บทนำ
รู้จักจุฬาฯ ไหมครับ ถามใครๆ ผมก็เชื่อแน่ว่าเกินกว่าร้อยละ 99 จะต้องมองภาพเป็นสถาบันการศึกษาอันเก่าแก่ มีชื่อเสียง และจะต้องมีคนรู้จักเคยผ่านการขัดเกลาในสถาบันการศึกษาแห่งนี้บ้างไม่มากก็น้อย ไม่ก็เป็นสถานศึกษาในฝันที่อยากจะเข้าไปศึกษาต่อหรือหากมีทายาทก็อยากจะให้ได้ศึกษาที่นี่เช่นกัน แรงบันดาลใจหรือความทรงจำเดิมๆ ของผมถูกปลุกให้เขียนถึงจุฬาฯ อีกสักรอบ ก็คงจะมาจากช่วงนี้เป็นฤดูกาลของการประกาศผลสอบแอดมิชชั่น ซึ่งมีหลายๆ คนที่ประสบความสำเร็จและได้เข้ามาศึกษาต่อยังสถาบันแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม
สิ่งที่ผมกำลังจะเขียนจากนี้ เป็นความทรงจำบทหนึ่งของคนๆหนึ่ง ตลอดช่วงระยะเวลา 12 ปีที่ผ่านมา บางอย่างอาจจะยังมีความร่วมสมัยอยู่บ้าง ขณะที่บางอย่างอาจจะดูล้าสมัยและน่าจะเพียงพอกับการเรียกมันว่า "ประวัติศาสตร์" ครับ
ผมรู้จักกับจุฬาฯ แบบจริงจังครั้งแรกก็เมื่อ 12 ปีที่แล้ว ในวันที่มายื่นคะแนนเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย สมัยผมยังเป็นคะแนนแบบแต่ละวิชาคะแนนเต็ม 100 คะแนน และต้องใช้ผลการเรียนทั้ง GPA และ PR มาถ่วงน้ำหนักเป็นส่วนหนึ่งในการสอบเข้า ความทรงจำในวันนั้นเป็นไปอย่างเร็วๆ เพราะเป็นวันสุดท้ายและชั่วโมงสุดท้ายของการยื่นคะแนน ณ ตอนนั้น 4 ลำดับที่ผมเลือกมีคณะที่กระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง ตั้งแต่สายสังคมสุดขีดอย่างรัฐศาสตร์หรือสายวิทย์เต็มขั้นอย่างแพทยศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตาม 4 ลำดับที่ผมเลือก ล้วนแล้วแต่เป็นคณะในสถาบันสีชมพูแห่งนี้เสียหมด สาเหตุจริงๆ คงเป็นเพราะความใกล้บ้าน นั่งรถอย่างไรก็ไม่เกิน 20 นาที และประกอบกับทั้งบ้านยังไม่มีใครจบจากที่นี่เลย แต่มหาวิทยาลัยชั้นนำอื่น ๆในกรุงเทพฯ จบกันมาครบแล้ว ผมก็เลยกลายเป็นตัวแทนหนึ่งเดียวของตระกูลไปอย่างช่วยไม่ได้ครับ
ณ วันสัมภาษณ์
