คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
ก.พ 2542 ชวน ตั้ง ถนอม เป็นนายทหารพิเศษ ประจำ
กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ โดนสังคมประท้วงจนต้องยกเลิก
และให้นายชวน ขอโทษ แต่ ชวน เล่นลิ้น ไม่ยอมขอโทษ และพูดว่า
"เรื่องนี้ไม่ขอโทษ แต่ถ้าทำให้ใครเสียความรู้สึก ก็เสียใจ"
แล้วอย่าลืมเรื่อง ร.บ ชวน ปล่อยหมากัดมิอบเกษตรกรชาวอิสานเมื่อ
เดือน ต.ค 42 ด้วย
กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ โดนสังคมประท้วงจนต้องยกเลิก
และให้นายชวน ขอโทษ แต่ ชวน เล่นลิ้น ไม่ยอมขอโทษ และพูดว่า
"เรื่องนี้ไม่ขอโทษ แต่ถ้าทำให้ใครเสียความรู้สึก ก็เสียใจ"
แล้วอย่าลืมเรื่อง ร.บ ชวน ปล่อยหมากัดมิอบเกษตรกรชาวอิสานเมื่อ
เดือน ต.ค 42 ด้วย
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ตอนที่ 6
มิยาซาวา : ขบวนการกู้มาโกง
หลังจากรัฐบาลใช้เงินมหาศาลไปใช้ในการฟื้นฟูสถาบันการเงิน รัฐได้ออกมาตรการใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยมุ่งที่ภาคการผลิต โดยอาศัยเงินกู้จากต่างประเทศ เพื่อเพิ่มรายจ่ายภาครัฐในปีงบประมาณ 2542-2543 อาทิ เงินกู้มูลค่า 53,397.90 ล้านบาทในโครงการมิยาซาวา
จากการประเมินผลโดยหน่วยงาน OECF ของญี่ปุ่นเอง สำนักงานงบประมาณกรมบัญชีกลาง ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานประเมินผลจากภาคเอกชนพบว่า ผลลัพธ์จากโครงการมิยาซาวาได้ผลน้อยมาก และไม่มีแรงส่งพอที่จะทำให้เกิดดุลยภาพทางเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพได้ เพระมีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นคดโกงในทุกขั้นตอนของการบริหารและการจัดการ ตลอดจนการใช้จ่ายเงินกู้ในโครงการไม่มีกลยุทธ์และทิศทางที่มีประสิทธิภาพ
ประมูล ปรส. ผลงานอัปยศ
นับตั้งแต่ที่รัฐบาลปิดกิจการของบริษัทเงินทุน 56 แห่ง และเร่งให้ ปรส. ประมูลขายทรัพย์ออกอย่างรวดเร็ว โดยไม่พยายามดูแลให้สินทรัพย์ดังกล่าวขายให้ได้ในราคาสูงนั้น ผลปรากฏว่าสินทรัพย์มูลค่า 870,000 ล้านบาท ขายได้เพียง 160,000 ล้านบาทหรือไม่ถึง 20% และผู้ประมูลซื้อสินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่เพียงไม่กี่แห่ง ส่วนสินทรัพย์ที่เหลือประมาณ 100,000 ล้านบาทนั้น รัฐบาลยอมขายให้กับ บบส. ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ โดยแลกกับพันธบัตรของ บบส.
การที่รีบร้อนขายสินทรัพย์ในขณะที่เศรษฐกิจตกต่ำเต็มที่เช่นนี้ ทำให้ ปรส. ได้ราคาต่ำ มิหนำซ้ำรัฐบาลยังกีดกันมิให้ลูกหนี้หรือรายย่อยเข้าซื้อสินทรัพย์ดังกล่าว ผลคือ บริษัทต่างชาติเหล่านี้สามารถเร่งรัดให้ลูกหนี้ไทยจ่ายคืนเป็นสัดส่วน 60-70 % ของเงินต้น
ความเสียหายประมาณ 600,000 ล้านบาทจากการประมูลของ ปรส. นับเป็นภาระภาษีของประชาชนคนไทยทุกคน ซึ่งรัฐบาลต้องยอมออกพันธบัตรชดใช้ความเสียหายไปแล้ว 500,000 ล้านบาท แต่ก็ยังเหลืออีก 100,000 ล้านบาท
หมกเม็ดความเสียหาย ตบตาประชาชนทั่งประเทศ
ความเสียหายซึ่งถูกหมกซ่อนไว้ที่กองทุนฟื้นฟู เป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนอย่างมาก เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้รัฐบาลต้องชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกองทุนฟื้นฟูฯ โดยอาศัยเงินงบประมาณซึ่งก็คือเงินภาษีของประชาชน
ที่ผ่านมากองทุนฟื้นฟูฯ มีเงินกองทุนติดลบกว่า 200,000 ล้านบาท และหากนับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คาดว่าจะมีหนี้ทั้งสิ้น 1 ล้านล้านบาท โดยที่รัฐบาลยังไม่รู้ว่าจะหาเงินที่ไหนมาชดใช้
รวมบัญชี ทุบคลังหลวงชดเชยความผิดพลาดรัฐบาล
เพื่อลดแรงกดดันทางการเมืองจากการที่จะต้องขึ้นภาษีที่เรียกเก็บจากประชาชนในการหาเงินมาใช้หนี้ นายกฯชวนเอาตัวรอดด้วยการนำเอาเรื่องการรวมบัญชีของธนาคารแห่งประเทศไทยมาเป็นข้ออ้างในการบังคับให้ธปท. ต้องนำทุนสำรองส่วนเกินมาชดใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ โดยให้เหตุผลว่าหากไม่ใช้วิธีนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องหารายได้เพิ่มโดยการเก็บภาษีจากประชาชน และแม้ว่าในท้ายสุดธปท. จะยอมให้นำเงินทุนสำรองจำนวน 1.3 แสนล้านบาทไปชดใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ แต่ผลที่ตามมาคือ ผู้ประกอบการ นักลงทุน และประชาชนต่างสูญเสียความเชื่อมั่น
การบีบให้ ปธท. รับภาระหนี้เงินบาทของกองทันฟื้นฟูฯ ยังทำให้นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเป็นห่วงว่า อาจมีการพิมพ์เงินเพิ่มขึ้นกว่า 55,000 ล้านบาท เพื่อจ่ายหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นการเสียวินัยทางการเงิน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงในขณะนี้
ตอนที่ 7
สร้างภาพเศรษฐกิจฟื้นบอกความจริงประชาชนครึ่งเดียว
รัฐบาลอ้างกับประชาชนตั้งแต่ปี 2542 ว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นฟูแล้ว แต่ทุกวันนี้ประชาชนเริ่มเห็นแล้วว่า การฟื้นตัวนั้นจำกัดอยู่เฉพาะบางสาขา เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ และการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเจ้าของกิจการส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ
สินค้าที่คนไทยเป็นผู้ผลิตโดยเฉพาะสินค้าเกษตร เช่น ข้าว น้ำตาล ปัจจุบันมีราคาตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะกระตุ้นยอดขายได้ก็ต้องลดราคา ทำให้สัดส่วนของกำไรลดลง และการจ้างงานก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น
สำหรับภาคการเงิน ภายหลังจากที่ธนาคารต่างชาติเข้ามาเป็นเจ้าของธนาคารไทยแล้ว ปัญหาการปลดพนักงานออกก็ไม่มีที่ท่าว่าจะลดลง ทั้งธนาคารไทยและธนาคารลูกครึ่งยังมีแนวโน้มที่จะลดจำนวนพนักงานลงอีก โดยในปีนี้มีแผนจะลดคนประมาณ 2 หมื่นคนซึ่งผลของการลดคนดังกล่าวย่อมทำให้การฟื้นตัวของการอุปโภค บริโภค เป็นไปอย่างเชื่องช้า
ประชาชนตกงาน ธุรกิจล้มละลาย
ผลพวงจากความผิดพลาดของการบริหารงานภายใต้รัฐบาลชวนนั้น มีผลสรุปที่ชัดเจนคือ ประชาชนยังตกอยู่ในภาวะที่ยากลำบากอยู่เช่นเดิม ยอดคนตกงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป้นการตกงานของคนไทยที่มีค่าครองชีพสูง มีถึง 2.5 ล้านคน
ธุรกิจจำนวนไม่น้อยกำลังประสบปัญหาต้องปิดกิจการ จากการรายงานของกระทรวงพาณิชย์ระบุชัดเจนว่า ในช่วงปี 2540 ปีแรกที่ประเทศไทยเริ่มประสบวิกฤติเศรษฐกิจ มีธุรกิจบริษัทและห้างหุ้นส่วนปิดกิจการ 9,856 ราย เฉพาะบริษัทจดทะเบียน 5,621 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ถึง 45.47 % และจากปี 2540-2542 มีบริษัทและห้างหุ้นส่วนปิดกิจการไปแล้ว 29,202 ราย และมีอีกมากมายที่กำลังจะปิดตัว
ม.ร.ว. ปรีดียาธร เทวกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าถึงกับออกมาเตือนรัฐบาลว่า มีผู้ส่งออกรายย่อย 1.1 หมื่นรายจากจำนวนทั้งหมด 1.4 หมื่นรายกำลังจะตาย เพราะนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ผิด และนโยบายการเงินที่เข้มงวดที่สุดในโลกของรัฐบาล ทำให้สถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้ให้กับบริษัทในประเทศตั้งแต่เดือน มีนาคม 2541
ตอนที่ 8
ไม่ช่วยไม่ว่า แต่กลับซ้ำเติมเกษตรกร
รัฐบาลขาดวิสัยทัศน์และความเข้าใจที่ถ่องแท้ว่าภาคเกษตร คือภาคการผลิตพื้นฐานของสังคมไทย และเป็นความหวังในการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจและสังคม ปัจจุบันภาคเกษตรกรรมสามารถสร้างความมั่นคงให้กับประเทศได้ ด้วยการเป็นหนึ่งในประเทสผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของโลก ตามที่ผ่านมารัฐบาลขาดการจัดการด้านการเกษตรอย่างเป็นระบบภาคเกษตรของไทยจึงเต็มไปด้วยปัญหา เกษตรกรไทยจำนวนมากมีฐานะความเป็นอยู่ยากจนแร้นแค้น มีภาระหนี้สิน ขาดแคลนที่ดินทำกิน และประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำลงกว่า 50% ผลกระทบดังกล่าวได้จุดชนวนให้ชาวนารวมตัวกัน เพื่อเรียกร้องขอความช่วยเหลือหลายต่อหลายครั้ง แต่รัฐบาลกลับเพิกเฉยไม่ใส่แก้ปัญหา
