สารานุกรมปรัชญาของ
รูธเลท (Rouledge Interrnet Encyclopedia of Philosophy) นิยามวิชาปรัชญาการเมืองว่า
เป็นกระบวนการสะท้อนความคิดทางปรัชญา ในเรื่อง
การจัดการชีวิตสาธารณะให้มีความเหมาะสม เหมาะควร ผ่านการครุ่นคิดว่าสถาบันทางการเมืองแบบใดที่ดีที่สุด กิจกรรมทางการเมืองแบบใดที่ดีที่สุด ฯลฯ
ส่วน
สารานุกรรมปรัชญา (Internet Encyclopedia of Philosophy) อธิบายว่า ปรัชญาการเมืองคือ
การแสวงหาชีวิตที่ดี แสวงหาชีวิตที่ควรจะเป็น
แสวงหาค่านิยมที่ดีในการปกครอง สถาบันทางสังคมที่ดีในการปกครอง
ส่วนคำว่า
การเมืองในทางรัฐศาสตร์เป็นเรื่องทางสังคมศาสตร์ของการกำหนดมุมมองของผู้คนให้มองเห็น หรือเข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ในทางรัฐศาสตร์การเมืองนั้นมีความหมายอย่างน้อย 2 ระดับ (senses) คือ
ในระดับที่แคบที่สุดคือ รัฐบาล (the narrowest sense : what governments do?) ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐหรือรัฐบาล
กระทำสิ่งใดขึ้นมา และ
ในระดับที่กว้างที่สุดคือความสัมพันธ์ในสังคม (the widest sense : people exercising power over others) เป็นเรื่องที่
คนในสังคมการเมืองใช้อำนาจต่อกัน
นอกจากนี้การเมืองยังได้สร้างสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบขึ้นด้วยเพราะ
การเมืองพยายามสร้างการรับผิดชอบต่อสิ่งที่เป็นส่วนรวม/สาธารณะ (public affairs) อาทิ การเมือง ธุรกิจ การค้า การทำงาน ศิลปะ ฯลฯ)
ไม่ใช่เพียงคิดถึงเรื่องส่วนตัว (private sphere) ในขณะเดียวกันพื้นที่ส่วนตัว อาทิ ครอบครัว เรื่องในบ้าน ความสัมพันธ์ส่วนตัว ฯลฯ ควรเป็นเรื่องของ
เสรีภาพของคน รัฐไม่ควรเข้าไปแทรกแซง[5]
ดังนั้นหากกล่าวโดยสรุป
"ปรัชญาการเมืองจึงเป็นวิชาที่เป็นการแสวงหาความเข้าใจในแนวคิดต่างๆที่นำเสนอกระบวนการทางอำนาจในการกำหนดมุมมองของผู้คนให้มองเห็น หรือเข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม"
ปรัชญาการเมือง political philosophy
ส่วนสารานุกรรมปรัชญา (Internet Encyclopedia of Philosophy) อธิบายว่า ปรัชญาการเมืองคือการแสวงหาชีวิตที่ดี แสวงหาชีวิตที่ควรจะเป็น แสวงหาค่านิยมที่ดีในการปกครอง สถาบันทางสังคมที่ดีในการปกครอง
ส่วนคำว่าการเมืองในทางรัฐศาสตร์เป็นเรื่องทางสังคมศาสตร์ของการกำหนดมุมมองของผู้คนให้มองเห็น หรือเข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ในทางรัฐศาสตร์การเมืองนั้นมีความหมายอย่างน้อย 2 ระดับ (senses) คือ
ในระดับที่แคบที่สุดคือ รัฐบาล (the narrowest sense : what governments do?) ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐหรือรัฐบาลกระทำสิ่งใดขึ้นมา และ
ในระดับที่กว้างที่สุดคือความสัมพันธ์ในสังคม (the widest sense : people exercising power over others) เป็นเรื่องที่คนในสังคมการเมืองใช้อำนาจต่อกัน
นอกจากนี้การเมืองยังได้สร้างสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบขึ้นด้วยเพราะการเมืองพยายามสร้างการรับผิดชอบต่อสิ่งที่เป็นส่วนรวม/สาธารณะ (public affairs) อาทิ การเมือง ธุรกิจ การค้า การทำงาน ศิลปะ ฯลฯ) ไม่ใช่เพียงคิดถึงเรื่องส่วนตัว (private sphere) ในขณะเดียวกันพื้นที่ส่วนตัว อาทิ ครอบครัว เรื่องในบ้าน ความสัมพันธ์ส่วนตัว ฯลฯ ควรเป็นเรื่องของเสรีภาพของคน รัฐไม่ควรเข้าไปแทรกแซง[5]
ดังนั้นหากกล่าวโดยสรุป "ปรัชญาการเมืองจึงเป็นวิชาที่เป็นการแสวงหาความเข้าใจในแนวคิดต่างๆที่นำเสนอกระบวนการทางอำนาจในการกำหนดมุมมองของผู้คนให้มองเห็น หรือเข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม"