สืบเนื่องมาจากกระทู้
http://ppantip.com/topic/33728932 พบว่ามีข้อมูลบางส่วนที่มีความคลาดเคลื่อน ซึ่งทางได้มีการแก้ไขข้อมูลให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้พวกเราก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ จึงอยากจะเรียบเรียงขึ้นมาใหม่
Trip wetland แดนอีสาน 4วัน 3คืน ณ นครพนม และอุบลราชธานี
* วันแรกของการเดินทาง
การเดินทางในครั้งนี้เริ่มต้นที่ หน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558 โดย trip นี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ พวกเรามารวมตัวกันตั้งแต่ 6 โมงครึ่งที่จุดรวมพลจุดแรกของเรา หลังจากทุกๆคนมากพร้อมกัน จัดสัมภาระขึ้นรถกันเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มเดินทางกันเลย ผู้ร่วมดินทางกับเราในครั้งนี้ประกอบด้วย นิสิตปริญญาตรี 7 คน นิสิตปริญญาโท 8 คน อาจารย์ 2 ท่าน และหูกวางสุนัขแสนน่ารักอีก 1 ตัว พาหนะการเดินทางคือรถตู้ 2 คัน การเดินทางของเราเริ่มต้นขึ้นพร้อมกันดวงอาทิตย์ที่ขึ้นเป็นแสงแรกของวันใหม่ โดยที่จุดหมายในการเดินทางในครั้งนี้คือ จังหวัดนครพนมและจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อการศึกษา wetland หรือที่เรารู้จักกันดีก็คือ พื้นที่ชุ่มน้ำนั้นเอง การเดินทางจะไปพวกเราใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) มุ่งหน้าสู่จังหวัดสระบุรี
รูปด้านบน จุดเริ่มต้นก่อนที่พวกเราจะเดินทางกัน , รูปด้านล่าง แสงแรกของวันที่ 1
หลังจากเดินทางมาได้ประมาณ 1 ชั่วโมง เมื่อใกล้ถึงจังหวัดสระบุรี เราแวะรับประทานอาหารเช้าที่ “ร้านข้าวแกงบ้านสวน (สาขา2)” ในร้านอาหารมีมากมายหลายประเภทให้เลือกรับประทาน มื้อแรกของเราเป็นอาหารง่ายๆ คือ ข้าวเหนียว ไก่ย่าง ไก่ทอด ไก่จ๊อ ของร้านไก่ย่าง 5 ดาว หลังจากรับประทานอาหารกันเสร็จ ก็แล้วเราก็เดินทางกันต่อ ตลอดทางนอกจากการนอนหลับ กินขนม คุยเล่นกันแล้ว เราก็คอยสังเกตวิวทิวทัศน์ริมข้างทางไปด้วย เนื่องจากการเดินทางของพวกเราครั้งนี้อาจต้องใช้เวลานาน เพื่อไม่ปล่อยให้โอกาสภายในวันแรกของเราต้องเสียเปล่าไปกับการเดินทาง ซึ่งเราก็พบพื้นที่ชุ่มน้ำหลากหลายแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ทั้งพื้นที่ชุ่มน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างเขื่อนลำตะคลอง และทุ่งนาของชาวบ้าน และพื้นที่ชุ่มน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเช่น ลำคลองริมขึ้นทาง ซึ่งทั้ง 2 ประเภทน้ำต่างก็เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีลักษณะที่แตกต่างกันไป บางพื้นที่ก็เป็น Open water (บริเวณพื้นน้ำเปิดโล่ง) ซึ่งก็คือ บริเวณกลางแม่น้ำต่างๆ หนองบึง ที่รถของพวกเราขับผ่านไป