ไม่เพียงแต่ไม่เหลียวแลช่วยเหลือปัญหาของเกษตร รัฐบาลชวน 2 กลับซ้ำเติมเกษตรให้ลำบากยิ่งขึ้นไปอีก เห็นได้ชัดจากแผนกู้เงินจากธนาคารพัฒนา เอเชีย (เอดีบี) วงเงิน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร รัฐบาลได้ใช้เงินส่วนหนึ่งเป็นทุนในการจัดทำโครงการจัดรูปที่ดินและระบบชลประทาน เพื่อให้เกษตรที่ต้องการเพิ่มผลผลิตเข้าร่วมโครงการ และตั้งเงื่อนไขขอจัดเก็บค่าใช้น้ำในระบบส่งน้ำสำหรับผู้ต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตร เกษตรกรในพื้นที่ที่มีการจัดรูปที่ดินส่วนหนึ่งร่วมกับ NGOs ได้ชุมนุมกันเพื่อต่อต้านเงื่อนไขและแนวทางดังกล่าวของรัฐบาล ก่อนและระหว่างการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชียที่จังหวัดเชียงใหม่ (ต้นเดือนพฤษภาคม 2543)
รัฐบาลกลับอ้างว่าเป็นการชุมนุมแบบจัดตั้ง จงใจก่อความไม่สงบ และเห็นว่าเกษตรกรและ NGOs ไม่ฟังเงื่อนไขและคำอธิบายที่ชัดเจน รัฐบาลได้ให้คำอธิบายว่า การจัดเก็บภาษีน้ำจะทำเฉพาะผู้ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ และเต็มใจจะจ่ายค่าใช้น้ำและค่าระบบส่งน้ำที่รัฐบาลต้องลงทุนไปเท่านั้น เพื่อรัฐบาลจะได้นำรายได้ที่จัดเก็บนี้ไปใช้คืนทุนในปี 2543 20% ปี 2544 30% อีก 50 % สำหรับผู้ที่อยู่ในโครงการแต่ไม่ต้องการใช้น้ำ สามารถย้ายออกจากโครงการได้
เห็นได้ชัดว่าโครงการดังกล่าวไม่กระจายการช่วยเหลือไปสู่เกษตรผู้ยากจน แต่เป็นการบรรเทาและช่วยเหลือเกษตรที่มีความสามารถจ่ายลงทุนได้เท่านั้น ในขณะที่เกษตรที่ยากจนจำเป็นต้องเลือกที่จะย้ายออกจากพื้นที่โครงการ อย่างไรก็ตาม ท้ายสุดการต่อต้านในงานประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชียที่จังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนั้น ทำให้ผู้บริหารเอดีบีต้องออกมายืนยันว่าจะไม่จัดเก็บค่าน้ำจากเกษตรกร ซึ่งล้วนเป็นผลงานที่เกิดจากการต่อสู้ดิ้นรนเกษตรกรเองทั้งสิ้น
ยิ่งไปกว่านั้นรัฐบาลยังออกมาแสดงทัศนะกล่าวหาเกษตรกรว่า การก่อความไม่สงบในระหว่างการจัดประชุมนั้นทำให้เสียภาพพจน์ของประเทศไทย และกล่าวว่าเอดีบีเป็นองค์กรที่ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาก ประเทศไทยจำเป็นต้องกู้เงินจากองค์กรนี้ การชุมนุมทำให้ไทยถูกจับตามอง และสูญเสียความน่าเชื่อถือไป
ที่ผ่านมารัฐบาลมีแผนกู้เงินจากเอดีบีตั้งแต่ปี 2542-2545 รวมเป็นเงิน 1,480 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีเงื่อนไขบังคับให้รัฐบาลลดค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการหลายรายการเช่นให้รัฐบาลลดจำนวนจ่ายเงินสมทบเข้า กองทุนประกันสังคมเหลือเพียง 50% จากที่จ่ายปัจจุบัน กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ส่งผลให้ไม่มีการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำมาตั้งแต่ปี 2541
การดำเนินการเพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรที่บ่งชัดถึงความล้มเหลว ในการจัดการกับภาคเกษตรของรัฐบาลชุดนี้ ยังเห็นได้ชัดจากการไม่ประสบความสำเร็จหลังจากการจัดตั้งกองทุนนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตาม พ.ร.บ. กองทุนฟื้นฟูเกษตรฯ วัตถุประสงค์ของกองทุนนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยซึ่งไร้หลักประกันในการกู้เงิน โดยกองทุนฯนี้จะเป็นแหล่งเงินกู้ของเกษตรกร โดยให้เกษตรกรเป็นผู้บริหารกองทุนฯ ในชุมชนของตนเองโดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันกู้ แต่ให้เกษตรกรในชุมชนเป็นผู้ค้ำประกันเอง ทั้งนี้เกษตรกรผู้สนใจเข้าร่วมโครงการจะต้องสมัครขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนฯ และจะได้รับสิทธิในการเลือกตั้งผู้แทนชุมชนเข้าไปบริหารกองทุน และรับสิทธิในการกู้เงิน
จนถึงวันนี้การจัดการกับโครงสร้างกองทุนยังไม่เสร็จสิ้น ยังไม่มีเกษตรกรได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนฯ และมีข้อมูลว่าในปี 2542 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้จัดสรรเงิน 33 ล้านบาทใช้สำหรับการเตรียมการเลือกตั้งกรรมการบริหารกองทุนฯ ซึ่งเป็นตัวแทนเกษตรกร เงินจำนวนนี้ถูกใช้ไปหรือไม่อย่างไร ตลอดจนเงินทุนประเมินรอบแรกที่รัฐจัดสรรให้กับกองทุนฯ จำนวน 1,800 ล้านบาท ถูกจัดการไปอย่างไร จนถึงวันนี้ไม่มีการให้ข้อมูลกับประชาชนผู้เสียภาษี และเกษตรกรผู้รอคอยการช่วยเหลือ
ท้ายที่สุดการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร 4.8 ล้านครอบครัว รวมมูลค่าหนี้ 230,000 ล้านบาท ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542 นั้น ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง และยังกลับเป็นมาตรการที่นำปัญหาไปกองไว้ที่ ธ.ก.ส. เกิดอะไรขึ้นกับการบริหารงบประมาณของรัฐบาลชุดนี้กันแน่?
ความแยแสต่อความยากไร้ของเกษตรกรของรัฐบาลชวน 2 นั้น เน้นย้ำให้เห็นชัดอีกครั้งจากเหตุการณ์การเรียกร้องของเกษตรกรให้รัฐบาลประกันราคามันสำปะหลัง ซึ่งตกต่ำลงอย่างหนักในช่วงเดือนตุลาคม 2542 ทั้งๆที่ผลผลิตล้นตลาด นายกชวนไม่เพียงไม่ออกมาหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมเกษตรกร แต่ในที่สุดวันที่ 27 ตุลาคม 2542 ก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่น่าละอายไปทั่วโลก เมื่อรัฐบาลปล่อยสุนัขตำรวจไล่กัดเกษตรกรที่มาชุมนุมประท้วงบริเวณหน้าทำเนียบฯ มีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้งเด็ก ผู้หญิง และ คนชรา
วิธีการใช้ความรุนแรงเพื่อจัดการขับไล่ชาวบ้าน และเกษตรกรผู้ยากไร้ที่เรียกร้องความเป็นธรรมจากรัฐบาล ยังคงเกิดขึ้นอีกหลายครั้งในช่วงเวลาของการบริหารงานภายใต้รัฐบาลชุดนี้ อาทิ กรณีที่รัฐบาลใช้กำลังเข้าสลายม็อบชาวบ้านที่เดือดร้อนกรณีเขื่อนปากมูล (เดือนกรกฎาคม 2543) ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล รัฐบาลใช้กำลังเสริมกว่า 5 กองพัน ทั้งจาก ตชด. พลร่มค่ายนเรศวร ประจวบฯ และตำรวจปราบจราจลกว่า 5 กองพัน เข้าเคลียร์พื้นที่ม็อบปากมูล เพื่อล้างทำเนียบฯ เตรียมการต้อนรับประธานาธิบดีจีนที่มาเยือนประเทศไทย (18 ก.ค. 48) ปรากฎว่ามีผู้บาดเจ็บมากกว่า 50 คน และถูกจับอีก 202 คน
นอกจากนี้วิกฤตหนี้สาธารณะ ทำให้รัฐบาลปฏิเสธร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม สำหรับจัดตั้งกองทุนสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและว่างงาน รวมทั้งการปัดสวะปัญหาหนี้สินกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายด้วยมติให้ปรับราคาน้ำตาลทรายขั้นต่ำ 2 บาทต่อกิโลกรัม
มิยาซาวา : ขบวนการกู้มาโกง
หลังจากรัฐบาลใช้เงินมหาศาลไปใช้ในการฟื้นฟูสถาบันการเงิน รัฐได้ออกมาตรการใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยมุ่งที่ภาคการผลิต โดยอาศัยเงินกู้จากต่างประเทศ เพื่อเพิ่มรายจ่ายภาครัฐในปีงบประมาณ 2542-2543 อาทิ เงินกู้มูลค่า 53,397.90 ล้านบาทในโครงการมิยาซาวา
จากการประเมินผลโดยหน่วยงาน OECF ของญี่ปุ่นเอง สำนักงานงบประมาณกรมบัญชีกลาง ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานประเมินผลจากภาคเอกชนพบว่า ผลลัพธ์จากโครงการมิยาซาวาได้ผลน้อยมาก และไม่มีแรงส่งพอที่จะทำให้เกิดดุลยภาพทางเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพได้ เพระมีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นคดโกงในทุกขั้นตอนของการบริหารและการจัดการ ตลอดจนการใช้จ่ายเงินกู้ในโครงการไม่มีกลยุทธ์และทิศทางที่มีประสิทธิภาพ
ประมูล ปรส. ผลงานอัปยศ
นับตั้งแต่ที่รัฐบาลปิดกิจการของบริษัทเงินทุน 56 แห่ง และเร่งให้ ปรส. ประมูลขายทรัพย์ออกอย่างรวดเร็ว โดยไม่พยายามดูแลให้สินทรัพย์ดังกล่าวขายให้ได้ในราคาสูงนั้น ผลปรากฏว่าสินทรัพย์มูลค่า 870,000 ล้านบาท ขายได้เพียง 160,000 ล้านบาทหรือไม่ถึง 20% และผู้ประมูลซื้อสินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่เพียงไม่กี่แห่ง ส่วนสินทรัพย์ที่เหลือประมาณ 100,000 ล้านบาทนั้น รัฐบาลยอมขายให้กับ บบส. ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ โดยแลกกับพันธบัตรของ บบส.
