ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
สุภาษิต “ขวานผ่าซาก” หมายความว่า โผงผางไม่เกรงใจใคร (ใช้แก่กริยาพูด)
ขวานผ่าซาก เป็นสุภาษิตหมายถึง ลักษณะการพูดจาตรงเกินไป โผงผาง ไม่เกรงใจใคร
พูดไม่ดูกาลเทศะ ไม่ใส่ใจว่าคนฟังจะรู้สึกอย่างไร เช่น
- เด็กคนนี้พูดจาขวานผ่าซาก ไม่เกรงใจใคร ทำให้ผู้ใหญ่หลายๆคนไม่ชอบ
- เขาเป็นคนมีจิตใจดี แต่ชอบพูดจาแบบขวานผ่าซาก ตรงไปตรงมา จนทำให้ถูกเข้าใจผิดอยู่บ่อยๆ
[ขฺวาน] น. เครื่องมือสําหรับตัด ฟัน ผ่า ถากไม้ ทําด้วยเหล็กมีสันหนาใหญ่.
[ผ่า] ก. ทําให้แยกออกจากกันตามยาวด้วยมีดหรือขวานอย่างผ่าฟืน โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่ทําให้แยกออก เช่น ผ่าฝี ผ่าปากม้า.
[ซาก] น. ร่างคนหรือสัตว์ที่ตายแล้ว. ชื่อไม้ขนาดใหญ่ เนื้อแข็ง หยาบ ใช้เผาถ่านโดยมาก.
คือสงสัยและก็สืบค้นมาได้สักพักแล้วครับ กับสุภาษิตที่ว่านี้ โดยส่วนตัวลองมาคิดดูแล้วเป็นการอุปมาที่เอามาเทียบเคียงกับความหมายโดยอรรถได้ค่อนข้างน่าฉงนเลยทีเดียวนะครับ
โดยส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะมีที่มาจากการใช้ขวานผ่าฟืนซึ่งต้องใช้ความรุนแรงพอสมควร ซึ่งท่านอาจจะเปรียบไว้กับการพูดจาตรงไปตรงมาจนเกินไป ซึ่งการพูดตรงๆ เห็นอะไรก็พูดไปแบบนั้น บางทีมันเหมือนกับการใช้ปากพูดอย่างเดียว ไม่ได้ใช้สมองตริตรองก่อน ไม่ได้นึกถึงใจผู้ฟัง เป็นการใช้พละกำลังอย่างเดียว ไม่ได้ใช้สติปัญญา
อีกประเด็นก็คือการผ่า "ซาก" ซากในที่นี้ท่านอาจจะหมายถึงซากไม้เก่าๆ ซึ่งไม้เก่านั้น ความผุก็เริ่มมี เพราะฉะนั้นการใช้ขวานจามหรือผ่าไม้ที่ผุๆนั้น ไม่เกิดประโยชน์เพราะเนื้อไม้จะแตกกระจายและนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ เปรียบดั่งการพูดถ้าพูดไปตรงๆแรงๆไม่รักษาน้ำใจกัน คำพูดนั้นก็หาได้มีประโยชน์ไม่ ซ้ำร้ายยังทำให้เกิดความแตกแยกดั่งฟืนผุๆที่แตกกระจายอีกด้วย
ก็แค่คิดไว้คร่าวๆคนเดียวตามความน่าจะเป็นน่ะครับ แต่ความจริงแล้วคำนี้มีที่มาจากอะไรก็ไม่ทราบแน่ชัดครับ เพราะถ้าว่าโดยพยัญชนะแล้ว ขวาน นี่ก็แปลว่าหมอนชนิดหนึ่งได้เหมือนกันนะครับ ส่วน ผ่า นี่แปลว่า การทำให้เจือจางลงก็ได้
นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ผมลองๆวิเคราะห์ดูและสืบค้นข้อมูลมาบ้างนิดหน่อยครับ เพื่อนๆพี่ๆหรือคณาจารย์ท่านใดมีความรู้ความเห็นก็ขอเชิญเอามาอภิปรายกันครับ
ขอบคุณครับ
สุภาษิตที่ว่า "ขวานผ่าซาก" มีที่มาอย่างไร?
