ประกาศรายชื่อผู้โชคดี ที่ได้เดินทางไปสำรวจศูนย์ปล่อยอวกาศยาน ‘ไบโคนูร์คอสโมโดรม’ ประเทศคาซัคสถาน

หลังจากที่พันทิป.คอม ได้เปิดโอกาสให้เพื่อนๆ ได้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นว่า…

“ถ้าครั้งหนึ่งในชีวิตคุณมีโอกาสขึ้นยานออกไปท่องอวกาศ
คุณจะเดินทางไปยังดาวดวงใด และมีวิธีการเตรียมตัวอย่างไร”


ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ที่ชื่นชอบเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อวกาศและดวงดาว
เป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าตอบโจทย์ของเพื่อนๆ ห้องหว้ากอ ไปเลยเต็มๆ

ในที่สุดก็ถึงเวลาที่ทุกคนรอคอยกันแล้ว กับวินาทีประกาศผลในกิจกรรม พันทิป จูงมือกับ ‘ว่านน้ำ’
พาสำรวจศูนย์ปล่อยอวกาศยาน ‘ไบโคนูร์คอสโมโดรม’ ประเทศคาซัคสถาน สนับสนุนโดย สิงห์ คอร์เปอเรชั่น

ได้แก่
คุณ iamtawon

สำรอง
คุณ tamrong

ขอแสดงความยินดีกับผู้โชคดีด้วยนะคะ และรอการติดต่อกลับทางหลังไมค์จากทีมงานได้เลยค่ะ

เงื่อนไขสำหรับผู้เดินทาง
1. ยืนยันชื่อ-นามสกุล และเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
2. ตอบกลับข้อมูลทั้งหมดทางหลังไมค์ ภายในเที่ยงคืนของวันที่ 29 มิถุนายน 2558 ไม่รับยืนยันผ่านช่องทางอื่น
3. สามารถเดินทางได้ โดยออกจากกรุงเทพฯ ในวันที่ 29 สิงหาคม 2558 และกลับถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ 3 กันยายน 2558
4. การอนุมัติวีซ่าเป็นสิทธิ์ของทางสถานเอกอัครราชทูต
5. การอนุมัติเข้าสำรวจศูนย์ปล่อยอวกาศยาน ‘ไบโคนูร์คอสโมโดรม’ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ศูนย์ ‘ไบโคนูร์คอสโมโดรม’
6. สามารถเขียนและเก็บภาพบรรยากาศตลอดการเดินทางมารีวิวได้
7. ไม่สามารถโอนสิทธิ์ให้ผู้อื่นไปแทนได้
8. สามารถส่งหลักฐานที่ทางทีมงานร้องขอได้ เช่น สำเนาพาสปอร์ต ฯลฯ
9. หากไม่ตอบกลับตามเวลาที่กำหนด ถือว่าสละสิทธิ์

การสำรวจศูนย์ปล่อยอวกาศยาน ‘ไบโคนูร์คอสโมโดรม’ ประเทศคาซัคสถาน
กับคุณ ว่านน้ำ ณ พันทิป ครั้งนี้จะเป็นอย่างไร... ติดตามอ่านกระทู้รีวิวกันได้ เร็วๆ นี้


ppantip.com ขอเชิญเพื่อนๆ เปิดโลกประสบการณ์ ชวนสัมผัสบรรยากาศประทับใจ
ในกิจกรรม “พันทิป.คอม จูงมือกับ ‘ว่านน้ำ’ พาสำรวจศูนย์ปล่อยอวกาศยาน
‘ไบโคนูร์คอสโมโดรม’ ประเทศคาซัคสถาน สนับสนุนโดย สิงห์ คอร์เปอเรชั่น”

ที่น้อยคนนักจะเดินทางไปถึง

โอกาสพิเศษที่ คุณ ว่านน้ำ จะพาคุณเดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์ปล่อยอวกาศยาน
‘ไบโคนูร์คอสโมโดรม’ (Baikonur Cosmodrome)
ศูนย์ปล่อยอวกาศยานแห่งแรกและใหญ่ที่สุดในโลก โดยศูนย์ปล่อยอวกาศยานแห่งนี้
ตั้งอยู่ที่เขตทะเลทราย ของประเทศคาซัคสถาน ก่อตั้งขึ้นโดย สหภาพโซเวียต (ประเทศรัสเซีย)
ซึ่งประสบความสำเร็จมาแล้วมากมาย

