่ยวกับปลาตัวนี้ค่อนข้างน้อย ซึ่งจากแวดวงนักดำน้ำ คาดว่า ทางฝั่งทะเลอันดามัน เคยพบอยู่ราว 50 ตัวเท่านั้น จำนวนที่มีน้อยขนาดนี้ ก็ยิ่งสมควรที่จะได้รับความคุ้มครองโดยเร็ว
ในขณะที่ ผู้ดูแลเพจ Thailand Manta Project ซึ่งเน้นการศึกษาวิจัยปลากระเบนราหูในประเทศไทย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปลากระเบนแมนต้ามาว่า ปลากระเบนแมนต้ามีชื่อไทยว่า กระเบนราหู แต่นักดำน้ำ ลูกเรือในฝั่งทะเลอันดามันจะเรียกภาษาอังกฤษกันว่า แมนต้า กระเบนแมนต้า เป็นสัตว์ที่มีลูกน้อยมาก เมื่อเทียบกับสัตว์น้ำสายพันธุ์อื่น โดยตัวเมียต้องมีอายุ 10 ปี จึงเริ่มผสมพันธุ์ ใช้เวลาตั้งครรภ์นาน 1 ปี และให้กำเนิดลูกครั้งละ 1ตัวเท่านั้น หลังกำเนิดลูก ก็จะต้องพักตัวอีก 2-5 ปี จนกว่าจะเริ่มผสมพันธุ์ได้ใหม่
ดังนั้น การจับปลากระเบนแมนต้าไป 1 ตัว ก็เท่ากับต้องใช้เวลาอีกหลายปีเพื่อจะได้ประชากรมาทดแทน รวมทั้ง ในตลาดยาจีน มีตำรับยาจีน ที่มีเหงือกปลากระเบนแมนต้าเป็นส่วนผสมสำคัญ ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้ปลาชนิดนี้ลดจำนวนลงอย่างน่าใจหาย เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ หากเรายังไม่เห็นความสำคัญที่จะปกป้อง ด้วยการให้กฎหมายเข้ามาคุ้มครองการล่า และการทำประมง