เรื่องภาษาในพระพุทธศาสนานั้น
ต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ว่าหมายความอย่างไร
แม้ว่าจะเขียนเป็นภาษาไทยเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา
แต่หลายๆคำความหมายจะแตกต่างจากที่รู้และใช้กันอยู่
อย่างเช่น คำว่า วาสนา
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
วาสนา [วาดสะหฺนา] น. บุญบารมี, กุศลที่ทําให้ได้รับลาภยศ, เช่น เด็กคนนี้ มีวาสนาดี เกิดในกองเงินกองทอง, มักใช้เข้าคู่กับคำ บุญ หรือ บารมี เป็น บุญวาสนา หรือ วาสนาบารมี เช่น เป็นบุญวาสนาของเขา เขาเป็นคนมีวาสนาบารมีมาก. (ป., ส.).
แต่ในทางพุทธศาสนา วาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
วาสนา อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็ว หรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น
จะเห็นว่าหากนำมาใช้ผิด ก็จะทำให้ไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิดไปได้
อีกคำที่เข้าใจผิดได้ง่าย คือ มานะ (ลองค้นหาเปรียบเทียบดูนะครับ)
มาดูคำว่าดับทุกข์ คนทั่วใจมักเข้าใจว่า ดับทุกข์ที่เกิดขึ้นมาแล้ว โดยวิธีต่างๆ
จริงๆแล้วทุกข์ที่เกิดมาแล้ว หากไม่ทำอะไร ทุกข์ย่อมดับเองอยู่แล้ว
หากใครศึกษาเรื่องจิต
จะทราบว่าจิตเกิดได้เพียงครั้งละ 1 ดวงเท่านั้น
เราจะรับรู้สิ่งต่างๆจริงๆได้เพียงครั้งละ 1 อย่างเท่านั้น
รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จะรับรู้ได้เพียงครั้งละอย่างเดียวเท่านั้น
บางคนอาจจะแย้งว่า ทำไมเราถึงเห็นพร้อมกับได้ยินเสียงและได้กลิ่น...พร้อมๆกัน
นั่นเป็นเพราะว่าจิตเกิดดับเร็วมากจนกระทั่งเหมือนเกิดขึ้นพร้อมกัน
เหมือนภาพยนตร์เป็นเพียงภาพนิ่งหลายๆภาพเรียงต่อกัน
เมื่อทำให้เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วก็จะเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้
เคยเห็นคนเหม่อลอยหรือไม่ คนนั้นจะไม่เห็น หรือ ได้ยินเสียง
นั่นเป็นเพราะจิตกำลังคิดอยู่ จิตที่กำลังคิดเกิดดับต่อเนื่องกัน
จนจิตที่จะเห็น หรือ ได้ยินเสียงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะกำลังไม่พอ
แม้จะมีเสียง หรือ ภาพอยู่ต่อหน้า ก็จะไม่ได้ยิน และไม่เห็น
ดังนั้นทุกข์ทีเกิดขึ้นนั้นที่ยังมีทุกข์อยู่ที่ยังรู้ว่าทุกข์อยู่นั้น
เป็นเพราะเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ยังมีอยู่
และเกิดดับเกิดดับอยู่อย่างต่อเนื่อง
หากเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์นั้นดับ
ทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นให้รับรู้ได้