ยกตัวอย่างเช่น
- ผลิตดาวเทียมที่มนุษย์สร้างขึ้นครั้งแรก ภายใต้ชื่อ สปุตนิก1 (Sputnik1) ขึ้นสู่อวกาศและส่งสัญญาณกลับมายังพื้นโลกได้สำเร็จ
- เบลก้า (Belka) และ สเตรลก้า (Strelka) สัตว์คู่แรกที่รอดชีวิตในอวกาศ หลังถูกส่งขึ้นไปใช้ชีวิตในอวกาศเป็นเวลา 24 ชั่วโมง บนยาน สปุตนิก5 (Sputnik5) จากความสำเร็จนี้จึง นำไปสู่เส้นทางการบินสู่อวกาศของมนุษย์คนแรก
- ยูริ กาการิน (Yuri Gagarin)’ มนุษย์คนแรกซึ่งถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ ในภารกิจวอสตอก1 (Vostok1) อันนำมาซึ่งเสียงสรรเสริญต่อโครงการด้านอวกาศของรัสเซีย
- วาเลนตินา เตเรสคอฟ (Valentina Tereshkova)  นักบินอวกาศหญิงคนแรกของโลก กับการออกเดินทางสู่อวกาศ โดยยานวอสตอก6 (Vostok6) โดยโคจรรอบโลกทั้งหมด 49 ครั้ง ในเวลา 70 ชั่วโมง 50 นาที
- อเล็กซี ลีโอนอฟ (Alexey Leonov) บุคคลที่หนังสือพิมพ์แถวหน้าของโลกทุกฉบับยกย่อง เพราะเป็นมนุษย์อวกาศคนแรกของโลกที่สามารถเดินในอวกาศเป็นเวลา 12 นาที นอกยาน วอสคอด 2 (Voskhod 2) ได้

เพียงคุณมีความสนใจ และพร้อมเดินทางไปกับเรา
เขียน 1 ความคิดเห็นสั้นๆ ว่า  “ถ้าครั้งหนึ่งในชีวิตคุณมีโอกาสขึ้นยานออกไปท่องอวกาศ
คุณจะเดินทางไปยังดาวดวงใด และมีวิธีการเตรียมตัวอย่างไร”
ใต้กระทู้นี้ พร้อมเหตุผล
1 ท่านเท่านั้น ที่จะมีโอกาสเยือน ‘ไบโคนูร์คอสโมโดรม’

หากใครที่เป็นผู้ชื่นชอบภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับเรื่องราวของอาณานิคมขนาดใหญ่ยักษ์
ยานอวกาศที่เป็นเเกนหลักในการสำรวจอวกาศ หรือเรื่องราวการเดินทางไปเยือนดาวดวงต่างๆ ทั้งหมดนี้
จะไม่หยุดอยู่แค่ในห้องหว้ากออีกต่อไป เพราะคุณอาจเป็นผู้โชคดี หนึ่งเดียว
ที่ได้รับโอกาสอันแสนพิเศษ ในการเดินทางไปสำรวจศูนย์ปล่อยอวกาศยาน ‘ไบโคนูร์คอสโมโดรม’
ณ ประเทศคาซัคสถาน กับคุณ ว่านน้ำ ในครั้งนี้ก็เป็นได้

เงื่อนไข
1. จะต้องเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ(ที่ยืนยันด้วยบัตรประชาชน)เท่านั้น!
2. อายุระหว่าง 20 - 60 ปี
3. จะต้องมีอายุพาสปอร์ตไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
4. สุขภาพร่างกายแข็งแรง-สมบูรณ์
5. สามารถเดินทางได้ โดยออกจากกรุงเทพฯ ในวันที่ 29 สิงหาคม 2558 และกลับถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ 3 กันยายน 2558
6. มีความสนใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
7. สามารถเขียนและเก็บภาพบรรยากาศตลอดการเดินทางมารีวิวได้
8. ไม่สามารถโอนสิทธิ์ให้ผู้อื่นไปแทนได้
9. การตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

ระยะเวลาร่วมสนุก
12 มิถุนายน 2558  - 21 มิถุนายน 2558

ประกาศรายชื่อผู้โชคดี
22 มิถุนายน 2558

ขอขอบคุณ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 60
เช้าตรู่วันที่ 13 July 1969 ที่ฐานปล่อยจรวดที่ 81 ของ ศูนย์ปฏิบัติการอวกาศ ไบโคนัวร์ สหภาพโซเวียต วิศวกรและช่างเทคนิคต่างเร่งมือ ตรวจสอบ และ เตรียมความพร้อมให้กับจรวด Proton-K/D ที่จะนำยานอวกาศ Luna 15 ไปลงจอดบนดวงจันทร์ หลังจากที่ภารกิจก่อนหน้านี้ล้มเหลวติดกันถึงสองครั้ง ภารกิจ Ye-8-5 ในครั้งนี้เป็นความหวังสุดท้ายของสหภาพโซเวียตที่จะสามารถนำตัวอย่างพื้นผิวจากดวงจันทร์มาไว้ในครอบครองได้สำเร็จก่อนหน้าอเมริกัน ที่พึ่งประสบความสำเร็จในการ “ซ้อมใหญ่” ในการลงจอดบนดวงจันทร์จากภารกิจ Apollo10 เมื่อสองเดือนที่ผ่านมา