การที่รีบร้อนขายสินทรัพย์ในขณะที่เศรษฐกิจตกต่ำเต็มที่เช่นนี้ ทำให้ ปรส. ได้ราคาต่ำ มิหนำซ้ำรัฐบาลยังกีดกันมิให้ลูกหนี้หรือรายย่อยเข้าซื้อสินทรัพย์ดังกล่าว ผลคือ บริษัทต่างชาติเหล่านี้สามารถเร่งรัดให้ลูกหนี้ไทยจ่ายคืนเป็นสัดส่วน 60-70 % ของเงินต้น
ความเสียหายประมาณ 600,000 ล้านบาทจากการประมูลของ ปรส. นับเป็นภาระภาษีของประชาชนคนไทยทุกคน ซึ่งรัฐบาลต้องยอมออกพันธบัตรชดใช้ความเสียหายไปแล้ว 500,000 ล้านบาท แต่ก็ยังเหลืออีก 100,000 ล้านบาท
หมกเม็ดความเสียหาย ตบตาประชาชนทั่งประเทศ
ความเสียหายซึ่งถูกหมกซ่อนไว้ที่กองทุนฟื้นฟู เป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนอย่างมาก เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้รัฐบาลต้องชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกองทุนฟื้นฟูฯ โดยอาศัยเงินงบประมาณซึ่งก็คือเงินภาษีของประชาชน
ที่ผ่านมากองทุนฟื้นฟูฯ มีเงินกองทุนติดลบกว่า 200,000 ล้านบาท และหากนับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คาดว่าจะมีหนี้ทั้งสิ้น 1 ล้านล้านบาท โดยที่รัฐบาลยังไม่รู้ว่าจะหาเงินที่ไหนมาชดใช้
รวมบัญชี ทุบคลังหลวงชดเชยความผิดพลาดรัฐบาล
เพื่อลดแรงกดดันทางการเมืองจากการที่จะต้องขึ้นภาษีที่เรียกเก็บจากประชาชนในการหาเงินมาใช้หนี้ นายกฯชวนเอาตัวรอดด้วยการนำเอาเรื่องการรวมบัญชีของธนาคารแห่งประเทศไทยมาเป็นข้ออ้างในการบังคับให้ธปท. ต้องนำทุนสำรองส่วนเกินมาชดใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ โดยให้เหตุผลว่าหากไม่ใช้วิธีนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องหารายได้เพิ่มโดยการเก็บภาษีจากประชาชน และแม้ว่าในท้ายสุดธปท. จะยอมให้นำเงินทุนสำรองจำนวน 1.3 แสนล้านบาทไปชดใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ แต่ผลที่ตามมาคือ ผู้ประกอบการ นักลงทุน และประชาชนต่างสูญเสียความเชื่อมั่น
การบีบให้ ปธท. รับภาระหนี้เงินบาทของกองทันฟื้นฟูฯ ยังทำให้นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเป็นห่วงว่า อาจมีการพิมพ์เงินเพิ่มขึ้นกว่า 55,000 ล้านบาท เพื่อจ่ายหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นการเสียวินัยทางการเงิน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงในขณะนี้
ตอนที่ 7
สร้างภาพเศรษฐกิจฟื้นบอกความจริงประชาชนครึ่งเดียว
รัฐบาลอ้างกับประชาชนตั้งแต่ปี 2542 ว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นฟูแล้ว แต่ทุกวันนี้ประชาชนเริ่มเห็นแล้วว่า การฟื้นตัวนั้นจำกัดอยู่เฉพาะบางสาขา เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ และการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเจ้าของกิจการส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ
สินค้าที่คนไทยเป็นผู้ผลิตโดยเฉพาะสินค้าเกษตร เช่น ข้าว น้ำตาล ปัจจุบันมีราคาตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะกระตุ้นยอดขายได้ก็ต้องลดราคา ทำให้สัดส่วนของกำไรลดลง และการจ้างงานก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น
สำหรับภาคการเงิน ภายหลังจากที่ธนาคารต่างชาติเข้ามาเป็นเจ้าของธนาคารไทยแล้ว ปัญหาการปลดพนักงานออกก็ไม่มีที่ท่าว่าจะลดลง ทั้งธนาคารไทยและธนาคารลูกครึ่งยังมีแนวโน้มที่จะลดจำนวนพนักงานลงอีก โดยในปีนี้มีแผนจะลดคนประมาณ 2 หมื่นคนซึ่งผลของการลดคนดังกล่าวย่อมทำให้การฟื้นตัวของการอุปโภค บริโภค เป็นไปอย่างเชื่องช้า
ประชาชนตกงาน ธุรกิจล้มละลาย
ผลพวงจากความผิดพลาดของการบริหารงานภายใต้รัฐบาลชวนนั้น มีผลสรุปที่ชัดเจนคือ ประชาชนยังตกอยู่ในภาวะที่ยากลำบากอยู่เช่นเดิม ยอดคนตกงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป้นการตกงานของคนไทยที่มีค่าครองชีพสูง มีถึง 2.5 ล้านคน
ธุรกิจจำนวนไม่น้อยกำลังประสบปัญหาต้องปิดกิจการ จากการรายงานของกระทรวงพาณิชย์ระบุชัดเจนว่า ในช่วงปี 2540 ปีแรกที่ประเทศไทยเริ่มประสบวิกฤติเศรษฐกิจ มีธุรกิจบริษัทและห้างหุ้นส่วนปิดกิจการ 9,856 ราย เฉพาะบริษัทจดทะเบียน 5,621 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ถึง 45.47 % และจากปี 2540-2542 มีบริษัทและห้างหุ้นส่วนปิดกิจการไปแล้ว 29,202 ราย และมีอีกมากมายที่กำลังจะปิดตัว
ม.ร.ว. ปรีดียาธร เทวกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าถึงกับออกมาเตือนรัฐบาลว่า มีผู้ส่งออกรายย่อย 1.1 หมื่นรายจากจำนวนทั้งหมด 1.4 หมื่นรายกำลังจะตาย เพราะนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ผิด และนโยบายการเงินที่เข้มงวดที่สุดในโลกของรัฐบาล ทำให้สถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้ให้กับบริษัทในประเทศตั้งแต่เดือน มีนาคม 2541
ตอนที่ 8
ไม่ช่วยไม่ว่า แต่กลับซ้ำเติมเกษตรกร
รัฐบาลขาดวิสัยทัศน์และความเข้าใจที่ถ่องแท้ว่าภาคเกษตร คือภาคการผลิตพื้นฐานของสังคมไทย และเป็นความหวังในการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจและสังคม ปัจจุบันภาคเกษตรกรรมสามารถสร้างความมั่นคงให้กับประเทศได้ ด้วยการเป็นหนึ่งในประเทสผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของโลก ตามที่ผ่านมารัฐบาลขาดการจัดการด้านการเกษตรอย่างเป็นระบบภาคเกษตรของไทยจึงเต็มไปด้วยปัญหา เกษตรกรไทยจำนวนมากมีฐานะความเป็นอยู่ยากจนแร้นแค้น มีภาระหนี้สิน ขาดแคลนที่ดินทำกิน และประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำลงกว่า 50% ผลกระทบดังกล่าวได้จุดชนวนให้ชาวนารวมตัวกัน เพื่อเรียกร้องขอความช่วยเหลือหลายต่อหลายครั้ง แต่รัฐบาลกลับเพิกเฉยไม่ใส่แก้ปัญหา
ไม่เพียงแต่ไม่เหลียวแลช่วยเหลือปัญหาของเกษตร รัฐบาลชวน 2 กลับซ้ำเติมเกษตรให้ลำบากยิ่งขึ้นไปอีก เห็นได้ชัดจากแผนกู้เงินจากธนาคารพัฒนา เอเชีย (เอดีบี) วงเงิน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร รัฐบาลได้ใช้เงินส่วนหนึ่งเป็นทุนในการจัดทำโครงการจัดรูปที่ดินและระบบชลประทาน เพื่อให้เกษตรที่ต้องการเพิ่มผลผลิตเข้าร่วมโครงการ และตั้งเงื่อนไขขอจัดเก็บค่าใช้น้ำในระบบส่งน้ำสำหรับผู้ต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตร เกษตรกรในพื้นที่ที่มีการจัดรูปที่ดินส่วนหนึ่งร่วมกับ NGOs ได้ชุมนุมกันเพื่อต่อต้านเงื่อนไขและแนวทางดังกล่าวของรัฐบาล ก่อนและระหว่างการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชียที่จังหวัดเชียงใหม่ (ต้นเดือนพฤษภาคม 2543)
รัฐบาลกลับอ้างว่าเป็นการชุมนุมแบบจัดตั้ง จงใจก่อความไม่สงบ และเห็นว่าเกษตรกรและ NGOs ไม่ฟังเงื่อนไขและคำอธิบายที่ชัดเจน รัฐบาลได้ให้คำอธิบายว่า การจัดเก็บภาษีน้ำจะทำเฉพาะผู้ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ และเต็มใจจะจ่ายค่าใช้น้ำและค่าระบบส่งน้ำที่รัฐบาลต้องลงทุนไปเท่านั้น เพื่อรัฐบาลจะได้นำรายได้ที่จัดเก็บนี้ไปใช้คืนทุนในปี 2543 20% ปี 2544 30% อีก 50 % สำหรับผู้ที่อยู่ในโครงการแต่ไม่ต้องการใช้น้ำ สามารถย้ายออกจากโครงการได้
เห็นได้ชัดว่าโครงการดังกล่าวไม่กระจายการช่วยเหลือไปสู่เกษตรผู้ยากจน แต่เป็นการบรรเทาและช่วยเหลือเกษตรที่มีความสามารถจ่ายลงทุนได้เท่านั้น ในขณะที่เกษตรที่ยากจนจำเป็นต้องเลือกที่จะย้ายออกจากพื้นที่โครงการ อย่างไรก็ตาม ท้ายสุดการต่อต้านในงานประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชียที่จังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนั้น ทำให้ผู้บริหารเอดีบีต้องออกมายืนยันว่าจะไม่จัดเก็บค่าน้ำจากเกษตรกร ซึ่งล้วนเป็นผลงานที่เกิดจากการต่อสู้ดิ้นรนเกษตรกรเองทั้งสิ้น
ยิ่งไปกว่านั้นรัฐบาลยังออกมาแสดงทัศนะกล่าวหาเกษตรกรว่า การก่อความไม่สงบในระหว่างการจัดประชุมนั้นทำให้เสียภาพพจน์ของประเทศไทย และกล่าวว่าเอดีบีเป็นองค์กรที่ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาก ประเทศไทยจำเป็นต้องกู้เงินจากองค์กรนี้ การชุมนุมทำให้ไทยถูกจับตามอง และสูญเสียความน่าเชื่อถือไป
ที่ผ่านมารัฐบาลมีแผนกู้เงินจากเอดีบีตั้งแต่ปี 2542-2545 รวมเป็นเงิน 1,480 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีเงื่อนไขบังคับให้รัฐบาลลดค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการหลายรายการเช่นให้รัฐบาลลดจำนวนจ่ายเงินสมทบเข้า กองทุนประกันสังคมเหลือเพียง 50% จากที่จ่ายปัจจุบัน กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ส่งผลให้ไม่มีการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำมาตั้งแต่ปี 2541
การดำเนินการเพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรที่บ่งชัดถึงความล้มเหลว ในการจัดการกับภาคเกษตรของรัฐบาลชุดนี้ ยังเห็นได้ชัดจากการไม่ประสบความสำเร็จหลังจากการจัดตั้งกองทุนนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตาม พ.ร.บ. กองทุนฟื้นฟูเกษตรฯ วัตถุประสงค์ของกองทุนนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยซึ่งไร้หลักประกันในการกู้เงิน โดยกองทุนฯนี้จะเป็นแหล่งเงินกู้ของเกษตรกร โดยให้เกษตรกรเป็นผู้บริหารกองทุนฯ ในชุมชนของตนเองโดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันกู้ แต่ให้เกษตรกรในชุมชนเป็นผู้ค้ำประกันเอง ทั้งนี้เกษตรกรผู้สนใจเข้าร่วมโครงการจะต้องสมัครขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนฯ และจะได้รับสิทธิในการเลือกตั้งผู้แทนชุมชนเข้าไปบริหารกองทุน และรับสิทธิในการกู้เงิน
จนถึงวันนี้การจัดการกับโครงสร้างกองทุนยังไม่เสร็จสิ้น ยังไม่มีเกษตรกรได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนฯ และมีข้อมูลว่าในปี 2542 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้จัดสรรเงิน 33 ล้านบาทใช้สำหรับการเตรียมการเลือกตั้งกรรมการบริหารกองทุนฯ ซึ่งเป็นตัวแทนเกษตรกร เงินจำนวนนี้ถูกใช้ไปหรือไม่อย่างไร ตลอดจนเงินทุนประเมินรอบแรกที่รัฐจัดสรรให้กับกองทุนฯ จำนวน 1,800 ล้านบาท ถูกจัดการไปอย่างไร จนถึงวันนี้ไม่มีการให้ข้อมูลกับประชาชนผู้เสียภาษี และเกษตรกรผู้รอคอยการช่วยเหลือ
ท้ายที่สุดการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร 4.8 ล้านครอบครัว รวมมูลค่าหนี้ 230,000 ล้านบาท ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542 นั้น ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง และยังกลับเป็นมาตรการที่นำปัญหาไปกองไว้ที่ ธ.ก.ส. เกิดอะไรขึ้นกับการบริหารงบประมาณของรัฐบาลชุดนี้กันแน่?
