แบบบ้านน้อยพึ่งพาตนเองไว้กางปีกโบยบินจากเมือง

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คิดถึงบ้าน ไม้เมือง///Byวัช



Ecocapsules บ้านขนาดเล็กที่มีอิสระอย่างแท้จริง
ขนาดตัวบ้าน 14 x 7 x 7 ฟุตหรือ 686 ลูกบาศก์ฟุต
รูปทรงไข่สวยงามใช้พลังงานจากสายลมแสงแดด
มีน้ำกินน้ำใช้ที่เก็บกักจากน้ำฝน/น้ำค้างบนฟ้า
สามารถนำไปใช้งานตามสถานที่ต่าง ๆ ได้โดยง่าย
เช่น ชายหาด ภูเขา ทุ่งนา ป่าไม้ หรือบนอาคาร
สามารถลากจูง/ขนย้ายด้วยรถยนต์ เรือ เครื่องบิน
ในยามจำเป็น/ฉุกเฉินในบ้านยังมี
พลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่สำรอง
Ecocapsule’s 9700 Watt-hour

ออกแบบโดยกลุ่ม Bratislava-based Nice Architects
คำขวัญประจำกลุ่ม " หลงใหลแบบมีตรรกะ Love and Logic "
จากแนวคิดว่าการออกแบบบางอย่างแม้ดูน่าหลงใหลชื่นชม
แต่ไม่สามารถนำมาผลิตใช้งานในชีวิตประจำวันได้จริง
ทางกลุ่มเชื่อว่า บ้านน้อยหลังนี้จะทำให้คน
อยู่ได้โดยไม่รู้สึกว่าแออัด/อีดอัดมากกว่าหนึ่งปี

บ้านแต่ละหลังจะมีอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้า
จากแสงอาทิตย์และกังหันลม
เก็บกักพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินไว้ในแบตเตอรี่
น้ำจากน้ำฝน/น้ำค้างที่ผ่านการกรองฆ่าเชื้อโรคแล้ว
ก่อนไหลลงในถังเก็บน้ำด้านล่าง
แล้วค่อยป้มน้ำขึ้นมาสำหรับใช้งานประจำวัน

ภายในบ้านน้อยมีห้องครัวขนาดเล็ก
ห้องน้ำแบบชักโครกติดตั้งไว้ภายในบ้าน
แทนที่ต้องไปใช้ห้องส้วมตามป่าเขาแบบสมัยก่อน
(หรือเรียกว่าไปทุ่งหรือไปยิงกระต่าย)
ข้อสำคัญคือ มีที่อาบน้ำอุ่น/น้ำเย็นภายในบ้าน
ที่ใช้น้ำจากถังเก็บน้ำฝนที่มีเครื่องป้มน้ำขึ้นมาใช้งาน
ผนังใช้ฉนวนกันความร้อนเพื่อรักษาอุณหภูมิภายในให้เหมาะสม

Ecocapsule เหมาะสมกับทุกถิ่นทุกสถานที่
สถานีงานวิจัยอิสระ หรือ บ้านพักนักท่องเที่ยวที่ต้องการบ้านเคลื่อนที่
บ้านพักพักผิง หรือบ้านปฏิบัติการเพื่อมนุษยธรรม
นั่นคือถ้อยคำของกลุ่มนักออกแบบ

จะเปิดให้มีการจองในปลายปี  2015
และส่งมอบได้ช่วงต้นครึ่งปี  2016
แต่ยังไม่ได้กำหนดราคาสินค้าแต่อย่างใด
แต่ถ้าผู้สั่งซื้ออยู่นอกประเทศ Slovakia
ก็เตรียมรับมือกับค่าใช้จ่ายในการขนส่ง

ข้อดีก็คือ ต้นทุนระยะยาวจะต่ำมาก
ถ้าต้องการอยู่แบบร่อนเร่พเนจร/
กางปีกโบยบินจากเมือง
หลีกหนีจากเมืองที่แสนวุ่นวาย
และไม่ต้องจ่ายค่าน้ำค่าไฟฟ้าอีกต่อไป

จะมีการแสดงแบบตัวอย่างใน
ช่วงวันที่  28-29 พฤษภาคม ปีนี้
ที่  Pioneers festival ใน Vienna
โครงงานตัวอย่างที่  http://pioneers.io/festival2015/



ในปี 2016 คนเราจะไม่ต้องอยู่อย่างแออัดต่อไปด้วย Ecocapsules



Ecocapsule ใช้พลังงานจากลมและแสงแดด และมีที่เก็บน้ำฝน/น้ำค้าง



ภายในนอนพักได้ 2 คน และมีพื้นที่ว่างภายใน 8 ตารางเมตร



ห้องครัวแบบ built-in  ห้องส้วมแบบชักโครก  มีฝักบัวอาบน้ำอุ่น/น้ำเย็น ใช้น้ำจากถังพักน้ำด้านล่างที่ป้มน้ำขึ้นมา



บ้านน้อยหลังนี้ขนย้ายไปวางไว้ได้ทุกหนทุกแห่ง ในกรณีเร่งด่วนและจำเป็น



Ecocapsules ขนย้ายกับเรือบรรทุกหรือรถบรรทุกหรือเครื่องบิน  (สามารถบรรทุกในตู้คอนเทนเนอร์ได้)



ขนาดตู้คอนเทนเนอร์มีหลายขนาด   ขนาดตัวบ้าน Ecocapsules 14 x 7 x 7 ฟุต



ที่มาของภาพ http://goo.gl/Ex2zO6

ผนังภายนอกภายในใช้วัสดุที่ช่วยประหยัดพลังงานมากที่สุดและช่วยอำนวยความสะดวกสบาย



บ้านน้อยหลังนี้เหมาะสมกับสถานีวิจัย บ้านพักฉุกเฉิน และบ้านปฏิบัติการเพื่อมนุษยธรรม



มีคนอีกมากมายที่สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับบ้านหลังนี้ได้



พลังไฟฟ้าสำรองจากแบตเตอรี่ Ecocapsule’s 9700 Watt-hour



พลังงานจากสายลม แสงแดด และที่เก็บน้ำฝน/น้ำค้าง



กลุ่มผู้ออกแบบบ้านน้อยหลังนี้





เรียบเรียง/ที่มา
http://goo.gl/eJHFNo
http://goo.gl/kAzzDG
http://goo.gl/8IwioL
http://goo.gl/Ii20h1


หมายเหตุ

รูปทรง" โดยโครงสร้างของเปลือกไข่เป็นโครงสร้างที่พิเศษมาก
เราเรียกโครงสร้างแบบนี้ว่า โดมเชปรูฟ (Dome shaped roofs)
หรือโครงสร้างหลังคาโค้งซึ่งช่วยกระจายน้ำหนักของวัตถุลงสู่พื้น
ไม่มีจุดใดจุดหนึ่งของเปลือกไข่ที่รับน้ำหนักของสิ่งที่กดทับโดยตรง
ทำให้ไข่ 1 ฟองสามารถรับน้ำหนักได้มากเลยทีเดียว
ซึ่งมนุษย์ได้มีการลอกเลียนแบบโครงสร้างเปลือกไข่
ในการก่อสร้างอาคารรูปโดมขนาดใหญ่ โดยจะเห็นว่าอาคารเหล่านี้
เช่น สนามกีฬา โบสถ์บางแห่ง หรือท้องฟ้าจำลองของไทย
จะไม่มีเสาบังสายตาเลย เพราะอาคารเหล่านี้ใด้กระจายน้ำหนัก
มาตามส่วนโค้งของหลังคาหรืออาจเรียกได้ว่า
โดมเป็นหลังคาอาคารที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก [1-4]
แต่โครงสร้างนี้อ่อนแอมาก หากถูกแรงกระทำจากภายใน
ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกไก่หรือลูกสัตว์ชนิดอื่น (ที่ออกลูกเป็นไข่)
สามารถออกจากเปลือกไข่ได้นั่นเอง

Credit/ที่มา  https://goo.gl/FNmKjL

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ISCi : episode 41 - ไข่รับน้ำหนัก




http://ppantip.com/topic/33499060  ที่พักอาศัยแบบใหม่ของผู้ลี้ภัยสงคราม



แบบบ้านนี้ยังอยู่ระหว่างการตัดเย็บและพัฒนา
ถ้ามีความคืบหน้าเธอจะแจ้งมาอีกครั้ง
(ขออนุญาตเธอเพื่อเผยแพร่แล้วครับ)



http://ppantip.com/topic/33530570  สร้างโรงเรียนจากขวดน้ำดื่มพลาสติค

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่