ผมยังจำความตื่นเต้นตอนประกาศผลได้เสมอ ผมสอบติดในคณะที่เลือกเป็นลำดับแรก แต่ไม่ใช่ทั้งรัฐศาสตร์และแพทยศาสตร์ตามที่กล่าวไปข้างต้น แต่เป็นคณะเล็กๆ คณะหนึ่งที่อยู่ฝั่งในเมือง (ขออนุญาตขยายความคำนี้สำหรับท่านที่อาจจะไม่คุ้น คำว่าในเมืองก็คือคณะที่อยู่ในฝั่งเดียวกับอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ หรืออาคารทรงไทยาสระน้ำและเสาธงอันเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของจุฬาฯ ส่วนฝั่งนอกเมืองก็คือคณะที่ตั้งอยู่ด้านตรงข้าม คั่นกลางด้วยถนนพญาไท แต่เชื่อมถึงกันด้วยสะพานลอย 3 จุดและอุโมงค์อีก 1 แห่ง แต่หากใครกลับไปจุฬาฯ ในตอนนี้ ฝั่งนอกเมืองกลับขยายตัวเร็วมาก ทั้งที่อยู่อาศัยและอาคารแบบที่มีวัตถุประสงค์การใช้หลายอย่างผุดขึ้นให้เพียบ จนไม่อาจจะเรียกว่านอกเมืองได้แล้ว ผมเลยมีชื่อเฉพาะส่วนตัวให้ว่า ฝั่งในเมือง(ใหม่) ครับ)
ที่บ้านผมมาส่งแต่เช้าตามประสาคนเห่อลูก ผมเองทันทีที่ปิดประตูรถ ก็เริ่มไม่แน่ใจกับสภาพแวดล้อมใหม่ที่แตกต่างจากรั้วมัธยมปลายโดยสิ้นเชิง
เพราะที่นี่แม้จะมีรั้วในเชิงทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติมหาวิทยาลัยไม่ได้มีรั้ว เพราะให้อิสระในการเลือกในการตัดสินใจที่จะเรียน(หรือไม่เข้าเรียน) ดังนั้นวินัยในการเรียนจึงมีความจำเป็นมากๆ กว่าในสมัยมัธยมปลาย แฟ้มเอกสารพลาสติกที่เตรียมเอกสารจำเป็นสำหรับการสัมภาษณ์ชุ่มไปด้วยเหงื่อของผมเพราะความตื่นเต้น รอเวลาเข้าห้องเย็นหรือจะห้องเชือดก็ตามทีจากอาจารย์ผู้สัมภาษณ์ครับ
ความจริงการสัมภาษณ์เข้าจุฬาฯ หรือมหาวิทยาลัยน่าจะเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง ถ้าผู้ที่ผ่านการสอบคัดเลือกไม่ได้ประหลาดอย่างถึงที่สุด ก็คงจะรับกันเข้าไปผจญ 4 ปี 5 ปี หรือ 6 ปี (รวมทั้งอาจจะ 7 หรือ 8 ปี) ได้ไม่ยาก ผมยังจำคำถามการสัมภาษณ์ในวันนั้นได้หลายคำถาม มีหนึ่งคำถามที่ผมรู้สึกตอบได้แย่ที่สุด คือ "คุณทราบไหมว่ารัฐมนตรีท่านใดติดอยู่ในรถประจำตำแหน่งเมื่อเช้านี้" ถ้าเป็นปัจจุบัน มันคงจะไม่ยาก เพราะแค่เปิดโทรศัพท์เคลื่อนที่ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสักเล็กน้อย คำตอบก็จะปรากฏตรงหน้า
สารภาพว่าวันนั้นไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์ก่อนออกจากบ้าน เลยกลายเป็นว่า ผมคิดว่าอาจารย์ท่านถามหลอกๆ เลยอุตส่าห์ไปโต้แย้งท่านอีกว่าไม่น่าจะมี เลยโดนดุเล็กๆ ก่อนที่ท่านจะลงท้ายว่า "เรียนในมหาวิทยาลัยนี่ยากนะ ถ้าตอนมัธยมขัยนมากแล้ว ตอนมหาวิทยาลัยต้องขยันมากกว่าเดิมไปอีกไม่รู้กี่เท่า" ส่วนอีกท่านที่กำลังพลิกประวัติและเอกสารของผมอย่างเร็วๆ ก็เงยหน้าขึ้นมาพูดสมทบสั้นๆ ว่า "ผมเห็นด้วยตามนั้นครับ" ทั้งสองท่านที่สัมภาษณ์ในวันนั้นคือบุคคลที่ผมได้มีโอกาสมาเป็นลูกศิษย์จริงๆ ท่านละวิชาครับ และสองท่านนั้นก้คือผู้สอนในวิชาปราบเซียนของคณะ ที่ครองสถิติการถอนและการแจกเอฟ จนทำให้คำพูดของท่านที่ว่า การเรียนในมหาวิทยาลัยนี่ยาก เชื่อถือได้อย่างมีนัยสำคัญครับ
ลงทะเบียนเรียน
การลงทะเบียนเรียนเป็นกิจกรรมอย่งหนึ่งที่มีความสนุกสนานเป็นอย่างยิ่ง และความสนุกก็ดูจะไม่ได้ลดน้อยถอยลงจากรุ่นสู่รุ่นเลยครับ ในยุคที่การลงทะเบียนทำด้วยกระดาษ ใบ จท. สำหรับลงทะเบียนจะขาย(แจก)ดีมาก และบ่อยครั้งที่เกิดเหตุการณ์หมด ซึ่งต่อให้ทั้งจุฬาฯ จะหาไม่ได้ แต่นิสิตบางส่วนจะทราบดีว่าจะสามารถซื้อหาได้จากที่ไหน ซึ่งสถานที่นี้ ผมจะขออนุญาตเล่ารายละเอียดเชิงลึกในย่อหน้าลำดับถัดๆไปนะครับ
การลงทะเบียนยุคของผมก็คงเหมือนกับน้องๆในรุ่นปัจจุบัน คือลงในระบบคอมพิวเตอร์ ผ่านเว็บของสำนักทะเบียน ซึ่งผู้อำนวยการยังคงเป็นรองศาสตราจารย์วัลภา ตั้งแต่สมัยผมเรียนโดยไม่เปลี่ยนแปลงครับ ในภาคการศึกษาแรกจะมีอาจารย์ท่านมาสอนลงทะเบียน ท่านก็แค่สอนหลักการการลงทะเบียนครับ แต่ไม่ได้สอนเทคนิคที่แพรวพราวมากไปกว่านั้น เช่น ลงอย่างไรไม่ให้ "เด้ง" หรือตอนเรียน (sect) ไหนน่าลงเรียนกว่าตอนเรียนไหน
ดังนั้น ในภาคการศึกษาแรกของผมจึงเหมือนคนไม่รู้อิโหน่อิเหน่ และทุกตอนเรียนที่เลือกก็เจอแต่วิชาและผู้สอนที่เข้าขั้น "ปราบเซียน" กันทีเดียว จะย้ายตอนเรียนหนีก็ไม่ทันแล้ว ก็เลยต้องก้มหน้ารับความท้าทายแรกกันต่อไป หลังๆ เมื่ออยู่ชั้นปีที่เพิ่มขึ้น ผมจึงใช้วิธีการสืบเสาะข้อมูล ว่าอาจารย์ในแต่ละตอนเรียนเป็นอย่างไร สอนดีมากแค่ไหน วิธีการเรียน วิธีการสอน และวิธีการวัดผลเป็นอย่างไร เพื่อให้ได้ตอนเรียนที่เหมาะสมกับผู้เรียนอย่างผมมากที่สุด คำว่าเหมาะสมในที่นี้ ไม่ใช่ตอนเรียนที่จะได้ "A" ง่ายที่สุดเสมอไปนะครับ แต่ขอให้อาจารย์สอนดี เป็นประโยชน์ ก็น่าจะเข้าข่ายสำหรับผมแล้วครับ
