เนื่องด้วยผมโดนจับเรื่องท่อดัง ด้วยความเทพของหูพี่หนวดที่สามารถแยกแยะความถี่เสียงออกได้อบ่างชัดเจนว่ากี่เดซิเบล
ผมโดนใบสั่งตามระเบียบ แต่!!!ผมไม่จ่าย ผมโทรไป บก. จราจร บอกมันไม่ได้นะพี่ เสียงก็ยังไมไ่ด้วัดเลย แล้วมาจับผมแบบนี้
ทางบก. ก็บอกว่าให้ไปวัดมาแล้วเอาหลักฐานมายืนยันกับ ตร. เขาแล้วค่อยคุยกัน(ไม่ได้บอกจบปล่อยนะ แล้วค่อยคุยกัน)
ผมจัดเลยเอารถเข้าขนส่งแห่งหนึ่งทันที แจ้งความจำนงแก่เขา เขาจัดแงวัดให้ทันที "เออ...พี่ครับ วัดตรงนี้เหรอครับ" ผมถาม
ตรงนี้หละน้องข้างนอกมันร้อน
ตั่งขาตั่งได้ ด้วยความที่ว่าท่อไอเสีย ER จะออกเฉียงๆแต่ก็ไม่ได้ถามเพราะไม่ได้เอาคู่มือไปไม่ชัวร์
ก็จัดการวัดเสียงรอบข้างก่อน
ซึ่งตามกฏหมายผมจำได้ว่าถ้าดังเกิน 75 ให้ย้ายที่ทำการวัดซึ่ง...ขาดอีก 0.9 ก็จะเกินแล้ว อะไม่เป็นไร
พอการวัด พี่ท่านเขาบอกว่า 3 ใน 4 ซัดรถผมลอยไปเลย 7000 รอบ ผมตกใจ เฮ้ยพี่ บอกเท่าไหร่
เขาบอก 3 ใน 4 ของรอบทั้งหมด คันนี้มันก็คือ 7000 รอบ ผมบอกว่าไม่ใช่ละนะพี่ แต่พี่เขายืนยันว่าใช่
ผมก็ไมไ่ด้เถียงเพราะไมไ่ด้เอาคู่มือการวัดเสียงไปด้วย ผลที่ออกมา
103.9 ทะลุเลยครับพี่ ผมก็ไมไ่ด้ว่าอะไรต่อ ขอบคุณพี่ๆเขาที่เสียเวลาให้และก็ขับไปทำธุระต่อ
พอกลับมาถึงบ้าน เปิดดูโห....มันน่าแค้นใจ เรามาดูข้อมูลก่อน
หลักการวัดเสียง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมมลพิษและโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กำหนดระดับเสียงของรถยนตร์ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
"รถยนต์" หมายความว่า รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
"ทาง" หมายความว่า ทางตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
"ความเร็วรอบสูงสุด" หมายความว่า ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ดีเซล ในขณะที่เร่งเครื่องสูงสุดโดยลิ้นอากาศเปิดเต็มที่ หรือความเร็วรอบของเครื่องยนต์เบนซินในขณะที่เครื่องสามารถให้กำลังสูงสุด ทั้งนี้เครื่องยนต์ดังกล่าวจะต้องอยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่าง
"มาตรวัดระดับเสียง" หมายความว่า เครื่องวัดระดับเสียงตามมาตรฐานของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยเทคนิคไฟฟ้า ซึ่งเรียกโดยย่อว่า "ไอ อี ซี" (International Electrotechnical Commission, IEC) หรือมาตรวัดระดับเสียงอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่า
