ฉากที่ว่าด้วยพ่อเหมทำงานแลกอัฐ และเรื่องเงินตราสมัยก่อน

กระทู้สนทนา
จากลูกเจ้าพระยา มีเงินเป็นถุงเป็นถัง เมื่อชีวิตตำต่ำถึงขีดสุด พ่อก็ละทิ้งความอาย ทำงานแลกเงินมิได้งอมืองอเท้า
วันหยุดจากตะพุ่น ก็หารับจ๊อบเป็นจับกังแลกอัฐ ซื้อยามาต้มให้เจ้าคุณพ่อ
สร้อยข้อมือแทนใจที่ให้แม่บัว แต่นางโยนทิ้งตัดสิ้นเยื่อใย
เก็บไว้ก็ไร้ความหมาย สู้ขายแลกเงินมารักษาพ่อคงดีกว่า

เจ้าคุณพ่อที่นอนฟังแม่ลูกคุยกันอยู่แล้วน้ำตาไหล ฉากสั้นๆไม่กี่วินาที อธิบายถึงความเจ็บปวด ที่ตัวเองเป็นต้นเหตุ
ให้ลูกเมียต้องมาตกระกำลำบาก เจ็บปวดที่ถูกมิตรทรยศหลอก เจ็บปวดที่ความตั้งใจที่ได้เสียสละเพื่อแผ่นดิน นอกจากไม่ได้สร้างประโยชน์แล้วยังนำตัวเองและลูกเมียมาตกต่ำไปด้วย แถมยังต้องมานอนเจ็บป่วยให้ลูกชายหาเงินมารักษาตัวเอง เป็นความรู้สึกผิด เสียใจ
สิ่งที่เคยวาดฝันไว้ว่าบั้นปลายจะได้พักผ่อน  
นั่งดูความสำเร็จของลูกชายออกเรือน รับราชการในตำแหน่งใหญ่โตกว่าตนเอง สุดท้ายต้องมาตรอมใจตายใต้ต้นไม้ในโรงเลี้ยงช้าง

ฉากที่พ่อเหม เอาสร้อยข้อมือไปขาย
เป็นอีกฉากที่สะเทือนใจนิดๆ หน้าตาพ่อเหมที่ยิ้มรับหน้าเจื่อนๆ ยามแม่ค้าตีราคาสร้อยเส้นนั้นเพียงน้อยนิด
เหมือนกับถูกตีราคาความรักที่มีให้กับแม่บัว บัดนี้มันมีค่าแค่ อัฐเพียง3หน่วย ไม่พอค่ายาเจ้าคุณพ่อด้วยซ้ำ
งานอะไรตอนนี้ก็เอาหมด
พอมาเจอคนเคยรักอย่างแม่บัว ในยามตกต่ำเช่นนี้ แม้ไม่อายที่ต้องทำงานใช้กำลังเช่นจับกังทั้งที่มีความรู้ความสามารถมากมาย
แต่ก็ไม่อยากให้แม่บัวเห็นตัวเองในสภาพเช่นนั้น ยอมเสียค่าแรงฟรีๆ หลบหน้าวิ่งหนีไป

รูปสุดท้าย เศร้าแค่ไหน ลำบากแค่ไหน  ก็ยังมีรอยยิ้ม อุ่นใจที่หาเงินซื้อยามาให้พ่อได้ในที่สุด

แต่ละฉากเป็นฉากสั้นๆที่กินใจมาก บอกเล่าเรื่องราวได้หมด นักแสดงถ่ายทอดออกมาผ่านสีหน้าแววตาได้ดีมาก
รู้สึกอินในความกตัญญูของพ่อเหม ที่ไม่โกรธเคืองพ่อตัวเองเข้าใจในสิ่งที่พ่อทำ แถมยังตั้งหน้าตั้งตาทำงานหาเงินเพื่อรักษาพ่อ หวังเพียงให้พ่อหาย
ไม่สุขสบาย แต่ก็ขอให้ได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัว

ปล. เงินตราที่พ่อเหม ได้มา นั้นเป็นเงินพดด้วงใช่ไหมคะ ละครใส่ใจรายละเอียดมาก
      สมัยร.3 ยังใช้เงินพดด้วงอยู่ ค่าแรงขั้นต่ำสมัยนั้นเท่าไรไม่รู้ แบกกระสอบได้มา1เม็ด
      ขายสร้อยข้อมือได้มา 3 เม็ด กว่าจะได้แต่ละถุงที่เห็นชอบยื่นๆโยนๆกันไม่รู้มีกี่เม็ด 555

เราเลยสนใจ ขุดหาข้อมูล เงินตรา การค้าในสมัยก่อน  อ่านจนเพลินเลย รื้อฟื้นความรู้สมัยเด็กๆ
อันนี้แปะคร่าวๆเกี่ยวกับเงินพดด้วงนะคะ

"เงินพดด้วงสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย และใช้ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น รวมเป็นเวลากว่า 600 ปี โดยทำขึ้นจากแท่งเงินทุบปลายงอเข้าหากันแล้วตอกประทับตราประจำแผ่นดินและตราประจำรัชกาลลงไป ด้วยเหตุที่มีสัณฐานกลมคล้ายตัวด้วง คนไทยจึงเรียกว่าเงินพดด้วง ขณะที่ชาวต่างประเทศเรียกเงินชนิดนี้ว่า เงินลูกปืน (BULLET MONEY) เงินพดด้วงถือได้ว่าเป็นเงินที่มีรูปร่างเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนเงินตราตระกูลใดในโลก"
ข้อมูลอ้างอิงจาก[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

แบ่งออกตามมาตราน้ำหนัก เช่น กึ่งเฟื้อง เฟื้อง สลึง กึ่งบาท บาท กึ่งตำลึง ตำลึง และชั่ง ซึ่งมีอัตราการทดตามมาตราน้ำหนัก คือ
    ๒ เฟื้อง เท่ากับ ๑ สลึง
    ๔ สลึง เท่ากับ ๑ บาท
    ๔ บาท เท่ากับ ๑ ตำลึง
    ๒๐ ตำลึง เท่ากับ ๑ ชั่ง

ข้อมูลอ้างอิงจาก[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
















แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่