คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ผมจะขออธิบาย 2 เรื่องนะครับ คือเรื่องระบบรับภาพของตา และเรื่องการกำเนิดสีของวัตถุ
ระบบรับภาพของดวงตาเรา จะเริ่มที่ส่วน Retina ซึ่งเป็นบริเวณที่มี Cells รับแสง Cell นี้แบ่งได้เป็นสองชนิด
ตามลักษณะรูปร่างของมัน คือ Cell รูปแท่ง (Rod Cell) มีประมาณ 125 ล้าน Cells Rod cell นี้ไวต่อการรับแสงสว่าง
แม้ในที่มีแสงสว่างน้อยก็รับได้ แต่ไม่สามารถแยกความแตกต่างของสีได้
อีก Cell หนึ่งคือ Cell รูปกรวย (Cone Cell) มีประมาณ 7 ล้าน Cells Cone cell นี้สามารถแยกความแตกต่างของสีต่าง ๆ ได้
แต่มันต้องการแสงสว่างมากสักหน่อยจึงจะบอกสีของวัตถุได้ดีครับ Rod Cell และ Cone Cell จะเชื่อมต่อกับ Bipolar Neuron
และส่งต่อไปยังเส้นประสาทคู่ที่ 2 เพื่อส่งไปยังส่วนสมองส่วน Cerebrum แปลผลต่อไปครับ
แสงสี (Light) กับ สีวัตถุ (Color) นั้นต่างกันครับ
แสงสีต่าง ๆ (Light) นั้นคือ photon ที่ออกมาจากแหล่งกำเนิดหลายประเภท
มีทั้งแบบหลายย่านความถี่ หรือ ความถี่เดียว โดยย่านความถี่แสงนั้น
จะบ่งบอกถึง "สี" ของแสงนั้นครับ การแยกความถี่ของแสง
เป็นไปตาม Spectrum ของแสงตามภาพนี้ครับ แสงความถี่สูง (ความยาวคลื่นน้อย)
ก็คือย่านสีไปทางน้ำเงิน ส่วนความถี่ต่ำ (ความยาวคลื่นมาก) ก็ออกไปทางแดง
ส่วน "สีของวัตถุธรรมชาติ" นั้นมาจากคุณสมบัติ 3 อย่างของวัตถุธรรมชาติครับ คือ
- Reflect or scatter light (การสะท้อน + กระเจิง)
- Absorb light (การดูดกลืน)
- Refract light (การหักเห)
ทั้ง 3 อย่างนี้ แล้วแต่ว่าวัตถุนั้นจะมีคุณสมบัติอะไรมากกว่ากัน
และมีอิทธิพลต่อแสงในย่านความถี่ใดมากกว่า นั่นคือ มันจะแสดงสีนั้น ๆ ออกมาครับ
ตัวอย่างที่ 1
มะเขือเทศมีสีแดงเพราะอะไร ?
เพราะว่ามะเขือเทศมีสาร Lycopene จำนวนมาก ซึ่ง Lycopene นี้
มีคุณสมบัติ absorb แสงในเกือบทุกย่าน ยกเว้นย่านสีแดง
และ reflect ย่านสีแดงออกมา ดังนั้นตามนุษย์จึงมองเห็นมะเขือเทศเป็นสีแดงครับ
โดยหากเราวางมะเขือเทศใว้กลางแดด แสงแดดที่มีแสงสีครบทุกย่านจะตกกระทบมะเขือเทศ
และมันก็จะ "แสดง" เฉพาะสีแดงออกมาตามที่อธิบายไปครับ
ตัวอย่างที่ 2
แครอทมีสีออกเหลือง ๆ แดง ๆ เพราะว่า carotene ที่มีอยู่ในแครอท นั้น
มีคุณสมบัติดูดกลืนแสงย่านสีม่วง-น้ำเงิน และช่วงแสงสีเขียว (450 - 550 นาโนเมตร)
ทำให้แสงอาทิตย์ซึ่งมีครบทุก spectrum นั้น ถูกดูดกลินไปในช่วงดังกล่าวครับ
จึงเหลือเพียงแสงย่านสีเหลือง-แดง ที่ reflect ออกมาสู่ตาเราได้ครับ
ภาพแสดงดัชนีการ Absorb แสงของแคโรทีน
ตัวอย่างที่ 3
พืชมีสีเขียว เพราะในพืชจะมี chlorophyll เป็นส่วนประกอบหลัก
ซึ่ง chlorophyll นั้นมีการ absorb แสงย่านสีม่วง-น้ำเงิน และ แดง
แต่เว้นย่านสีเขียวที่ไม่ absorb ดังนั้น chlorophyll จึงปล่อยเฉพาะ
แสงย่านสีเขียวให้ reflect เข้าตาเราได้ครับ