ข้อ 1 รถยนต์ที่ใช้ในทางขณะที่เดินเครื่องยนต์อยู่กับที่โดยไม่รวมเสียงแตรสัญญาณจะต้องมีค่าระดับเสียงไม่เกิน
(1) 85 เดซิเบล เอ เมื่อตรวจสอบค่าระดับเสียงในระยะห่างจากรถยนต์นั้น 7.5 เมตร หรือ
(2) 100 เดซิเบล เอ เมื่อตรวจสอบค่าระดับเสียงในระยะห่างจากรถยนต์นั้น 0.5 เมตร
ข้อ 2 การตรวจสอบค่าระดับเสียงของรถยนต์ให้กระทำในสถานที่อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) สถานที่ซึ่งเป็นพื้นราบทำด้วยคอนกรีต หรือแอสฟัลต์ หรือวัสดุที่มีคุณสมบัติในการสะท้อนเสียงได้ดี และเป็นที่โล่งซึ่งมีระยะห่างจากรถยนต์ที่จะทำการตรวจสอบจะต้องมีระยะตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป หรือ
(2) สถานที่ตาม (1) เว้นแต่ที่โล่งโดยรอบรถยนต์ที่จะทำการตรวจสอบจะต้องมีระยะตั้งแต่ 3 เมตร แต่ไม่ถึง 10 เมตร
การตรวจสอบค่าระดับเสียงของรถยนต์ในสถานที่ตาม (1) ให้ตรวจสอบในระยะห่างจากรถยนต์ 7.5 เมตร สำหรับการตรวจสอบค่าระดับเสียงของรถยนต์ในสถานที่ตาม (2) ให้ตรวจสอบในระยะห่างจากรถยนต์ 0.5 เมตร
ข้อ 3 ก่อนทำการตรวจสอบค่าระดับเสียงของรถยนต์ทุกครั้งจะต้องปรับมาตราวัดระดับเสียงไว้ที่วงจรถ่วงน้ำหนัก 'A' (Weighting Network 'A') และที่ลักษณะความไวตอบรับเสียง 'Fast (Dynamic Characteristics 'Fast') รวมทั้งต้องสอบเทียบกับเครื่องกำหนดเสียงมาตรฐาน เช่น พิสตัน โฟน (Piston phone) หรือ อะคูสติค คาลิเบรเตอร์ (Acoustic Calibrator) หรือตรวจสอบตามที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้งานของผู้ผลิตมาตรวัดระดับเสียง
มาตรวัดความเร็วรอบของเครื่องยนต์ที่จะนำมาใช้ตรวจสอบจะมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินร้อยละสามของค่าเต็มสเกล
ข้อ 4 การตรวจสอบว่าค่าระดับเสียงของรถยนต์ตามข้อ 2 (1) ให้กระทำตามวิธีการดังต่อไปนี้
(1) ให้ทำการตรวจสอบค่าระดับเสียงของสภาพแวดล้อมและลมในขณะนั้นก่อน
(2) ให้จอดรถยนต์อยู่กับที่ในตำแหน่งเกียร์ว่าง และเดินเครื่องยนต์ไม่น้อยกว่า 5 นาที ก่อนทำการตรวจสอบ ถ้ามีขอบทางเท้าจะต้องจอดรถยนต์ห่างจากขอบทางเท้าอย่างน้อย 1 เมตร
(3) หันแกนความไวสูงสุดของไมโครโฟนของมาตรวัดระดับเสียงเข้าหารถยนต์ที่จะทำการตรวจสอบตำแหน่ง ระยะและวิธีการที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดสำหรับกรณีตามข้อ 2 (1)