ความแยแสต่อความยากไร้ของเกษตรกรของรัฐบาลชวน 2 นั้น เน้นย้ำให้เห็นชัดอีกครั้งจากเหตุการณ์การเรียกร้องของเกษตรกรให้รัฐบาลประกันราคามันสำปะหลัง ซึ่งตกต่ำลงอย่างหนักในช่วงเดือนตุลาคม 2542 ทั้งๆที่ผลผลิตล้นตลาด นายกชวนไม่เพียงไม่ออกมาหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมเกษตรกร แต่ในที่สุดวันที่ 27 ตุลาคม 2542 ก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่น่าละอายไปทั่วโลก เมื่อรัฐบาลปล่อยสุนัขตำรวจไล่กัดเกษตรกรที่มาชุมนุมประท้วงบริเวณหน้าทำเนียบฯ มีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้งเด็ก ผู้หญิง และ คนชรา
วิธีการใช้ความรุนแรงเพื่อจัดการขับไล่ชาวบ้าน และเกษตรกรผู้ยากไร้ที่เรียกร้องความเป็นธรรมจากรัฐบาล ยังคงเกิดขึ้นอีกหลายครั้งในช่วงเวลาของการบริหารงานภายใต้รัฐบาลชุดนี้ อาทิ กรณีที่รัฐบาลใช้กำลังเข้าสลายม็อบชาวบ้านที่เดือดร้อนกรณีเขื่อนปากมูล (เดือนกรกฎาคม 2543) ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล รัฐบาลใช้กำลังเสริมกว่า 5 กองพัน ทั้งจาก ตชด. พลร่มค่ายนเรศวร ประจวบฯ และตำรวจปราบจราจลกว่า 5 กองพัน เข้าเคลียร์พื้นที่ม็อบปากมูล เพื่อล้างทำเนียบฯ เตรียมการต้อนรับประธานาธิบดีจีนที่มาเยือนประเทศไทย (18 ก.ค. 48) ปรากฎว่ามีผู้บาดเจ็บมากกว่า 50 คน และถูกจับอีก 202 คน
นอกจากนี้วิกฤตหนี้สาธารณะ ทำให้รัฐบาลปฏิเสธร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม สำหรับจัดตั้งกองทุนสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและว่างงาน รวมทั้งการปัดสวะปัญหาหนี้สินกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายด้วยมติให้ปรับราคาน้ำตาลทรายขั้นต่ำ 2 บาทต่อกิโลกรัม
ความคิดเห็นที่ 1
ตอนที่ 3
รัฐบาลเล่นกลเบี้ยวแม้กระทั่งชาวบ้าน
กรณีม๊อบเขื่อนปากมูลและฝายราษีไศล เป็นความทุกข์ยากของประชาชนในเขตโครงการที่เดือดร้อนจาการต้องถูกอพยพ และขาดรายได้จากการประมง เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามพันธะสัญาในโครงการต่อเนื่องซึ่งรัฐบาลเดิมเคยสัญญาไว้ รัฐบาลชุดนี้ยังปัดความรับผิดชอบและไม่ใส่ใจต่อความทุกข์ยากของประชาชน ปล่อยให้ประชาชนรอคอยการแก้ปัญหามานนานถึง 14 เดือน โดยไม่ยอมเจรจา ไม่ยอมพบ ส่งแค่ตัวแทนรัฐบาลที่ไม่มีอำนาจตัดสินใจมารับฟังปัญหา และท้ายสุดก็แก้ปัญหาไม่ได้
ผลาญงบประมาณเพื่อประโยชน์พวกพ้อง
ล่าสุดการจัดสรรงบประมาณประมาณประจำปี 2544 ได้สะท้อนให้เห็นถึงการมุ่งหาผลประโยชน์ของคนในพรรคร่วมรัฐบาลโดยไม่สนใจว่า เงินนั้นมาจากภาษีของประชาชนโดยการเร่งรีบอนุมัติผ่านงบประมาณปี 2544 และฉวยโอกาสโค้งสุดท้ายของการจัดสรรงบประมาณอนุมัติโปรเจคยักษ์ซึ่งใช้เงินมหาศาล เช่น โครงการสร้างไซโล 66 แห่งทั่วประเทศภายใต้วงเงิน 10,800 ล้านบาทของ ประภัตร โพสุธน ซึ่งได้รับการอนุมัติโดยไม่ต้องพิจารณารายละเอียด
ไม่เพียงเท่านี้รัฐบาลชุดนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการใช้อำนาจในทางมิชอบโดย ประภัตร โพธสุธน มีคำสั่งใช้ชะลอการใช้เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคการเกษตรจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ในวงเงิน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยให้เหตุผลว่าโครงการที่ดำเนินการไม่โปร่งใสหลายโครงการมีปัญหา หลังจากนั้นก็ได้ให้คณะรัฐมนตรียกเลิก มติครม.เศรษฐกิจเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2543 ที่ระบุให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตรวจสอบโครงการที่มีมูลค่าเกิน 500 ล้านบาท เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของโครงการ
การยกเลิกมติครม. ดังกล่าวดูเหมือนเป็นการสมยอม ครม. ทั้งคณะ ที่ใช้เงินกู้เอดีบี โดยไม่คำนึงถึง ความถูกต้อง ทั้ง ๆ ที่เงิน 600 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นเงินที่กู้มาและต้องจ่ายดอกเบี้ย แต่รัฐบาลชุดนี้กลับใช้เพื่อหวังผลทางการเมืองมากกว่าเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน
แม้แต่ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ผู้ว่าราชการธนาคารแห่งประเทศไทย ยังไม่เห็นชอบกับพฤติกรรมของรัฐบาล โดยได้ออกมาพูดว่า รัฐบาลไม่จำเป็นต้องรีบผ่านงบประมาณเพราะถึงแม้ว่างบประมาณปี 2544 จะล่าออกไป แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะหากผ่านไม่ทัน ก็สามารถใช้งบปีที่แล้วก่อนได้อยู่แล้ว จนกว่างบใหม่จะเสร็จ ซึ่งปฏิบัติเช่นนี้กันมาโดยตลอด การพูดของผู้ว่าธนาคารชาติเป็นการตอกย้ำถึงความไม่พอไม่ชอบมาพากลในกลไกการจัดสรรงบครั้งนี้อย่างชัดเจน
ระยะเกือบ3ปี ภายใต้การบริการของรัฐบาลชวน2จึงนับเป็นยุดของ ขบวนการโกงกินบ้านเมืองที่มีฐานเงิน อำนาจ และความชอบธรรมอยู่ในมือ ในการกระทำทุจริตฉ้อฉลหลากหลายรูปแบบ โดยไม่ได้คำนึงถึงผลเสียหายต่อส่วนรวม
ตอนที่ 4
ครม. ชวนดื่มกินงบผูกพัน 6.5 หมื่นล้านบาท จนหยุดสุดท้าย
หลังจากนายชวน หลีกภัย ประกาศยุบสภาไปเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 ขบวนการผลาญงบก็ยังไม่ลดละ ครม.ชุดของนายชวน ที่เป็นครม.รักษาการ ได้มีมติอนุมัติงบประมาณผูกพัน เป็นจำนวนเงินสูงถึง 64,653.1 ล้านบาท ไปเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2543 ที่ผ่านมานี้ มีรายการใหญ่ๆที่ครม. อนุมัติคือ
1. รายการค่าก่อสร้างและปรับปรุงระบบคมนาคม ของกระทรวงคมนาคมด้วยวงเงินสูงถึง 33,051.3 ล้านบาท หรือ 51.1 เปอร์เซ็น ของวงเงินของผูกพันทั้งหมด
2. รายการขออนุมัติงบผูกพันข้ามปีงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2544 ที่เป็นรายการขนาดใหญ่ซึ่งมีวงเงินงบประมาณทั้งสิ้นสูงเกิน 1,000 ล้านบาท มีจำนวน 10 รายการประกอบด้วย กระทรวงกลาโหม 3 รายการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 รายการ และกระทรวงมหาดไทย 5 รายการ รวมเป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 16,844.9 ล้านบาท และเป็นงบประมาณที่จะต้องจ่ายในปี 2544 จำนวน 2,129.4 ล้านบาท
3.รายการส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายการต่างๆ ที่มีวงเงินการก่อหนี้ผูกพันทั้งสิ้นไม่เกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 743 รายการ เป็นเงินงบประมาณรายการใหม่ในปีงบประมาณ 2544 จำนวน 9,380.3 ล้านบาท และเป็นจำนวนภาระผูกพันทั้งสิ้น 47,808.2 ล้านบาท
การที่รัฐบาลของนายชวน มีมติอนุมัติงบประมาณผูกพัน เป็นจำนวนเงินสูงถึง 64,653.1 ล้านบาท เป็นการก่อหนี้สาธารณะของรัฐบาล จะทำให้ประชาชนต้องแบกรับภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น ซึ่งโดยมารยาททางการบริหารแผ่นดินแล้ว รัฐบาลที่รักษาการจะไม่อนุมัติงบประมาณ อนุมัติโครงการใดๆ ในช่วงที่รักษาการ
การที่รัฐบาลของนายชวน หลีกภัย อนุมัติงบประมาณผูกพันในช่วงที่รักษาการนี้ ได้สะท้อนให้เห็นว่ามีขบวนการผลาญงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นภาษีอากรของประชาชน ที่กระทำกันจนถึงนาทีสุดท้ายจนเรียกได้ว่าไม่ให้เหลือติดก้นขวด นี่แค่ช่วงเวลาสั้นๆ ยังกล้าทำโดยไม่เกรงใจประชาชนเลยแม้แต่น้อย แสดงให้เห็นธาตุแท้ของรัฐบาลชวนได้ชัดเจน ซึ่งตรงข้ามกับที่รัฐบาลบอกเสมอว่าบริหารงานด้วยความโปร่งใส เล่นบทหน้าซื่อมือสะอาดกับประชาชนมาตลอด ถึงวันนี้คงเห็นความจริงกันแล้ว
ดรีมทีมปชป. กับหายนะทางเศรษฐกิจ : สร้างภาพดีเข้าตัว เอาชั่วให้ผู้อื่น
ตลอดเวลาเกือบ 3 ปีที่รัฐบาลชวนเข้ามาประเทศ ได้สร้างภาพหลอกประชาชน รวมทั้งนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศให้เชื่อว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยจะฟื้นตัวด้วยฝีมือของทีมเศรษฐกิจ
รับบาลชุดนี้เริ่มหลอกประชาชนตั้งแต่ให้ทำตามเงื่อนไขไอเอ็มเอฟ. เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนทั้ง แล้วก็หลอกต่อไปอีกว่า การให้ฝรั่งมาซื้อสินทรัพย์จาก ปรส. นั้นเป็นสิ่งที่ดีต่อชาติ เพราะฝรั่งจะเอาเงินเข้ามา เอาเข้าจริงๆ ฝรั่งก็ไม่เอามาเงินเข้ามา กลับมาหลอกขอยืมเงินในประเทศเพื่อซื้อทรัพย์สินจาก ปรส. ไปในราคาถูกแสนถูก แล้วบริษัทฝรั่งเหล่านั้นก็เอาไปขายต่อสร้างกำไรมหาศาล
