เนื่องจากกระทู้เก่ามีบางเม้นโยงการเมืองผมเลยขอมาตั้งใหม่เลยนะครับ
หากกล่าวถึงปืนซุ่มยิงสำหรับพลแม่นปืนประจำหมู่แบบ semi-auto แล้วเราอาจะนึกถึงเจ้า m14 ebr หรือไม่ก็ปืน m16 หรือพวกปืนทหารราบปกติแต่มาติดตั้งกล้องขยายกำลังสูงเพื่อยืดอำนาจระยะสังหารและคุ้มครองหมู่ยิงของตัวเองจากอันตรายต่างด้วยกระสุนเพียงไม่กี่นัดก็สามารถปลิดชีพศัตรูได้แล้ว วันนี้ผมจะมาเขียนประวัติเจ้า sr25 มันคือปืนซุ่มยิงที่รับใช้กองทัพสหรัฐมานานกว่า 25 ปีด้วยกลไกที่เรียบง่ายมีความแม่นยำทำให้มันได้รับการบรรจุเข้าในกองทัพหลายประเทศไม่เว้นแม้แต่"กองทัพไทย"ก็มีปืนกระบอกนี้ประจำการเช่นกัน
รูปกองทัพไทยกับเจ้า sr25
ความเป็นมา
ย้อนกลับไปเมื่อทศวรรศที่ 1950 สหรัฐได้มีโครงการจัดปืนประจำการของกองทัพชนิดใหม่ ซึ่งได้มีผู้เข้าแข่งขันจำนวนมากและปืนที่เข้าแข่งขั้นต้องใช้กระสุนแบบใหม่ในตอนนั้นอย่าง 7.62x51 และสุดท้ายผู้เข้าแข่งขันถูกคัดออกจนเหลือเพียงผู้แข่งขัน 3 บริษัทนั่นก็คือ spingfield armalite และ fn ซึ่งปืนที่ทั้ง 3 ส่งประกวดก็คือ m14 fn fal และ ar10 ซึ่งสุดท้าย m14 ก็ได้รับการคัดเลือกและชนะไปแต่ตอนนั้นกองทัพสหรัฐกลับได้สนใจปืนอย่าง ar 10 อย่างมากโดยมีหลายคนในกองทัพต่างชื่นชอบปืนกระบอกนี้เพราะด้วยความที่มันยิ่งง่ายน้ำหนักเบา แต่ข้อเสียใหญ่หลวงที่หลายคยกลับไม่เลือกเพราะปัญหาหลายอย่างๆในตัวมัน เพราะด้วยกลไกของมันในตอนนั้นถือว่าทันสมัยและแหวกแนวอย่างมาก แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ยังมีปัญหาไม่ว่าจะการยิงไปนานๆแล้วเกิดอาการลำกล้องติดขัด ลำกล้องร้าวนั่นเอง โดยตัวปืน ar10 ได้รับการออกแบบ ยูจีน สโตนเนอร์ บิดาผู้ให้กำเนิด m16 นั่นเอง หลายปีต่อมาเจ้า ar10 ก็ถูกลืมเลือนเพราะผู้ใหญ่ในกองทัพและตัวบริษัทผู้ผลิตปืนอย่าง armalite เองต่างก็โฟกัสไปที่ ar15 ที่ใหม่กว่าจน ar10 ถูกลืมเลือน
รูปของ ar10 ซึ่งถือเป็นปืนไรเฟิลที่ทันสมัยสุดๆในสมัยนั้น
การพัฒนา