เล่าถึงลงทะเบียนเรียนแล้ว ก็ต้องเล่าต่อถึงช่วงสองสัปดาห์แรกหลังเปิดภาค ที่น่าจะหฤหรรษ์ครื้นเครงยิ่งขึ้น ในการเพิ่มลดรายวิชาได้ตามอัธยาศัย โดยที่ยังไม่ติดเครื่องหมายถอนรายวิชา (W) วิชาไหนที่เรตติ้งดีๆ นิสิตก็จะนั่งฝ้าหน้าจอรอ เพราะหากมีนิสิตรายใดลดรายวิชาแม้เพียงหนึ่งคน จะมีนิสิตอีกหลักสิบหรือหลักร้อยที่พร้อมจะแย่งชิงลงเพิ่มในรายวิชาดังกล่าว เพื่อนผมบางท่านอยากแลกวิชากัน แต่เป็นวิชาสุดฮิตทั้งคู่ ก็ใช้วิธีขำๆ คือนัดลดและเพิ่มกันตอนตีสาม ซึ่งน่าจะเป็นช่วง off-peak ที่สุดของระบบและไม่ต้องแปลกใจหากชข่วงเริ่มการเพิ่มลดรายวิชา ระบบจะสามารถล่มได้ต่อเนื่องยาวนานจากการจราจรด้านไอทีที่หนาแน่นของนิสิตจุฬาฯ ครับ
หากอยากสบายกว่านั้น ต้องเป็นผู้อาวุโสครับ นั่นก็คือเรียนปีสุดท้าย และจะต้องจบในภาคการศึกษานี้หรือหน้า ในกรณีนี้อำนาจต่อรองจะพลิกกลับมาอยู่ในมือของนิสิต โดยเฉพาะในวิชาเลือกทั้ง 4 กลุ่ม อ้อ 5 กลุ่มก็ได้ รวมวิชาเลือกเสรีเข้าไปด้วย เพราะอาจารย์ส่วนใหญ่ท่านจะยอมให้ลงทะเบียนเรียนเป็นกรณีพิเศษ แต่ผมไม่ค่อยจะแนะนำให้ทำอย่างนั้น ถ้าหากลงได้ ลงตั้งแต่ปีต้นๆ เถิดครับ จะได้ไม่เป็นภาระของรุ่นน้อง(และอาจารย์) และก็ไม่ทำให้ตอนเรียนขยายใหญ่โตจนการวางแผนการสอนของอาจารย์ท่านวุ่นขึ้นครับ
ความทรงจำดีๆ ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รู้จักจุฬาฯ ไหมครับ ถามใครๆ ผมก็เชื่อแน่ว่าเกินกว่าร้อยละ 99 จะต้องมองภาพเป็นสถาบันการศึกษาอันเก่าแก่ มีชื่อเสียง และจะต้องมีคนรู้จักเคยผ่านการขัดเกลาในสถาบันการศึกษาแห่งนี้บ้างไม่มากก็น้อย ไม่ก็เป็นสถานศึกษาในฝันที่อยากจะเข้าไปศึกษาต่อหรือหากมีทายาทก็อยากจะให้ได้ศึกษาที่นี่เช่นกัน แรงบันดาลใจหรือความทรงจำเดิมๆ ของผมถูกปลุกให้เขียนถึงจุฬาฯ อีกสักรอบ ก็คงจะมาจากช่วงนี้เป็นฤดูกาลของการประกาศผลสอบแอดมิชชั่น ซึ่งมีหลายๆ คนที่ประสบความสำเร็จและได้เข้ามาศึกษาต่อยังสถาบันแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผมกำลังจะเขียนจากนี้ เป็นความทรงจำบทหนึ่งของคนๆหนึ่ง ตลอดช่วงระยะเวลา 12 ปีที่ผ่านมา บางอย่างอาจจะยังมีความร่วมสมัยอยู่บ้าง ขณะที่บางอย่างอาจจะดูล้าสมัยและน่าจะเพียงพอกับการเรียกมันว่า "ประวัติศาสตร์" ครับ
