เปิดธรรมที่ถูกปิด คิดไปในทางไม่ดีตลอด ความคิดเต็มหัวไปหมด มีความคิดพิเรนทร์ๆ. ทั้งลบหลู่สารพัด

พุทธวจน


                                         
วิตกอันเลวทราม วิตกอันสุขุม ตั้งมั่นแล้วทำใจให้เย่อหยิ่ง
       บุคคลผู้มีจิตหมุนไปแล้วไม่ทราบวิตกแห่งใจเหล่านี้
          ย่อม แล่นไปสู่ภพน้อยและภพใหญ่


         
✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋            พระศาสดาตรัสถึงธรรมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า            ✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋




  


                         
✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋


วิตกอันสุขุม    ศรัทธา   บำเพ็ญเพียร   หรือ ธรรมวิตก      ของท่านพระเมฆิยะ


เวลาเช้า ท่านพระเมฆิยะนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังชันตุคามเพื่อบิณฑบาต ครั้นเที่ยวไปใน
ชันตุคามเพื่อบิณฑบาตแล้ว กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต เข้าไปยังฝั่ง
แม่น้ำกิมิกาฬา ครั้นแล้วเดินพักผ่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็นป่ามะม่วงน่า
เลื่อมใส น่ารื่นรมย์ ครั้นแล้วคิดว่า ป่ามะม่วงนี้น่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์จริงหนอ



ป่ามะม่วงนี้สมควรแก่ความเพียรของกุลบุตรผู้มีความต้องการด้วยความเพียรจริงหนอ
ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาตเราไซร้ เราพึงมาสู่อัมพวันนี้เพื่อบำเพ็ญเพียร  
ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
แล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า





ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือ
บาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังชันตุคาม ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในชันตุคามแล้ว
กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา


ครั้นแล้วเดินพักผ่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็นอัมพวันน่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์
จึงได้คิดว่าอัมพวันนี้น่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์จริงหนอ อัมพวันนี้ สมควรเพื่อความเพียรของ
กุลบุตรผู้มีความต้องการด้วยความเพียรจริงหนอ


ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาตเราไซร้ เราพึงมาสู่อัมพวันนี้เพื่อบำเพ็ญเพียร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคจะทรงอนุญาตข้าพระองค์ไซร้
ข้าพระองค์พึงไปสู่อัมพวันเพื่อบำเพ็ญเพียร ฯ


เมื่อท่านพระเมฆิยะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกรเมฆิยะ   !   จงรอก่อน เราอยู่แต่ผู้เดียวเธอจงรอยู่จนกว่าภิกษุรูปอื่นจะมา
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระเมฆิยะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพระผู้มีพระภาคไม่มีกิจอะไรๆ ที่พึงทำให้ยิ่ง
หรือการสั่งสมอริยมรรคที่พระองค์ทรงทำแล้วไม่มี แต่ข้าพระองค์ยังมีกิจที่พึงทำให้ยิ่ง
ยังมีการสั่งสมอริยมรรคที่ทำแล้ว ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคจะทรงอนุญาตข้าพระองค์ไซร้
ข้าพระองค์พึงไปสู่อัมพวันนั้นเพื่อบำเพ็ญเพียร แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรเมฆิยะ    !   เราพึงกล่าวอะไรกะเธอผู้กล่าวอยู่ว่า บำเพ็ญเพียร

ดูกรเมฆิยะ   !   เธอจงสำคัญเวลาอันสมควร ณ บัดนี้



เมื่อท่านพระเมฆิยะพักอยู่ในอัมพวันนั้น อกุศลวิตกอันลามก ๓ ประการ
คือ กามวิตก พยาบาทวิตกวิหิงสาวิตก ย่อมฟุ้งซ่านโดยมาก ครั้งนั้นแล
ท่านพระเมฆิยะคิดว่า น่าอัศจรรย์หนอไม่เคยมีมาแล้วหนอ เราออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา

                             แต่กลับถูกอกุศล
วิตกอันลามก ๓ ประการนี้ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ครอบงำ
                                  แล้ว


ท่านพระเมฆิยะออกจากที่เร้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส


เมื่อข้าพระองค์พักอยู่ในอัมพวันนั้น อกุศลวิตกอันลามก ๓ ประการ
คือ กามวิตก พยาบาทวิตกวิหิงสาวิตก ย่อมฟุ้งซ่านโดยมาก
ข้าพระองค์นั้นคิดว่า น่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ


ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา แต่กลับถูกอกุศลวิตก
อันลามก ๓ ประการนี้ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ครอบงำ

แล้ว ฯ




พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรเมฆิยะ   !   ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า
๕ ประการเป็นไฉน

ดูกรเมฆิยะ   !    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า



อีกประการหนึ่ง   !   ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อม
ด้วยอาจาระแลโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่
ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นธรรมประการที่ ๒


ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่ง
เจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า ฯ



อีกประการหนึ่ง  !  ภิกษุเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่
ลำบาก ซึ่งกถาเครื่องขัดเกลากิเลส เป็นไปเพื่อเป็นที่สบายในการเปิดจิต


เพื่อเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อเข้าไปสงบ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน




คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา
อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา ศีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา
วิมุตติญาณทัสสนกถา นี้เป็นธรรมประการที่ ๓



ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่ง
เจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า ฯ

อีกประการหนึ่ง  !   ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระใน
กุศลธรรม นี้เป็นธรรมประการที่ ๔



ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติ
ที่ยังไม่แก่กล้า



อีกประการหนึ่ง   !   ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา
ความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้
เป็นธรรมประการที่ ๕



ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า



ดูกรเมฆิยะ   !   ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่
ยังไม่แก่กล้า

ดูกรเมฆิยะ   !   ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังคุณข้อนี้
ได้ คือ ตนจักเป็นผู้มีศีล ... จักสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุผู้มี
มิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังคุณข้อนี้ได้ คือ ตนจักได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งกถาเครื่องขัดเกลากิเลส ... วิมุตติญาณทัสสนกถา
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังคุณข้อนี้ได้ คือ ตนจักเป็นผู้ปรารภความ
เพียร ... ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวัง
คุณข้อนี้ได้ คือ ตนจักเป็นผู้มีปัญญา ... ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ฯ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่