(4) เร่งเครื่องยนต์ให้มีความเร็วรอบเท่ากับความเร็วรอบสูงสุดของรถยนต์หากรถยนต์นั้นใช้เครื่องยนต์ดีเซล หรือเร่งเครื่องยนต์ให้มีความเร็วรอบเท่ากับสามในสี่ของความเร็วรอบสูงสุดหากรถยนต์นั้นใช้เครื่องยนต์เบนซิล
สำหรับการตรวจสอบค่าระดับเสียงของรถจักรยานยนต์ให้เร่งเครื่องยนต์ให้มีความเร็วรอบเท่ากับกึ่งหนึ่งของความเร็วรอบสูงสุด หากเครื่องยนต์นั้นมีความเร็วรอบสูงสุดเกินกว่า 5,000 รอบต่อนาทีหรือเร่งเครื่องยนต์ให้มีความเร็วรอบเท่ากับสามในสี่ของความเร็วรอบสูงสุดหากเครื่องยนต์นั้นมีความเร็วรอบสูงสุดไม่เกิน 5,000 รอบต่อนาที
(5) ให้ตรวจสอบค่าระดับเสียง 2 ครั้ง และให้ถือเอาค่าสูงสุดที่วัดได้เป็นค่าระดับเสียงของรถยนต์
(6) ถ้าค่าระดับเสียงที่ตรวจสอบทั้ง 2 ่ครั้ง แตกต่างกันเกินกว่า 2 เดซิเบล เอ ให้ตรวจสอบค่าระดับเสียงโดยเริ่มต้นใหม่
ข้อ 5 การตรวจสอบค่าระดับเสียงของรถยนต์ตามข้อ 2 (2) ให้ดำเนินการตามข้อ 4 เว้นแต่การหันแกนความไวสูงสุดของไมโครโฟนของมาตรวัดระดับเสียงให้เป็นไปตามตำแหน่ง ระยะและวิธีการที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดสำหรับกรณีตามข้อ 2 (2)
ข้อ 6 ถ้าค่าระดับเสียงของสภาพแวดล้อมและลมที่วัดได้ในบริเวณสถานที่ตามข้อ 2 (1) เกินกว่า 75 เดซิเบล เอ หรือในบริเวณสถานที่ตามข้อ 2 (2) เกินกว่า 90 เดซิเบล เอ ให้เปลี่ยนสถานที่ตรวจสอบค่าระดับเสียงของรถยนต์
ข้อ 7 การอ่านค่าระดับเสียงของรถยนต์ที่ทำการตรวจสอบจะต้องไม่มีบุคคลหรือสิ่งกีดขวางอยู่ภายในบริเวณ 0.5 เมตร จากไมโครโฟนของมาตรวัดระดับเสียง
แรงม้าสูงสุดของ ER6N
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้Specification Kawasaki ER-6N (ABS)
สมรรถนะของเครื่องยนต์
+แรงม้าสูงสุด 53 กิโลวัตต์ (72.1 แรงม้า) ที่ 8,500 รอบ/นาที
-(โมเดลมาเลเซีย) 52 กิโลวัตต์ (70.7 แรงม้า) ที่ 8,000 รอบ/นาที
+แรงบิดสูงสุด 66.0 นิวตัน.เมตร (6.7 กิโลกรัม.เมตร, 48.7 ฟุต.ปอนด์) ที่ 7,000 รอบ/นาที
+วงเลี้ยวแคบสุด 2.7 ม. (106.3 นิ้ว)
ขนาดของตัวรถ
+ความยาวทั้งหมด 2,100 มม.
+ความกว้างทั้งหมด 760 มม.
+ความสูงทั้งหมด 1,100 มม.
+ระยะของฐานล้อ 1,405 มม.
+ความสูงใต้ท้องรถ 140 มม.
+น้ำหนักรถรวม 204 กก.
เครื่องยนต์
+ชนิด DOHC, สูบเรียง, 4 จังหวะ, 2 สูบ, ระบายความร้อนด้วยน้ำ
+ความจุกระบอกสูบ 649 cc.
+ลูกสูบ x ระยะชัก 83 x 60 มม.