เท่านั้นยังไม่พอ รัฐบาลชุดนี้หลอกพวกเราอีกครั้งว่า จะแก้ปัญหาสถาบันการเงินได้อย่างเบ็ดเสร็จด้วยมาตรา 14 สิงหาคม (2541) โดยเข้าไปรับหนี้เอกชนเข้ามาเป็นหนี้รัฐบาล ทำให้หนี้สาธารณะที่ประชาชนคนไทยต้องแบกรับหนี้พุ่งสูงถึง 3,260,000 ล้านบาท หรือราว 70,000 บาทต่อคน
ความอ่อนแอในระบอบเศรษฐกิจเกิดขึ้นเกือบทุกๆด้านไม่เพียงแต่ปัญหาในเชิงโครงสร้างระบบเงิน และสถาบันการเงินและสถาบันการเงินของประเทศเท่านั้น การผลิตและการลงทุนก็ลดต่ำลงไปด้วย
ดรีมทีมเศรษฐกิจนำโดยรัฐมนตรีคลัง ธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ ยังคงไม่ยอมรับความจริง โดยทันทีที่การส่งออกของประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น รัฐบาลก็รีบอ้างว่าสิ่งนี้คือสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทั้งๆที่ยอดการส่งออกเพิ่มขึ้นเกือบทั้งหมดเป็นการส่งออกของบริษัทต่างชาติที่กระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่ธุรกิจ และใช้วัตถุดิบนำเข้าเกือบทั้งหมดผลประโยชน์ที่ตกแก่คนไทยจึงมีเพียงน้อยนิด
ความไว้วางใจและความชื่อมั่นจึงไม่มีเหลือ ทุกวันนี้นักลงทุนต่างชาติสั่งลดการลงทุนในประเทศ ในขณะเดียวกันนักลงทุนไทยก็ไม่ชื่อมั่นในเศรษฐกิจของตัวเองส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นตกต่ำกว่าระดับ 300 จุด จากที่เคยสูงกว่าระดับ 400 จุดเมื่อครั้งที่รัฐบาลเริ่มเข้ามาบริหารประเทศ สร้างความเสียหายแก่นักลงทุนรายย่อยอย่างมหาศาล
ตอนที่ 5 รัฐบาลนายกฯชวน ตัวการเศรษฐกิจไม่ฟื้น
นับตั้งแต่ที่รัฐบาลนายกฯชวน เข้ามาบริหารประเทศเมื่อปลายปี 2540 และดำเนินงานตามนโยบายของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ ด้วยการใช้นโยบายเศรษฐกิจที่เข้มงวด ตรึงดอกเบี้ยให้สูง และชะลอการใช้จ่ายของภาครัฐ โดยอ้างว่าเพื่อต้องการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ได้ส่งผลให้เงินบาทแข็งตัวจริง แต่ผลเสียหายที่ตามมา คือรายได้ประชาชาติ (GDP) หดตัวลงกว่า 10 % ในปี 2541 ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ของไทย ภายใต้การบริหารของรัฐบาลชุดนี้ ผู้ที่อาจได้รับประโยชน์บ้างก็คือธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งได้อานิสงส์จากเงินบาทแข็งตัว จนเป็นผลให้ภาระหนี้ต่างประเทศลดลง
ท้ายที่สุดใช้นโยบายดอกเบี้ยสูง ได้สร้างผลกระทบต่อธุรกิจให้ต้องมีอันล้มละตายหลายหมื่นราย และจำนวนคนว่างงานได้เพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านคน ความเสียหายที่เกิดขึ้นยังเห็นได้จากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้น จากการที่ NPL ในภาคอุตสาหกรรมที่ปรับโครงสร้างไปแล้วกลับคืนมาเป็น NPL อีกครั้งถึง 3,965 ล้านบาท และในภาคธุรกิจอีก 1.3759 หมื่นล้านบาท และยังมี NPL ที่เกิดขึ้นใหม่เพิ่มขึ้นอีกในหลายภาคธุรกิจ
ถมเงินเข้าสู่ธนาคาร ยิ่งถมยิ่งพัง
ในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แทนที่รัฐบาลจะเร่งแก้ปัญหาโครงสร้างทางการเงินพร้อมๆกับการแก้ปัญหาโครงสร้างการผลิตหรือการประกอบการโดย ตรง รัฐบาลกลับยืนยันใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงตามการชักจูงของไอเอ็มเอฟ. และบอกกับประชาชนว่าต้องเร่งให้ธนาคารเพิ่มทุนมากๆ เพื่อสำรองความเสียหายก่อน เมื่อธนาคารเพิ่มทุนแล้วก็จะมีความมั่นคง สามารถปล่อยกู้ให้ธุรกิจฟื้นตัวได้
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้กลับตรงกันข้าม เพราะแม้ว่าธนาคารจะได้เพิ่มทุนไปหลายแสนล้านบาทแล้วก็ตาม ก็ยังไม่สามารถทำให้ธนาคารต่างๆยอมปล่อยกู้เพิ่มให้กับผู้ประกอบการจนกระทั่งทุกวันนี้ เพราะต่างเกรงว่าเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวดี ตัวเลข NPL ใหม่อีกรอบนั้น มีมากถึง 3-4 หมื่นล้านบาทต่อเดือนในปัจจุบัน
รัฐบาลได้พยายามผลักดันให้ธนาคารเพิ่มทุน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงออกมาตรการ 14 สิงหาคม 2541 มูลค่า 300,000 ล้านบาท เพิ่มทุนให้สถาบันการเงิน โดยหวังว่าถ้าสถาบันการเงินแข็งแรงขึ้น ธุรกิจอื่นก็จะดีขึ้นตามมา
นอกจากนี้ในปี 2541 รัฐบาลยังได้เร่งออกพระราชกำหนด 11 ฉบับเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และขออำนาจออกพันธบัตรรัฐบาลขายให้แก่กับต่างประเทศมูลค่า 200,000 ล้านบาท แต่สถานการณ์ก็ยังคงไม่ดีขึ้น
ปฏิบัติการยึดธนาคาร ยิ่งยึดยิ่งเจ๊ง
หลังจากที่รัฐบาลพยายามครั้งแล้วครั้งเล่าที่จะให้ธนาคารต่างๆ เพิ่มทุนในช่วงที่เกิดวิกฤตช่วงนั้น ปรากฎว่าเป็นความพยายามที่ล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าในการแก้ปัญหาสถาบันการเงิน ทำให้รัฐบาลตัดสินใจเข้าไปยึดกิจการธนาคารและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บางส่วน โดยมุ่งนำมาควบรวมขายให้กับต่างชาติ
ในการขายธนาคารพาณิชย์แต่ละครั้งนั้น รัฐบาลอ้างว่าขายแล้วจะไม่ขาดทุน เพราะตั้งราคาขายเท่ากับราคาที่ยึดมา แต่จนถึงวันนี้รัฐบาลยังไม่ยอมเปิดเผยเงื่อนไขการขายธนาคารที่แท้จริงออกมา และไม่เปิดเผยรายละเอียดของสัญญา แต่ข้อเท็จจริงคือ รัฐบาลยอมชดใช้ความเสียหายจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารดังกล่าว (ซึ่งได้แก่ ธนาคารรัตนสิน และธนาคารศรีนคร) ถึง 85% ให้กับผู้ซื้อต่างชาติ นอกจากนั้นยังยอมจ่ายดอกเบี้ยให้กับสินเชื่อที่เป็น NPL ให้กับผู้ซื้อเป็นระยะเวลา 3-5 ปีอีกด้วย
ด้วยเงื่อนไขนี้ การขายธนาคารที่รัฐยึดมาจึงเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ซึ่งเป็นนักลงทุนต่างชาติอย่างที่สุด โดยที่ต้องซ่อนการขาดทุนดังกล่าวเอาไว้เป้นภาระของผู้เสียภาษีในอนาคตจำนวนหลายแสนล้านบาท ขณะเดียวกันยังสร้างความไม่เท่าเทียมกันระหว่างธนาคารที่ขายให้ กับธนาคารที่ยังเป็นของคนไทย เพราะธนาคารคนไทยยังคงต้องแบกภาระแก้หนี้ NPL สูงถึง 35-40 % ของสินเชื่อทั้งหมดด้วยตัวเอง
ปฏิบัติการการยึดธนาคารครั้งนี้ สร้างความเสียหายแก่ประเทศอย่างมหาศาล จนถึงวันนี้ได้สร้างภาระให้กับกองทุนฟื้นฟูแล้วประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลต้องหาแหล่งเงินมากลบความเสียหายในครั้งนี้
รัฐบาลเล่นกลเบี้ยวแม้กระทั่งชาวบ้าน
กรณีม๊อบเขื่อนปากมูลและฝายราษีไศล เป็นความทุกข์ยากของประชาชนในเขตโครงการที่เดือดร้อนจาการต้องถูกอพยพ และขาดรายได้จากการประมง เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามพันธะสัญาในโครงการต่อเนื่องซึ่งรัฐบาลเดิมเคยสัญญาไว้ รัฐบาลชุดนี้ยังปัดความรับผิดชอบและไม่ใส่ใจต่อความทุกข์ยากของประชาชน ปล่อยให้ประชาชนรอคอยการแก้ปัญหามานนานถึง 14 เดือน โดยไม่ยอมเจรจา ไม่ยอมพบ ส่งแค่ตัวแทนรัฐบาลที่ไม่มีอำนาจตัดสินใจมารับฟังปัญหา และท้ายสุดก็แก้ปัญหาไม่ได้
ผลาญงบประมาณเพื่อประโยชน์พวกพ้อง
ล่าสุดการจัดสรรงบประมาณประมาณประจำปี 2544 ได้สะท้อนให้เห็นถึงการมุ่งหาผลประโยชน์ของคนในพรรคร่วมรัฐบาลโดยไม่สนใจว่า เงินนั้นมาจากภาษีของประชาชนโดยการเร่งรีบอนุมัติผ่านงบประมาณปี 2544 และฉวยโอกาสโค้งสุดท้ายของการจัดสรรงบประมาณอนุมัติโปรเจคยักษ์ซึ่งใช้เงินมหาศาล เช่น โครงการสร้างไซโล 66 แห่งทั่วประเทศภายใต้วงเงิน 10,800 ล้านบาทของ ประภัตร โพสุธน ซึ่งได้รับการอนุมัติโดยไม่ต้องพิจารณารายละเอียด
ไม่เพียงเท่านี้รัฐบาลชุดนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการใช้อำนาจในทางมิชอบโดย ประภัตร โพธสุธน มีคำสั่งใช้ชะลอการใช้เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคการเกษตรจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ในวงเงิน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยให้เหตุผลว่าโครงการที่ดำเนินการไม่โปร่งใสหลายโครงการมีปัญหา หลังจากนั้นก็ได้ให้คณะรัฐมนตรียกเลิก มติครม.เศรษฐกิจเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2543 ที่ระบุให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตรวจสอบโครงการที่มีมูลค่าเกิน 500 ล้านบาท เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของโครงการ
การยกเลิกมติครม. ดังกล่าวดูเหมือนเป็นการสมยอม ครม. ทั้งคณะ ที่ใช้เงินกู้เอดีบี โดยไม่คำนึงถึง ความถูกต้อง ทั้ง ๆ ที่เงิน 600 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นเงินที่กู้มาและต้องจ่ายดอกเบี้ย แต่รัฐบาลชุดนี้กลับใช้เพื่อหวังผลทางการเมืองมากกว่าเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน
แม้แต่ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ผู้ว่าราชการธนาคารแห่งประเทศไทย ยังไม่เห็นชอบกับพฤติกรรมของรัฐบาล โดยได้ออกมาพูดว่า รัฐบาลไม่จำเป็นต้องรีบผ่านงบประมาณเพราะถึงแม้ว่างบประมาณปี 2544 จะล่าออกไป แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะหากผ่านไม่ทัน ก็สามารถใช้งบปีที่แล้วก่อนได้อยู่แล้ว จนกว่างบใหม่จะเสร็จ ซึ่งปฏิบัติเช่นนี้กันมาโดยตลอด การพูดของผู้ว่าธนาคารชาติเป็นการตอกย้ำถึงความไม่พอไม่ชอบมาพากลในกลไกการจัดสรรงบครั้งนี้อย่างชัดเจน
ระยะเกือบ3ปี ภายใต้การบริการของรัฐบาลชวน2จึงนับเป็นยุดของ ขบวนการโกงกินบ้านเมืองที่มีฐานเงิน อำนาจ และความชอบธรรมอยู่ในมือ ในการกระทำทุจริตฉ้อฉลหลากหลายรูปแบบ โดยไม่ได้คำนึงถึงผลเสียหายต่อส่วนรวม
ตอนที่ 4
ครม. ชวนดื่มกินงบผูกพัน 6.5 หมื่นล้านบาท จนหยุดสุดท้าย
หลังจากนายชวน หลีกภัย ประกาศยุบสภาไปเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 ขบวนการผลาญงบก็ยังไม่ลดละ ครม.ชุดของนายชวน ที่เป็นครม.รักษาการ ได้มีมติอนุมัติงบประมาณผูกพัน เป็นจำนวนเงินสูงถึง 64,653.1 ล้านบาท ไปเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2543 ที่ผ่านมานี้ มีรายการใหญ่ๆที่ครม. อนุมัติคือ
1. รายการค่าก่อสร้างและปรับปรุงระบบคมนาคม ของกระทรวงคมนาคมด้วยวงเงินสูงถึง 33,051.3 ล้านบาท หรือ 51.1 เปอร์เซ็น ของวงเงินของผูกพันทั้งหมด
2. รายการขออนุมัติงบผูกพันข้ามปีงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2544 ที่เป็นรายการขนาดใหญ่ซึ่งมีวงเงินงบประมาณทั้งสิ้นสูงเกิน 1,000 ล้านบาท มีจำนวน 10 รายการประกอบด้วย กระทรวงกลาโหม 3 รายการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 รายการ และกระทรวงมหาดไทย 5 รายการ รวมเป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 16,844.9 ล้านบาท และเป็นงบประมาณที่จะต้องจ่ายในปี 2544 จำนวน 2,129.4 ล้านบาท
3.รายการส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายการต่างๆ ที่มีวงเงินการก่อหนี้ผูกพันทั้งสิ้นไม่เกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 743 รายการ เป็นเงินงบประมาณรายการใหม่ในปีงบประมาณ 2544 จำนวน 9,380.3 ล้านบาท และเป็นจำนวนภาระผูกพันทั้งสิ้น 47,808.2 ล้านบาท
การที่รัฐบาลของนายชวน มีมติอนุมัติงบประมาณผูกพัน เป็นจำนวนเงินสูงถึง 64,653.1 ล้านบาท เป็นการก่อหนี้สาธารณะของรัฐบาล จะทำให้ประชาชนต้องแบกรับภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น ซึ่งโดยมารยาททางการบริหารแผ่นดินแล้ว รัฐบาลที่รักษาการจะไม่อนุมัติงบประมาณ อนุมัติโครงการใดๆ ในช่วงที่รักษาการ
การที่รัฐบาลของนายชวน หลีกภัย อนุมัติงบประมาณผูกพันในช่วงที่รักษาการนี้ ได้สะท้อนให้เห็นว่ามีขบวนการผลาญงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นภาษีอากรของประชาชน ที่กระทำกันจนถึงนาทีสุดท้ายจนเรียกได้ว่าไม่ให้เหลือติดก้นขวด นี่แค่ช่วงเวลาสั้นๆ ยังกล้าทำโดยไม่เกรงใจประชาชนเลยแม้แต่น้อย แสดงให้เห็นธาตุแท้ของรัฐบาลชวนได้ชัดเจน ซึ่งตรงข้ามกับที่รัฐบาลบอกเสมอว่าบริหารงานด้วยความโปร่งใส เล่นบทหน้าซื่อมือสะอาดกับประชาชนมาตลอด ถึงวันนี้คงเห็นความจริงกันแล้ว
ดรีมทีมปชป. กับหายนะทางเศรษฐกิจ : สร้างภาพดีเข้าตัว เอาชั่วให้ผู้อื่น
ตลอดเวลาเกือบ 3 ปีที่รัฐบาลชวนเข้ามาประเทศ ได้สร้างภาพหลอกประชาชน รวมทั้งนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศให้เชื่อว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยจะฟื้นตัวด้วยฝีมือของทีมเศรษฐกิจ
รับบาลชุดนี้เริ่มหลอกประชาชนตั้งแต่ให้ทำตามเงื่อนไขไอเอ็มเอฟ. เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนทั้ง แล้วก็หลอกต่อไปอีกว่า การให้ฝรั่งมาซื้อสินทรัพย์จาก ปรส. นั้นเป็นสิ่งที่ดีต่อชาติ เพราะฝรั่งจะเอาเงินเข้ามา เอาเข้าจริงๆ ฝรั่งก็ไม่เอามาเงินเข้ามา กลับมาหลอกขอยืมเงินในประเทศเพื่อซื้อทรัพย์สินจาก ปรส. ไปในราคาถูกแสนถูก แล้วบริษัทฝรั่งเหล่านั้นก็เอาไปขายต่อสร้างกำไรมหาศาล
เท่านั้นยังไม่พอ รัฐบาลชุดนี้หลอกพวกเราอีกครั้งว่า จะแก้ปัญหาสถาบันการเงินได้อย่างเบ็ดเสร็จด้วยมาตรา 14 สิงหาคม (2541) โดยเข้าไปรับหนี้เอกชนเข้ามาเป็นหนี้รัฐบาล ทำให้หนี้สาธารณะที่ประชาชนคนไทยต้องแบกรับหนี้พุ่งสูงถึง 3,260,000 ล้านบาท หรือราว 70,000 บาทต่อคน
ความอ่อนแอในระบอบเศรษฐกิจเกิดขึ้นเกือบทุกๆด้านไม่เพียงแต่ปัญหาในเชิงโครงสร้างระบบเงิน และสถาบันการเงินและสถาบันการเงินของประเทศเท่านั้น การผลิตและการลงทุนก็ลดต่ำลงไปด้วย
ดรีมทีมเศรษฐกิจนำโดยรัฐมนตรีคลัง ธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ ยังคงไม่ยอมรับความจริง โดยทันทีที่การส่งออกของประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น รัฐบาลก็รีบอ้างว่าสิ่งนี้คือสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทั้งๆที่ยอดการส่งออกเพิ่มขึ้นเกือบทั้งหมดเป็นการส่งออกของบริษัทต่างชาติที่กระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่ธุรกิจ และใช้วัตถุดิบนำเข้าเกือบทั้งหมดผลประโยชน์ที่ตกแก่คนไทยจึงมีเพียงน้อยนิด
ความไว้วางใจและความชื่อมั่นจึงไม่มีเหลือ ทุกวันนี้นักลงทุนต่างชาติสั่งลดการลงทุนในประเทศ ในขณะเดียวกันนักลงทุนไทยก็ไม่ชื่อมั่นในเศรษฐกิจของตัวเองส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นตกต่ำกว่าระดับ 300 จุด จากที่เคยสูงกว่าระดับ 400 จุดเมื่อครั้งที่รัฐบาลเริ่มเข้ามาบริหารประเทศ สร้างความเสียหายแก่นักลงทุนรายย่อยอย่างมหาศาล
ตอนที่ 5 รัฐบาลนายกฯชวน ตัวการเศรษฐกิจไม่ฟื้น
นับตั้งแต่ที่รัฐบาลนายกฯชวน เข้ามาบริหารประเทศเมื่อปลายปี 2540 และดำเนินงานตามนโยบายของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ ด้วยการใช้นโยบายเศรษฐกิจที่เข้มงวด ตรึงดอกเบี้ยให้สูง และชะลอการใช้จ่ายของภาครัฐ โดยอ้างว่าเพื่อต้องการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ได้ส่งผลให้เงินบาทแข็งตัวจริง แต่ผลเสียหายที่ตามมา คือรายได้ประชาชาติ (GDP) หดตัวลงกว่า 10 % ในปี 2541 ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ของไทย ภายใต้การบริหารของรัฐบาลชุดนี้ ผู้ที่อาจได้รับประโยชน์บ้างก็คือธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งได้อานิสงส์จากเงินบาทแข็งตัว จนเป็นผลให้ภาระหนี้ต่างประเทศลดลง
ท้ายที่สุดใช้นโยบายดอกเบี้ยสูง ได้สร้างผลกระทบต่อธุรกิจให้ต้องมีอันล้มละตายหลายหมื่นราย และจำนวนคนว่างงานได้เพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านคน ความเสียหายที่เกิดขึ้นยังเห็นได้จากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้น จากการที่ NPL ในภาคอุตสาหกรรมที่ปรับโครงสร้างไปแล้วกลับคืนมาเป็น NPL อีกครั้งถึง 3,965 ล้านบาท และในภาคธุรกิจอีก 1.3759 หมื่นล้านบาท และยังมี NPL ที่เกิดขึ้นใหม่เพิ่มขึ้นอีกในหลายภาคธุรกิจ
ถมเงินเข้าสู่ธนาคาร ยิ่งถมยิ่งพัง
ในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แทนที่รัฐบาลจะเร่งแก้ปัญหาโครงสร้างทางการเงินพร้อมๆกับการแก้ปัญหาโครงสร้างการผลิตหรือการประกอบการโดย ตรง รัฐบาลกลับยืนยันใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงตามการชักจูงของไอเอ็มเอฟ. และบอกกับประชาชนว่าต้องเร่งให้ธนาคารเพิ่มทุนมากๆ เพื่อสำรองความเสียหายก่อน เมื่อธนาคารเพิ่มทุนแล้วก็จะมีความมั่นคง สามารถปล่อยกู้ให้ธุรกิจฟื้นตัวได้
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้กลับตรงกันข้าม เพราะแม้ว่าธนาคารจะได้เพิ่มทุนไปหลายแสนล้านบาทแล้วก็ตาม ก็ยังไม่สามารถทำให้ธนาคารต่างๆยอมปล่อยกู้เพิ่มให้กับผู้ประกอบการจนกระทั่งทุกวันนี้ เพราะต่างเกรงว่าเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวดี ตัวเลข NPL ใหม่อีกรอบนั้น มีมากถึง 3-4 หมื่นล้านบาทต่อเดือนในปัจจุบัน