ผมรู้จักกับจุฬาฯ แบบจริงจังครั้งแรกก็เมื่อ 12 ปีที่แล้ว ในวันที่มายื่นคะแนนเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย สมัยผมยังเป็นคะแนนแบบแต่ละวิชาคะแนนเต็ม 100 คะแนน และต้องใช้ผลการเรียนทั้ง GPA และ PR มาถ่วงน้ำหนักเป็นส่วนหนึ่งในการสอบเข้า ความทรงจำในวันนั้นเป็นไปอย่างเร็วๆ เพราะเป็นวันสุดท้ายและชั่วโมงสุดท้ายของการยื่นคะแนน ณ ตอนนั้น 4 ลำดับที่ผมเลือกมีคณะที่กระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง ตั้งแต่สายสังคมสุดขีดอย่างรัฐศาสตร์หรือสายวิทย์เต็มขั้นอย่างแพทยศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตาม 4 ลำดับที่ผมเลือก ล้วนแล้วแต่เป็นคณะในสถาบันสีชมพูแห่งนี้เสียหมด สาเหตุจริงๆ คงเป็นเพราะความใกล้บ้าน นั่งรถอย่างไรก็ไม่เกิน 20 นาที และประกอบกับทั้งบ้านยังไม่มีใครจบจากที่นี่เลย แต่มหาวิทยาลัยชั้นนำอื่น ๆในกรุงเทพฯ จบกันมาครบแล้ว ผมก็เลยกลายเป็นตัวแทนหนึ่งเดียวของตระกูลไปอย่างช่วยไม่ได้ครับ
ณ วันสัมภาษณ์
ผมยังจำความตื่นเต้นตอนประกาศผลได้เสมอ ผมสอบติดในคณะที่เลือกเป็นลำดับแรก แต่ไม่ใช่ทั้งรัฐศาสตร์และแพทยศาสตร์ตามที่กล่าวไปข้างต้น แต่เป็นคณะเล็กๆ คณะหนึ่งที่อยู่ฝั่งในเมือง (ขออนุญาตขยายความคำนี้สำหรับท่านที่อาจจะไม่คุ้น คำว่าในเมืองก็คือคณะที่อยู่ในฝั่งเดียวกับอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ หรืออาคารทรงไทยาสระน้ำและเสาธงอันเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของจุฬาฯ ส่วนฝั่งนอกเมืองก็คือคณะที่ตั้งอยู่ด้านตรงข้าม คั่นกลางด้วยถนนพญาไท แต่เชื่อมถึงกันด้วยสะพานลอย 3 จุดและอุโมงค์อีก 1 แห่ง แต่หากใครกลับไปจุฬาฯ ในตอนนี้ ฝั่งนอกเมืองกลับขยายตัวเร็วมาก ทั้งที่อยู่อาศัยและอาคารแบบที่มีวัตถุประสงค์การใช้หลายอย่างผุดขึ้นให้เพียบ จนไม่อาจจะเรียกว่านอกเมืองได้แล้ว ผมเลยมีชื่อเฉพาะส่วนตัวให้ว่า ฝั่งในเมือง(ใหม่) ครับ)
ที่บ้านผมมาส่งแต่เช้าตามประสาคนเห่อลูก ผมเองทันทีที่ปิดประตูรถ ก็เริ่มไม่แน่ใจกับสภาพแวดล้อมใหม่ที่แตกต่างจากรั้วมัธยมปลายโดยสิ้นเชิง เพราะที่นี่แม้จะมีรั้วในเชิงทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติมหาวิทยาลัยไม่ได้มีรั้ว เพราะให้อิสระในการเลือกในการตัดสินใจที่จะเรียน(หรือไม่เข้าเรียน) ดังนั้นวินัยในการเรียนจึงมีความจำเป็นมากๆ กว่าในสมัยมัธยมปลาย แฟ้มเอกสารพลาสติกที่เตรียมเอกสารจำเป็นสำหรับการสัมภาษณ์ชุ่มไปด้วยเหงื่อของผมเพราะความตื่นเต้น รอเวลาเข้าห้องเย็นหรือจะห้องเชือดก็ตามทีจากอาจารย์ผู้สัมภาษณ์ครับ
