"สามารถ" แห้ว จีนไม่ร่วมลงทุนสร้างรถไฟกับไทย !!
2015-06-07 14:24:53
"ดร.สามารถ" วอน จีนร่วมลงทุนก่อสร้าง เหตุเพราะได้รับประโยชน์ด้วย - เชื่อ มีผู้โดยสารมาใช้บริการเยอะแน่ !!
วันนี้ (7 มิ.ย.) ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์รูปภาพและข้อความลงบนเฟซบุ๊คเพจ "ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์" ระบุถึงกรณีที่ประเทศจีนไม่ลงทุนสร้างรถไฟร่วมกับประเทศไทย ว่า
หลายคนคงเข้าใจว่าจีนจะมาช่วยพัฒนารถไฟไทยให้ทันสมัย พูดง่ายๆ ก็คือรัฐบาลจีนจะมาร่วมลงทุนก่อสร้างรถไฟให้ไทยตามเส้นทางที่รัฐบาลไทยเห็นชอบ นั่นคือ เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย และเส้นทางแก่งคอย-มาบตาพุด โดยจะออกแบบให้รถไฟวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งไม่ใช่รถไฟความเร็วสูงแต่เป็นรถไฟความเร็วปานกลาง เส้นทางนี้จะทำหน้าที่ขนทั้งผู้โดยสารและสินค้า
ผมไม่ติดใจในความสามารถด้านการพัฒนารถไฟของจีน แม้ว่าจีนได้เริ่มพัฒนารถไฟความเร็วสูงได้มาไม่นาน แต่จีนก็สามารถก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงได้ระยะทางรวมยาวที่สุดในโลก
เมื่อพิจารณาดูแนวเส้นทางดังกล่าวข้างต้นแล้ว จะเห็นได้ว่าจีนจะได้รับประโยชน์ด้วยเช่นกัน เพราะเป็นเส้นทางที่เปิดทางออกสู่ทะเลให้จีนได้อีกเส้นทางหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ จีนจึงควรร่วมลงทุนก่อสร้างด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นภาระของไทยเพียงฝ่ายเดียว ผมได้โพสต์ความเห็นเช่นนี้ไว้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 เรื่อง "เงินกู้จีน-ญี่ปุ่น ชี้ชะตาไฮสปีดไทย" หลังจากนั้นผู้ที่รับผิดชอบได้ให้ข่าวว่าจีนจะร่วมลงทุนด้วย ไม่ใช่ให้เงินกู้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทำให้ผมหลงดีใจพร้อมกับโพสต์เรื่อง "รถไฟทางคู่ไทย-จีนคืบหน้าเมื่อจีนยอมควักกระเป๋า" ไว้เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2558 แต่ถึงวันนี้ผมกลับต้องผิดหวังหลังจากได้รับข้อมูลว่าจีนจะไม่ร่วมลงทุนด้วย
การลงทุนรถไฟเส้นทางนี้จะเป็นการลงทุนทั้งหมด 100% โดยรัฐบาลไทย ซึ่งรัฐบาลไทยจะกู้เงินในประเทศบางส่วน และจะกู้เงินจากจีนบางส่วน งานส่วนไหนที่คนไทยทำได้ก็จะใช้ผู้รับเหมาไทย งานส่วนไหนที่คนไทยไม่ถนัดก็จะจ้างจีนทำให้ รวมทั้งจะซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่มีในประเทศจากจีน เช่น ขบวนรถไฟ ระบบอาณัติสัญญาณ และระบบตั๋ว เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จีนก็จะได้ประโยชน์จากการให้กู้เงิน รวมทั้งการก่อสร้างและขายวัสดุอุปกรณ์
ผมไม่ได้คัดค้านการก่อสร้างรถไฟเส้นทางนี้ แต่อยากเรียกร้องให้รัฐบาลเจรจากับรัฐบาลจีนโดยขอให้รัฐบาลจีนร่วมลงทุนด้วย ทั้งนี้ เพื่อความสำเร็จในการบริหารจัดการเดินรถไฟหลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ เพราะถ้าจีนร่วมลงทุนด้วยเขาก็จะพยายามหาหนทางที่จะทำให้มีผู้โดยสารและสินค้ามาใช้บริการมาก ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อโครงการหรือประเทศชาติโดยส่วนรวม
*ภาพจากเฟซบุ๊ค "ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์"
http://politic.tnews.co.th/content/146178/
((งานเข้า)) จีนไม่ร่วมลงทุนสร้างรถไฟกับไทย !!
