เข้าใจว่าคนไม่ทำก็คงนึกไม่ออกมามันไม่เจ็บจริงไหมหรือเค้าหลอกเรารึเปล่า
แต่บอกได้เลยว่า
ไม่มีคำว่าเจ็บแม้แต่นิดเดียว ... คนจะคิดอ่าวและคนต้องกระพริบตาตล๊อดตลอด จะถ่างตานานๆ เป็น 10-20 นาทีได้ไง
ก็หมอหยอดยาชา เพราะงั้นมันจะไม่มีคำว่าแสบ หรือตาแห้งต้องกระพริบๆ ทุกอย่างเกิดจากการมโนไปเอง
ยิ่งเรากลัว ยิ่งบีบตา ยิ่งทำให้การทำงานของหมอยากขึ้น เพราะที่ถ่างตาเรา
เป็นแค่เหล็กน้อยๆ น่าจะเหมือนที่หนีบขนตาอ่ะ มันสามารถหลุดได้ ถ้าเราบีบตาเยอะๆๆๆๆๆๆๆๆ
ใครที่สนใจทำเลสิค ลองหาข้อมูลเยอะๆค่า ทำแล้วดีจริงๆนะ โลกใหม่มันสดใสแจ่มแจ๋วจริงๆ
สนใจก็อ่านรีวิวก็เชิญอ่านได้นะคะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://ppantip.com/topic/32905898
ขอเอาคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ การรักษาสายตาด้วยวิธีเลสิคมาฝากให้อ่าน ขอตัดในส่วนของชื่อบริษัทออกละกัน
คำถาม:
ระดับอายุเท่าไหร่ถึงจะทำ LASIK ได้ เพราะอะไร?
ตอบ: ระดับอายุที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ทำเลสิก (LASIK) อยู่ในช่วงอายุ 18 ปีขึ้นไป ไม่เกิน 55 ปี เนื่องจากอายุน้อยกว่า 18 ปีสายตาจะยังไม่คงที่
และมีการปรับเปลี่ยนของสภาวะร่างกายอยู่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สายตายังไม่คงที่
ส่วนอายุหลัง 55 ปีขึ้นไป จะเริ่มมีโรคต้อกระจก (Cataract) หากหลังการมาตรวจแล้วพบว่าไม่มีโรคต้อกระจกก็สามารถทำเลสิกได้ ซึ่งส่วนใหญ่จักษุแพทย์ก็จะดูจากสภาพตา ค่าสายตา และโรคที่เป็นข้อห้ามในการทำเลสิก
กรณีคนไข้เริ่มมีภาวะต้อกระจก จักษุแพทย์จะไม่แนะนำการรักษาสายตาด้วยวิธีเลสิกแต่จะแนะนำให้คนไข้เข้ารับการรักษาต้อกระจก ด้วยวิธี การผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตา (Phacoemulsification) ซึ่งเลนส์แก้วตาเทียม สามารถช่วยรักษาปัญหาสายตาผิดปกติได้
คำถาม:
LASIK แก้ปัญหาสายตาเอียงได้หรือไม่?
ตอบ: สามารถทำการรักษาได้ การรักษาสายตาผิดปกติด้วยวิธีเลสิค สามารถทำการรักษาภาวะสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง และสายตายาวแต่กำเนิดได้
คำถาม : จะทราบได้อย่างไรว่าภาวะสายตาของเราเหมาะสมกับการทำเลสิกแบบไหน?
ตอบ: : ก่อนทำการรักษาสายตาผิดปกติด้วยวิธีเลสิคนั้น จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจประเมินสภาพตาโดยละเอียด ซึ่งใช้เวลาในการตรวจประมาณ 3 ชั่วโมง จักษุแพทย์จะแนะนำโปรแกรมการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพตาของผู้เข้ารับการรักษาในแต่ละราย
คำถาม:
คนไข้ที่เป็น HIV สามารถทำ LASIK ได้หรือไม่?
