อยากทราบว่า ผู้หญิงสมัยก่อนการใส่สร้อยข้อเท้า กำไลข้อเท้า มีความหมายอะไรหรือเปล่าคะ
แล้วความเชื่อที่ว่า ผู้หญิงที่ใส่ข้อเท้าหมายถึง ผู้หญิงขายบริการ และหมายถึงโซ่ตรวนที่ล่ามเท้าไว้?
**************
ไปเจอกระทู้คำถามที่ห้องสมุดเมื่อวานนี้
แล้วก็ตอบคำถาม ไป วันนี้เข้าไปตรวจสอบดูว่า
เจ้าของกระทู้ จะเข้าใจหรือไม่...
ปรากฏว่า เจ้าของกระทู้ไม่ได้เข้ามาดูแลแต่อย่างใด
นี่คือเหตุผลหนึ่งที่เด็กสมัยนี้ ฉลาดน้อย ขาดความกระตือรือล้นในการไขว่คว้าหาความรู้
ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม และความรู้รอบตัว
เรื่องการสวมกำไลข้อเท้า ที่จริงแล้วไม่ใช่ว่าเป็นเพียงเครื่องประดับ
เพื่อความเท่เก๋ไก๋ เหมือนที่สาวๆสมัยนี้นิยมสวมสร้อยเท้า
แต่มันเป็นสัญลักษณ์แสดงความหมาย ความเป็นตัวตนของผู้สวม
บ่งบอกถึงความเป็น สาวที่ยังไม่ผ่านการแต่งงาน สาวบริสุทธิ์ (นี่หมายถึงสาวยุคห้า-หกสิบปีก่อนอ่ะนะ)
กำไลข้อเท้าจะสวมใส่ตั้งแต่เด็ก ...(ชาวบ้านท้องถิ่นบางแห่ง ยังนิยมอยู่ในปัจจุบัน)
และเปลี่ยนขนาดไปเรื่อยจนเป็นสาว จะถอดกำไลออกก็ต่อเมื่อ ถึงวันแต่งงาน
และผู้ที่จะเป็นคนถอดกำไล ก็คือ คนที่เป็นสามีนั่นเอง
เมื่อสาวคนใดกำไลข้อเท้าหายไป
เจ้าหนุ่มอื่น อย่าได้กรายเข้าใกล้ให้เสียเวลา
ถ้าใครเคยได้อ่านหนังสือเรื่องทุ่งมหาราช (หนังสืออ่านนอกเวลาชั้นม.ต้น)
จะเข้าใจในเรื่องได้ไม่ยาก เพราะท่านผู้ประพันธ์ ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจน
"ทุ่งมหาราช"
บทประพันธ์ของ
"เรียมเอง"
...."ข้าจะกลับมา... ปากคลองจะเป็นเรือนตายของข้า....
....การถอดกำไลของเอ็ง...จะต้องไม่อายใคร....
คอยข้า..สุดใจ...ข้าจะเป็นคนถอดกำไลให้เอ็ง"....
บางประโยคของบทเจรจา สัญญาใจระหว่าง รื่น กับ สุดใจ
ลองพิจารณาดู จะเห็นความสำคัญของกำไลข้อเท้าอย่างชัดเจน
ปัจจุบัน บางท้องถิ่น ยังคงเอกลักษณ์นี้ไว้
หรือชนกลุ่มน้อย ชาวดอย แทบทุกเผ่าต่างก็มีเอกลักษณ์แบบนี้ไม่เปลี่ยนแปลง
ตัวอย่าง...เผ่ากะเหรี่ยง
ถ้าเป็นหญิงสาวยังไม่แต่งงาน จะแต่งกายด้วยชุดเสื้อกระโปรงติดกัน
สีขาว หรือ สีแดง ปักลวดลาย
กะเหรี่ยงสาว
สำหรับผู้ที่แต่งงานแล้ว จะแต่งกายแยกเป็นสองส่วน คือ เสื้อ กับผ้าซิ่น แยกส่วนกัน
ใช้สีแดง และดำ เป็นสีประจำ
กะเหรี่ยงแต่งงานแล้ว
นอกจากนี้ยังมีชาวถิ่น อิสาน หรือ เหนือ
มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เด่นชัด คือ การเกล้าผม มวยผม
ถ้าเป็นหญิงสาว จะเป็นมวยสูง อยู่บริเวณกลางศรีษะ
หญิงแต่งงานแล้ว จะเกล้ามวยต่ำบริเวณเหนือต้นคอ
สัญลักษณ์ไทย เก่าแก่แบบที่ว่านี้ ยังมีให้เห็นอยู่บ้างในบางท้องถิ่น
แต่น่าเสียดาย ที่ของดี ของเดิม ของเก่า....