Swamp (บริเวณที่มีน้ำท่วม) ซึ่งก็คือบริเวณขอบตลิ่ง น้ำริมๆตลิ่ง และ Marsh (บริเวณที่ลุ่มชื้นแฉะ) ซึ่งก็คือบริเวณที่เป็นดินขอบๆตลิ่งที่เคยมีน้ำท่วมขึ้นมาถึง โดยที่ประเภทที่เราพบมากที่สุดและเห็นได้ทั่วๆไปก็คือ Swamp และ Marsh เนื่องจากว่าสองข้างทางส่วนใหญ่จะเป็นลำคลองสายเล็กๆ ที่จะมีน้ำอยู่ไม่มาก สังคมพืชริมธารส่วนใหญ่ก็จะเป็นพืชที่มีความทนทานต่อการท่วมของน้ำ พืชที่พบเช่น ต้นกก ต้นธูปฤาษี หญ้าต่างๆ ต้นพุทธรักษา เป็นต้น
รูปของสิ่งที่สังเกตพบระหว่างสองข้างทาง (ฝูงนก : รูปใหญ่)
หลังจากที่เราเดินทางกันมาถึงประมาณจังหวัดนครราชสีมา เป็นเวลาใกล้ๆเที่ยงแล้ว เราก็แวะรับประทานอาหารกลางวันกันที่ ‘ร้านอาหารปัญ-กัญ’ ซึ่งเป็นร้านอาหารขนาดใหญ่ภายในมีทั้งส่วนที่เป็นร้านอาหาร ร้านขายกาแฟ และร้านขายของฝากและของที่ระลึก ซึ่งอาหารกลางวันของเราในวันนี้ก็คือ ส้มตำ คอหมูย่าง และข้าวเหนียว อร่อยมากๆเลย เมื่อรับประทานอาหารกลางวันกันเรียบร้อยแล้วเราก็ออกเดินทางกันต่อ เดินทางกันมานานจนในที่สุดเราก็ถึงจังหวัดนครพนมแล้ว เย้!!! เริ่มได้สัมผัสอากาศหนาวแล้ว หนาว..หนาว เรามาถึงที่พักเวลาประมาณ 1 ทุ่ม ซึ่งพวกเราพักกันที่ ‘ซิกตี้ไนย์ รีสอร์ท’ เห็นที่พักครั้งเรา บอกได้เลยว่าแอบน่ากลัวนิดๆ แต่พอขับรถเข้าไปด้านในบอกได้เลยว่าสวยมากๆ ตรงกลางของพื้นที่เป็นคอกแกะ แต่น่าเสียดายว่าพวกเราไปถึงก็มืดแล้ว แกะก็เข้าไปพักผ่อนกันหมดแล้ว เสียดายๆๆ รีสอร์ทจะมีบ้านเป็นหลังๆแยกกัน ภายในห้องพักมีการตกแต่งที่แตกต่างกันออกไป แต่ทุกหลังก็สวยมากๆเหมือนกัน และที่สำคัญก็คือ รีสอร์ทแห่งนี้สามารถนำสัตว์เลี้ยงเข้าพักได้อีกด้วย เมื่อเราเข้าห้องพักและเก็บกระเป๋ากันเรียบร้อยแล้ว เราออกจากรีสอร์ทเพื่อที่จะไปรับประทานอาหารเย็น โดยที่ร้านอาหารที่เราเลือกก็คือ ‘ร้านสบายดี @นครพนม’ เป็นร้านอาหารบรรยากาศดีดีริมฝั่งแม่น้ำโขง อาหารมีให้เลือกสั่งมากมาย อาหารเย็นของเราในวันนี้ได้แก่ ไข่เจียว ปลาเนื้ออ่อนราดกระเทียม ป๋วยเล้งผัดน้ำมันหอย และต้มยำปลาโจก ซึ่งเป็นปลาที่เราไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน แต่เมื่อลองชิมก็พบว่าอร่อยทีเดียว
เมื่อรับประทานอาหารกันเสร็จก็ขอเดินย่อยอาหารกันหน่อย เราไปเดินกันที่ถนนคนเดิน ลานคนเมือง หอนาฬิกา และลานกิจกรรมริมแม่น้ำโขง ดูวิถีชีวิตตอนกลางคืนของชาวนครพนม ถ่ายรูปกับป้าย @นครพนม ให้รู้ว่ามาถึงแล้ว 5555 และยังไปชมวิวของแม่น้ำโขงและฝั่งประเทศลาวตอนกลางคืนด้วย แล้วเราก็กลับไปที่พักเพื่อพักผ่อนและเตรียมตัวสำหรับไปลุยหนองไชยวานในวันพรุ่งนี้ แต่ก่อนที่ทุกคนจะแยกย้ายกันเข้าที่พักพวกเราก็ได้นำเสนอสิ่งที่เราได้เห็นในวันนี้ระหว่างการเดินทางอันยาวนาน 1 วันเต็มๆมาแบ่งปันกันระหว่างนิสิตจากรถตู้ทั้งสองคันด้วย โดยมีท่านอาจารย์เป็นผู้คอยแนะนำและเพิ่มเสริมข้อมูลที่นิสิตตกหล่นไป ซึ่งนับเป็นนิทานก่อนนอนอันมีค่ามากๆ เพื่อนๆทุกคนคงจะได้นอนหลับฝันดีและพร้อมสำหรับประสบการณ์อันน่าตื่นเต้นในวันพรุ่งนี้…