นั่นคือไม่ทุกข์นั่นเอง
การดับทุกข์ จึงไม่ใช่การดับทุกข์ที่เกิดขึ้นมาแล้ว
แต่คือการดับเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
พระพุทธเจ้าตรัสสอน อริยสัจ 4
1.ทุกข์
2.สมุทัย เหตุของการเกิดทุกข์
3.นิโรธ ความดับทุกข์ คือ ดับสาเหตุของการเกิดทุกข์
4.มรรค แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์
ที่สุดของพุทธศาสนาคือการดับเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์อย่างถาวร
นั่นคือดับเหตุของการเกิดทุกข์อย่างสิ้นเชิง
สภาวะที่ดับเหตุของการเกิดทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง
เป็นสภาวะที่บัญญัติไว้ว่า นิพพาน
เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ แท้จริงแล้วอยู่ที่จิตเรานี่เอง
หาใช่สิ่งภายนอกไม่ สิ่งภายนอกเป็นเพียงแค่ปัจจัยเท่านั้น
สิ่งภายนอกเป็นวิบากกรรมที่เราต้องเจอ
เป็นวิบากที่เกิดจากกรรมที่เราเคยทำไว้
เมื่อวิบากกรรมเกิดขึ้นไม่ว่าดีหรือเลวก็ตาม
ก็จะเกิดความสุขหรือความทุกข์
จิตที่ฝึกดีแล้วจะไม่ยึดติดในความสุขหรือความทุกข์นั้น
ไม่กระทำกรรมอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
จิตที่ไม่ได้ฝึกจะยึดติดในความสุขหรือความทุกข์
เกิดเป็นความพอใจหรือไม่พอใจ
แล้วกระทำกรรมอันเป็นเหตุที่จะทำให้เกิดทุกข์ต่อไป
การที่ปุถุชนไม่มีทุกข์ในขณะใดขณะหนึ่ง
จะบอกว่าตนเองไม่ยึดมั่นถือมั่นไม่มีเราไม่มีตัวเรานั้น
ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย เพราะไม่มีสติที่จะรู้ตัวในขณะนั้น
จิตยังมีความหลงอยู่ แม้จะไม่มีโลภะ หรือ โทสะ เกิดขึ้น
ที่สำคัญคือ ณ ขณะจิตที่เกิด หากไม่ได้ฝึกปฏิบัติจนชำนาญแล้ว
สติย่อมไม่มีทางรู้ทันจิตที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
การที่หลงไปว่าตนเองได้นิพพานที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนนั้น
แม้เพียงชั่วคราว ก็ไม่อยู่ในฐานะที่เป็นไปได้
ดับทุกข์ ดับสาเหตุของการเกิดทุกข์
ต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ว่าหมายความอย่างไร
แม้ว่าจะเขียนเป็นภาษาไทยเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา
แต่หลายๆคำความหมายจะแตกต่างจากที่รู้และใช้กันอยู่
อย่างเช่น คำว่า วาสนา
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
วาสนา [วาดสะหฺนา] น. บุญบารมี, กุศลที่ทําให้ได้รับลาภยศ, เช่น เด็กคนนี้ มีวาสนาดี เกิดในกองเงินกองทอง, มักใช้เข้าคู่กับคำ บุญ หรือ บารมี เป็น บุญวาสนา หรือ วาสนาบารมี เช่น เป็นบุญวาสนาของเขา เขาเป็นคนมีวาสนาบารมีมาก. (ป., ส.).
