คุณคิดว่า ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ประเภทตลอดชีพ จะหายไปจากประเทศไทย เมื่อไหร่ ?????

ใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคลนั้น แต่เดิมเป็นใบอนุญาตขับรถแบบตลอดชีพ ทั้งรถยนต์ และรถจักรยานยนต์
โดยผู้ที่ขอรับใบอนุญาตขับรถ เมื่อได้รับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการขับรถ
ข้อกฎหมายต่าง ๆ พร้อมกับสอบข้อเขียนและภาคปฏิบัติผ่าน
ในครั้งแรกจะได้รับเป็นใบขับขี่แบบชั่วคราวก่อน ซึ่งมีอายุ 1 ปี
หลังจากนั้นต้องมาต่อใบขับขี่ 1 ปี อีกครั้ง ซึ่งเป็นการทอดเวลาดูว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ที่ขับขี่รถยนต์ได้จริงหรือไม่
หลังจากครบอายุใบขับขี่ใบที่ 2 จึงจะได้รับใบขับขี่ตลอดชีพไป
ซึ่งผู้ที่ได้รับใบขับขี่ตลอดชีพจะไม่ต้องติดต่อราชการเพื่อขอต่ออายุใด ๆ อีก
แต่พบว่าปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนน มีเหตุมาจากประสิทธิภาพของผู้ขับขี่ ที่อาจมีสมรรถภาพร่างกาย
รวมถึงความสามารถในการขับขี่ที่เปลี่ยนไป ทั้งจากอายุที่เพิ่มขึ้น หรือปัจจัยอื่น ๆ
ทำให้ ขบ.ปรับการออกใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคลใหม่
โดยยกเลิกใบขับขี่ตลอดชีพไปเมื่อปี 2546 เปลี่ยนเป็นใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล 5 ปีแทน
เพื่อบังคับให้ผู้ขับขี่ต้องกลับเข้าระบบการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
ว่ายังมีความพร้อมในการขับรถหรือไม่ ในทุก ๆ 5 ปี เป็นการรับรองคุณภาพของผู้ขับขี่บนท้องถนนให้มีมากขึ้น“

http://www.dailynews.co.th/bangkok/236829

จากบทความข้างต้น นั่นหมายความว่า เมื่อปี พ.ศ.2546 คนที่อายุ 20 ปีในขณะนั้น สามารถเริ่มทำได้
เมื่อหักลบอายุกับปี พ.ศ. นั่นหมายความว่า คนเกิดปี พ.ศ.2525-2526 น่าจะเป็นรุ่นสุดท้ายที่สามารถทำใบขับขี่ตลอดชีพได้
เมื่อนำค่าเฉลี่ยอายุของคนไทย ที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ประมาณ 70 ปี
พ.ศ. 2526 + 70 = พ.ศ. 2596
ผมปัดเป็นเลขกลม ๆ คือ พ.ศ. 2600

นั่นหมายความว่า อีก 40 กว่าปี ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ประเภทตลอดฃีพ จะหายจากไปจากประเทศไทย

แต่กว่าจะไปถึงปี พ.ศ. 2600 ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ประเภทตลอดฃีพ อาจจะรีเทิร์น กลับมาก็เป็นได้ ????

ปล. แก้ไขข้อมูล ตามคำแนะนำของผู้ตอบกระทู้  ขอบคุณมากครับ
* จำเป็นต้องตอบ
1. คุณคิดว่า ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ประเภทตลอดฃีพ จะหายไปจากประเทศไทยปี พ.ศ.2600 หรือไม่ ??? *
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่