* วันที่ 2 ของการเดินทาง
เช้านี้เราตื่นขึ้นมาพร้อมกับอากาศที่หนาวเย็นและหมอกที่ลงตอนเช้า หนาวมากจนควันออกปากเลยทีเดียว เรารีบอาบน้ำแต่งตัวกัน เพื่อที่จะได้ไปดูแกะ พี่เจ้าของรีสอร์ทเป็นศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ของเราก็ใจดีมาก รีบปล่อยแกะออกมาแต่เช้าเป็นพิเศษให้พวกเราได้เล่นด้วย พวกเราได้ป้อนหญ้าและได้อุ้มแกะด้วย แกะตัวขาวๆขนนุ่มๆ น่ารักจังเลย เมื่อเล่นกับแกะจนพอใจแล้ว ก็เก็บของและเช็คเอาท์ออกจากที่พักตั้งแต่ 7 โมงเช้า
บรรยากาศของเช้าวันที่ 2
เราเลือกร้านอาหารเพื่อรับประทานอาหารเช้ากันที่ร้านเล็กๆริมฝั่งแม่น้ำโขง มื้อเช้าของพวกเราเป็นก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นหมู-เนื้อ เพื่อจะได้คลายหนาวได้บ้าง เมื่อเรารับประทานอาหารกันเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องเดินทางกันต่อไปที่ “หนองไชยวาน” โดยที่หนองไชยวานนั้นจัดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญมากที่บริเวณใกล้กับแม่น้ำสงคราม ตั้งอยู่ที่ เขตพื้นที่บ้านดอนแดง หมู่ที่ 3 ตำบลท่าบ่อสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ที่มาของชื่อหนองไชยวานนั้นมาจากการที่มีต้นไชยวาน (Cephalanthus tetrandra (Roxb.) Ridsd. & Bakh. f.) ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก
ซึ่งบางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้นไชยวานจึงสามารถไปขึ้นอยู่ในน้ำได้ทั้งๆที่ไม่ใช่พืชน้ำ นั้นก็เป็นเพราะว่าในบริเวณนี้มีเจริญของพืชสนุ่นแล้วเกาะตัวกันจนกลายเป็นแผ่นที่มีลักษณะคล้ายทุ่นที่ลอยน้ำได้ และเกิดการทับถมของซากพืชมากมายทำให้บนกอสนุ่นนั้นเปรียบเสมือนพื้นดินใหม่ ซึ่งพืชสามารถเจริญเติบโตได้ เราเดินทางมาถึงหนองไชยวานเวลา 10โมง 15 นาที ซึ่งเป็นเวลาที่อาการเริ่มร้อนขึ้น เมื่อถึงหนองไชยวานพวกเราก็ได้ศึกษาพื้นที่รอบๆ ซึ่งมีลักษณะชื้นแฉะ ไม่ค่อยมีต้นไม้ใหญ่ มีแต่พืชน้ำขนาดเล็กเช่น จอกหูหนู สาหร่ายข้าวเหนียวที่กำลังออกดอกสีเหลือง พื้นดินแถวๆนี้เป็นโคลนเหลว
จากนั้นพวกเราก็ได้ลงเรือเพื่อไปชมกอสนุ่นของหนองไชยวาน โดยมีพี่ๆลุงๆที่เป็นชาวบ้านในละแวกนั้นคอยช่วยเป็นคนถ่อเรือให้พวกเรานั่งและเป็นมัคคุเทศก์ที่คอยให้ความรู้และพาเราเที่ยวชมภายในหนองไชยวาน เรือที่พวกเรานั่งเป็นเรือไม้ทรงยาวแบบโบราณ เมื่อพวกเราลงไปนั่งเรือก็แทบจะจมลงไปในน้ำแล้ว ระหว่างล่องเรือไปก็ต้องช่วยกันวิดน้ำออกจากเรือไปด้วย555 คุณลุงที่เป็นมัคคุเทศก์ของเรือลำของเราชื่อว่า คุณลุงนูกี้ แต่เดิมเป็นคนอุดรธานี แต่มาแต่งงานและอยู่กับภรรยาที่นี้ได้ 30 กว่าปีแล้ว