ตอบ: โดยปกติแล้วก่อนทำเลสิค จะต้องมีการตรวจ HIV ก่อนทุกครั้ง เนื่องจากว่าผู้ที่มีเชื้อ HIV จะมีไวรัสบางตัวที่มีผลกับการมองเห็น กรณีที่ตรวจพบเชื้อ HIV จำเป็นต้องพิจารณาร่วมกับจักษุแพทย์ถึงผลข้างเคียง และความเสี่ยงรวมถึงความสามารถการมองเห็นหลังการรักษา หากคนไข้เข้าใจและยอมรับถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดได้ ก็สามารถเข้ารับการรักษาสายตาผิดปกติด้วยวิธีเลสิคได้
คำถาม:
ทำไมคนที่ตั้งครรภ์ถึงทำเลสิค ไม่ได้ หรือหากไม่ทราบมาก่อนว่าตั้งครรภ์จะมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง?
ตอบ: สำหรับคนไข้ที่ตั้งครรภ์ จักษุแพทย์จะไม่แนะนำให้ทำเลสิค เนื่องจากช่วงที่ตั้งครรภ์ จะมีภาวะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ค่าสายตาไม่คงที่ แต่หากกรณีที่มาทำแล้วไม่ทราบมาก่อนว่าตัวเองตั้งครรภ์ ไม่มีผลข้างเคียงต่อเด็กในครรภ์
คำถาม:
ไปตรวจที่อื่นมากระจกตาบางทำเลสิกได้หรือไม่?
ตอบ : โดยเฉลี่ยความหนากระจกตาของชาวเอเชีย จะอยู่ประมาณ 500-550 ไมครอน ความหมายของกระจกตาบางนั้น อาจหมายถึง คนไข้มีภาวะสายตาผิดปกติระดับสูงเมื่อเทียบกับกระจกตาที่มีความหนาตามเกณฑ์ปกติแล้ว ก็อาจเป็นสาเหตุซึ่งทำให้ทำการรักษาไม่ได้ เนื่องจากสายตาเยอะเกินไป
เบื้องต้นทางจะแนะนำให้คนไข้เข้ารับการตรวจสภาพตาโดยละเอียด เนื่องจากจักษุแพทย์จะทำการพิจารณาดูความหนาของกระจกตา ความโค้งกระจกตา และค่าสายตาของคนไข้ มาประมวลผลและสร้างรูปแบบออกมาว่าคนไข้สามารถทำการรักษาด้วยวิธีเลสิก (LASIK) ได้หรือไม่
คำถาม:
กรณีที่ทำ LASIK ไปแล้ว เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งต้องเติมเลเซอร์ หรือต้องทำเลสิคอีกครั้ง เป็นเพราะเหตุใด
ตอบ: จริงๆแล้วขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การหายของแผล สายตาก่อนทำเลสิกไม่คงที่ และการใช้งานสายตาหลังการรักษาหนักเกินไป จึงทำให้สายตาเพิ่มขึ้นได้
เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป จะมีปัญหาสายตายาวตามอายุเกิดขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มองใกล้ไม่ชัด การเติมเลเซอร์สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้
คำถาม:
การรักษาแบบ PRK และแบบ LASIK แตกต่างกันอย่างไร?
ตอบ: การรักษาแบบ PRK และ LASIK คือรักษาคนไข้ที่มีสายตาสั้น สายตาเอียง และสายตายาวแต่กำเนิดเหมือนกัน แต่จะต่างกันที่ขั้นตอนการรักษา คือ
PRK จะไม่ได้ทำการแยกชั้นกระจกตา แพทย์จะใช้เครื่องมือชนิดนึงขูดผิวกระจกตาด้านบนออก แล้วใช้ Excimer Laser ยิงเข้าไปเพื่อปรับเปลี่ยนความโค้งของกระจกตา LASIK จะใช้เครื่องมือแยกชั้นกระจกตาก่อน แล้วใช้แสง laser ยิงเข้าไปปรับเปลี่ยนความโค้งของกระตา
คำถาม :
เทคโนโลยีตัวใหม่ที่เรียกว่า FemtoLASIK มีลักษณะเป็นอย่างไร แตกต่างกับแบบเดิมอย่างไร?
