เมื่อวานได้มีโอกาสไปอบรมธรรมะเพื่อการดูแลผู้ป่วยที่ วปอ.มาค่ะ
ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบคุณและกล่าวอนุโมทนากับผู้จัดงานทุกท่านที่ได้จัดการอบรมดี ๆ ที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ในสถานที่ที่กว้างขวาง สะอาด และสะดวก สบาย อาหาร ของว่างพร้อมเสร็จสรรพ
ที่สำคัญ เนื้อหาการอบรมมีประโยชน์มาก ๆ โดย พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน ผู้เป็นวิทยากร ท่านเป็นลูกศิษย์ ของหลวงพ่อ คำเขียน ซึ่งสอนการปฏิบัติธรรมและเจริญสติในแนวทางของ หลวงพ่อ เทียน และ คุณเกื้อจิต แขรัมย์ พยาบาล ได้ให้แง่คิด แบ่งปันประสบการณ์ที่น่าสนใจหลายอย่าง ที่นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วย ยังเป็นการดูแลจิตใจผู้ดูแลผู้ป่วย และ เรียนรู้ที่จะอาศัยความเจ็บป่วยเป็นเครื่องมือให้เห็น และเข้าใจถึงความไม่เที่ยงของสังขารได้แจ่มแจ้งขึ้น
ไม่ใช่เป็นการเรียนรู้ด้วยความหดหู่หรือหม่นหมอง แต่เป็นการเรียนรู้ที่จะจดจ่อ ซาบซึ้ง และมีความสุขกับปัจจุบันขณะได้
มีความรู้สึกที่อิ่มเอิบ เป็นมิตรกับทุกสิ่งรอบตัว ผลที่ได้คือ ความกระสับกระส่าย ทุรนทุราย ดิ้นรนทั้งกายและใจก็จะค่อย ๆ ระงับลง รู้จักหาความสุขจากสิ่งง่าย ๆ เช่น การทำความรู้สึกตัว การหายใจ การขยับมือ ได้ดีขึ้น
ความสุข สงบ ถ้าเรารู้จักมองมันดี ๆ ก็ไม่ใช่ของหายาก ราคาแพงเลย
ดิฉันเอง เข้าร่วมการอบรมธรรมะเพื่อการเยียวยาผู้ป่วย ครั้งนี้เป็นครั้งที่สอง ไม่เคยรู้สึกเบื่อหน่ายเลย กลับพบแง่คิดใหม่ ๆ ให้ได้เรียนรู้เสมอ จึงขอนำมาแบ่งปัน ณ ที่นี้ด้วย
พระอาจารย์ ครรชิต ท่านเปิดการอบรม ด้วยคำพูดโดนใจค่ะ ท่านบอกว่า “คนเรามักมองธรรมะเป็นเรื่องไกลตัว” เรามักมองว่า คนเรายังอีกนานกว่าจะตาย แต่จากประสบการณ์ที่ท่านบวชมา ๑๙ ปี สวดงานศพมานับครั้งไม่ถ้วน ท่านกลับแทบไม่พบใครที่อยู่ถึงร้อยปีเลย
คำว่า “ธรรมะ” ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะคนที่เข้าวัดเท่านั้น แต่ธรรมะ สามารถมีได้ใน คนที่อยู่อย่างเข้าใจธรรมชาติ ไม่ปล่อยใจให้เตลิดเพลิดเพลินกับสิ่งต่าง ๆ ทั้งอารมณ์ โลภ โกรธ หลง หรือ อดีตที่ผ่านไปแล้ว อนาคตที่ยังมาไม่ถึง
พระอาจารย์ท่านเล่าว่า เคยได้มีโอกาสคุยกับ อากง ท่านหนึ่ง ที่เสียชีวิตเมื่ออายุ ๑๐๕ ปี ถึงเคล็บลับการมีอายุยืนยาวอย่างเป็นธรรมชาติและอย่างมีคุณภาพของอากง พระท่านบอกว่า อากง สรุปสั้น ๆ แบบคนมีธรรมะในจิตใจให้เป็นภาษาง่าย ๆ เลยว่า
“อดีตจบไปแล้ว อนาคตยังมาไม่ถึง ทำวันนี้ให้ดีที่สุด มีอะไรดี ๆ ก็แบ่งปันกันไป”
ฟังดูเหมือนเป็นคำพูดง่าย ๆ หลาย ๆ คนอาจบอกด้วยซ้ำว่า เป็น สามัญสำนึก หรือ Common Sense แต่เชื่อดิฉันเถิดค่ะว่า
Common sense is not so common นะคะ
เอาล่ะค่ะ ดิฉัน ขอเลือกที่จะเชื่อฟังอากง และขอแชร์ “อะไรดี ๆ “ หรือ ข้อคิดที่ได้จากการสรุปการสัมมนาครั้งนี้เป็นข้อ ๆ ดังนี้ค่ะ
การดูแลผู้ป่วยควรทำอย่างไร ?
-
พยายามให้ผู้ป่วยระลึกถึงแต่เรื่องดีงาม --- พระอาจารย์ครรชิตท่านบอกว่า ควรหมั่นนำจิตใจผู้ป่วยไปอยู่ใน “ฝ่ายกุศล” ให้ระลึกถึงความดี ความสำเร็จ ความรับผิดชอบที่ผู้ป่วยได้ทำ พูดแต่เรื่องดี ๆ หรือ อาจจะชวนผู้ป่วยสวดมนต์
พี่เกื้อจิต ได้เล่าว่า พยายามให้ผู้ป่วยระลึกถึงความดีงามที่ตัวเองทำบ่อย ๆ เพื่อเป็นร่องเป็นรอยให้กับฝ่ายกุศลนั้น ๆ ได้ผนึกแน่นในใจอันจะทำให้ผู้ป่วยได้ไปสู่สุคติ (พูดถึงเรื่อง การสร้างร่องรอย ของความคิดที่ดีงาม ในสมองของคนแล้ว นึกถึงเรื่องการสัมมนาเรื่อง NLP สำหรับนักลงทุน ที่ดิฉันเพิ่งไปเข้ามาเมื่อวันเสาร์เลยค่ะ น่าสนใจที่ว่า ศาสตร์ต่างสายกันมาลงรอยกันได้อย่างลงตัว โดย NLP บอกว่า สมองของเรามีนิวรอนจำนวนมากมายที่ยึดโยงกันเป็นใยเครือข่ายมหึมาในสมองของเรา เมื่อเรานึกถึงเรื่องใด เครือข่ายความคิดนั้น ๆ ก็จะผนึกแนบแน่นและเป็นร่องลึกในสมองเรามากขึ้นๆ เรื่อย ๆ คิดลบก็เป็นลบ คิดบวก ชีวิตก็เป็นบวก)
มีเพื่อนพยาบาลของพี่เกื้อคนหนึ่ง ป่วยหนักเป็นมะเร็ง เธอกังวล และนอนไม่หลับ ไม่กระทั่งจะหลับตานอน
พอพี่เกื้อถามเธอว่า ทำไมไม่นอน เธอตอบว่า สมัยก่อน เธอชอบทานหอยจุ๊บมาก และการจะปรุงหอยให้อร่อย เธอมักจะแช่หอยในน้ำ และละลายพริกลงไปในกาละมังด้วย เพื่อให้หอยจุ๊บแสบตัวและคายดินออกมาจนหมด เมื่อเธอหลับตาเมื่อไร ภาพพวกนี้มันจะตามมาหลอกหลอนจนเธอนอนหลับไม่ได้อยู่ตลอด
พี่เกื้อจึงได้ถามเธอว่า ตอนเธอเป็นพยาบาลน่ะ ได้เคยดูแลคนไข้อย่างดี เช็ดอุจจาระ ปัสสาวะให้คนไข้ไหม เคยอดตาหลับขับตานอน มาวัดไข้ ป้อนยาให้คนไข้จนหายป่วยดีไหม ? เมื่อเห็นเพื่อนพยักหน้าเบา ๆ พี่เกื้อจึงสำทับกับเพื่อนว่า “ให้นึกเรื่องพวกนี้ นึกถึงความดีงามที่ตัวเองทำ จะได้ไม่วนเวียนเอาความคิดอกุศล อดีตที่เคยทำผิดมาทำร้ายตัวเอง”
-
สัมผัสผู้ป่วยด้วยความรัก ความเมตตา ปรารถนาดี อาจจะค่อย ๆ เอามือทาบไปที่หน้าผากผู้ป่วยวางฝ่ามือไว้ตรงกระหม่อม แล้วค่อย ๆ ใช้นิ้วโป้งลูบจากแนวหว่างคิ้วจนถึงไรผมตรงกระหม่อม ลงน้ำหนักมือเบา ๆ อย่างอ่อนโยน หรือ อาจจะนวด บีบ เบา ๆ ไปตามแขน และขา ลงน้ำหนักให้เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย
พระอาจารย์ท่านเล่าว่า มีกรณี ของผู้ป่วยที่เป็นเจ้าชายนิทรา นอนนิ่ง ไม่รู้สึกตัวอยู่เป็นเดือน หลังจากญาติค่อย ๆ บีบ ค่อย ๆ นวด ตามเนื้อตามตัว พูดคุยราวกับผู้ป่วยยังมีสติสัมปชัญญะ ผู้ป่วยก็ค่อย ๆ ฟื้นขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์
การสัมผัส การกอด มีพลังเยียวยาอันยิ่งใหญ่ ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกว่า ตนเองไม่ถูกทอดทิ้ง และได้รับความอบอุ่นกาย อบอุ่นใจจากกระแสความปรารถนาดีที่ผู้ดูแลส่งมาให้
เรื่องมหัศจรรย์แห่งการกอดนี้ ได้รับการยืนยันจาก ผู้เข้าร่วมสัมมนาท่านหนึ่ง เธอชื่อ พี่หยก พี่หยกเป็นพยาบาลจากตะกั่วป่า พังงา เธอเคยเป็นผู้หญิงที่สวยมากมาก่อน ปัจจุบัน เธอป่วยเป็นมะเร็งตับมาประมาณแปดปีแล้ว ตาเหลือง เนื้อตัวคล้ำจากการเข้ารับการบำบัดด้วยคีโมมาหลายครั้ง แต่เธอยังมีกำลังใจอย่างเต็มเปี่ยม และถือคติว่า จะทำทุกวันให้ดีที่สุด และปล่อยวางกับผลลัพธ์ จากที่คุณหมอเคยบอกว่า เธอจะอยู่ได้ไม่กี่เดือน แต่ชีวิตเธอจากวันนั้นจนถึงวันนี้ ก็ยืดต่อมาอีกแปดปีกว่าแล้ว
เธอเล่าว่า สมัยก่อน เธอก็ไม่เคยคิดว่า การกอดมันจะมหัศจรรย์ถึงเพียงนี้ แต่เมื่อเธอมาป่วยด้วยมะเร็ง หลายครั้งเธอรู้สึกอ่อนแอ และได้รับการกอดที่อบอุ่นจากเพื่อน เธอยืนยันว่า ทุกครั้งที่เพื่อนกอด มันเหมือนมีพลังแล่นเข้ามาในร่างกาย เธอเล่าติดตลกว่า วันไหน ที่รู้สึกแย่ ๆ ก็จะขับรถไปหาเพื่อนแล้วบอกว่า “พวกเธอมากอดชั้นหน่อย”
แน่นอนค่ะว่า อ้อมกอดจากเพื่อนที่รักและปรารถนาดีต่อพี่หยก ทำให้เธอยืนหยัดต่อสู้มาได้จนถึงทุกวันนี้
-
พยายามให้ผู้ป่วยอยู่กับ “ปัจจุบันขณะ” ทั้งพระอาจารย์ และ พี่เกื้อจิต เล่าให้ฟังว่า ผู้ป่วยหลายราย พอทราบว่า เป็นมะเร็ง ก็มักจะกังวลไปก่อน และตั้งคำถามถึงอนาคตอย่างหวาดกลัว เช่น “อยู่ได้อีกกี่เดือน” “จะตายไหมเนี่ย” “ลูกจะอยู่ยังไง” ความทุกข์ ความกังวลนี้เองที่ทำให้สภาพร่างกายผู้ป่วยแย่ลง การที่ผู้ป่วย จมจ่อมอยู่กับความกังวลเศร้าหมองของตัวเอง ยังทำให้ผู้ดูแล คนใกล้ชิด เช่น ลูก สามี หรือ ภรรยา ญาติ มิตร พลอยทุกข์ใจไปด้วย ลงท้าย เราจึงมักเห็น คนป่วยหนึ่งคน ทำให้คนรอบข้างอีกหลายคน เป็นทุกข์ไปด้วย