หนองไชยวานสามารถแบ่งพื้นที่ได้เป็น 4 ส่วน (ตามข้อมูลของ กลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความหลาากหลายทางชีวภาพ) ได้แก่
1. คันดิน (Dike) หรือ พื้นที่แห้งที่น้ำท่วมไม่ถึง (Dry land) ได้แก่ ทั้งคันดินที่ชาวบ้านในละแวกนั้นและเจ้าหน้าที่ราชการช่วยกันขุดขึ้นมา เพื่อทำเป็นบ่อที่ใช้กักเก็บน้ำประปาไว้ใช้ในครัวเรือนและการทำเกษตรกรรมของชาวบ้าน
2. ส่วนพื้นที่ชื้นแฉะรอบหนองน้ำ (Marsh) หรือก็คือบริเวณที่น้ำสามารถท่วมขึ้นไปถึงได้ในบางฤดูกาลหรือบางเวลา มีลักษณะเป็นดินเลนแห้งแต่เมื่อเหยียบลงไปก็จะรู้ดินนิ่มๆเหมือนเหยียบโคลน เป็นกก ต้นสันตะวา หญ้าแพรกน้ำ
3. พื้นที่น้ำท่วม (Swamp) จะอยู่ติดกับ Marsh เป็นขอบตลิ่งที่ตื้นๆ เราพบสามารถพบได้ 2 บริเวณ
- บริเวณขอบหนอง บริเวณที่พวกเราลงเรือกัน
- บริเวณกอสนุ่น
ใน Swamp นั้นสามารถพบพืชได้หลากหลาย เช่น บัวสาย บัวแดง (คุณลุงบอกเราว่า บัวจะออกมากที่สุดในเดือนสิงหาคม แต่เราเดินทางกันในช่างเดือนมกราคม ทำให้เห็นแต่ใบบัวอาจจะมีดอกบ้างแต่ก็น้อยๆ) ต้นผือ หญ้าพองลม ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ต้นหว้าน้ำ ผักกูด ผักผีพวย (ต้นแพงพวย) หญ้าบัว (หญ้าหวาย) จอกหูหนู แหนเป็ด ผักไหมที่ขึ้นอยู่บนต้นไชยวาน แต่พืชที่เราคิดว่าน่าจะเด่นมากที่สุดเห็นจะเป็นต้นไชยวาน ที่เป็นที่มาของหนองไชยวานนั้นเอง อีกทั้งเรายังได้เจอกับก้อนหัวบัวแดง คุณลุงเล่าให้เราฟังว่า ก้อนหัวบัวแดงนั้นเกิดมาจากเมื่อน้ำในหนองลดลง ชาวบ้านจะในควายมากินอาหาร ทำให้รากของบัวขาด เมื่อน้ำในหนองขึ้นอีกครั้งจะทำให้ซากบัวนั้นลอนขึ้นมาเกิดเป็นซากของก้อนหัวบัวแดงนั้นเอง
4. บริเวณพื้นน้ำที่เปิดโล่ง (Open Water) เป็นบริเวณพื้นน้ำกว้างๆ พบพืช เช่น สาหร่ายข้าวเหนียว ผักผีพวย (ต้นแพงพวยน้ำ) บัวชนิดต่างๆ ดินที่ใต้ท้องน้ำเป็นดินเลนสูงประมาณครึ่งเข่า เป็นพวกรากกกและสาหร่ายทับถมกันอยู่ คุณลุงบอกว่าถ้าหากพายเรือไปผิดทางอาจจะเจอตอไชยวาน แล้วอาจจะทำให้เรือร่มได้
ในระหว่างที่เราล่องเรือก็สังเกตเห็นว่าใบบัวจำนวนมากชูใบสูงเหนือน้ำเกือบเมตรแสดงให้เห็นว่าในช่วงฤดูน้ำหลากน้ำท่วมสูงมาก อีกทั้งเรายังได้พบเห็นสัตว์มากมายหลายชนิด เช่น หอยโขง หอยเชอรี่ หอยทราย จิงโจ้น้ำ แมลงปอ ตั๊กแตนตำข้าว ผึ้งหลวงที่กำลังตอมดอกบัวอยู่ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าพวกเราไม่ได้เห็นฝูงนกน้ำ ซึ่งคุณลุงนูกี้เล่าว่าในช่วงฤดูหนาว ฝูงนกน้ำจะอพยพมาอาศัยที่หนองไชยวาน (แต่ที่พวกเราไปคือช่วงปลายของฤดูหนาวแล้ว) นอกจากนี้คุณลุงได้บอกเราว่า ในน้ำยังมีสัตว์น้ำอีกหลายชนิด เช่น ปลากราย ปลาช่อน ปลาดุก ปลาเข็ม กุ้งก้ามกราม