รัฐบาลได้พยายามผลักดันให้ธนาคารเพิ่มทุน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงออกมาตรการ 14 สิงหาคม 2541 มูลค่า 300,000 ล้านบาท เพิ่มทุนให้สถาบันการเงิน โดยหวังว่าถ้าสถาบันการเงินแข็งแรงขึ้น ธุรกิจอื่นก็จะดีขึ้นตามมา
นอกจากนี้ในปี 2541 รัฐบาลยังได้เร่งออกพระราชกำหนด 11 ฉบับเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และขออำนาจออกพันธบัตรรัฐบาลขายให้แก่กับต่างประเทศมูลค่า 200,000 ล้านบาท แต่สถานการณ์ก็ยังคงไม่ดีขึ้น
ปฏิบัติการยึดธนาคาร ยิ่งยึดยิ่งเจ๊ง
หลังจากที่รัฐบาลพยายามครั้งแล้วครั้งเล่าที่จะให้ธนาคารต่างๆ เพิ่มทุนในช่วงที่เกิดวิกฤตช่วงนั้น ปรากฎว่าเป็นความพยายามที่ล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าในการแก้ปัญหาสถาบันการเงิน ทำให้รัฐบาลตัดสินใจเข้าไปยึดกิจการธนาคารและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บางส่วน โดยมุ่งนำมาควบรวมขายให้กับต่างชาติ
ในการขายธนาคารพาณิชย์แต่ละครั้งนั้น รัฐบาลอ้างว่าขายแล้วจะไม่ขาดทุน เพราะตั้งราคาขายเท่ากับราคาที่ยึดมา แต่จนถึงวันนี้รัฐบาลยังไม่ยอมเปิดเผยเงื่อนไขการขายธนาคารที่แท้จริงออกมา และไม่เปิดเผยรายละเอียดของสัญญา แต่ข้อเท็จจริงคือ รัฐบาลยอมชดใช้ความเสียหายจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารดังกล่าว (ซึ่งได้แก่ ธนาคารรัตนสิน และธนาคารศรีนคร) ถึง 85% ให้กับผู้ซื้อต่างชาติ นอกจากนั้นยังยอมจ่ายดอกเบี้ยให้กับสินเชื่อที่เป็น NPL ให้กับผู้ซื้อเป็นระยะเวลา 3-5 ปีอีกด้วย
ด้วยเงื่อนไขนี้ การขายธนาคารที่รัฐยึดมาจึงเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ซึ่งเป็นนักลงทุนต่างชาติอย่างที่สุด โดยที่ต้องซ่อนการขาดทุนดังกล่าวเอาไว้เป้นภาระของผู้เสียภาษีในอนาคตจำนวนหลายแสนล้านบาท ขณะเดียวกันยังสร้างความไม่เท่าเทียมกันระหว่างธนาคารที่ขายให้ กับธนาคารที่ยังเป็นของคนไทย เพราะธนาคารคนไทยยังคงต้องแบกภาระแก้หนี้ NPL สูงถึง 35-40 % ของสินเชื่อทั้งหมดด้วยตัวเอง
ปฏิบัติการการยึดธนาคารครั้งนี้ สร้างความเสียหายแก่ประเทศอย่างมหาศาล จนถึงวันนี้ได้สร้างภาระให้กับกองทุนฟื้นฟูแล้วประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลต้องหาแหล่งเงินมากลบความเสียหายในครั้งนี้
แสดงความคิดเห็น
เห็นแล้วทึ่ง!!!!"ผลงาน 3 ปี รัฐบาลชวน"(เรียนเชิญเสื้อแดงมาดิ้น)
ใครว่าชวนเชื่องช้าไม่มีผลงาน เชิญโต้แย้งได้เต็มที่ว่าจริงไม่จริง
ช่วงนั้นยังเรียนอยู่เลย 555
"ผลงาน 3 ปี รัฐบาลชวน หลีกภัย"
ตอนที่ 1
9 พฤศจิกายน 2540 นายชวน หลีกภัยได้นำพลพรรคเข้าสู่ทำเนียบรัฐบาลภาพพจน์ ความซื่อสัตย์ บวกกับทีมงานด้านเศรษฐกิจสังคมที่ประกอบไปด้วยบุคคลที่มีชื่อเสียง ส่งผลให้คณะรัฐมนตรีชวน 2 เป็นความหวังในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจและแก้ปัญหาทุจริต คอรัปชั่น
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ เป็นเวลาเกือบ 3 ปี ในยุครัฐบาลชวน 2 ความคาดหวัง ความฝันของประชาชนที่ฝากไว้กับคณะรัฐมนตรีของนายชวน หลีกภัย กลับมิได้เป็นไปตามที่ฝัน รัฐบาดรีมทีมไม่เพียงแต่จะซ้ำเติมความเสียหายแก่ประเทศชาติด้วยการสร้างความหายนะทางเศรษฐกิจให้เลวร้ายยิ่งขึ้น แต่ยังปล่อยให้มีการทุจริตคอรัปชั่นอย่างมโหราฬในหลายๆ ระดับของรัฐ
รัฐบาลกินเมือง
การโกงกินภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลชวน 2 ประเดิมกันด้วยเหตุการณ์ ประวัติ ถนัดค้า รองอธิบดีกรมป่าไม้หอบเงินสด 5 ล้านบาท ที่ได้จากการรับสินบนตัดไม้สักจากป่าสาละวินเข้าไปให้นายกรัฐมนตรีเพื่อบริจาคให้กองทุนไทยช่วยไทย เมื่อ กุมภาพันธ์ 2541 บทสรุปก็คือ ประวัติ ถนัดค้า ถูกปลดจากรองอธิบดีกรมป่าไม้ แต่ไม่สามารถสืบค้นและจับกุมผู้บงการตัดไม้ป่าสาละวินที่แท้จริงได้
SDH ฮั้วเพื่อพรรคพวกตน
จากนั้นเดือนมิถุนายน 2541 รัฐมนตรี พรรคประชาธิปัตย์โชว์ผลงานผลาญงบประมาณชาติ ในกรณีโครงการสื่อสัญญาณความเร็วสูงหรือ SDH มูลค่าหมื่นล้านบาทขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการฯ เตรียมการ ฮั้วการประมูลของเอกชน 8 ราย ไว้ล่วงหน้า แต่บังเอิญคนในพรรคทนความอดสูไม่ไหว ทวี ไกรคุปต์ หนึ่งในสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์จึงขุดคุ้ยก่อนจะถูกสาวไส้ต่อด้วยฝีมือพรรคฝ่ายค้าน
ภายหลังหลักฐานต่างๆ ออกมายืนยันว่า สุเทพ เทือกเทพสุบรรณ มีส่วนรู้เห็นกับขบวนการฮั้ว ในฐานะผู้เซ็นต์อนุมัติ ทำให้สุเทพ เทือกสุบรรณ ต้องระงับโครงการดังกล่าวไว้ชั่วคราว
ไม่เพียงไม่มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความผิดปกติที่เกิดขึ้นในโครงการเท่านั้น แต่ปัจจุบัน SDH อยู่ระหว่างนำมารีไซเคิลใหม่อีกครั้ง โดยเปลี่ยนชื่อจาก SDH เป็นโครงการ TNEP หรือโครงการขยายข่ายทศท. พ.ศ. 2538-2541 ซึ่งเป็นที่เคลือบแคลงและสงสัยว่าเป็นโครงการที่จะเก็บเกี่ยวหาเงินเข้าพรรคไว้เป็นทุนสำหรับการเลือกตั้ง ครั้งใหม่
เสี้ยวนาทีสุดท้ายในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 ก่อนที่จะนายกฯชวนจะประกาศยุบสภาเพียง 5 ชั่วโมง องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยในยุคที่ สุเทพ เทือกสุบรรณเป็น รมต.คมนาคม ได้เปิดไฟเขียวให้ สมบัติ อุทัยสาง ประธานคณะกรรมการ ทศท. และสุธรรม มลิลา ผอ.ทศท. ทายาท สุเทพ เทือกสุบรรณ เซ็นสัญญาพร้อมจัดหา และติดตั้งอุปกรณ์โครงการขยายโครงการข่ายสัญญาณความเร็วสูงทั่วประเทศ (เอสดีเอช.หรือที่แปลงโฉมเป็น TNEP. นั่นเอง) มูลค่าถึง 7,500 ล้านบาท
ผักสวนครัวรั้วกินได้
เดือนกันยายน 2541 มีการขุดคุ้ยให้สาธารณชนรับรู้ถึงความผิดปกติของโครงการผักสวนครัวรั้วกินได้ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของ วิรัช รัตนเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จากพรรคชาติไทย ที่นำเงินงบประมาณ 500 ล้านบาทมาจัดซื้อเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัว เช่น มะเขือเปราะ พริกขี้หนู บวบ เป็นต้น เพื่อนำไปให้ชาวบ้านปลูกไว้กินเอง โครงการนี้ถูกตรวจสอบพบว่าใช้วิธีพิเศษในการจัดซื้อเมล็ดพันธุ์พืชกล่าวคือ เมล็ดพันธุ์ที่จัดซื้อภายใต้วิธีพิเศษมีราคาที่แพงกว่าเมล็ดพันธุ์พืชชนิดเดียวกันที่ขายอยู่ตามท้องตลาดอย่างต่ำ 2 เท่า เป็นผลให้ต้องสูญเสียงบประมาณแผ่นดินหลายร้อยล้านบาทโดยเปล่าประโยชน์
ในที่สุด วิรัช รัตนเศรษฐ์ ในฐานะรัฐมนตรีที่เซ็นอนุมัติโครงการ ต้องจำนนต่อหลักฐานและข้อเท็จจริง แต่รัฐบาลทำได้เพียงกดดันให้ วิรัช รัตนเศรษฐ์ ลาออกจากเก้าอี้รัฐมนตรีช่วยทั้งน้ำตา และถึงวันนี้ยังไม่สารถหาผู้ทำความผิดมาลงโทษตามกฎหมาย และไม่ได้รับการเอาใจใส่ติดตามจากผู้นำรัฐบาลแม้แต่น้อย
ทุจริตยา การหากินบนคราบน้ำตาของผู้ยากไร้
เดือนพฤศจิกายน 2541 โครงการของงบประมาณจัดซื้อยาให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศวงเงิน 1,400 ล้านบาท โดยการอนุมัติ รักเกียรติ สุขธนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พรรคกิจสังคม ถูกเปิดโปงออกมา โดยที่นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย ผู้ซื่อสัตย์ ออกมาปกป้องอย่างออกหน้าออกตา
ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฎทั้งราคาในการจัดซื้อยาเวชภัณฑ์ที่แพงกว่าปกติ และผลิตภัณฑ์บางชนิดที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานกดดันให้ รักเกียรติ สุขธนะ ต้องยอมลาออกจากเก้าอี้รัฐมนตรีไปอีกคนอย่างไม่ค่อยเต็มอกเต็มใจนัก
รวมไปถึงการปลด นพ.ปรากรม วุฒิพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้นออกจากตำแหน่ง เพราะมีข้อมูลพัวพันกับขบวนการจัดซื้อยาแพง ตลอดจนการลงโทษข้าราชการระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุขอีก 3-4 คน รวมทั้งการขึ้นบัญชีดำรายชื่อบริษัทขายยาและเวชภัณฑ์ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติ มิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป.)