สุภาษิต “ขวานผ่าซาก” หมายความว่า โผงผางไม่เกรงใจใคร (ใช้แก่กริยาพูด)
ขวานผ่าซาก เป็นสุภาษิตหมายถึง ลักษณะการพูดจาตรงเกินไป โผงผาง ไม่เกรงใจใคร
พูดไม่ดูกาลเทศะ ไม่ใส่ใจว่าคนฟังจะรู้สึกอย่างไร เช่น
- เด็กคนนี้พูดจาขวานผ่าซาก ไม่เกรงใจใคร ทำให้ผู้ใหญ่หลายๆคนไม่ชอบ
- เขาเป็นคนมีจิตใจดี แต่ชอบพูดจาแบบขวานผ่าซาก ตรงไปตรงมา จนทำให้ถูกเข้าใจผิดอยู่บ่อยๆ
[ขฺวาน] น. เครื่องมือสําหรับตัด ฟัน ผ่า ถากไม้ ทําด้วยเหล็กมีสันหนาใหญ่.
[ผ่า] ก. ทําให้แยกออกจากกันตามยาวด้วยมีดหรือขวานอย่างผ่าฟืน โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่ทําให้แยกออก เช่น ผ่าฝี ผ่าปากม้า.
[ซาก] น. ร่างคนหรือสัตว์ที่ตายแล้ว. ชื่อไม้ขนาดใหญ่ เนื้อแข็ง หยาบ ใช้เผาถ่านโดยมาก.
คือสงสัยและก็สืบค้นมาได้สักพักแล้วครับ กับสุภาษิตที่ว่านี้ โดยส่วนตัวลองมาคิดดูแล้วเป็นการอุปมาที่เอามาเทียบเคียงกับความหมายโดยอรรถได้ค่อนข้างน่าฉงนเลยทีเดียวนะครับ
โดยส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะมีที่มาจากการใช้ขวานผ่าฟืนซึ่งต้องใช้ความรุนแรงพอสมควร ซึ่งท่านอาจจะเปรียบไว้กับการพูดจาตรงไปตรงมาจนเกินไป ซึ่งการพูดตรงๆ เห็นอะไรก็พูดไปแบบนั้น บางทีมันเหมือนกับการใช้ปากพูดอย่างเดียว ไม่ได้ใช้สมองตริตรองก่อน ไม่ได้นึกถึงใจผู้ฟัง เป็นการใช้พละกำลังอย่างเดียว ไม่ได้ใช้สติปัญญา
อีกประเด็นก็คือการผ่า "ซาก" ซากในที่นี้ท่านอาจจะหมายถึงซากไม้เก่าๆ ซึ่งไม้เก่านั้น ความผุก็เริ่มมี เพราะฉะนั้นการใช้ขวานจามหรือผ่าไม้ที่ผุๆนั้น ไม่เกิดประโยชน์เพราะเนื้อไม้จะแตกกระจายและนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ เปรียบดั่งการพูดถ้าพูดไปตรงๆแรงๆไม่รักษาน้ำใจกัน คำพูดนั้นก็หาได้มีประโยชน์ไม่ ซ้ำร้ายยังทำให้เกิดความแตกแยกดั่งฟืนผุๆที่แตกกระจายอีกด้วย
ก็แค่คิดไว้คร่าวๆคนเดียวตามความน่าจะเป็นน่ะครับ แต่ความจริงแล้วคำนี้มีที่มาจากอะไรก็ไม่ทราบแน่ชัดครับ เพราะถ้าว่าโดยพยัญชนะแล้ว ขวาน นี่ก็แปลว่าหมอนชนิดหนึ่งได้เหมือนกันนะครับ ส่วน ผ่า นี่แปลว่า การทำให้เจือจางลงก็ได้
นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ผมลองๆวิเคราะห์ดูและสืบค้นข้อมูลมาบ้างนิดหน่อยครับ เพื่อนๆพี่ๆหรือคณาจารย์ท่านใดมีความรู้ความเห็นก็ขอเชิญเอามาอภิปรายกันครับ
ขอบคุณครับ