นับเป็นเวลานานเกือบๆ 40 ปีในที่สุด ยูจีน สโตเนอร์และบริษัท armalite ก็ได้นำเจ้า ar10 มาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้งโดยตัวปืนนั้นได้รับการพัฒนาอีกครั้งในปี 1990 หรือเกือบๆ 40 ปีนั่นเอง โดยตัวปืนนั้นได้ใช้ระบบแก๊สแบบ Direct impingement ที่เป็นเอกลักษณ์ของปืนตะกูล m16 ซึ่งข้อดีของมันคือให้ความแม่นยำ และกลุ่มกระสุนที่ดีเพราะเป็นให้แก๊สผ่านไปยังตัวรังเพลิงโดยตรงทำให้กลไกภายในไม่ค่อยได้รับความกระทบเทือนมากนักทำให้กลุ่มกระสุนที่ได้มีความแม่นยำ แต่มันก็มีข้อเสียคือโดนน้ำโดนฝุ่นไม่ได้เจ้าสำอาง และเมื่อยิงไปนานๆจะเกิดอาการขัดลำกล้องเพราะตัวคราบเขม่าไปอุดท่อแก๊สโดยตรงทำให้ปืนยิงไม่ออก(ซึ่งข้อเสียนี้ปืนตะกูล m16 เป็นทุกรุ่น)
รูปแบบการทำงานของ Direct impingement
โดยตัวปืนได้ติดตั้งลำกล้องแบบไฟเบอร์กลาสยาว 24 นิ้วที่แข็งแรงกว่าลำกล้องแบบเก่า และติดปลอกลดเสียงแบบตายตัว 11 นิ้ว และตัวด้ามจับได้ใช้วัสดุอย่างไฟเบอร์กลาสเพื่อความเบาของตัวปืนโดยระบบลูกสูบนั้นได้ใช้แบบลูกสุบยาวแบบ ar 10 และปรับเปลี่ยนเทคนิคภายในรังเพลิงแบบใหม่ และด้านบนของตัวปืนนั้นได้รับการติดตั้งรางอุปกรณ์เสริมเพื่อใส่อุปกรณ์เสริมแบบต่างๆ โดยตัวปืนถูกตั้งชื่อใหม่ว่า Stoner Rifle/armalite-25 หรือเรียกสั้นๆว่า sr/ar25
รูปของ sr25
การพัฒนาเพิ่มเติม
กองทัพสหรัฐได้ให้ความสนใจกับปืนชนิดนี้อย่างมากเพราะไม่ว่ามันจะสามารถใช้อะไหล่หลายๆอย่างร่วมกับเจ้า m16 และ m4 ได้ซึ่งทำให้ลดความยุ่งยากในส่งกำลังบำรุงได้อย่างมาก มันยังมีความแม่นยำในระดับ 1 moa เลยทีเดียว โดยหลังจากเข้าประจำการได้ไม่นานในปี 2000 ทาง us socom ก็ได้มีการอัพเกรดหลักๆเพิ่มเติมคือใช้ลำกล้องแบบใหม่ที่สั้นลง โดยเหลือเพียง 20 นิ้วจากของเดิม 24 นิ้วแต่ใช้เกลียวภายในลำกล้องแบบใหม่ทำให้ถึงแม้ตัวลำกล้องจะสั้นลงแต่ตัวปืนก็ยังให้ความแม่นยำที่เท่าเดิม เปลี่ยนกระโจมมือแบบเรียบๆไปใช้แบบใหม่ที่มีรางติดอุปกรณ์ทั้ง 4 ด้านและรางอุปกรณ์เสริมด้านบนที่เป็นแบบทั้งแถบแทนของเก่าที่มีอยู่เฉพาะบนลำตัว โดยพานท้ายและด้ามจับได้เปลี่ยนไปใช้แบบ m16a2 และสามารถยิงกระสุนแบบสำหรับซุ่มยิงโดยเฉพาะอย่าง m118 และ m118lr ได้ และยังเพิ่มศูนย์เล็งบนตัวปืนในกรณีที่ยิงแบบศูนย์เปิด(ยิงแบบไม่มีกล้อง)โดยตัวปืนถูกตั้งชื่อใหม่ว่า mk11 mod 0 และได้รับการเข้าประจำการในกองทัพสหรัฐ
รูปของ mk 11 mod 0
ทหารสหรัฐกับ mk 11 mod 0
