จากพาดหัวกระทู้นี้ครับ
http://ppantip.com/topic/33789413
พอดีเห็นข้อความทำนองนี้บ่อยจนอดรนทนรำคาญไม่ไหวเลยขอหน่อยละกันครับ คือคนกรุงเทพฯเป็นอะไรกันนักกันหนากับคนต่างจังหวัด ต่างวัฒนธรรม ต่างท้องถิ่นกันครับ ตามกระทู้ ตามเว็บบอร์ด ตามโซเซียลเน็ตเวิร์คจะต้องมีความเห็นทำนองนี้ออกมาไม่จบไม่สิ้น
เห็นใครมีพฤติกรรมเหมือนคนมาจากบ้านนอกก็จะเรียกบักเสี่ยว เลยกลายเป็นคำดูถูกของคนกรุงในที่สุด
คือตอนแรกก็เข้าใจว่าวันหนึ่งข้างหน้าที่คนติดต่อสื่อสารกันมากขึ้น โลกกว้างขึ้น พฤติกรรมทำนองนี้ของคนกรุงบางส่วนจะหมดไป
เปล่าเลยครับ มันยังมีงอกเงยมาเรื่อย ไม่จบ ไม่สิ้น เหมือนทายาทอสูรที่ต้องคอยรับช่วงต่อกันไปเป็นทอดๆยันลูกหลาน
ต้องขออธิบายหน่อยนะครับ
คำว่า "เสี่ยว" ในภาษาลาว ภาษาอีสาน (คือล้านช้างทั้งหมด) นี่ความหมายของท้องถิ่นมันเป็นคำสูงส่งครับ ความหมายจริงๆนั้นในภาษาทางล้านช้าง ทั้งลาวเวียงจันทร์ ทั้งลาวภาคอีสาน มันหมายถึง "มิตรแท้" ครับ คนกรุงเทพฯบางคนรู้ว่ามันมีความหมายดี แต่ก็เข้าใจว่าคำว่า "เสี่ยว" หมายความถึง "เพื่อน" ซึ่งความจริงคำว่า "เสี่ยว" นี้เกินเพื่อนครับ เพื่อนธรรมดาไม่มีใครในภาคอีสานเรียกว่าเสี่ยวหรือนะครับ เพราะถ้าเป้นแค่ "เพื่อน" ภาษาอีสานจะใช้ว่า "หมู่" ถ้าเสี่ยวนี่มันต้องสนิทกันมาก รักกันมาก จนต้องทำพิธี "ผูกเสี่ยว" มันคือพิธีการผูกแขนเอามาเป็นเสี่ยวกัน ถ้าเทียบกับคนจีนที่สบานเป็นพี่น้องกันแล้วการผูกเสี่ยวของคนล้านช้างมันคือพิธีสาบานเป็นเพื่อนตายของคนล้านช้างนั่นเอง
คนที่จะผูกเสี่ยวกันได้ต้องเป็นคนที่มีอะไรๆ เหมือนๆกัน คล้ายๆ กัน ทัศนคติตรงกัน เวลาผู้ใหญ่เห็นเด็กรุ่นหลังคนใหนที่มีอะไรคล้าย ๆ กัน น่าจะคบหาสมาคมกันรอดก็มักจะบอกว่า "ผูกเอาเสี่ยวกันสา" (ทำพิธีสาบานเป็นเพื่อนตายกันเถอะ)
เพราะฉะนั้นในทางอีสานเนี่ย เพื่อนทั่วไปยังเรียกกันว่าเสี่ยวไม่ได้ มันต้องคนที่ใช่จริงๆ เขาถึงจะเรียกกันว่า "เสี่ยว"
ในสมัยอดีตหลายสิบปีก่อนคนอีสานเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ พวกเพื่อนรักก็จะเรียกกัน "เสี่ยว" ทักกัน "เสี่ยว"
"ไปใสเสี่ยว"
"ว่าจังได๋บักเสี่ยว"
ซึ่งคนกรุงยุคนั้นมีความรังเกียจคนต่างจังหวัด ดูหมิ่นและดูแคลนคนต่างจังหวัด เลยเอาคำนี้มาเรียกกันในเชิงดูถูก