วันที่ 17 July 1969 Luna 15 โคจรรอบดวงจันทร์ เป็นเวลาสองวันและเตรียมความพร้อมของระบบ พร้อมทั้งปรับวงโคจร ในการลงจอดบนดวงจันทร์
วันที่ 18 July 1969 สื่อทั่วโลกประโคมข่าว คนนับล้านนั่งอยู่หน้าทีวี นักบินอวกาศชาวอเมริกัน เดินเข้าไปใน ยานอวกาศ Apollo11ของพวกเขา ที่ตั้งอยู่บนจรวด Saturn-V
วันที่  21 July 1969 ขณะที่  Apollo 11 ประสบความสำเร็จในการลงจอดบนดวงจันทร์ นีล อาร์มสตรอง และ บัซ อัลดริน กำลังปักธงชาติอเมริกัน Luna 15 ลดระดับวงโคจรสู่พื้นผิวดวงจันทร์ ระบบลงจอดประสบปัญหา กระแทกสู่พื้นผิวดวงจันทร์อย่างรุนแรง อเมริกัน ชนะ สหภาพโซเวียตเป็นฝ่ายพ้ายแพ้

Luna-15

“หากเราเป็นที่หนึ่งไม่ได้ เราก็ต้องทำให้ดีกว่าให้ได้” หลังจากนั้นสหภาพโซเวียตได้ผลักดันการพัฒนาจรวด N1 ที่จะสามารถนำนักบินอวกาศของโซเวียตไปตั้งถิ่นฐานและอยู่บนนั้นได้มากถึง 24 ชั่วโมง แทนที่จะเป็นเพียงแค่การ “แวะพัก” ไม่กี่ชั่วโมงอย่างที่อเมริกันทำ แผ่นการเดินทางสู่ดวงจันทร์ ยานแม่ และยานส่วนลงจอดได้ถูกพัฒนาขึ้น และทดสอบในวงโคจรรอบโลก แต่หลังจากการคาดแคลนเงินทุน และปัญหาการเมือง จรวด N1 ได้ถูกยกเลิกการพัฒนา และหากปราศจาก จรวด N1 นี้ก็ไม่มีทางที่จะไปถึงดวงจันทร์ได้ ก่อนที่สหภาพโซเวียตจะล่มสลายไปในที่สุด

จรวด N-1 ของ Korolev

หากเลือกที่จะไปดวงดาวดวงไหนก็ได้ ผมขอเลือกที่จะไปดวงจันทร์กับองค์การอวกาศรัสเซีย เพื่อเป็นการดึงภารกิจ N1-L3 กลับมา หากโครงการนี้ประสบความสำเร็จ ก็จะเป็นการกระตุ้นการพัฒนาความสามารถทางด้านอวกาศ เพราะ N1 เป็นจรวดที่มีแรงขับมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา และประเทศมหาอำนาจทางอวกาศอื่นๆก็ต้องเร่งพัฒนาความสามารถของตัวเองเหมือนกัน และอาจทำให้เกิด Space race ครั้งใหม่ขึ้นมา เพราะต่างก็มีเป้าหมายที่จะไปตั้งฐานที่อยู่บนอวกาศเหมือนกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย และยุโรป นอกเหนือจากนี้ภารกิจนี้ยังอาจทำให้ชนรุ่นหลังหันมาสนใจองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ส่วนการเตรียมตัว ก็คงเตรียมตัวฝึกฝนในส่วนของความรู้ทางธรณีวิทยา เพราะการไปดวงจันทร์ที่ผ่านมาของอเมริกามีนักธรณีวิทยาจริงๆเพียงคนเดียวเท่านั้น จึงยังมีโอกาสอีกมากที่จะสามารถค้นพบสิ่งใหม่ๆบนดวงจันทร์ ซึ่งยังไม่รวมถึงการขุดลึกลงไปเก็บตัวอย่างใต้พื้นผิวดวงจันทร์ที่นักบินอวกาศอเมริกันยังไม่เคยสำรวจมาก่อนอีกด้วย

Credits:
http://www.russianspaceweb.com/chronology_moon_race.html
http://www.russianspaceweb.com/lk1.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Soviet_manned_lunar_programs
https://www.flickr.com/photos/martintrolle/sets/72157625347058678/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่