อ่านได้ที่นี่ครับ
http://cliphotkhaohit.com/news-details.php?item=6091
ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2551
บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
โจทก์
นาย..........................
จำเลย
ป.พ.พ. มาตรา 150
ข้อกำหนดซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 8 แห่ง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาต ตาม ข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับของผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ ไว้ในข้อ 4.4 (1) ให้ผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ เกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ทั้งนี้ดอกเบี้ยที่เรียกเก็บต้องไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ (ร้อยละ 15 ต่อปี) โดยอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ ดังกล่าว รวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี (Effective rate) โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ โดยอัตรารวมสูงสุดไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี แต่ข้อเท็จจริงตามหนังสือแจ้งผลการพิจารณาสินเชื่อบุคคลปรากฏว่า ในการที่โจทก์อนุมัติเงินกู้ให้แก่จำเลยจำนวน 18,900 บาท นั้น โจทก์เรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อปี หรือร้อยละ 15 ต่อปี และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ของวงเงินกู้ที่โจทก์อนุมัติ กับค่าดำเนินการอนุมัติเงินกู้ซึ่งเป็นค่าบริการจำนวน 1,000 บาท ซึ่งสามารถคำนวณเป็นร้อยละได้อัตราร้อยละ 5.29 ของวงเงินกู้ที่โจทก์อนุมัติ เมื่อรวมอัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินและค่าดำเนินการ การอนุมัติเงินกู้ซึ่งเป็นค่าบริการเข้าด้วยกันแล้วจะเป็นอัตราร้อยละ 30.29 เกินกว่าอัตราร้อยละ 28 ต่อปี ที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมในอัตราดังกล่าว การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยค่าบริการและค่าธรรมเนียมในอัตราดังกล่าว จึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
________________________________
โจทก์ฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 21,342.20 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของต้นเงิน 14,923.19 บาท และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอัตราร้อยละ 6 ต่อปี ของต้นเงิน 14,923.19 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 11,704 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2549 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 1,000 บาท
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ
ศาลฎีกาวินิจฉัย “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการด้านสินเชื่อบัตรเครดิต ให้กู้เงิน และอื่นๆ ตามสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โจทก์มอบอำนาจให้นายธวัชชัยหรือนายพรเลิศฟ้องและดำเนินคดีแทน และให้บุคคลดังกล่าวมีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ นายพรเลิศมอบอำนาจช่วงให้นายกษานฟ้องและดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ ตามหนังสือมอบอำนาจ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547 จำเลยสมัครขอสินเชื่อบุคคลจากโจทก์วงเงิน 30,000 บาท ตกลงชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ค่าใช้วงเงินอัตราร้อยละ 10 ของวงเงินที่โจทก์อนุมัติ และค่าดำเนินการอนุมัติเงินกู้จำนวน 1,000 บาท ตามใบสมัครสินเชื่อบุคคล โจทก์อนุมัติให้จำเลยกู้เงินจำนวน 18,900 บาท โดยหักค่าดำเนินการอนุมัติเงินกู้จำนวน 1,000 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 70 บาท คงเหลือยอดเงินสุทธิที่โอนเงินเข้าบัญชีเงินกู้ของจำเลย จำนวน 17,830 บาท ตามใบแจ้งผลการพิจารณาสินเชื่อบุคคล จำเลยตกลงผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ทุกวันที่ 16 ของเดือน จำนวน 24 เดือน เดือนละ 1,024 บาท เริ่มชำระงวดแรกในวันที่ 16 สิงหาคม 2547 จำเลยผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์รวม 5 ครั้ง ครั้งสุดท้ายชำระเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2547 จำนวน 1,021 บาท ตามใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2547 มียอดต้นเงินคงเหลือ 14,923.19 บาท โจทก์คิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินจากจำเลยนับแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2547 จนถึงวันฟ้องเป็นดอกเบี้ยจำนวน 3,851.41 บาท และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินจำนวน 2,567.60 บาท รวมต้นเงิน ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินเป็นเงินทั้งสิ้น 21,342.20 บาท ตามรายการบันทึกคำนวณภาระหนี้เงินกู้ค้างชำระ โจทก์บอกเลิกสัญญาเงินกู้สินเชื่อบุคคลและทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ ตามหนังสือบอกกล่าวลงวันที่ 14 มิถุนายน 2549 จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2549 แต่จำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์คิดดอกเบี้ย ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมต่างๆ จากจำเลยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
มีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า การคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินตามใบสมัครสินเชื่อบุคคลเป็นโมฆะหรือไม่ โดยโจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากจำเลยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย การคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของโจทก์จึงไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยเกินอัตรานั้น เห็นว่า ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยระบุเหตุผลในการออกประกาศว่า เพื่อเป็นการพิทักษ์รักษาประโยชน์ของประชาชน และเป็นการป้องกันปัญหาจากธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตตลอดจนเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน กระทรวงการคลังจึงได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ) ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 ซึ่งในข้อ 8 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้อาศัยอำนาจตามความในข้อ 8 แห่งประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับของผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ ไว้ในข้อ 4.4 (1) ว่า “ผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใดๆ เกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ทั้งนี้ ดอกเบี้ยที่เรียกเก็บต้องไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ (ร้อยละ 15 ต่อปี) โดยอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใดๆ ดังกล่าวรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี (Effective rate)” หมายความว่า โจกท์มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใดๆ โดยอัตรารวมสูงสุดไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี แต่ข้อเท็จจริงตามหนังสือแจ้งผลการพิจารณาสินเชื่อบุคคล ปรากฏว่า ในการที่โจทก์อนุมัติเงินกู้ให้แก่จำเลยจำนวน 18,900 บาท นั้น โจทก์เรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน หรือร้อยละ 15 ต่อปี และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ของวงเงินกู้ที่โจทก์อนุมัติ กับค่าดำเนินการอนุมัติเงินกู้ซึ่งเป็นค่าบริการจำนวน 1,000 บาท ซึ่งสามารถคำนวณเป็นร้อยละได้อัตราร้อยละ 5.29 ของวงเงินกู้ที่โจทก์อนุมัติ เมื่อรวมอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินและค่าดำเนินการอนุมัติเงินกู้ซึ่งเป็นค่าบริการเข้าด้วยกันแล้วจะเป็นอัตราร้อยละ 30.29 เกินกว่าอัตราร้อยละ 28 ต่อปี ที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิเก็บดอกเบี้ย ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมในอัตราดังกล่าว การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยค่าบริการและค่าธรรมเนียมในอัตราดังกล่าวจึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของโจทก์ตกเป็นโมฆะนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น”
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ
( เฉลิมเกียรติ ชาญศิลป์ - บุญรอด ตันประเสริฐ - สนอง เล่าศรีวรกต )
คนถูกฟ้องบัตรเครดิตควรอ่านฎีกานี้.....อ่านแล้ว มีหวังรอด
ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2551
บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
โจทก์
นาย..........................
จำเลย
ป.พ.พ. มาตรา 150
ข้อกำหนดซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 8 แห่ง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาต ตาม ข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับของผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ ไว้ในข้อ 4.4 (1) ให้ผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ เกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ทั้งนี้ดอกเบี้ยที่เรียกเก็บต้องไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ (ร้อยละ 15 ต่อปี) โดยอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ ดังกล่าว รวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี (Effective rate) โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ โดยอัตรารวมสูงสุดไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี แต่ข้อเท็จจริงตามหนังสือแจ้งผลการพิจารณาสินเชื่อบุคคลปรากฏว่า ในการที่โจทก์อนุมัติเงินกู้ให้แก่จำเลยจำนวน 18,900 บาท นั้น โจทก์เรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อปี หรือร้อยละ 15 ต่อปี และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ของวงเงินกู้ที่โจทก์อนุมัติ กับค่าดำเนินการอนุมัติเงินกู้ซึ่งเป็นค่าบริการจำนวน 1,000 บาท ซึ่งสามารถคำนวณเป็นร้อยละได้อัตราร้อยละ 5.29 ของวงเงินกู้ที่โจทก์อนุมัติ เมื่อรวมอัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินและค่าดำเนินการ การอนุมัติเงินกู้ซึ่งเป็นค่าบริการเข้าด้วยกันแล้วจะเป็นอัตราร้อยละ 30.29 เกินกว่าอัตราร้อยละ 28 ต่อปี ที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมในอัตราดังกล่าว การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยค่าบริการและค่าธรรมเนียมในอัตราดังกล่าว จึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
________________________________
โจทก์ฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 21,342.20 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของต้นเงิน 14,923.19 บาท และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอัตราร้อยละ 6 ต่อปี ของต้นเงิน 14,923.19 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 11,704 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2549 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 1,000 บาท
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ
ศาลฎีกาวินิจฉัย “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการด้านสินเชื่อบัตรเครดิต ให้กู้เงิน และอื่นๆ ตามสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โจทก์มอบอำนาจให้นายธวัชชัยหรือนายพรเลิศฟ้องและดำเนินคดีแทน และให้บุคคลดังกล่าวมีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ นายพรเลิศมอบอำนาจช่วงให้นายกษานฟ้องและดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ ตามหนังสือมอบอำนาจ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547 จำเลยสมัครขอสินเชื่อบุคคลจากโจทก์วงเงิน 30,000 บาท ตกลงชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ค่าใช้วงเงินอัตราร้อยละ 10 ของวงเงินที่โจทก์อนุมัติ และค่าดำเนินการอนุมัติเงินกู้จำนวน 1,000 บาท ตามใบสมัครสินเชื่อบุคคล โจทก์อนุมัติให้จำเลยกู้เงินจำนวน 18,900 บาท โดยหักค่าดำเนินการอนุมัติเงินกู้จำนวน 1,000 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 70 บาท คงเหลือยอดเงินสุทธิที่โอนเงินเข้าบัญชีเงินกู้ของจำเลย จำนวน 17,830 บาท ตามใบแจ้งผลการพิจารณาสินเชื่อบุคคล จำเลยตกลงผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ทุกวันที่ 16 ของเดือน จำนวน 24 เดือน เดือนละ 1,024 บาท เริ่มชำระงวดแรกในวันที่ 16 สิงหาคม 2547 จำเลยผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์รวม 5 ครั้ง ครั้งสุดท้ายชำระเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2547 จำนวน 1,021 บาท ตามใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2547 มียอดต้นเงินคงเหลือ 14,923.19 บาท โจทก์คิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินจากจำเลยนับแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2547 จนถึงวันฟ้องเป็นดอกเบี้ยจำนวน 3,851.41 บาท และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินจำนวน 2,567.60 บาท รวมต้นเงิน ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินเป็นเงินทั้งสิ้น 21,342.20 บาท ตามรายการบันทึกคำนวณภาระหนี้เงินกู้ค้างชำระ โจทก์บอกเลิกสัญญาเงินกู้สินเชื่อบุคคลและทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ ตามหนังสือบอกกล่าวลงวันที่ 14 มิถุนายน 2549 จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2549 แต่จำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์คิดดอกเบี้ย ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมต่างๆ จากจำเลยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
มีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า การคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินตามใบสมัครสินเชื่อบุคคลเป็นโมฆะหรือไม่ โดยโจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากจำเลยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย การคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของโจทก์จึงไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยเกินอัตรานั้น เห็นว่า ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยระบุเหตุผลในการออกประกาศว่า เพื่อเป็นการพิทักษ์รักษาประโยชน์ของประชาชน และเป็นการป้องกันปัญหาจากธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตตลอดจนเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน กระทรวงการคลังจึงได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ) ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 ซึ่งในข้อ 8 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้อาศัยอำนาจตามความในข้อ 8 แห่งประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับของผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ ไว้ในข้อ 4.4 (1) ว่า “ผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใดๆ เกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ทั้งนี้ ดอกเบี้ยที่เรียกเก็บต้องไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ (ร้อยละ 15 ต่อปี) โดยอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใดๆ ดังกล่าวรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี (Effective rate)” หมายความว่า โจกท์มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใดๆ โดยอัตรารวมสูงสุดไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี แต่ข้อเท็จจริงตามหนังสือแจ้งผลการพิจารณาสินเชื่อบุคคล ปรากฏว่า ในการที่โจทก์อนุมัติเงินกู้ให้แก่จำเลยจำนวน 18,900 บาท นั้น โจทก์เรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน หรือร้อยละ 15 ต่อปี และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ของวงเงินกู้ที่โจทก์อนุมัติ กับค่าดำเนินการอนุมัติเงินกู้ซึ่งเป็นค่าบริการจำนวน 1,000 บาท ซึ่งสามารถคำนวณเป็นร้อยละได้อัตราร้อยละ 5.29 ของวงเงินกู้ที่โจทก์อนุมัติ เมื่อรวมอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินและค่าดำเนินการอนุมัติเงินกู้ซึ่งเป็นค่าบริการเข้าด้วยกันแล้วจะเป็นอัตราร้อยละ 30.29 เกินกว่าอัตราร้อยละ 28 ต่อปี ที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิเก็บดอกเบี้ย ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมในอัตราดังกล่าว การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยค่าบริการและค่าธรรมเนียมในอัตราดังกล่าวจึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของโจทก์ตกเป็นโมฆะนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น”
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ
( เฉลิมเกียรติ ชาญศิลป์ - บุญรอด ตันประเสริฐ - สนอง เล่าศรีวรกต )