ตอบ: : Femtosecond LASIK หรือเรียกสั้นๆว่า FemtoLASIK นั้นเป็นเทคโนโลยีล่าสุด ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับเทคโนโลยีที่เรียกว่า Femtosecond LASIK นี้ จะเป็นการแยกชั้นกระจกตาด้วยเลเซอร์ โดยในขั้นตอนของการทำเลสิกจะใช้แสงเลเซอร์ในทุกขั้นตอน หรือเรียกอีกอย่างว่า All LASER LASIK
การทำเลสิก จะประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลักๆด้วยกันคือ
- ขั้นตอนที่หนึ่ง คือขั้นตอนการแยกชั้นกระจกตา ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือเป็นแบบใบมีดที่เรียกว่า Microkeratome และแบบ Femtosecond เป็นการใช้เลเซอร์ทุกขั้นตอน
- ขั้นตอนที่สอง คือการใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) ทำการปรับเปลี่ยนความโค้งของกระจกตา
คำถาม :
กรณีคนไข้ทำ LASIK ไปแล้วจะกลับมาสั้นอีกได้หรือไม่?
ตอบ: การทำเลสิก เป็นการแก้ปัญหาสายตาอย่างถาวร สำหรับผู้มีภาวะสายตาสั้น และ สายตาเอียงในระดับปรกติ ในกลุ่มคนไข้ที่กลับมามีภาวะสายตาสั้นอีกมาจากหลายสาเหตุ เช่น คนไข้ที่มีค่าสายตาสั้นมากเกินไป สายตาเอียงเกินไป การปรับเปลี่ยนของค่าสายตาเมื่ออายุมากขึ้น การใช้สายตาหลังจากการทำเลสิค ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยให้มีโอกาสเกิดภาวะสายตาสั้นขึ้นอีกได้ แต่เป็นส่วนน้อย
[CR] ทำเลสิคไม่มีคำว่าเจ็บ อย่ามโนกลัวไปก่อน
เข้าใจว่าคนไม่ทำก็คงนึกไม่ออกมามันไม่เจ็บจริงไหมหรือเค้าหลอกเรารึเปล่า
แต่บอกได้เลยว่า ไม่มีคำว่าเจ็บแม้แต่นิดเดียว ... คนจะคิดอ่าวและคนต้องกระพริบตาตล๊อดตลอด จะถ่างตานานๆ เป็น 10-20 นาทีได้ไง
ก็หมอหยอดยาชา เพราะงั้นมันจะไม่มีคำว่าแสบ หรือตาแห้งต้องกระพริบๆ ทุกอย่างเกิดจากการมโนไปเอง
ยิ่งเรากลัว ยิ่งบีบตา ยิ่งทำให้การทำงานของหมอยากขึ้น เพราะที่ถ่างตาเรา
เป็นแค่เหล็กน้อยๆ น่าจะเหมือนที่หนีบขนตาอ่ะ มันสามารถหลุดได้ ถ้าเราบีบตาเยอะๆๆๆๆๆๆๆๆ
ใครที่สนใจทำเลสิค ลองหาข้อมูลเยอะๆค่า ทำแล้วดีจริงๆนะ โลกใหม่มันสดใสแจ่มแจ๋วจริงๆ
สนใจก็อ่านรีวิวก็เชิญอ่านได้นะคะ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ขอเอาคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ การรักษาสายตาด้วยวิธีเลสิคมาฝากให้อ่าน ขอตัดในส่วนของชื่อบริษัทออกละกัน
คำถาม: ระดับอายุเท่าไหร่ถึงจะทำ LASIK ได้ เพราะอะไร?