โดยในปี 2011 ได้มีการนำเจ้า mk 11 mod 0 มนพัฒนาอีกครั้งโดยหลักเปลี่ยนระบบตรงพานท้ายให้ตรงจานรองพานท้ายสามารถยืดออกได้ตามสรีระของผู้ใช้งาน และมีเฟืองไว้ปรับตัวแรงดันภายในตัวสลิงตรงๆแถวๆก้นพานท้าย(ตรงนี้ไม่แน่ใจว่าแปลถูกรึปล่าวถ้าแปลผิดก็ขออภัยมานะที่นี้) และเปลี่ยนไปใช้ปลอกเก็บเสียงแบบใหม่แทนของเก่า และระบบรางติดอุปกรณ์แบบใหม่ที่แยกกับศูนย์เล็ง(ปกติจะมาแบบติดศูนย์เล็งแบบตายตัวทำให้บางครั้งถอดศูนย์เล็งออกไม่ได้)
โดยตัวปืนถูกตั้งชื่อใหม่อย่างเป็นทางการว่า mk 11 mod 1 หรือชื่อทางการตลาดว่า m110 sass
รูปของ mk 11 mod 1 ให้สังเกตตรงพานท้ายมันจะมีเฟืองไว้ปรับตัวสลิงตรงพานท้าย(ตรงนี้ไม่แน่แปลใจว่าถูกรึปล่าว)
ทหารสหรัฐกับ mk 11 mod 1
ในอนาคต
ในปี 2017 ทางกองทัพสหรัฐมีแผนจะปลดเจ้า mk 11 series ทุกรุ่นภายในปี 2017 และทดแทนด้วย mk 16 หรือเจ้า scar h นั่นเอง
รูปของเจ้า scar h
ข้อมูลโดยรวมของปืน
ใช้กระสุนขนาด: 7.62x51 mm
น้ำหนัก : 5kg
ระยะหวังผล: 600-800 เมตร
ประเทศที่ผลิต: สหรัฐอเมริกา
ความยาวลำกล้อง : 24in(sr25),20in(mk11 mod 0 and mk11 mod 1)
อ้างอิง
https://en.wikipedia.org/wiki/M110_Semi-Automatic_Sniper_System
https://en.wikipedia.org/wiki/SR-25
SR25 ปืนซุ่มยิงของกองทัพพญาอินทรี
หากกล่าวถึงปืนซุ่มยิงสำหรับพลแม่นปืนประจำหมู่แบบ semi-auto แล้วเราอาจะนึกถึงเจ้า m14 ebr หรือไม่ก็ปืน m16 หรือพวกปืนทหารราบปกติแต่มาติดตั้งกล้องขยายกำลังสูงเพื่อยืดอำนาจระยะสังหารและคุ้มครองหมู่ยิงของตัวเองจากอันตรายต่างด้วยกระสุนเพียงไม่กี่นัดก็สามารถปลิดชีพศัตรูได้แล้ว วันนี้ผมจะมาเขียนประวัติเจ้า sr25 มันคือปืนซุ่มยิงที่รับใช้กองทัพสหรัฐมานานกว่า 25 ปีด้วยกลไกที่เรียบง่ายมีความแม่นยำทำให้มันได้รับการบรรจุเข้าในกองทัพหลายประเทศไม่เว้นแม้แต่"กองทัพไทย"ก็มีปืนกระบอกนี้ประจำการเช่นกัน
รูปกองทัพไทยกับเจ้า sr25
ความเป็นมา
ย้อนกลับไปเมื่อทศวรรศที่ 1950 สหรัฐได้มีโครงการจัดปืนประจำการของกองทัพชนิดใหม่ ซึ่งได้มีผู้เข้าแข่งขันจำนวนมากและปืนที่เข้าแข่งขั้นต้องใช้กระสุนแบบใหม่ในตอนนั้นอย่าง 7.62x51 และสุดท้ายผู้เข้าแข่งขันถูกคัดออกจนเหลือเพียงผู้แข่งขัน 3 บริษัทนั่นก็คือ spingfield armalite และ fn ซึ่งปืนที่ทั้ง 3 ส่งประกวดก็คือ m14 fn fal และ ar10 ซึ่งสุดท้าย m14 