สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความใน มาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙
หมวด ๓ การลา
ข้อ ๘๕ การอนุญาตให้ลานั้น จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้บัญชาการเรือนจำได้พิจารณาแล้วเห็นความจำเป็น และได้รับอนุมัติจากอธิบดี
ข้อ ๘๖ เมื่อได้อนุญาตให้ลาได้ ผู้บัญชาการเรือนจำจะต้องทำหนังสือสำคัญมอบให้ผู้ได้รับอนุญาตติดตัวไป และผู้ได้รับอนุญาตจะต้องแสดงหนังสือสำคัญนี้ต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจท้องที่ที่จะไปนั้นภายในกำหนดเวลา ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาไปถึง ถ้าไม่ไปแสดงหนังสือสำคัญเช่นนี้ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับส่งเรือนจำ
ข้อ ๘๗ โดยปกติ ถ้าผู้ได้รับอนุญาตให้ลายังมีกำหนดเวลาที่จะต้องจำคุกอยู่ต่อไปอีกตั้งแต่ ๖ เดือนขึ้นไป ต้องจัดให้มีเจ้าพนักงานควบคุมไปด้วย ถ้ากำหนดเวลาที่ยังจะต้องจำคุกอยู่อีกต่อไปนั้นน้อยกว่า ๖ เดือน ให้ผู้บัญชาการเรือนจำพิจารณาดู หากไม่เป็นที่ไว้วางใจ ก็ให้จัดเจ้าพนักงานไปควบคุมดังกล่าวแล้วดุจกัน
ข้อ ๘๘ ในกรณีที่จัดให้มีเจ้าพนักงานควบคุมไปด้วยกับผู้ได้รับอนุญาตให้ลา ถ้าหากผู้ได้รับอนุญาตให้ลานั้นเป็นผู้มีทรัพย์สินพอสมควร ก็ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ลานั้นเสียค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ ๕๐ สตางค์ และค่าพาหนะเท่าที่จ่ายจริงแก่เรือนจำสำหรับเจ้าพนักงานที่ไปด้วย
ข้อ ๘๙ ในส่วนค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะสำหรับตัวผู้ได้รับอนุญาตให้ลานั้น ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาต้องจัดเสียเองโดยตลอด
ข้อ ๙๐ ในกรณีที่การอนุญาตให้ลานั้นมิได้จัดเจ้าพนักงานไปด้วยเพื่อควบคุมให้ผู้บัญชาการเรือนจำแจ้งแก่ตำรวจสันติบาลหรือข้าหลวงประจำจังหวัดแห่งท้องที่ที่ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาไปนั้น แล้วแต่กรณี
จะเห็นได้ว่า การขอลาของนักโทษเด็ดขาดนั้น ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรใดกำหนดว่า "ห้ามนักโทษในคดียาเสพติดลา"
กฎหมายกำหนดให้เป็นดุลพินิจของผู้บัญชาการเรือนจำ และอธิบดีกรมราชทัณฑ์
ผมจึงย้ำว่า "อย่ามาถามใน pantip เลย"
จขกท. ควรติดต่อเรือนจำโดยตรง และสอบถามแนวปฏิบัติ (ยี่ต๊อก ถ้าหากมี) ว่ากรณีนี้ จะดำเนินการได้หรือไม่ อย่างไร
เรื่องสิทธิหรือประโยชน์ของคนอื่นไม่ควรใช้ความรู้สึกมาตอบ
หมวด ๓ การลา
ข้อ ๘๕ การอนุญาตให้ลานั้น จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้บัญชาการเรือนจำได้พิจารณาแล้วเห็นความจำเป็น และได้รับอนุมัติจากอธิบดี
ข้อ ๘๖ เมื่อได้อนุญาตให้ลาได้ ผู้บัญชาการเรือนจำจะต้องทำหนังสือสำคัญมอบให้ผู้ได้รับอนุญาตติดตัวไป และผู้ได้รับอนุญาตจะต้องแสดงหนังสือสำคัญนี้ต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจท้องที่ที่จะไปนั้นภายในกำหนดเวลา ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาไปถึง ถ้าไม่ไปแสดงหนังสือสำคัญเช่นนี้ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับส่งเรือนจำ
ข้อ ๘๗ โดยปกติ ถ้าผู้ได้รับอนุญาตให้ลายังมีกำหนดเวลาที่จะต้องจำคุกอยู่ต่อไปอีกตั้งแต่ ๖ เดือนขึ้นไป ต้องจัดให้มีเจ้าพนักงานควบคุมไปด้วย ถ้ากำหนดเวลาที่ยังจะต้องจำคุกอยู่อีกต่อไปนั้นน้อยกว่า ๖ เดือน ให้ผู้บัญชาการเรือนจำพิจารณาดู หากไม่เป็นที่ไว้วางใจ ก็ให้จัดเจ้าพนักงานไปควบคุมดังกล่าวแล้วดุจกัน
ข้อ ๘๘ ในกรณีที่จัดให้มีเจ้าพนักงานควบคุมไปด้วยกับผู้ได้รับอนุญาตให้ลา ถ้าหากผู้ได้รับอนุญาตให้ลานั้นเป็นผู้มีทรัพย์สินพอสมควร ก็ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ลานั้นเสียค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ ๕๐ สตางค์ และค่าพาหนะเท่าที่จ่ายจริงแก่เรือนจำสำหรับเจ้าพนักงานที่ไปด้วย
ข้อ ๘๙ ในส่วนค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะสำหรับตัวผู้ได้รับอนุญาตให้ลานั้น ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาต้องจัดเสียเองโดยตลอด
ข้อ ๙๐ ในกรณีที่การอนุญาตให้ลานั้นมิได้จัดเจ้าพนักงานไปด้วยเพื่อควบคุมให้ผู้บัญชาการเรือนจำแจ้งแก่ตำรวจสันติบาลหรือข้าหลวงประจำจังหวัดแห่งท้องที่ที่ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาไปนั้น แล้วแต่กรณี
จะเห็นได้ว่า การขอลาของนักโทษเด็ดขาดนั้น ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรใดกำหนดว่า "ห้ามนักโทษในคดียาเสพติดลา"
กฎหมายกำหนดให้เป็นดุลพินิจของผู้บัญชาการเรือนจำ และอธิบดีกรมราชทัณฑ์
ผมจึงย้ำว่า "อย่ามาถามใน pantip เลย"
จขกท. ควรติดต่อเรือนจำโดยตรง และสอบถามแนวปฏิบัติ (ยี่ต๊อก ถ้าหากมี) ว่ากรณีนี้ จะดำเนินการได้หรือไม่ อย่างไร
เรื่องสิทธิหรือประโยชน์ของคนอื่นไม่ควรใช้ความรู้สึกมาตอบ
ความคิดเห็นที่ 3
นักโทษที่ความประพฤติดีสามารถลามาทำธุระนอกเรือนจำได้ ตามมาตรา ๓๒ (๔) แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙
มาตรา ๓๒ นักโทษเด็ดขาดคนใดแสดงให้เห็นความประพฤติดี มีความอุตสาหะ ความก้าวหน้าในการศึกษาและทำการงานเกิดผลดี หรือทำความชอบแก่ราชการเป็นพิเศษ อาจได้รับประโยชน์อย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
(๔) ลาไม่เกินสี่วันในคราวหนึ่ง โดยไม่รวมเวลาที่ต้องใช้ในการเดินทางเข้าด้วย เมื่อมีความจำเป็นเห็นประจักษ์เกี่ยวด้วยกิจธุระสำคัญหรือกิจการในครอบครัว แต่ห้ามมิให้ออกไปนอกราชอาณาจักรไทย และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีได้กำหนดไว้ ระยะเวลาที่อนุญาตให้ลานี้มิให้หักออกจากการคำนวณกำหนดโทษ
สำหรับรายละเอียด ผมว่าติดต่อทางเรือนจำโดยตรงน่าจะได้ข้อมูลที่ชัดเจนกว่าถามใน pantip นะครับ
มาตรา ๓๒ นักโทษเด็ดขาดคนใดแสดงให้เห็นความประพฤติดี มีความอุตสาหะ ความก้าวหน้าในการศึกษาและทำการงานเกิดผลดี หรือทำความชอบแก่ราชการเป็นพิเศษ อาจได้รับประโยชน์อย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
(๔) ลาไม่เกินสี่วันในคราวหนึ่ง โดยไม่รวมเวลาที่ต้องใช้ในการเดินทางเข้าด้วย เมื่อมีความจำเป็นเห็นประจักษ์เกี่ยวด้วยกิจธุระสำคัญหรือกิจการในครอบครัว แต่ห้ามมิให้ออกไปนอกราชอาณาจักรไทย และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีได้กำหนดไว้ ระยะเวลาที่อนุญาตให้ลานี้มิให้หักออกจากการคำนวณกำหนดโทษ
สำหรับรายละเอียด ผมว่าติดต่อทางเรือนจำโดยตรงน่าจะได้ข้อมูลที่ชัดเจนกว่าถามใน pantip นะครับ
แสดงความคิดเห็น
เมื่อแม่เสียชีวิต ลูกชายที่อยู่เรือนจำ สามารถออกมางานศพของแม่ได้ไหม
และอยากทราบว่า ลูกชายจะสามารถมาร่วมงานศพ ได้ไหม
ถ้าได้นี่ต้องทำยังไงบ้างคะ