ตอบ: ระดับอายุที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ทำเลสิก (LASIK) อยู่ในช่วงอายุ 18 ปีขึ้นไป ไม่เกิน 55 ปี เนื่องจากอายุน้อยกว่า 18 ปีสายตาจะยังไม่คงที่
และมีการปรับเปลี่ยนของสภาวะร่างกายอยู่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สายตายังไม่คงที่
ส่วนอายุหลัง 55 ปีขึ้นไป จะเริ่มมีโรคต้อกระจก (Cataract) หากหลังการมาตรวจแล้วพบว่าไม่มีโรคต้อกระจกก็สามารถทำเลสิกได้ ซึ่งส่วนใหญ่จักษุแพทย์ก็จะดูจากสภาพตา ค่าสายตา และโรคที่เป็นข้อห้ามในการทำเลสิก
กรณีคนไข้เริ่มมีภาวะต้อกระจก จักษุแพทย์จะไม่แนะนำการรักษาสายตาด้วยวิธีเลสิกแต่จะแนะนำให้คนไข้เข้ารับการรักษาต้อกระจก ด้วยวิธี การผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตา (Phacoemulsification) ซึ่งเลนส์แก้วตาเทียม สามารถช่วยรักษาปัญหาสายตาผิดปกติได้
คำถาม: LASIK แก้ปัญหาสายตาเอียงได้หรือไม่?
ตอบ: สามารถทำการรักษาได้ การรักษาสายตาผิดปกติด้วยวิธีเลสิค สามารถทำการรักษาภาวะสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง และสายตายาวแต่กำเนิดได้
คำถาม : จะทราบได้อย่างไรว่าภาวะสายตาของเราเหมาะสมกับการทำเลสิกแบบไหน?
ตอบ: : ก่อนทำการรักษาสายตาผิดปกติด้วยวิธีเลสิคนั้น จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจประเมินสภาพตาโดยละเอียด ซึ่งใช้เวลาในการตรวจประมาณ 3 ชั่วโมง จักษุแพทย์จะแนะนำโปรแกรมการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพตาของผู้เข้ารับการรักษาในแต่ละราย
คำถาม: คนไข้ที่เป็น HIV สามารถทำ LASIK ได้หรือไม่?
ตอบ: โดยปกติแล้วก่อนทำเลสิค จะต้องมีการตรวจ HIV ก่อนทุกครั้ง เนื่องจากว่าผู้ที่มีเชื้อ HIV จะมีไวรัสบางตัวที่มีผลกับการมองเห็น กรณีที่ตรวจพบเชื้อ HIV จำเป็นต้องพิจารณาร่วมกับจักษุแพทย์ถึงผลข้างเคียง และความเสี่ยงรวมถึงความสามารถการมองเห็นหลังการรักษา หากคนไข้เข้าใจและยอมรับถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดได้ ก็สามารถเข้ารับการรักษาสายตาผิดปกติด้วยวิธีเลสิคได้
คำถาม: ทำไมคนที่ตั้งครรภ์ถึงทำเลสิค ไม่ได้ หรือหากไม่ทราบมาก่อนว่าตั้งครรภ์จะมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง?
ตอบ: สำหรับคนไข้ที่ตั้งครรภ์ จักษุแพทย์จะไม่แนะนำให้ทำเลสิค เนื่องจากช่วงที่ตั้งครรภ์ จะมีภาวะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ค่าสายตาไม่คงที่ แต่หากกรณีที่มาทำแล้วไม่ทราบมาก่อนว่าตัวเองตั้งครรภ์ ไม่มีผลข้างเคียงต่อเด็กในครรภ์
คำถาม: ไปตรวจที่อื่นมากระจกตาบางทำเลสิกได้หรือไม่?
