มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมกับ กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น จัดแถลงข่าว “โครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับบทบาทการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน” โดยสามารถเข้าร่วม โครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับบทบาทการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ และรายได้ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน ในครั้งต่อไป ทางผู้จัดคาดหวังเป้าหมาย 10 รุ่นๆ ละ 100 ท่าน เริ่มรุ่นแรก 23-26 มิ.ย. 2558 ณ สถานที่ในส่วนกลาง กทม. และศูนย์การเรียนรู้ ฝึกอบรม ออร์แกนิคแลนด์
ประธานกลุ่มออแกนิคแลนด์ เผยที่มาของทำไมต้อง เกษตรอินทรีย์อย่างน่าสนใจ? โดยรูทปกติ การปลูกพืช โดยเฉพาะ พืชอาหาร คือ กินใช้ แปรรูป แล้วก็ส่งออก เกษตรปลูกอะไรมา ทางไปคือแบบนี้ และถัดจากนั้น ในปีหน้า 31 ธ.ค. 58 เราเข้าเออีซี คนทั้งประเทศ เกษตรกรถูกบังคับแข่ง ทั้งที่ไม่อยากแข่งขัน แต่วันนี้บ้านเราเป็นอย่างไร พื้นที่บ้านเราแพงกว่า แรงงานเราสามร้อย เขายังไม่ถึงร้อย แต่เราผลิตสินค้าเหมือนกัน ต้นทุนสู้เขาไม่ได้ จึงต้องเป็นเกษตรอินทรีย์ เปลี่ยนฐานการผลิตไปหากลุ่มลูกค้าใหม่ ซึ่งความแตกต่าง ข้อดี ถ้าบอกว่าไปทำออร์แกนิค ต้องมองอย่างคนที่เข้าใจความเป็นออร์แกนิค รักมัน มองในมุมไหน คนทาน หรือ คนทำ หรือจะมองในมุมตลาด ผมพูดย้อนกลับ มองในมุมตลาด อเมริกา ยุโรป มีความต้องการสินค้าออร์แกนิคเพิ่มขึ้นทุกปี และเมื่อเทียบกับราคาปกติคือสี่ถึงห้าเท่า ถ้ารัฐมองอย่างเข้าใจ แล้วชิฟเกษตรกรส่วนหนึ่ง เราก็จะมีเกษตรกรกลุ่มหนึ่งที่มีรายได้ อยู่อย่างสบายๆ เหมือนในเกษตรกรในประเทศใหญ่ๆ ของโลก ยกตังอย่างสินค้าเกษตรอินทรีย์ ข้าวหนึ่งเกวียน สีเป็นข้าวสารหกร้อยกิโล ขายได้เจ็ดถึงแปดพันบาท แต่ถ้าเป็นเกษตรอินทรีย์ หรือไรซ์เบอร์รี่ เกวียนได้เกือบแสน แถมสีแล้วยังมีรำไปทำน้ำมันได้เพิ่มด้วย เกษตรกร ต้องเสียอะไรเพิ่มใหม่ เปลี่ยนวิถีชีวิตอะไรหรือไม่? ไม่ มีแค่สองคำ ต้องเข้าใจและยอมรับ ตอนนี้มันคือNeed ของตลาดโลก โลกพูดเรื่องสุขภาพ คือเรื่องออร์แกนิค ขณะที่ประเทศไทย นำเข้าวัตถุดิบที่เป็นพิษ มากที่สุดอันดับ 2 ของโลก สอดคล้องกับองค์กรอนามัยโลก ที่ระบุว่าเราเป็นอันดับ 5 ที่มีผู้ป่วยมะเร็งสูงที่สุด ฉะนั้นทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน ภาคใหญ่ต้องสนับสนุน ให้ทำเยอะๆ ออร์แกนิค มีที่ยืนแน่นอน คนไทยตามเก่ง แต่ไม่ชอบคิด ถ้านำให้ดี คนตามเยอะ
ชวนอบรมโครงการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทยฯ
ประธานกลุ่มออแกนิคแลนด์ เผยที่มาของทำไมต้อง เกษตรอินทรีย์อย่างน่าสนใจ? โดยรูทปกติ การปลูกพืช โดยเฉพาะ พืชอาหาร คือ กินใช้ แปรรูป แล้วก็ส่งออก เกษตรปลูกอะไรมา ทางไปคือแบบนี้ และถัดจากนั้น ในปีหน้า 31 ธ.ค. 58 เราเข้าเออีซี คนทั้งประเทศ เกษตรกรถูกบังคับแข่ง ทั้งที่ไม่อยากแข่งขัน แต่วันนี้บ้านเราเป็นอย่างไร พื้นที่บ้านเราแพงกว่า แรงงานเราสามร้อย เขายังไม่ถึงร้อย แต่เราผลิตสินค้าเหมือนกัน ต้นทุนสู้เขาไม่ได้ จึงต้องเป็นเกษตรอินทรีย์ เปลี่ยนฐานการผลิตไปหากลุ่มลูกค้าใหม่ ซึ่งความแตกต่าง ข้อดี ถ้าบอกว่าไปทำออร์แกนิค ต้องมองอย่างคนที่เข้าใจความเป็นออร์แกนิค รักมัน มองในมุมไหน คนทาน หรือ คนทำ หรือจะมองในมุมตลาด ผมพูดย้อนกลับ มองในมุมตลาด อเมริกา ยุโรป มีความต้องการสินค้าออร์แกนิคเพิ่มขึ้นทุกปี และเมื่อเทียบกับราคาปกติคือสี่ถึงห้าเท่า ถ้ารัฐมองอย่างเข้าใจ แล้วชิฟเกษตรกรส่วนหนึ่ง เราก็จะมีเกษตรกรกลุ่มหนึ่งที่มีรายได้ อยู่อย่างสบายๆ เหมือนในเกษตรกรในประเทศใหญ่ๆ ของโลก ยกตังอย่างสินค้าเกษตรอินทรีย์ ข้าวหนึ่งเกวียน สีเป็นข้าวสารหกร้อยกิโล ขายได้เจ็ดถึงแปดพันบาท แต่ถ้าเป็นเกษตรอินทรีย์ หรือไรซ์เบอร์รี่ เกวียนได้เกือบแสน แถมสีแล้วยังมีรำไปทำน้ำมันได้เพิ่มด้วย เกษตรกร ต้องเสียอะไรเพิ่มใหม่ เปลี่ยนวิถีชีวิตอะไรหรือไม่? ไม่ มีแค่สองคำ ต้องเข้าใจและยอมรับ ตอนนี้มันคือNeed ของตลาดโลก โลกพูดเรื่องสุขภาพ คือเรื่องออร์แกนิค ขณะที่ประเทศไทย นำเข้าวัตถุดิบที่เป็นพิษ มากที่สุดอันดับ 2 ของโลก สอดคล้องกับองค์กรอนามัยโลก ที่ระบุว่าเราเป็นอันดับ 5 ที่มีผู้ป่วยมะเร็งสูงที่สุด ฉะนั้นทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน ภาคใหญ่ต้องสนับสนุน ให้ทำเยอะๆ ออร์แกนิค มีที่ยืนแน่นอน คนไทยตามเก่ง แต่ไม่ชอบคิด ถ้านำให้ดี คนตามเยอะ