รอสคอสมอส (Roscosmos) องค์การอวกาศของรัสเซีย แถลงว่าจรวดขนส่งโปรตอน-เอ็ม (Proton-M) ของรัสเซีย ประสบความสำเร็จในการนำส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศสเปกเตอร์-อาร์จี (Spektr-RG) เข้าสู่วงโคจร เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (13 ก.ค.)
รวดขนส่งฯ ออกเดินทางจากศูนย์อวกาศไบโคนูร์ คอสโมโดรม (Baikonur cosmodrome) ในคาซัคสถาน
โดยนับเป็นการปล่อยจรวดขนส่งประเภทนี้เป็นครั้งที่สองของปี 2019
กล้องโทรทรรศน์อวกาศ ‘สเปกเตอร์-อาร์จี’
กล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ส่งขึ้นสู่วงโคจรนั้น ประกอบด้วยกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงรังสีเอกซ์ที่มีลักษณะพิเศษ 2 ตัว
ซึ่งเริ่มต้นการเดินทางนาน 100 วัน เพื่อสำรวจจักรวาลโดยการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า
.
ทั้งนี้ โครงการกล้องโทรทรรศน์สเปกเตอร์-อาร์จี เกิดจากความร่วมมือระหว่างรัสเซียกับเยอรมนี
โดยมีภารกิจหลักคือการสร้างแผนที่ทั่วทั้งจักรวาลด้วยการจดจำกระจุกกาแลคซีที่ใหญ่ที่สุดราว 100,000 กระจุก
และหลุมดำมวลมหาศาลอีก 3 ล้านหลุม
(เครดิตข้อมูล:: สำนักข่าวซินหัว)
ชมการปล่อยจรวด Proton-M ของรัสเซียส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศ ‘สเปกเตอร์-อาร์จี’ เข้าสู่วงโคจร...สำเร็จ
รวดขนส่งฯ ออกเดินทางจากศูนย์อวกาศไบโคนูร์ คอสโมโดรม (Baikonur cosmodrome) ในคาซัคสถาน
โดยนับเป็นการปล่อยจรวดขนส่งประเภทนี้เป็นครั้งที่สองของปี 2019
กล้องโทรทรรศน์อวกาศ ‘สเปกเตอร์-อาร์จี’
กล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ส่งขึ้นสู่วงโคจรนั้น ประกอบด้วยกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงรังสีเอกซ์ที่มีลักษณะพิเศษ 2 ตัว
ซึ่งเริ่มต้นการเดินทางนาน 100 วัน เพื่อสำรวจจักรวาลโดยการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า
.
ทั้งนี้ โครงการกล้องโทรทรรศน์สเปกเตอร์-อาร์จี เกิดจากความร่วมมือระหว่างรัสเซียกับเยอรมนี
โดยมีภารกิจหลักคือการสร้างแผนที่ทั่วทั้งจักรวาลด้วยการจดจำกระจุกกาแลคซีที่ใหญ่ที่สุดราว 100,000 กระจุก
และหลุมดำมวลมหาศาลอีก 3 ล้านหลุม
(เครดิตข้อมูล:: สำนักข่าวซินหัว)