+อัตราส่วนการอัด 11.3 : 1
+ระบบสตาร์ท สตาร์ทไฟฟ้า
+การเรียงลำดับ จากด้านซ้ายไปยังด้านขวาของเครื่องยนต์ (1-2)
+ลำดับการจุดระเบิด 1-2
+ระบบการจ่ายเชื้อเพลิง แบบหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ (FI)
+ระบบจุดระเบิด แบตเตอรี่และคอล์ยจุดระเบิดแบบอิเล็กทรอนิกส์
+จังหวะการจุดระเบิด 10O ก่อนศูนย์ตายบน ที่ 1,300 รอบ/นาที ~
(การจุดระเบิดล่วงหน้า) 34O ก่อนศูนย์ตายบน ที่ 5,000 รอบ/นาที
+หัวเทียน NGK CR9EIA-9
+ระบบหล่อลื่น แบบปั้มแรงดัน
+น้ำมันเครื่อง ชนิด API SE, SF, SG, SH, SJ, SL, SM ที่มีข้อความ JASO MA, MA1,หรือ MA2 SAE 10W-40
+ความจุ 2.4 ลิตร
+ความจุน้ำหล่อเย็น 1.2 ลิตร
ระบบส่งกำลัง
+ชนิดเกียร์ 6 เกียร์ (1-N-2-3-4-5-6)
+ชนิดคลัทช์ คลัทช์แบบเปียกหลายแผ่นซ้อนกัน
+ระบบการขับเคลื่อน แบบโซ่ขับ
+อัตราทดขั้นแรก 2.095 (88/42)
+อัตราทดขั้นสุดท้าย 3.067 (46/15)
+อัตรทดทั้งหมด 5.473 (ที่เกียร์สูงสุด)
+อัตราทดเกียร์
-เกียร์ 1 2.438 (39/16)
-เกียร์ 2 1.714 (36/21)
-เกียร์ 3 1.333 (32/24)
-เกียร์ 4 1.111 (30/27)
-เกียร์ 5 0.966 (28/29)
-เกียร์ 6 0.852 (23/27)
ตัวถัง
+มุมแคสเตอร์ 24.5O องศา
+ระยะเทรล 102 มม. (4.0 นิ้ว)
+ขนาดยาง
-หน้า 120/70ZR17 M/C (58 W)
-หลัง 160/60ZR17 M/C (69 W)
+ขนาดขอบวงล้อ
-หน้า 17 x 3.50
-หลัง 17 x 4.50
+ความจุถังน้ำมันเชื้อเพลิง 15.5 ลิตร
ระบบไฟฟ้า
+แบตเตอรี่ 12 โวลท์ 10 แอมป์
+ไฟหน้า 12 โวลท์ 55 วัตต์/55 วัตต์ (ไฟสูง/ไฟต่ำ)
+ไฟท้าย/ไฟเบรค 0.5/3.3 วัตต์
ดอกแรก - วัดในที่โล่งแจ้ง ไอ้นี่วัดในโรงตรวจสภาพ(ที่เสียงมันก้องๆหน่อยอะ) แถมด้านหน้าผนังติดรถผมเลย
ดอกที่สอง - "ถ้ารอบที่มีใช้เกิน 5000 รอบ ให้วัดที่กึ่งหนึ่งของแรงม้าสูงสุด" จะเห็นว่า ER ผมแรงม้าสูงสุดมาที่ 8,500 รอบ กึ่งหนึ่งคือ
4250 รอบ แต่พี่แกเล่นอัดไป 7000 รอบ
ดอกที่สาม - "การอ่านค่าระดับเสียงของรถยนต์ที่ทำการตรวจสอบจะต้องไม่มีบุคคลหรือสิ่งกีดขวางอยู่ภายในบริเวณ 0.5 เมตร"
ตรงนั้นที่แน่ๆมีมนุษย์อยู่ 3 ชีวิต และ ข้างหลังเยื้องๆรถผมมีรถปิ๊กอัพบรรทุกมอไซด์จอดอยู่ตอนวัด(เข้าๆออกๆอยู่ตรงนั้น)
ผมจะหาที่วัดที่ถูกต้องตามหลักได้ทีไ่หนครับ นี่ขนาดไปวัดที่ขนส่งเลยนะเนี่ย
เมื่อโดนจับเรื่องท่อดังแล้วเราไม่ยอม งานนี้ขอสู้หลังชนฝา!!!!
