เอเจนซีส์-เจด บับบิน อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (เพนตากอน) เปิดใจให้สัมภาษณ์ผ่านรายการสตีฟ มัลซ์เบิร์ก โชว์ ทางสถานีโทรทัศน์ “นิวส์แม็กซ์ ทีวี” โดยระบุ การตัดสินใจ “บุกอิรัก”เมื่อปี 2003 ของอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ถือเป็น “ความผิดพลาดครั้งเลวร้าย”
บับบินซึ่งเคยรับหน้าที่รองปลัดเพนตากอนในสมัยประธานาธิบดีจอร์จ บุช (George H.W. Bush) ระบุว่า การตัดสินใจกระโจนเข้าสู่สงครามในอิรักเมื่อ 12 ปีก่อนของประธานาธิบดีบุชผู้เป็นลูกนั้น ถือเป็น “ความผิดพลาดครั้งเลวร้าย” และว่าบรรดา “สมาชิกสายเหยี่ยว” ผู้กระหายสงครามภายในพรรครีพับลิกันเอง ต่างก็ต้องร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในอิรักในเวลานี้
“เราตัดสินใจบุกอิรักด้วยข้อกล่าวหาที่เลื่อนลอยว่า รัฐบาลของซัดดัม ฮุสเซนในขณะนั้นมีอาวุธร้ายแรงจำนวนมากอยู่ในครอบครอง และรัฐบาลของเรายังคิดผิดมหันต์ที่ไปคาดหวังว่า สหรัฐอเมริกาจะประสบความสำเร็จในการสร้างชาติอิรักให้มีเอกภาพ หลังจากสิ้นยุคซัดดัม” บับบินซึ่งปัจจุบันรับหน้าที่คอลัมนิสต์ให้กับวอชิงตัน ไทม์ส กล่าว
ทั้งนี้ การเปิดฉากบุกอิรักเมื่อ 20 มีนาคม ปี 2003 ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเอาตัวเองเข้าไปพัวพันของสหรัฐฯต่อปัญหาภายในของอิรักนานเกือบทศวรรษ ก่อนที่สหรัฐฯจะถอนตัวออกในปี 2011 โดยที่ชาวอิรักจำนวนมากกว่า 600,000 คนต้องเสียชีวิตจากความขัดแย้งที่ทางวอชิงตันเป็นผู้ก่อขึ้น เช่นเดียวกับการสูญเสียชีวิตของทหารอเมริกันจำนวน 4,425 คน
อดีตรองปลัดเพนตากอนชี้ อเมริกา “ทำพลาดใหญ่หลวง” ที่บุกอิรักเมื่อ 12 ปีก่อน
บับบินซึ่งเคยรับหน้าที่รองปลัดเพนตากอนในสมัยประธานาธิบดีจอร์จ บุช (George H.W. Bush) ระบุว่า การตัดสินใจกระโจนเข้าสู่สงครามในอิรักเมื่อ 12 ปีก่อนของประธานาธิบดีบุชผู้เป็นลูกนั้น ถือเป็น “ความผิดพลาดครั้งเลวร้าย” และว่าบรรดา “สมาชิกสายเหยี่ยว” ผู้กระหายสงครามภายในพรรครีพับลิกันเอง ต่างก็ต้องร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในอิรักในเวลานี้
“เราตัดสินใจบุกอิรักด้วยข้อกล่าวหาที่เลื่อนลอยว่า รัฐบาลของซัดดัม ฮุสเซนในขณะนั้นมีอาวุธร้ายแรงจำนวนมากอยู่ในครอบครอง และรัฐบาลของเรายังคิดผิดมหันต์ที่ไปคาดหวังว่า สหรัฐอเมริกาจะประสบความสำเร็จในการสร้างชาติอิรักให้มีเอกภาพ หลังจากสิ้นยุคซัดดัม” บับบินซึ่งปัจจุบันรับหน้าที่คอลัมนิสต์ให้กับวอชิงตัน ไทม์ส กล่าว
ทั้งนี้ การเปิดฉากบุกอิรักเมื่อ 20 มีนาคม ปี 2003 ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเอาตัวเองเข้าไปพัวพันของสหรัฐฯต่อปัญหาภายในของอิรักนานเกือบทศวรรษ ก่อนที่สหรัฐฯจะถอนตัวออกในปี 2011 โดยที่ชาวอิรักจำนวนมากกว่า 600,000 คนต้องเสียชีวิตจากความขัดแย้งที่ทางวอชิงตันเป็นผู้ก่อขึ้น เช่นเดียวกับการสูญเสียชีวิตของทหารอเมริกันจำนวน 4,425 คน