คนอีสานเวลาถูกคนกรุงเทพฯเรียก "เสี่ยว" ที่ไม่พอใจไม่ใช่ว่าเพราะรู้สึกว่าถูกดูหมิ่น แต่รู้สึกไม่พอใจตรงที่ว่า คนที่ไม่ใช่เพื่อน ไม่ได้รักชอบพอกัน ดูหมิ่นกันไม่พอ ยังจะกล้ามาเรียกกันว่า "เสี่ยว" พูดง่าย ๆ คนที่ไม่มีสิทธิ์ที่จะมาเรียกว่าเสี่ยว ไม่มีค่าพอที่จะเรียกกันว่าเสี่ยวได้ ดันเจือกมาเรียกกันว่า "เสี่ยว" นี่ล่ะ ความรู้สึกในใจเวลาที่ใครถูกคนที่ไม่ใช่เสี่ยวกันเรียกว่าเสี่ยวคือในใจจะคิดว่า "ใครเป็นเสี่ยวMüngวะ"
อยู่ประเทศเดียวกัน เป็นเพื่อนร่วมชาติกัน ก็ควรจะรู้จักให้เกียรติกันและกัน ไม่เอาภาษาวัฒนธรรมคนอื่นไปทำเสียๆหายๆ ต่างชาติเอาของเราไปทำเละเทะเรายังไม่พอใจ แต่นี่คนชาติเดียวกันแท้ ๆ
กระทู้นี้ไม่ได้หมายความว่าจะหวังให้พฤติกรรมน่ารังเกียจทำนองนี้จะหายไปในวันสองวันนี้หรอก แต่อยากย้ำให้รู้ว่า มันไม่ใช่คำที่จะนำมาใช้ดูถูกใคร เพราะปกติมันก็ไม่ใช่คำที่คุณมีสิทธิ์จะเอาไปเรียกใครก็ได้ ถ้าคนๆ นั้นไม่ใช่ "เสี่ยว" คุณ และถ้าคุณไม่มีค่าพอจะเป็น "เสี่ยว" ใคร
แก้ไข ในส่วนของป.ล.ขอลบออกแล้วกันครับ เพราะรู้สึกว่ามันจะดึงคนบางกลุ่มมาพากระทู้นี้ออกนอกประเด็น
เลิกได้มั๊ยเอาคำว่า "เสี่ยว" "ลาว" มาเป็นคำด่า คำดูถูกเหยียดหยามกัน
พอดีเห็นข้อความทำนองนี้บ่อยจนอดรนทนรำคาญไม่ไหวเลยขอหน่อยละกันครับ คือคนกรุงเทพฯเป็นอะไรกันนักกันหนากับคนต่างจังหวัด ต่างวัฒนธรรม ต่างท้องถิ่นกันครับ ตามกระทู้ ตามเว็บบอร์ด ตามโซเซียลเน็ตเวิร์คจะต้องมีความเห็นทำนองนี้ออกมาไม่จบไม่สิ้น
เห็นใครมีพฤติกรรมเหมือนคนมาจากบ้านนอกก็จะเรียกบักเสี่ยว เลยกลายเป็นคำดูถูกของคนกรุงในที่สุด
คือตอนแรกก็เข้าใจว่าวันหนึ่งข้างหน้าที่คนติดต่อสื่อสารกันมากขึ้น โลกกว้างขึ้น พฤติกรรมทำนองนี้ของคนกรุงบางส่วนจะหมดไป
เปล่าเลยครับ มันยังมีงอกเงยมาเรื่อย ไม่จบ ไม่สิ้น เหมือนทายาทอสูรที่ต้องคอยรับช่วงต่อกันไปเป็นทอดๆยันลูกหลาน
ต้องขออธิบายหน่อยนะครับ
คำว่า "เสี่ยว" ในภาษาลาว ภาษาอีสาน (คือล้านช้างทั้งหมด) นี่ความหมายของท้องถิ่นมันเป็นคำสูงส่งครับ ความหมายจริงๆนั้นในภาษาทางล้านช้าง ทั้งลาวเวียงจันทร์ ทั้งลาวภาคอีสาน มันหมายถึง "มิตรแท้" ครับ คนกรุงเทพฯบางคนรู้ว่ามันมีความหมายดี แต่ก็เข้าใจว่าคำว่า "เสี่ยว" หมายความถึง "เพื่อน" ซึ่งความจริงคำว่า "เสี่ยว" นี้เกินเพื่อนครับ เพื่อนธรรมดาไม่มีใครในภาคอีสานเรียกว่าเสี่ยวหรือนะครับ เพราะถ้าเป้นแค่ "เพื่อน" ภาษาอีสานจะใช้ว่า "หมู่" ถ้าเสี่ยวนี่มันต้องสนิทกันมาก รักกันมาก จนต้องทำพิธี "ผูกเสี่ยว" มันคือพิธีการผูกแขนเอามาเป็นเสี่ยวกัน ถ้าเทียบกับคนจีนที่สบานเป็นพี่น้องกันแล้วการผูกเสี่ยวของคนล้านช้างมันคือพิธีสาบานเป็นเพื่อนตายของคนล้านช้างนั่นเอง
คนที่จะผูกเสี่ยวกันได้ต้องเป็นคนที่มีอะไรๆ เหมือนๆกัน คล้ายๆ กัน ทัศนคติตรงกัน เวลาผู้ใหญ่เห็นเด็กรุ่นหลังคนใหนที่มีอะไรคล้าย ๆ กัน น่าจะคบหาสมาคมกันรอดก็มักจะบอกว่า "ผูกเอาเสี่ยวกันสา" (ทำพิธีสาบานเป็นเพื่อนตายกันเถอะ)
เพราะฉะนั้นในทางอีสานเนี่ย เพื่อนทั่วไปยังเรียกกันว่าเสี่ยวไม่ได้ มันต้องคนที่ใช่จริงๆ เขาถึงจะเรียกกันว่า "เสี่ยว"
ในสมัยอดีตหลายสิบปีก่อนคนอีสานเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ พวกเพื่อนรักก็จะเรียกกัน "เสี่ยว" ทักกัน "เสี่ยว"
"ไปใสเสี่ยว"
"ว่าจังได๋บักเสี่ยว"
ซึ่งคนกรุงยุคนั้นมีความรังเกียจคนต่างจังหวัด ดูหมิ่นและดูแคลนคนต่างจังหวัด เลยเอาคำนี้มาเรียกกันในเชิงดูถูก
คนอีสานเวลาถูกคนกรุงเทพฯเรียก "เสี่ยว" ที่ไม่พอใจไม่ใช่ว่าเพราะรู้สึกว่าถูกดูหมิ่น แต่รู้สึกไม่พอใจตรงที่ว่า คนที่ไม่ใช่เพื่อน ไม่ได้รักชอบพอกัน ดูหมิ่นกันไม่พอ ยังจะกล้ามาเรียกกันว่า "เสี่ยว" พูดง่าย ๆ คนที่ไม่มีสิทธิ์ที่จะมาเรียกว่าเสี่ยว ไม่มีค่าพอที่จะเรียกกันว่าเสี่ยวได้ ดันเจือกมาเรียกกันว่า "เสี่ยว" นี่ล่ะ ความรู้สึกในใจเวลาที่ใครถูกคนที่ไม่ใช่เสี่ยวกันเรียกว่าเสี่ยวคือในใจจะคิดว่า "ใครเป็นเสี่ยวMüngวะ"
อยู่ประเทศเดียวกัน เป็นเพื่อนร่วมชาติกัน ก็ควรจะรู้จักให้เกียรติกันและกัน ไม่เอาภาษาวัฒนธรรมคนอื่นไปทำเสียๆหายๆ ต่างชาติเอาของเราไปทำเละเทะเรายังไม่พอใจ แต่นี่คนชาติเดียวกันแท้ ๆ
กระทู้นี้ไม่ได้หมายความว่าจะหวังให้พฤติกรรมน่ารังเกียจทำนองนี้จะหายไปในวันสองวันนี้หรอก แต่อยากย้ำให้รู้ว่า มันไม่ใช่คำที่จะนำมาใช้ดูถูกใคร เพราะปกติมันก็ไม่ใช่คำที่คุณมีสิทธิ์จะเอาไปเรียกใครก็ได้ ถ้าคนๆ นั้นไม่ใช่ "เสี่ยว" คุณ และถ้าคุณไม่มีค่าพอจะเป็น "เสี่ยว" ใคร
แก้ไข ในส่วนของป.ล.ขอลบออกแล้วกันครับ เพราะรู้สึกว่ามันจะดึงคนบางกลุ่มมาพากระทู้นี้ออกนอกประเด็น