Trip wetland แดนอีสาน 4วัน 3คืน ณ นครพนม และอุบลราชธานี (20-23 มกราคม 2558)
* วันแรกของการเดินทาง
การเดินทางในครั้งนี้เริ่มต้นที่ หน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558 โดย trip นี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ พวกเรามารวมตัวกันตั้งแต่ 6 โมงครึ่งที่จุดรวมพลจุดแรกของเรา หลังจากทุกๆคนมากพร้อมกัน จัดสัมภาระขึ้นรถกันเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มเดินทางกันเลย ผู้ร่วมดินทางกับเราในครั้งนี้ประกอบด้วย นิสิตปริญญาตรี 7 คน นิสิตปริญญาโท 8 คน อาจารย์ 2 ท่าน และหูกวางสุนัขแสนน่ารักอีก 1 ตัว พาหนะการเดินทางคือรถตู้ 2 คัน การเดินทางของเราเริ่มต้นขึ้นพร้อมกันดวงอาทิตย์ที่ขึ้นเป็นแสงแรกของวันใหม่ โดยที่จุดหมายในการเดินทางในครั้งนี้คือ จังหวัดนครพนมและจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อการศึกษา wetland หรือที่เรารู้จักกันดีก็คือ พื้นที่ชุ่มน้ำนั้นเอง การเดินทางจะไปพวกเราใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) มุ่งหน้าสู่จังหวัดสระบุรี
รูปด้านบน จุดเริ่มต้นก่อนที่พวกเราจะเดินทางกัน , รูปด้านล่าง แสงแรกของวันที่ 1
หลังจากเดินทางมาได้ประมาณ 1 ชั่วโมง เมื่อใกล้ถึงจังหวัดสระบุรี เราแวะรับประทานอาหารเช้าที่ “ร้านข้าวแกงบ้านสวน (สาขา2)” ในร้านอาหารมีมากมายหลายประเภทให้เลือกรับประทาน มื้อแรกของเราเป็นอาหารง่ายๆ คือ ข้าวเหนียว ไก่ย่าง ไก่ทอด ไก่จ๊อ ของร้านไก่ย่าง 5 ดาว หลังจากรับประทานอาหารกันเสร็จ ก็แล้วเราก็เดินทางกันต่อ ตลอดทางนอกจากการนอนหลับ กินขนม คุยเล่นกันแล้ว เราก็คอยสังเกตวิวทิวทัศน์ริมข้างทางไปด้วย เนื่องจากการเดินทางของพวกเราครั้งนี้อาจต้องใช้เวลานาน เพื่อไม่ปล่อยให้โอกาสภายในวันแรกของเราต้องเสียเปล่าไปกับการเดินทาง ซึ่งเราก็พบพื้นที่ชุ่มน้ำหลากหลายแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ทั้งพื้นที่ชุ่มน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างเขื่อนลำตะคลอง และทุ่งนาของชาวบ้าน และพื้นที่ชุ่มน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเช่น ลำคลองริมขึ้นทาง ซึ่งทั้ง 2 ประเภทน้ำต่างก็เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีลักษณะที่แตกต่างกันไป บางพื้นที่ก็เป็น Open water (บริเวณพื้นน้ำเปิดโล่ง) ซึ่งก็คือ บริเวณกลางแม่น้ำต่างๆ หนองบึง ที่รถของพวกเราขับผ่านไป Swamp (บริเวณที่มีน้ำท่วม) ซึ่งก็คือบริเวณขอบตลิ่ง น้ำริมๆตลิ่ง และ Marsh (บริเวณที่ลุ่มชื้นแฉะ) ซึ่งก็คือบริเวณที่เป็นดินขอบๆตลิ่งที่เคยมีน้ำท่วมขึ้นมาถึง โดยที่ประเภทที่เราพบมากที่สุดและเห็นได้ทั่วๆไปก็คือ Swamp และ Marsh เนื่องจากว่าสองข้างทางส่วนใหญ่จะเป็นลำคลองสายเล็กๆ ที่จะมีน้ำอยู่ไม่มาก สังคมพืชริมธารส่วนใหญ่ก็จะเป็นพืชที่มีความทนทานต่อการท่วมของน้ำ พืชที่พบเช่น ต้นกก ต้นธูปฤาษี หญ้าต่างๆ ต้นพุทธรักษา เป็นต้น