ความจริงการสัมภาษณ์เข้าจุฬาฯ หรือมหาวิทยาลัยน่าจะเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง ถ้าผู้ที่ผ่านการสอบคัดเลือกไม่ได้ประหลาดอย่างถึงที่สุด ก็คงจะรับกันเข้าไปผจญ 4 ปี 5 ปี หรือ 6 ปี (รวมทั้งอาจจะ 7 หรือ 8 ปี) ได้ไม่ยาก ผมยังจำคำถามการสัมภาษณ์ในวันนั้นได้หลายคำถาม มีหนึ่งคำถามที่ผมรู้สึกตอบได้แย่ที่สุด คือ "คุณทราบไหมว่ารัฐมนตรีท่านใดติดอยู่ในรถประจำตำแหน่งเมื่อเช้านี้" ถ้าเป็นปัจจุบัน มันคงจะไม่ยาก เพราะแค่เปิดโทรศัพท์เคลื่อนที่ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสักเล็กน้อย คำตอบก็จะปรากฏตรงหน้า
สารภาพว่าวันนั้นไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์ก่อนออกจากบ้าน เลยกลายเป็นว่า ผมคิดว่าอาจารย์ท่านถามหลอกๆ เลยอุตส่าห์ไปโต้แย้งท่านอีกว่าไม่น่าจะมี เลยโดนดุเล็กๆ ก่อนที่ท่านจะลงท้ายว่า "เรียนในมหาวิทยาลัยนี่ยากนะ ถ้าตอนมัธยมขัยนมากแล้ว ตอนมหาวิทยาลัยต้องขยันมากกว่าเดิมไปอีกไม่รู้กี่เท่า" ส่วนอีกท่านที่กำลังพลิกประวัติและเอกสารของผมอย่างเร็วๆ ก็เงยหน้าขึ้นมาพูดสมทบสั้นๆ ว่า "ผมเห็นด้วยตามนั้นครับ" ทั้งสองท่านที่สัมภาษณ์ในวันนั้นคือบุคคลที่ผมได้มีโอกาสมาเป็นลูกศิษย์จริงๆ ท่านละวิชาครับ และสองท่านนั้นก้คือผู้สอนในวิชาปราบเซียนของคณะ ที่ครองสถิติการถอนและการแจกเอฟ จนทำให้คำพูดของท่านที่ว่า การเรียนในมหาวิทยาลัยนี่ยาก เชื่อถือได้อย่างมีนัยสำคัญครับ
ลงทะเบียนเรียน
การลงทะเบียนเรียนเป็นกิจกรรมอย่งหนึ่งที่มีความสนุกสนานเป็นอย่างยิ่ง และความสนุกก็ดูจะไม่ได้ลดน้อยถอยลงจากรุ่นสู่รุ่นเลยครับ ในยุคที่การลงทะเบียนทำด้วยกระดาษ ใบ จท. สำหรับลงทะเบียนจะขาย(แจก)ดีมาก และบ่อยครั้งที่เกิดเหตุการณ์หมด ซึ่งต่อให้ทั้งจุฬาฯ จะหาไม่ได้ แต่นิสิตบางส่วนจะทราบดีว่าจะสามารถซื้อหาได้จากที่ไหน ซึ่งสถานที่นี้ ผมจะขออนุญาตเล่ารายละเอียดเชิงลึกในย่อหน้าลำดับถัดๆไปนะครับ
