ธนาคารกรุงไทย ทำอย่างนี้มันโกง หรือ ด้านไปหรือเปล่า

ธนาคารกรุงไทย ออกหนังสือค้ำประกัน ให้กับ บลจ. ที่บริหารกองทุน สมุยบุรี (SBPF) และ กองทุน ทรีตินี้ (TNPF) เป็นการประกันรายได้ให้กับผู้เช่าที่รับบริหารทรัพย์สินของกองทุนดังกล่าว    ปรากฏว่า ผู้เช่า/รับจ้างบริหาร ไม่สามารถจ่ายค่าเช่าได้ตามจำนวนที่ค้ำประกัน    บลจ. เรียกเงินตามหนังสือค้ำประกันจากธนาคารกรุงไทย   แต่ธนาคารกรุงไทยไม่ยอมจ่ายเงินให้กับ บลจ. อ้างว่าคนที่ให้ออกหนังสือค้ำประกันไม่ยินยอมให้จ่าย มันมีแล้วนี้ด้วยหรือ เป็นธนาคารขนาดใหญ่ระดับประเทศ เบี้ยวกันเฉยเลย
คุณจะมาอ้างว่า ผู้ขอให้อออกหนังสือค้ำประกันไม่ยอมให้จ่าย ได้อย่างไร คุณเป็นคนออกหนังสือค้ำประกันคุณก็ต้องจ่ายให้กับ บลจ.เขาซิ แล้วคุณก็ไปไล่เบี้ยเอากับคนที่ให้คุณออกหนังสือค้ำประกัน นี้เบี้ยวเฉยเลย แบบนี้จะมีหนังสือค้ำประกันของธนาคารไว้ทำไหมเมื่อต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ขอให้ออกก่อน
พอดีอ่านข่าว กสทช กำลังจะบังคับตามหนังสือค้ำประกัน ช่องของเจ้ติ๋ม ทีวีพูล จะรอดูว่าธนาคารที่ออกหนังสือค้ำประกันจะอ้างเหมือน ธนาคารกรุงไทยหรือเปล่า ที่ต้องให้ เจ้ติ๋ม ยินยอม ถึงจะจ่าย
เซ็งจริง ๆ เงินปันผลของทั้งสองกองก็จ่ายไม่ไดซักที่ ขอผู้รู้กฏหมายแสดงความเห็นด้วย เห็นว่าทั้งสองกองกำลังประชุมผู้ถือหน่วยกรณีนี้
ขออภัยยาวหน่อยนะครับ แต่อยากให้เป็นอทาหรณ์ ผู้ลงทุนอย่าได้วางใจ กองทุนที่มีประกันรายได้ อาจจะเรียกเงินไม่ได้ก็ได้ กลต/ตลาด ก็ไม่เห็นทำอะไรได้
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
http://www.kasikornbank.com/th/corporate/credit/creditguarantee/pages/kletterofindemnity.aspx

บริการของ kbank ระบุไว้ชัดเจนว่า  หากลูกค้าผิดนัดชำระหนี้ ผู้รับหนังสือค้ำประกันสามารถเรียกร้องให้ธนาคารชำระหนี้ได้แทน ธนาคารในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้ให้ทันทีที่มีการเรียกร้องตามหลักฐานการค้างชำระที่แจ้งเรียกร้องมา และธนาคารจะไปไล่เบี้ยเอาเงินคืนจากลูกค้าต่อไป

เงื่อนไขเดียวคือ หนังสือค้ำประกันการค้างชำระหนี้อะไร หากผิดนัดตามสัญญาที่ค้ำประกันการค้างชำระหนี้เรื่องนั้นและมีหลักฐานการค้างชำระตามสัญญานั้นอย่างชัดเจน
ก็สามารถเรียกร้องให้ธนาคารชำระได้ทันที

ไม่ใช่ต้องไปขอความยินยอมจากลูกค้าหรือลูกหนี้ก่อนว่าต้องยอมรับว่าผิดสัญญา หรือให้ลูกหนี้ไปอ้างเรื่องอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาประธานที่ค้ำประกันที่ระบุหนี้ที่ค้างชำระไว้ว่าเป็นหนี้ค้างชำระอะไร ธนาคารจึงจ่ายได้ทันที ไม่ใช่ว่าหากลูกค้าหรือลูกหนี้ไม่ยินยอมให้ธนาคารชำระหนี้แม้จะมีหลักฐานชัดเจนว่าผิดสัญญาค้างชำระจริง ธนาคารก็ไล่ให้เจ้าหนี้ให้ไปตกลงกันกับลูกหนี้ให้ลงตัวพร้อมใจกันก่อน หากตกลงไม่ได้ก็ให้ให้ไปฟ้องร้องก่อนครับ

แบบนี้น่าจะไม่ใช่สัญญาค้ำประกันที่เราเข้าใจกัน

ในอนาคตหากเป็นแบบนี้ ต่อไปการออกกองทุนที่มีธนาคารค้ำประกันรายได้เห็นทีจะมีความยากลำบากในการออกมากขึ้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่