รูปของสิ่งที่สังเกตพบระหว่างสองข้างทาง (ฝูงนก : รูปใหญ่)
หลังจากที่เราเดินทางกันมาถึงประมาณจังหวัดนครราชสีมา เป็นเวลาใกล้ๆเที่ยงแล้ว เราก็แวะรับประทานอาหารกลางวันกันที่ ‘ร้านอาหารปัญ-กัญ’ ซึ่งเป็นร้านอาหารขนาดใหญ่ภายในมีทั้งส่วนที่เป็นร้านอาหาร ร้านขายกาแฟ และร้านขายของฝากและของที่ระลึก ซึ่งอาหารกลางวันของเราในวันนี้ก็คือ ส้มตำ คอหมูย่าง และข้าวเหนียว อร่อยมากๆเลย เมื่อรับประทานอาหารกลางวันกันเรียบร้อยแล้วเราก็ออกเดินทางกันต่อ เดินทางกันมานานจนในที่สุดเราก็ถึงจังหวัดนครพนมแล้ว เย้!!! เริ่มได้สัมผัสอากาศหนาวแล้ว หนาว..หนาว เรามาถึงที่พักเวลาประมาณ 1 ทุ่ม ซึ่งพวกเราพักกันที่ ‘ซิกตี้ไนย์ รีสอร์ท’ เห็นที่พักครั้งเรา บอกได้เลยว่าแอบน่ากลัวนิดๆ แต่พอขับรถเข้าไปด้านในบอกได้เลยว่าสวยมากๆ ตรงกลางของพื้นที่เป็นคอกแกะ แต่น่าเสียดายว่าพวกเราไปถึงก็มืดแล้ว แกะก็เข้าไปพักผ่อนกันหมดแล้ว เสียดายๆๆ รีสอร์ทจะมีบ้านเป็นหลังๆแยกกัน ภายในห้องพักมีการตกแต่งที่แตกต่างกันออกไป แต่ทุกหลังก็สวยมากๆเหมือนกัน และที่สำคัญก็คือ รีสอร์ทแห่งนี้สามารถนำสัตว์เลี้ยงเข้าพักได้อีกด้วย เมื่อเราเข้าห้องพักและเก็บกระเป๋ากันเรียบร้อยแล้ว เราออกจากรีสอร์ทเพื่อที่จะไปรับประทานอาหารเย็น โดยที่ร้านอาหารที่เราเลือกก็คือ ‘ร้านสบายดี @นครพนม’ เป็นร้านอาหารบรรยากาศดีดีริมฝั่งแม่น้ำโขง อาหารมีให้เลือกสั่งมากมาย อาหารเย็นของเราในวันนี้ได้แก่ ไข่เจียว ปลาเนื้ออ่อนราดกระเทียม ป๋วยเล้งผัดน้ำมันหอย และต้มยำปลาโจก ซึ่งเป็นปลาที่เราไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน แต่เมื่อลองชิมก็พบว่าอร่อยทีเดียว
เมื่อรับประทานอาหารกันเสร็จก็ขอเดินย่อยอาหารกันหน่อย เราไปเดินกันที่ถนนคนเดิน ลานคนเมือง หอนาฬิกา และลานกิจกรรมริมแม่น้ำโขง ดูวิถีชีวิตตอนกลางคืนของชาวนครพนม ถ่ายรูปกับป้าย @นครพนม ให้รู้ว่ามาถึงแล้ว 5555 และยังไปชมวิวของแม่น้ำโขงและฝั่งประเทศลาวตอนกลางคืนด้วย แล้วเราก็กลับไปที่พักเพื่อพักผ่อนและเตรียมตัวสำหรับไปลุยหนองไชยวานในวันพรุ่งนี้ แต่ก่อนที่ทุกคนจะแยกย้ายกันเข้าที่พักพวกเราก็ได้นำเสนอสิ่งที่เราได้เห็นในวันนี้ระหว่างการเดินทางอันยาวนาน 1 วันเต็มๆมาแบ่งปันกันระหว่างนิสิตจากรถตู้ทั้งสองคันด้วย โดยมีท่านอาจารย์เป็นผู้คอยแนะนำและเพิ่มเสริมข้อมูลที่นิสิตตกหล่นไป ซึ่งนับเป็นนิทานก่อนนอนอันมีค่ามากๆ เพื่อนๆทุกคนคงจะได้นอนหลับฝันดีและพร้อมสำหรับประสบการณ์อันน่าตื่นเต้นในวันพรุ่งนี้…