ตอบ : โดยเฉลี่ยความหนากระจกตาของชาวเอเชีย จะอยู่ประมาณ 500-550 ไมครอน ความหมายของกระจกตาบางนั้น อาจหมายถึง คนไข้มีภาวะสายตาผิดปกติระดับสูงเมื่อเทียบกับกระจกตาที่มีความหนาตามเกณฑ์ปกติแล้ว ก็อาจเป็นสาเหตุซึ่งทำให้ทำการรักษาไม่ได้ เนื่องจากสายตาเยอะเกินไป
เบื้องต้นทางจะแนะนำให้คนไข้เข้ารับการตรวจสภาพตาโดยละเอียด เนื่องจากจักษุแพทย์จะทำการพิจารณาดูความหนาของกระจกตา ความโค้งกระจกตา และค่าสายตาของคนไข้ มาประมวลผลและสร้างรูปแบบออกมาว่าคนไข้สามารถทำการรักษาด้วยวิธีเลสิก (LASIK) ได้หรือไม่
คำถาม: กรณีที่ทำ LASIK ไปแล้ว เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งต้องเติมเลเซอร์ หรือต้องทำเลสิคอีกครั้ง เป็นเพราะเหตุใด
ตอบ: จริงๆแล้วขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การหายของแผล สายตาก่อนทำเลสิกไม่คงที่ และการใช้งานสายตาหลังการรักษาหนักเกินไป จึงทำให้สายตาเพิ่มขึ้นได้
เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป จะมีปัญหาสายตายาวตามอายุเกิดขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มองใกล้ไม่ชัด การเติมเลเซอร์สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้
คำถาม: การรักษาแบบ PRK และแบบ LASIK แตกต่างกันอย่างไร?
ตอบ: การรักษาแบบ PRK และ LASIK คือรักษาคนไข้ที่มีสายตาสั้น สายตาเอียง และสายตายาวแต่กำเนิดเหมือนกัน แต่จะต่างกันที่ขั้นตอนการรักษา คือ
PRK จะไม่ได้ทำการแยกชั้นกระจกตา แพทย์จะใช้เครื่องมือชนิดนึงขูดผิวกระจกตาด้านบนออก แล้วใช้ Excimer Laser ยิงเข้าไปเพื่อปรับเปลี่ยนความโค้งของกระจกตา LASIK จะใช้เครื่องมือแยกชั้นกระจกตาก่อน แล้วใช้แสง laser ยิงเข้าไปปรับเปลี่ยนความโค้งของกระตา
คำถาม : เทคโนโลยีตัวใหม่ที่เรียกว่า FemtoLASIK มีลักษณะเป็นอย่างไร แตกต่างกับแบบเดิมอย่างไร?
ตอบ: : Femtosecond LASIK หรือเรียกสั้นๆว่า FemtoLASIK นั้นเป็นเทคโนโลยีล่าสุด ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับเทคโนโลยีที่เรียกว่า Femtosecond LASIK นี้ จะเป็นการแยกชั้นกระจกตาด้วยเลเซอร์ โดยในขั้นตอนของการทำเลสิกจะใช้แสงเลเซอร์ในทุกขั้นตอน หรือเรียกอีกอย่างว่า All LASER LASIK
การทำเลสิก จะประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลักๆด้วยกันคือ
- ขั้นตอนที่หนึ่ง คือขั้นตอนการแยกชั้นกระจกตา ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือเป็นแบบใบมีดที่เรียกว่า Microkeratome และแบบ Femtosecond เป็นการใช้เลเซอร์ทุกขั้นตอน
- ขั้นตอนที่สอง คือการใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) ทำการปรับเปลี่ยนความโค้งของกระจกตา
คำถาม : กรณีคนไข้ทำ LASIK ไปแล้วจะกลับมาสั้นอีกได้หรือไม่?
ตอบ: การทำเลสิก เป็นการแก้ปัญหาสายตาอย่างถาวร สำหรับผู้มีภาวะสายตาสั้น และ สายตาเอียงในระดับปรกติ ในกลุ่มคนไข้ที่กลับมามีภาวะสายตาสั้นอีกมาจากหลายสาเหตุ เช่น คนไข้ที่มีค่าสายตาสั้นมากเกินไป สายตาเอียงเกินไป การปรับเปลี่ยนของค่าสายตาเมื่ออายุมากขึ้น การใช้สายตาหลังจากการทำเลสิค ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยให้มีโอกาสเกิดภาวะสายตาสั้นขึ้นอีกได้ แต่เป็นส่วนน้อย