ผมโดนใบสั่งตามระเบียบ แต่!!!ผมไม่จ่าย ผมโทรไป บก. จราจร บอกมันไม่ได้นะพี่ เสียงก็ยังไมไ่ด้วัดเลย แล้วมาจับผมแบบนี้
ทางบก. ก็บอกว่าให้ไปวัดมาแล้วเอาหลักฐานมายืนยันกับ ตร. เขาแล้วค่อยคุยกัน(ไม่ได้บอกจบปล่อยนะ แล้วค่อยคุยกัน)
ผมจัดเลยเอารถเข้าขนส่งแห่งหนึ่งทันที แจ้งความจำนงแก่เขา เขาจัดแงวัดให้ทันที "เออ...พี่ครับ วัดตรงนี้เหรอครับ" ผมถาม
ตรงนี้หละน้องข้างนอกมันร้อน
ตั่งขาตั่งได้ ด้วยความที่ว่าท่อไอเสีย ER จะออกเฉียงๆแต่ก็ไม่ได้ถามเพราะไม่ได้เอาคู่มือไปไม่ชัวร์
ก็จัดการวัดเสียงรอบข้างก่อน
ซึ่งตามกฏหมายผมจำได้ว่าถ้าดังเกิน 75 ให้ย้ายที่ทำการวัดซึ่ง...ขาดอีก 0.9 ก็จะเกินแล้ว อะไม่เป็นไร
พอการวัด พี่ท่านเขาบอกว่า 3 ใน 4 ซัดรถผมลอยไปเลย 7000 รอบ ผมตกใจ เฮ้ยพี่ บอกเท่าไหร่
เขาบอก 3 ใน 4 ของรอบทั้งหมด คันนี้มันก็คือ 7000 รอบ ผมบอกว่าไม่ใช่ละนะพี่ แต่พี่เขายืนยันว่าใช่
ผมก็ไมไ่ด้เถียงเพราะไมไ่ด้เอาคู่มือการวัดเสียงไปด้วย ผลที่ออกมา
103.9 ทะลุเลยครับพี่ ผมก็ไมไ่ด้ว่าอะไรต่อ ขอบคุณพี่ๆเขาที่เสียเวลาให้และก็ขับไปทำธุระต่อ
พอกลับมาถึงบ้าน เปิดดูโห....มันน่าแค้นใจ เรามาดูข้อมูลก่อน
หลักการวัดเสียง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แรงม้าสูงสุดของ ER6N
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ดอกแรก - วัดในที่โล่งแจ้ง ไอ้นี่วัดในโรงตรวจสภาพ(ที่เสียงมันก้องๆหน่อยอะ) แถมด้านหน้าผนังติดรถผมเลย
ดอกที่สอง - "ถ้ารอบที่มีใช้เกิน 5000 รอบ ให้วัดที่กึ่งหนึ่งของแรงม้าสูงสุด" จะเห็นว่า ER ผมแรงม้าสูงสุดมาที่ 8,500 รอบ กึ่งหนึ่งคือ
4250 รอบ แต่พี่แกเล่นอัดไป 7000 รอบ
ดอกที่สาม - "การอ่านค่าระดับเสียงของรถยนต์ที่ทำการตรวจสอบจะต้องไม่มีบุคคลหรือสิ่งกีดขวางอยู่ภายในบริเวณ 0.5 เมตร"
ตรงนั้นที่แน่ๆมีมนุษย์อยู่ 3 ชีวิต และ ข้างหลังเยื้องๆรถผมมีรถปิ๊กอัพบรรทุกมอไซด์จอดอยู่ตอนวัด(เข้าๆออกๆอยู่ตรงนั้น)
ผมจะหาที่วัดที่ถูกต้องตามหลักได้ทีไ่หนครับ นี่ขนาดไปวัดที่ขนส่งเลยนะเนี่ย