* วันที่ 2 ของการเดินทาง
เช้านี้เราตื่นขึ้นมาพร้อมกับอากาศที่หนาวเย็นและหมอกที่ลงตอนเช้า หนาวมากจนควันออกปากเลยทีเดียว เรารีบอาบน้ำแต่งตัวกัน เพื่อที่จะได้ไปดูแกะ พี่เจ้าของรีสอร์ทเป็นศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ของเราก็ใจดีมาก รีบปล่อยแกะออกมาแต่เช้าเป็นพิเศษให้พวกเราได้เล่นด้วย พวกเราได้ป้อนหญ้าและได้อุ้มแกะด้วย แกะตัวขาวๆขนนุ่มๆ น่ารักจังเลย เมื่อเล่นกับแกะจนพอใจแล้ว ก็เก็บของและเช็คเอาท์ออกจากที่พักตั้งแต่ 7 โมงเช้า
บรรยากาศของเช้าวันที่ 2
เราเลือกร้านอาหารเพื่อรับประทานอาหารเช้ากันที่ร้านเล็กๆริมฝั่งแม่น้ำโขง มื้อเช้าของพวกเราเป็นก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นหมู-เนื้อ เพื่อจะได้คลายหนาวได้บ้าง เมื่อเรารับประทานอาหารกันเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องเดินทางกันต่อไปที่ “หนองไชยวาน” โดยที่หนองไชยวานนั้นจัดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญมากที่บริเวณใกล้กับแม่น้ำสงคราม ตั้งอยู่ที่ เขตพื้นที่บ้านดอนแดง หมู่ที่ 3 ตำบลท่าบ่อสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ที่มาของชื่อหนองไชยวานนั้นมาจากการที่มีต้นไชยวาน (Cephalanthus tetrandra (Roxb.) Ridsd. & Bakh. f.) ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก
ซึ่งบางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้นไชยวานจึงสามารถไปขึ้นอยู่ในน้ำได้ทั้งๆที่ไม่ใช่พืชน้ำ นั้นก็เป็นเพราะว่าในบริเวณนี้มีเจริญของพืชสนุ่นแล้วเกาะตัวกันจนกลายเป็นแผ่นที่มีลักษณะคล้ายทุ่นที่ลอยน้ำได้ และเกิดการทับถมของซากพืชมากมายทำให้บนกอสนุ่นนั้นเปรียบเสมือนพื้นดินใหม่ ซึ่งพืชสามารถเจริญเติบโตได้ เราเดินทางมาถึงหนองไชยวานเวลา 10โมง 15 นาที ซึ่งเป็นเวลาที่อาการเริ่มร้อนขึ้น เมื่อถึงหนองไชยวานพวกเราก็ได้ศึกษาพื้นที่รอบๆ ซึ่งมีลักษณะชื้นแฉะ ไม่ค่อยมีต้นไม้ใหญ่ มีแต่พืชน้ำขนาดเล็กเช่น จอกหูหนู สาหร่ายข้าวเหนียวที่กำลังออกดอกสีเหลือง พื้นดินแถวๆนี้เป็นโคลนเหลว
จากนั้นพวกเราก็ได้ลงเรือเพื่อไปชมกอสนุ่นของหนองไชยวาน โดยมีพี่ๆลุงๆที่เป็นชาวบ้านในละแวกนั้นคอยช่วยเป็นคนถ่อเรือให้พวกเรานั่งและเป็นมัคคุเทศก์ที่คอยให้ความรู้และพาเราเที่ยวชมภายในหนองไชยวาน เรือที่พวกเรานั่งเป็นเรือไม้ทรงยาวแบบโบราณ เมื่อพวกเราลงไปนั่งเรือก็แทบจะจมลงไปในน้ำแล้ว ระหว่างล่องเรือไปก็ต้องช่วยกันวิดน้ำออกจากเรือไปด้วย555 คุณลุงที่เป็นมัคคุเทศก์ของเรือลำของเราชื่อว่า คุณลุงนูกี้ แต่เดิมเป็นคนอุดรธานี แต่มาแต่งงานและอยู่กับภรรยาที่นี้ได้ 30 กว่าปีแล้ว