ก็ได้รับการคัดเลือกและชนะไปแต่ตอนนั้นกองทัพสหรัฐกลับได้สนใจปืนอย่าง ar 10 อย่างมากโดยมีหลายคนในกองทัพต่างชื่นชอบปืนกระบอกนี้เพราะด้วยความที่มันยิ่งง่ายน้ำหนักเบา แต่ข้อเสียใหญ่หลวงที่หลายคยกลับไม่เลือกเพราะปัญหาหลายอย่างๆในตัวมัน เพราะด้วยกลไกของมันในตอนนั้นถือว่าทันสมัยและแหวกแนวอย่างมาก แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ยังมีปัญหาไม่ว่าจะการยิงไปนานๆแล้วเกิดอาการลำกล้องติดขัด ลำกล้องร้าวนั่นเอง โดยตัวปืน ar10 ได้รับการออกแบบ ยูจีน สโตนเนอร์ บิดาผู้ให้กำเนิด m16 นั่นเอง หลายปีต่อมาเจ้า ar10 ก็ถูกลืมเลือนเพราะผู้ใหญ่ในกองทัพและตัวบริษัทผู้ผลิตปืนอย่าง armalite เองต่างก็โฟกัสไปที่ ar15 ที่ใหม่กว่าจน ar10 ถูกลืมเลือน
รูปของ ar10 ซึ่งถือเป็นปืนไรเฟิลที่ทันสมัยสุดๆในสมัยนั้น
การพัฒนา
นับเป็นเวลานานเกือบๆ 40 ปีในที่สุด ยูจีน สโตเนอร์และบริษัท armalite ก็ได้นำเจ้า ar10 มาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้งโดยตัวปืนนั้นได้รับการพัฒนาอีกครั้งในปี 1990 หรือเกือบๆ 40 ปีนั่นเอง โดยตัวปืนนั้นได้ใช้ระบบแก๊สแบบ Direct impingement ที่เป็นเอกลักษณ์ของปืนตะกูล m16 ซึ่งข้อดีของมันคือให้ความแม่นยำ และกลุ่มกระสุนที่ดีเพราะเป็นให้แก๊สผ่านไปยังตัวรังเพลิงโดยตรงทำให้กลไกภายในไม่ค่อยได้รับความกระทบเทือนมากนักทำให้กลุ่มกระสุนที่ได้มีความแม่นยำ แต่มันก็มีข้อเสียคือโดนน้ำโดนฝุ่นไม่ได้เจ้าสำอาง และเมื่อยิงไปนานๆจะเกิดอาการขัดลำกล้องเพราะตัวคราบเขม่าไปอุดท่อแก๊สโดยตรงทำให้ปืนยิงไม่ออก(ซึ่งข้อเสียนี้ปืนตะกูล m16 เป็นทุกรุ่น)
รูปแบบการทำงานของ Direct impingement
โดยตัวปืนได้ติดตั้งลำกล้องแบบไฟเบอร์กลาสยาว 24 นิ้วที่แข็งแรงกว่าลำกล้องแบบเก่า และติดปลอกลดเสียงแบบตายตัว 11 นิ้ว และตัวด้ามจับได้ใช้วัสดุอย่างไฟเบอร์กลาสเพื่อความเบาของตัวปืนโดยระบบลูกสูบนั้นได้ใช้แบบลูกสุบยาวแบบ ar 10 และปรับเปลี่ยนเทคนิคภายในรังเพลิงแบบใหม่ และด้านบนของตัวปืนนั้นได้รับการติดตั้งรางอุปกรณ์เสริมเพื่อใส่อุปกรณ์เสริมแบบต่างๆ โดยตัวปืนถูกตั้งชื่อใหม่ว่า Stoner Rifle/armalite-25 หรือเรียกสั้นๆว่า sr/ar25
รูปของ sr25
การพัฒนาเพิ่มเติม