2015-06-07 14:24:53
"ดร.สามารถ" วอน จีนร่วมลงทุนก่อสร้าง เหตุเพราะได้รับประโยชน์ด้วย - เชื่อ มีผู้โดยสารมาใช้บริการเยอะแน่ !!
วันนี้ (7 มิ.ย.) ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์รูปภาพและข้อความลงบนเฟซบุ๊คเพจ "ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์" ระบุถึงกรณีที่ประเทศจีนไม่ลงทุนสร้างรถไฟร่วมกับประเทศไทย ว่า
หลายคนคงเข้าใจว่าจีนจะมาช่วยพัฒนารถไฟไทยให้ทันสมัย พูดง่ายๆ ก็คือรัฐบาลจีนจะมาร่วมลงทุนก่อสร้างรถไฟให้ไทยตามเส้นทางที่รัฐบาลไทยเห็นชอบ นั่นคือ เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย และเส้นทางแก่งคอย-มาบตาพุด โดยจะออกแบบให้รถไฟวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งไม่ใช่รถไฟความเร็วสูงแต่เป็นรถไฟความเร็วปานกลาง เส้นทางนี้จะทำหน้าที่ขนทั้งผู้โดยสารและสินค้า
ผมไม่ติดใจในความสามารถด้านการพัฒนารถไฟของจีน แม้ว่าจีนได้เริ่มพัฒนารถไฟความเร็วสูงได้มาไม่นาน แต่จีนก็สามารถก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงได้ระยะทางรวมยาวที่สุดในโลก
เมื่อพิจารณาดูแนวเส้นทางดังกล่าวข้างต้นแล้ว จะเห็นได้ว่าจีนจะได้รับประโยชน์ด้วยเช่นกัน เพราะเป็นเส้นทางที่เปิดทางออกสู่ทะเลให้จีนได้อีกเส้นทางหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ จีนจึงควรร่วมลงทุนก่อสร้างด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นภาระของไทยเพียงฝ่ายเดียว ผมได้โพสต์ความเห็นเช่นนี้ไว้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 เรื่อง "เงินกู้จีน-ญี่ปุ่น ชี้ชะตาไฮสปีดไทย" หลังจากนั้นผู้ที่รับผิดชอบได้ให้ข่าวว่าจีนจะร่วมลงทุนด้วย ไม่ใช่ให้เงินกู้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทำให้ผมหลงดีใจพร้อมกับโพสต์เรื่อง "รถไฟทางคู่ไทย-จีนคืบหน้าเมื่อจีนยอมควักกระเป๋า" ไว้เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2558 แต่ถึงวันนี้ผมกลับต้องผิดหวังหลังจากได้รับข้อมูลว่าจีนจะไม่ร่วมลงทุนด้วย
การลงทุนรถไฟเส้นทางนี้จะเป็นการลงทุนทั้งหมด 100% โดยรัฐบาลไทย ซึ่งรัฐบาลไทยจะกู้เงินในประเทศบางส่วน และจะกู้เงินจากจีนบางส่วน งานส่วนไหนที่คนไทยทำได้ก็จะใช้ผู้รับเหมาไทย งานส่วนไหนที่คนไทยไม่ถนัดก็จะจ้างจีนทำให้ รวมทั้งจะซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่มีในประเทศจากจีน เช่น ขบวนรถไฟ ระบบอาณัติสัญญาณ และระบบตั๋ว เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จีนก็จะได้ประโยชน์จากการให้กู้เงิน รวมทั้งการก่อสร้างและขายวัสดุอุปกรณ์
ผมไม่ได้คัดค้านการก่อสร้างรถไฟเส้นทางนี้ แต่อยากเรียกร้องให้รัฐบาลเจรจากับรัฐบาลจีนโดยขอให้รัฐบาลจีนร่วมลงทุนด้วย ทั้งนี้ เพื่อความสำเร็จในการบริหารจัดการเดินรถไฟหลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ เพราะถ้าจีนร่วมลงทุนด้วยเขาก็จะพยายามหาหนทางที่จะทำให้มีผู้โดยสารและสินค้ามาใช้บริการมาก ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อโครงการหรือประเทศชาติโดยส่วนรวม
*ภาพจากเฟซบุ๊ค "ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์"
http://politic.tnews.co.th/content/146178/