เด็กรุ่นใหม่ๆ ไม่รู้จัก....แปลกแฮะ...!!
======================== เรื่องของกำไลข้อเท้า =========================
แล้วความเชื่อที่ว่า ผู้หญิงที่ใส่ข้อเท้าหมายถึง ผู้หญิงขายบริการ และหมายถึงโซ่ตรวนที่ล่ามเท้าไว้?
ไปเจอกระทู้คำถามที่ห้องสมุดเมื่อวานนี้
แล้วก็ตอบคำถาม ไป วันนี้เข้าไปตรวจสอบดูว่า
เจ้าของกระทู้ จะเข้าใจหรือไม่...
ปรากฏว่า เจ้าของกระทู้ไม่ได้เข้ามาดูแลแต่อย่างใด
นี่คือเหตุผลหนึ่งที่เด็กสมัยนี้ ฉลาดน้อย ขาดความกระตือรือล้นในการไขว่คว้าหาความรู้
ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม และความรู้รอบตัว
เรื่องการสวมกำไลข้อเท้า ที่จริงแล้วไม่ใช่ว่าเป็นเพียงเครื่องประดับ
เพื่อความเท่เก๋ไก๋ เหมือนที่สาวๆสมัยนี้นิยมสวมสร้อยเท้า
แต่มันเป็นสัญลักษณ์แสดงความหมาย ความเป็นตัวตนของผู้สวม
บ่งบอกถึงความเป็น สาวที่ยังไม่ผ่านการแต่งงาน สาวบริสุทธิ์ (นี่หมายถึงสาวยุคห้า-หกสิบปีก่อนอ่ะนะ)
กำไลข้อเท้าจะสวมใส่ตั้งแต่เด็ก ...(ชาวบ้านท้องถิ่นบางแห่ง ยังนิยมอยู่ในปัจจุบัน)
และเปลี่ยนขนาดไปเรื่อยจนเป็นสาว จะถอดกำไลออกก็ต่อเมื่อ ถึงวันแต่งงาน
และผู้ที่จะเป็นคนถอดกำไล ก็คือ คนที่เป็นสามีนั่นเอง
เมื่อสาวคนใดกำไลข้อเท้าหายไป
เจ้าหนุ่มอื่น อย่าได้กรายเข้าใกล้ให้เสียเวลา
ถ้าใครเคยได้อ่านหนังสือเรื่องทุ่งมหาราช (หนังสืออ่านนอกเวลาชั้นม.ต้น)
จะเข้าใจในเรื่องได้ไม่ยาก เพราะท่านผู้ประพันธ์ ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจน
บทประพันธ์ของ
"เรียมเอง"
....การถอดกำไลของเอ็ง...จะต้องไม่อายใคร....
คอยข้า..สุดใจ...ข้าจะเป็นคนถอดกำไลให้เอ็ง"....
บางประโยคของบทเจรจา สัญญาใจระหว่าง รื่น กับ สุดใจ
ลองพิจารณาดู จะเห็นความสำคัญของกำไลข้อเท้าอย่างชัดเจน
ปัจจุบัน บางท้องถิ่น ยังคงเอกลักษณ์นี้ไว้
หรือชนกลุ่มน้อย ชาวดอย แทบทุกเผ่าต่างก็มีเอกลักษณ์แบบนี้ไม่เปลี่ยนแปลง
ตัวอย่าง...เผ่ากะเหรี่ยง
ถ้าเป็นหญิงสาวยังไม่แต่งงาน จะแต่งกายด้วยชุดเสื้อกระโปรงติดกัน
สีขาว หรือ สีแดง ปักลวดลาย
สำหรับผู้ที่แต่งงานแล้ว จะแต่งกายแยกเป็นสองส่วน คือ เสื้อ กับผ้าซิ่น แยกส่วนกัน
ใช้สีแดง และดำ เป็นสีประจำ
นอกจากนี้ยังมีชาวถิ่น อิสาน หรือ เหนือ
มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เด่นชัด คือ การเกล้าผม มวยผม
ถ้าเป็นหญิงสาว จะเป็นมวยสูง อยู่บริเวณกลางศรีษะ
หญิงแต่งงานแล้ว จะเกล้ามวยต่ำบริเวณเหนือต้นคอ
สัญลักษณ์ไทย เก่าแก่แบบที่ว่านี้ ยังมีให้เห็นอยู่บ้างในบางท้องถิ่น
แต่น่าเสียดาย ที่ของดี ของเดิม ของเก่า....
เด็กรุ่นใหม่ๆ ไม่รู้จัก....แปลกแฮะ...!!