การลงทะเบียนยุคของผมก็คงเหมือนกับน้องๆในรุ่นปัจจุบัน คือลงในระบบคอมพิวเตอร์ ผ่านเว็บของสำนักทะเบียน ซึ่งผู้อำนวยการยังคงเป็นรองศาสตราจารย์วัลภา ตั้งแต่สมัยผมเรียนโดยไม่เปลี่ยนแปลงครับ ในภาคการศึกษาแรกจะมีอาจารย์ท่านมาสอนลงทะเบียน ท่านก็แค่สอนหลักการการลงทะเบียนครับ แต่ไม่ได้สอนเทคนิคที่แพรวพราวมากไปกว่านั้น เช่น ลงอย่างไรไม่ให้ "เด้ง" หรือตอนเรียน (sect) ไหนน่าลงเรียนกว่าตอนเรียนไหน
ดังนั้น ในภาคการศึกษาแรกของผมจึงเหมือนคนไม่รู้อิโหน่อิเหน่ และทุกตอนเรียนที่เลือกก็เจอแต่วิชาและผู้สอนที่เข้าขั้น "ปราบเซียน" กันทีเดียว จะย้ายตอนเรียนหนีก็ไม่ทันแล้ว ก็เลยต้องก้มหน้ารับความท้าทายแรกกันต่อไป หลังๆ เมื่ออยู่ชั้นปีที่เพิ่มขึ้น ผมจึงใช้วิธีการสืบเสาะข้อมูล ว่าอาจารย์ในแต่ละตอนเรียนเป็นอย่างไร สอนดีมากแค่ไหน วิธีการเรียน วิธีการสอน และวิธีการวัดผลเป็นอย่างไร เพื่อให้ได้ตอนเรียนที่เหมาะสมกับผู้เรียนอย่างผมมากที่สุด คำว่าเหมาะสมในที่นี้ ไม่ใช่ตอนเรียนที่จะได้ "A" ง่ายที่สุดเสมอไปนะครับ แต่ขอให้อาจารย์สอนดี เป็นประโยชน์ ก็น่าจะเข้าข่ายสำหรับผมแล้วครับ
เล่าถึงลงทะเบียนเรียนแล้ว ก็ต้องเล่าต่อถึงช่วงสองสัปดาห์แรกหลังเปิดภาค ที่น่าจะหฤหรรษ์ครื้นเครงยิ่งขึ้น ในการเพิ่มลดรายวิชาได้ตามอัธยาศัย โดยที่ยังไม่ติดเครื่องหมายถอนรายวิชา (W) วิชาไหนที่เรตติ้งดีๆ นิสิตก็จะนั่งฝ้าหน้าจอรอ เพราะหากมีนิสิตรายใดลดรายวิชาแม้เพียงหนึ่งคน จะมีนิสิตอีกหลักสิบหรือหลักร้อยที่พร้อมจะแย่งชิงลงเพิ่มในรายวิชาดังกล่าว เพื่อนผมบางท่านอยากแลกวิชากัน แต่เป็นวิชาสุดฮิตทั้งคู่ ก็ใช้วิธีขำๆ คือนัดลดและเพิ่มกันตอนตีสาม ซึ่งน่าจะเป็นช่วง off-peak ที่สุดของระบบและไม่ต้องแปลกใจหากชข่วงเริ่มการเพิ่มลดรายวิชา ระบบจะสามารถล่มได้ต่อเนื่องยาวนานจากการจราจรด้านไอทีที่หนาแน่นของนิสิตจุฬาฯ ครับ
หากอยากสบายกว่านั้น ต้องเป็นผู้อาวุโสครับ นั่นก็คือเรียนปีสุดท้าย และจะต้องจบในภาคการศึกษานี้หรือหน้า ในกรณีนี้อำนาจต่อรองจะพลิกกลับมาอยู่ในมือของนิสิต โดยเฉพาะในวิชาเลือกทั้ง 4 กลุ่ม อ้อ 5 กลุ่มก็ได้ รวมวิชาเลือกเสรีเข้าไปด้วย เพราะอาจารย์ส่วนใหญ่ท่านจะยอมให้ลงทะเบียนเรียนเป็นกรณีพิเศษ แต่ผมไม่ค่อยจะแนะนำให้ทำอย่างนั้น ถ้าหากลงได้ ลงตั้งแต่ปีต้นๆ เถิดครับ จะได้ไม่เป็นภาระของรุ่นน้อง(และอาจารย์) และก็ไม่ทำให้ตอนเรียนขยายใหญ่โตจนการวางแผนการสอนของอาจารย์ท่านวุ่นขึ้นครับ