ระบบรับภาพของดวงตาเรา จะเริ่มที่ส่วน Retina ซึ่งเป็นบริเวณที่มี Cells รับแสง Cell นี้แบ่งได้เป็นสองชนิด
ตามลักษณะรูปร่างของมัน คือ Cell รูปแท่ง (Rod Cell) มีประมาณ 125 ล้าน Cells Rod cell นี้ไวต่อการรับแสงสว่าง
แม้ในที่มีแสงสว่างน้อยก็รับได้ แต่ไม่สามารถแยกความแตกต่างของสีได้
อีก Cell หนึ่งคือ Cell รูปกรวย (Cone Cell) มีประมาณ 7 ล้าน Cells Cone cell นี้สามารถแยกความแตกต่างของสีต่าง ๆ ได้
แต่มันต้องการแสงสว่างมากสักหน่อยจึงจะบอกสีของวัตถุได้ดีครับ Rod Cell และ Cone Cell จะเชื่อมต่อกับ Bipolar Neuron
และส่งต่อไปยังเส้นประสาทคู่ที่ 2 เพื่อส่งไปยังส่วนสมองส่วน Cerebrum แปลผลต่อไปครับ
แสงสี (Light) กับ สีวัตถุ (Color) นั้นต่างกันครับ
แสงสีต่าง ๆ (Light) นั้นคือ photon ที่ออกมาจากแหล่งกำเนิดหลายประเภท
มีทั้งแบบหลายย่านความถี่ หรือ ความถี่เดียว โดยย่านความถี่แสงนั้น
จะบ่งบอกถึง "สี" ของแสงนั้นครับ การแยกความถี่ของแสง
เป็นไปตาม Spectrum ของแสงตามภาพนี้ครับ แสงความถี่สูง (ความยาวคลื่นน้อย)
ก็คือย่านสีไปทางน้ำเงิน ส่วนความถี่ต่ำ (ความยาวคลื่นมาก) ก็ออกไปทางแดง
ส่วน "สีของวัตถุธรรมชาติ" นั้นมาจากคุณสมบัติ 3 อย่างของวัตถุธรรมชาติครับ คือ
- Reflect or scatter light (การสะท้อน + กระเจิง)
- Absorb light (การดูดกลืน)
- Refract light (การหักเห)
ทั้ง 3 อย่างนี้ แล้วแต่ว่าวัตถุนั้นจะมีคุณสมบัติอะไรมากกว่ากัน
และมีอิทธิพลต่อแสงในย่านความถี่ใดมากกว่า นั่นคือ มันจะแสดงสีนั้น ๆ ออกมาครับ
ตัวอย่างที่ 1
มะเขือเทศมีสีแดงเพราะอะไร ?
เพราะว่ามะเขือเทศมีสาร Lycopene จำนวนมาก ซึ่ง Lycopene นี้
มีคุณสมบัติ absorb แสงในเกือบทุกย่าน ยกเว้นย่านสีแดง
และ reflect ย่านสีแดงออกมา ดังนั้นตามนุษย์จึงมองเห็นมะเขือเทศเป็นสีแดงครับ
โดยหากเราวางมะเขือเทศใว้กลางแดด แสงแดดที่มีแสงสีครบทุกย่านจะตกกระทบมะเขือเทศ
และมันก็จะ "แสดง" เฉพาะสีแดงออกมาตามที่อธิบายไปครับ
ตัวอย่างที่ 2
แครอทมีสีออกเหลือง ๆ แดง ๆ เพราะว่า carotene ที่มีอยู่ในแครอท นั้น
มีคุณสมบัติดูดกลืนแสงย่านสีม่วง-น้ำเงิน และช่วงแสงสีเขียว (450 - 550 นาโนเมตร)
ทำให้แสงอาทิตย์ซึ่งมีครบทุก spectrum นั้น ถูกดูดกลินไปในช่วงดังกล่าวครับ
จึงเหลือเพียงแสงย่านสีเหลือง-แดง ที่ reflect ออกมาสู่ตาเราได้ครับ
ภาพแสดงดัชนีการ Absorb แสงของแคโรทีน
ตัวอย่างที่ 3
พืชมีสีเขียว เพราะในพืชจะมี chlorophyll เป็นส่วนประกอบหลัก
ซึ่ง chlorophyll นั้นมีการ absorb แสงย่านสีม่วง-น้ำเงิน และ แดง
แต่เว้นย่านสีเขียวที่ไม่ absorb ดังนั้น chlorophyll จึงปล่อยเฉพาะ
แสงย่านสีเขียวให้ reflect เข้าตาเราได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
เรามองเห็นสีได้ยังไง
กระทบวัตถุเเล้วเข้าสู่ตาเราแต่ไม่เข้าใจว่าเห็นสีได้ไง
ขอบคุณค่ะ