แต่ในทางพุทธศาสนา วาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
วาสนา อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็ว หรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น
จะเห็นว่าหากนำมาใช้ผิด ก็จะทำให้ไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิดไปได้
อีกคำที่เข้าใจผิดได้ง่าย คือ มานะ (ลองค้นหาเปรียบเทียบดูนะครับ)
มาดูคำว่าดับทุกข์ คนทั่วใจมักเข้าใจว่า ดับทุกข์ที่เกิดขึ้นมาแล้ว โดยวิธีต่างๆ
จริงๆแล้วทุกข์ที่เกิดมาแล้ว หากไม่ทำอะไร ทุกข์ย่อมดับเองอยู่แล้ว
หากใครศึกษาเรื่องจิต
จะทราบว่าจิตเกิดได้เพียงครั้งละ 1 ดวงเท่านั้น
เราจะรับรู้สิ่งต่างๆจริงๆได้เพียงครั้งละ 1 อย่างเท่านั้น
รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จะรับรู้ได้เพียงครั้งละอย่างเดียวเท่านั้น
บางคนอาจจะแย้งว่า ทำไมเราถึงเห็นพร้อมกับได้ยินเสียงและได้กลิ่น...พร้อมๆกัน
นั่นเป็นเพราะว่าจิตเกิดดับเร็วมากจนกระทั่งเหมือนเกิดขึ้นพร้อมกัน
เหมือนภาพยนตร์เป็นเพียงภาพนิ่งหลายๆภาพเรียงต่อกัน
เมื่อทำให้เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วก็จะเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้
เคยเห็นคนเหม่อลอยหรือไม่ คนนั้นจะไม่เห็น หรือ ได้ยินเสียง
นั่นเป็นเพราะจิตกำลังคิดอยู่ จิตที่กำลังคิดเกิดดับต่อเนื่องกัน
จนจิตที่จะเห็น หรือ ได้ยินเสียงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะกำลังไม่พอ
แม้จะมีเสียง หรือ ภาพอยู่ต่อหน้า ก็จะไม่ได้ยิน และไม่เห็น
ดังนั้นทุกข์ทีเกิดขึ้นนั้นที่ยังมีทุกข์อยู่ที่ยังรู้ว่าทุกข์อยู่นั้น
เป็นเพราะเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ยังมีอยู่
และเกิดดับเกิดดับอยู่อย่างต่อเนื่อง
หากเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์นั้นดับ
ทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นให้รับรู้ได้
นั่นคือไม่ทุกข์นั่นเอง
การดับทุกข์ จึงไม่ใช่การดับทุกข์ที่เกิดขึ้นมาแล้ว
แต่คือการดับเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
พระพุทธเจ้าตรัสสอน อริยสัจ 4
1.ทุกข์
2.สมุทัย เหตุของการเกิดทุกข์
3.นิโรธ ความดับทุกข์ คือ ดับสาเหตุของการเกิดทุกข์
4.มรรค แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์
ที่สุดของพุทธศาสนาคือการดับเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์อย่างถาวร
นั่นคือดับเหตุของการเกิดทุกข์อย่างสิ้นเชิง
สภาวะที่ดับเหตุของการเกิดทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง
เป็นสภาวะที่บัญญัติไว้ว่า นิพพาน
เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ แท้จริงแล้วอยู่ที่จิตเรานี่เอง
หาใช่สิ่งภายนอกไม่ สิ่งภายนอกเป็นเพียงแค่ปัจจัยเท่านั้น
สิ่งภายนอกเป็นวิบากกรรมที่เราต้องเจอ
เป็นวิบากที่เกิดจากกรรมที่เราเคยทำไว้
เมื่อวิบากกรรมเกิดขึ้นไม่ว่าดีหรือเลวก็ตาม
ก็จะเกิดความสุขหรือความทุกข์
จิตที่ฝึกดีแล้วจะไม่ยึดติดในความสุขหรือความทุกข์นั้น
ไม่กระทำกรรมอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
จิตที่ไม่ได้ฝึกจะยึดติดในความสุขหรือความทุกข์
เกิดเป็นความพอใจหรือไม่พอใจ
แล้วกระทำกรรมอันเป็นเหตุที่จะทำให้เกิดทุกข์ต่อไป
การที่ปุถุชนไม่มีทุกข์ในขณะใดขณะหนึ่ง
จะบอกว่าตนเองไม่ยึดมั่นถือมั่นไม่มีเราไม่มีตัวเรานั้น
ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย เพราะไม่มีสติที่จะรู้ตัวในขณะนั้น
จิตยังมีความหลงอยู่ แม้จะไม่มีโลภะ หรือ โทสะ เกิดขึ้น
ที่สำคัญคือ ณ ขณะจิตที่เกิด หากไม่ได้ฝึกปฏิบัติจนชำนาญแล้ว
สติย่อมไม่มีทางรู้ทันจิตที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
การที่หลงไปว่าตนเองได้นิพพานที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนนั้น
แม้เพียงชั่วคราว ก็ไม่อยู่ในฐานะที่เป็นไปได้