กองทัพสหรัฐได้ให้ความสนใจกับปืนชนิดนี้อย่างมากเพราะไม่ว่ามันจะสามารถใช้อะไหล่หลายๆอย่างร่วมกับเจ้า m16 และ m4 ได้ซึ่งทำให้ลดความยุ่งยากในส่งกำลังบำรุงได้อย่างมาก มันยังมีความแม่นยำในระดับ 1 moa เลยทีเดียว โดยหลังจากเข้าประจำการได้ไม่นานในปี 2000 ทาง us socom ก็ได้มีการอัพเกรดหลักๆเพิ่มเติมคือใช้ลำกล้องแบบใหม่ที่สั้นลง โดยเหลือเพียง 20 นิ้วจากของเดิม 24 นิ้วแต่ใช้เกลียวภายในลำกล้องแบบใหม่ทำให้ถึงแม้ตัวลำกล้องจะสั้นลงแต่ตัวปืนก็ยังให้ความแม่นยำที่เท่าเดิม เปลี่ยนกระโจมมือแบบเรียบๆไปใช้แบบใหม่ที่มีรางติดอุปกรณ์ทั้ง 4 ด้านและรางอุปกรณ์เสริมด้านบนที่เป็นแบบทั้งแถบแทนของเก่าที่มีอยู่เฉพาะบนลำตัว โดยพานท้ายและด้ามจับได้เปลี่ยนไปใช้แบบ m16a2 และสามารถยิงกระสุนแบบสำหรับซุ่มยิงโดยเฉพาะอย่าง m118 และ m118lr ได้ และยังเพิ่มศูนย์เล็งบนตัวปืนในกรณีที่ยิงแบบศูนย์เปิด(ยิงแบบไม่มีกล้อง)โดยตัวปืนถูกตั้งชื่อใหม่ว่า mk11 mod 0 และได้รับการเข้าประจำการในกองทัพสหรัฐ
รูปของ mk 11 mod 0
ทหารสหรัฐกับ mk 11 mod 0
โดยในปี 2011 ได้มีการนำเจ้า mk 11 mod 0 มนพัฒนาอีกครั้งโดยหลักเปลี่ยนระบบตรงพานท้ายให้ตรงจานรองพานท้ายสามารถยืดออกได้ตามสรีระของผู้ใช้งาน และมีเฟืองไว้ปรับตัวแรงดันภายในตัวสลิงตรงๆแถวๆก้นพานท้าย(ตรงนี้ไม่แน่ใจว่าแปลถูกรึปล่าวถ้าแปลผิดก็ขออภัยมานะที่นี้) และเปลี่ยนไปใช้ปลอกเก็บเสียงแบบใหม่แทนของเก่า และระบบรางติดอุปกรณ์แบบใหม่ที่แยกกับศูนย์เล็ง(ปกติจะมาแบบติดศูนย์เล็งแบบตายตัวทำให้บางครั้งถอดศูนย์เล็งออกไม่ได้)
โดยตัวปืนถูกตั้งชื่อใหม่อย่างเป็นทางการว่า mk 11 mod 1 หรือชื่อทางการตลาดว่า m110 sass
รูปของ mk 11 mod 1 ให้สังเกตตรงพานท้ายมันจะมีเฟืองไว้ปรับตัวสลิงตรงพานท้าย(ตรงนี้ไม่แน่แปลใจว่าถูกรึปล่าว)
ทหารสหรัฐกับ mk 11 mod 1
ในอนาคต
ในปี 2017 ทางกองทัพสหรัฐมีแผนจะปลดเจ้า mk 11 series ทุกรุ่นภายในปี 2017 และทดแทนด้วย mk 16 หรือเจ้า scar h นั่นเอง
รูปของเจ้า scar h
ข้อมูลโดยรวมของปืน
ใช้กระสุนขนาด: 7.62x51 mm
น้ำหนัก : 5kg
ระยะหวังผล: 600-800 เมตร
ประเทศที่ผลิต: สหรัฐอเมริกา
ความยาวลำกล้อง : 24in(sr25),20in(mk11 mod 0 and mk11 mod 1)
อ้างอิง
https://en.wikipedia.org/wiki/M110_Semi-Automatic_Sniper_System
https://en.wikipedia.org/wiki/SR-25