ส่วนนักการเมืองอย่าง จิรายุ จรัสเสถียรที่ปรึกษา ธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์อดีตรมช. สาธารณสุขที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการทุจริต เพราะมีเงิน 31 ล้านบาทมาจากการเล่นพนัน เมื่อครั้งที่ไปเที่ยวออสเตรเลีย
ตอนที่ 2
ปล่อย คนโกงให้ลอยนวล
คนในรัฐบาลชวนคดโกงงบประมาณแผ่นดินยังไม่พอ กระทั่งการเลือกตั้งก็มีเรื่องฉาวโฉ่ไม่แพ้กันซึ่งมีทุกระดับ ตั้งแต่โครงการสร้างระดับบนจนถึงระดับล่าง
กลางปี 2542 ปฎิบัติการโกง ครั้งมโหฬารในการเลือกตั้งสมาชิกเทศบาลนคร จังหวัดสมุทรปราการ ถึงขั้นต้องให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ สูญเสียงบประมาณไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะผลที่ออกมาไม่สามารถหาคนโกงมาลงโทษได้ เนื่องจากนายวัฒนา อัศวเหม เป็นบิดาของหัวหน้าผู้สมัครทีมหนึ่ง ซึ่งในขณะนั้นนั่งเก้าอี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้มีบุญคุณต่อพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สามารถจัดตั้งรัฐบาลชวน 2 เป็นผลสำเร็จ บุญคุณย่อมต้องทดแทน เป็นเหตุให้ข่าวการปฏิบัติการโกงเลือกตั้งหายเงียบไปอีกครั้งหนึ่ง
ยืมหลังบ้านนายกฯเป็นแหล่งค้าซีดีเถื่อน
ตุลาคม 2542 มีการเปิดโปรงขบวนการค้าซีดีเถื่อน ซึ่งคนของรัฐบาลได้ใช้บ้านพิษณุโลกอันเป็นบ้านพักของนายกรัฐมนตรี เป็นสถานที่เก็บซีดีเถื่อนก่อนกระจายสู่ท้องตลาด จนขยายผลสู่การทลายแหล่งผลิตซีดีเถื่อนแหล่งใหญ่ในบริเวณท่านน้ำเมืองนนท์ ร้านที่ตรวจพบซีดีเถื่อนเป็นของส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล สังกัดกลุ่มงูเห่า และ ตรวจสอบพบว่าเครื่องมือผลิตซีดีเถื่อนถูกนำเข้ามาโดยผิดกฎกรมศุลกากร
ในกรณีซีดีเถื่อน รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ได้แสดงให้เห็นความเชี่ยวชาญในการจัดการทำให้เรื่องเงียบหาย อยู่ในฐานะของรัฐบาลที่ปกป้องผู้กระทำผิดอย่างเห็นได้ชัด
เงินกู้ไร้ที่มา 45 ล้านบาท / ปฏิบัติการรุกอุทยาน เอามาสร้างเป็นบ้าน 3 หลัง
นอกจากนี้พิจารณาของคณะกรรกมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรณีกู้เงิน 45 ล้านบาทจากบริษัท เอเอเอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด ของพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่า เป็นการจงใจแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่เป็นเท็จ เพราะไม่มีที่มาที่ไปของเงินชัดเจน ก็สะท้อนถึงการทุจริตคอรัปชันที่กลาดเกลื่อนในรัฐบาลชวน 2 ได้อย่างแจ่มชัด ทว่าการตัดสินลงโทษไม่ได้มาจากการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
กรณีของพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ยังมีเรื่องคฤหาสน์ 3 หลังในพื้นที่ป่าเมืองกาญจนบุรี เหนือเขื่อนศรีนครินทร์ ที่กรมป่าไม่ตรวจสอบพบว่าบุรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติเป็นการจับจองที่ดินสาธารณะโดยมิชอบที่เกี่ยวโยงกับ ประหยัด เวสสบุตร ปลัดจังหวัดกาญจนบุรี และ ดิเรก อุทัยผล อดีตผู้ว่าราชการกาญจนบุรี ซึ่งล้วนเป็นคนไกล้ชิดของพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ กระทั่งถึงวันนี้ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปนำผู้กระทำผิดกฎหมายมาลงโทษได้ ล่าสุดอัยการได้สั่งฟ้องผู้ต้องหา 3 คน คือปราจีน เวสสบุตร จุฑามาศ เวสสบุตร ธวัช ศรีกรวิไล
แตกต่างจากกรณีซื้อขายตำแหน่งสำนักงาน รพช. ที่ถูกเปิดโปงในเดือนกันยายน 2541 เริ่มต้นจากการจับกุม น.อ.ธาตรา ธารบุญ จากนั้นขยายผลสู่การจับกุม จ.ส.ต.สุวิทย์ มลธุรัช คนขับรถของเสธ.หนั่น และ สันติ เกรียงไกรสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เพราะผลตรวจสอบพบว่ามีการอ้างชื่อ ฉวีวรรณ ขจรประศาสน์ ภรรยา พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เข้าไปเกี่ยวข้อง
กรณีผืนป่าท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี พบว่าป่าได้ถูกทำลายไป 422 ไร่ ต้นไม้ถูกตัดโค่น 1,293 ต้น เมื่อเดือนมีนาคม 2543 จนข้าราชการกรมป่าไม้ด้วยกันทนไม่ไหว พยายามนำข้อเท็จจริงของการทำลายป่าครั้งนี้ออกมาเปิดเผย เรื่องจริงร้อนถึงนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่เพิ่งรอดจากการไม่ถูกสั่งฟ้องในความผิดฐานไม่สั่งเพิกถอนสัมปทานพื้นที่ป่าสงวนป่าท่าชนะ และเปลี่ยนพื้นที่สัมปทานโดยไม่ได้นำเสนอรับอนุมัติจาก ครม. ซึ่งพื้นที่เปลี่ยนแปลงเกิน 2,000 ไร่ ความผิดครั้งนั้นถ้า ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ไม่เล่นบทอีแอบให้ นิพนธ์ พร้อมพันธ์ ไปวิ่งเต้นกับอัยการสูงสุดในขณะนั้นให้ออกคำสั่งไม่ฟ้องสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็คงถูกดำเนินคดีอาญาอย่างแน่นอน
การบุกรุกตัดไม้เมื่อเดือนมีนาคม 2543 สุเทพ เทือกสุบรรณ ถึงกับออกมาแก้ตัวว่าเป็นการพยายามนำเรื่องป่าท่าชนะมาเป็นประเด็นการเมือง เพื่อหวังให้ตนตายทางการเมือง แต่ข้อเท็จจริงแล้ว สุเทพ เทือกสุบรรณได้สั่งการลับผ่านอธิบดีกรมป่าไม้ ให้ข้าราชการผู้รู้ข้อมูลฉาวของตนมากที่สุดในกรมป่าไม้ยุติการเปิดเผยข้อมูลป่าท่าชนะเด็ดขาด
เบื้องหลังการตัดไม้ครั้งนี้ ในทางการสืบสวนสอบสวนต้องดำเนินการหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่อธิบดีกรมป่าไม้ที่ซึ่งเป็นคนของสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้ดำเนินการเพียงแค่ยึดไม้เท่านั้น โดยไม่มีการสืบสาวหาผู้กระทำผิดใดๆ ทั้งที่รู้ว่ากลุ่มผู้ที่ลักลอบตัดไม้ครั้งนี้เป็นกลุ่มนายทุนท้องถิ่นที่มีสายสืบพันธ์ทางผลประโยชน์กับสุเทพ เทือกสุบรรณ อย่างลึกซึ้ง และถ้าสืบสวนไปมากกว่านี้ก็จะเป็นการนำไปสู่การรื้อฟื้นคดีป่าท่าชนะ ซึ่งจะได้ตัวผู้กระทำผิดซ้ำสองถัดจากกรณี สปก.4-01 คือ สุเทพ เทือกสุบรรณ
มีต่อด้านล่างนะครับ❤️❤️❤️❤️❤️