หนองไชยวานสามารถแบ่งพื้นที่ได้เป็น 4 ส่วน (ตามข้อมูลของ กลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความหลาากหลายทางชีวภาพ) ได้แก่
1. คันดิน (Dike) หรือ พื้นที่แห้งที่น้ำท่วมไม่ถึง (Dry land) ได้แก่ ทั้งคันดินที่ชาวบ้านในละแวกนั้นและเจ้าหน้าที่ราชการช่วยกันขุดขึ้นมา เพื่อทำเป็นบ่อที่ใช้กักเก็บน้ำประปาไว้ใช้ในครัวเรือนและการทำเกษตรกรรมของชาวบ้าน
2. ส่วนพื้นที่ชื้นแฉะรอบหนองน้ำ (Marsh) หรือก็คือบริเวณที่น้ำสามารถท่วมขึ้นไปถึงได้ในบางฤดูกาลหรือบางเวลา มีลักษณะเป็นดินเลนแห้งแต่เมื่อเหยียบลงไปก็จะรู้ดินนิ่มๆเหมือนเหยียบโคลน เป็นกก ต้นสันตะวา หญ้าแพรกน้ำ
3. พื้นที่น้ำท่วม (Swamp) จะอยู่ติดกับ Marsh เป็นขอบตลิ่งที่ตื้นๆ เราพบสามารถพบได้ 2 บริเวณ
- บริเวณขอบหนอง บริเวณที่พวกเราลงเรือกัน
- บริเวณกอสนุ่น
ใน Swamp นั้นสามารถพบพืชได้หลากหลาย เช่น บัวสาย บัวแดง (คุณลุงบอกเราว่า บัวจะออกมากที่สุดในเดือนสิงหาคม แต่เราเดินทางกันในช่างเดือนมกราคม ทำให้เห็นแต่ใบบัวอาจจะมีดอกบ้างแต่ก็น้อยๆ) ต้นผือ หญ้าพองลม ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ต้นหว้าน้ำ ผักกูด ผักผีพวย (ต้นแพงพวย) หญ้าบัว (หญ้าหวาย) จอกหูหนู แหนเป็ด ผักไหมที่ขึ้นอยู่บนต้นไชยวาน แต่พืชที่เราคิดว่าน่าจะเด่นมากที่สุดเห็นจะเป็นต้นไชยวาน ที่เป็นที่มาของหนองไชยวานนั้นเอง อีกทั้งเรายังได้เจอกับก้อนหัวบัวแดง คุณลุงเล่าให้เราฟังว่า ก้อนหัวบัวแดงนั้นเกิดมาจากเมื่อน้ำในหนองลดลง ชาวบ้านจะในควายมากินอาหาร ทำให้รากของบัวขาด เมื่อน้ำในหนองขึ้นอีกครั้งจะทำให้ซากบัวนั้นลอนขึ้นมาเกิดเป็นซากของก้อนหัวบัวแดงนั้นเอง
4. บริเวณพื้นน้ำที่เปิดโล่ง (Open Water) เป็นบริเวณพื้นน้ำกว้างๆ พบพืช เช่น สาหร่ายข้าวเหนียว ผักผีพวย (ต้นแพงพวยน้ำ) บัวชนิดต่างๆ ดินที่ใต้ท้องน้ำเป็นดินเลนสูงประมาณครึ่งเข่า เป็นพวกรากกกและสาหร่ายทับถมกันอยู่ คุณลุงบอกว่าถ้าหากพายเรือไปผิดทางอาจจะเจอตอไชยวาน แล้วอาจจะทำให้เรือร่มได้
ในระหว่างที่เราล่องเรือก็สังเกตเห็นว่าใบบัวจำนวนมากชูใบสูงเหนือน้ำเกือบเมตรแสดงให้เห็นว่าในช่วงฤดูน้ำหลากน้ำท่วมสูงมาก อีกทั้งเรายังได้พบเห็นสัตว์มากมายหลายชนิด เช่น หอยโขง หอยเชอรี่ หอยทราย จิงโจ้น้ำ แมลงปอ ตั๊กแตนตำข้าว ผึ้งหลวงที่กำลังตอมดอกบัวอยู่ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าพวกเราไม่ได้เห็นฝูงนกน้ำ ซึ่งคุณลุงนูกี้เล่าว่าในช่วงฤดูหนาว ฝูงนกน้ำจะอพยพมาอาศัยที่หนองไชยวาน (แต่ที่พวกเราไปคือช่วงปลายของฤดูหนาวแล้ว) นอกจากนี้คุณลุงได้บอกเราว่า ในน้ำยังมีสัตว์น้ำอีกหลายชนิด เช่น ปลากราย ปลาช่อน ปลาดุก ปลาเข็ม กุ้งก้ามกราม