ทีนี้ บรรยากาศแห่งความหม่นเศร้าก็จะแผ่คลุมไปทั้งครอบครัว ให้พยายามตัดความกังวลของผู้ป่วยออกไปค่ะ ถ้าผู้ป่วยห่วงสมบัติ ก็พยายามแนะให้ปล่อยวาง ถ้าห่วงลูก ก็ชี้ให้เห็นว่า ลูกดูแลตัวเองได้ มีเด็กอีกหลายคน เป็นเด็กกำพร้าเสียด้วยซ้ำ ยังสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้
อันนี้ แล้วแต่เทคนิคของแต่ละท่านนะคะ ว่าจะพูด จะปฏิบัติกับผู้ป่วยอย่างไร เพื่อทำให้ผู้ป่วยปล่อยวาง และจดจ่อกับปัจจุบันขณะ
-
ให้ “สังเกต” ความต้องการของผู้ป่วย --- พระอาจารย์ ครรชิต เล่าว่า ตอนที่หลวงพ่อคำเขียน ท่านป่วยหนัก จนบางครั้งก็พูดได้ไม่ถนัดนัก พระอาจารย์ท่านนึกในใจแต่ยังไม่ทันพูดออกไปตอนที่ปรนนิบัติหลวงพ่อว่า “หลวงพ่อครับ ถ้ามีอะไรที่จะให้รับใช้หลวงพ่อบอกได้เลยนะครับ ไม่ต้องเกรงใจ”
แต่หลวงพ่อดักคอ ออกมาด้วยการเล่าว่า “ตอนที่แม่อาตมาป่วย อาตมาก็อยากจะบอกแม่เหมือนกันว่า มีอะไรให้ผมรับใช้แม่บอกได้เลย แม่ผมตอบมาสั้น ๆ ว่า ให้สังเกตเอา”
มีหลายเหตุผลที่ผู้ป่วยไม่บอกความต้องการของตนเอง
อาจจะรู้สึกเกรงใจ
อาจจะรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระ หรือ ไร้ความสามารถที่จะทำอะไรง่าย ๆ ที่เคยทำได้
อาจจะป่วย หรือ เจ็บไปหมดทั้งตัว จนไม่รู้ว่า ตนเองต้องการอะไรกันแน่ ท้ายที่สุดได้แต่ครวญครางว่า “อยากตาย อยากตาย”
มีตัวอย่างที่งดงามของการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายของท่านแม่ชีศันสนีย์ ที่พระอาจารย์เอามาฉายให้ดูด้วยค่ะ
ท่านแม่ชีได้ไปดูแลผู้ป่วยชื่อ บัว ซึ่งเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย หมอที่ญี่ปุ่นบอกว่า จะต้องตายภายในสองเดือน
คุณบัวเธอมีความป่วยกาย ป่วยใจ และปมเคียดแค้นในใจมากมาย (จะได้เล่าต่อไปในกรณีศึกษานะคะ) จนทำให้เมื่อวันแรก ๆ ที่ท่านแม่ชีไปเยี่ยม เธอได้แต่ร้องเรียกหาความตายด้วยความทุรนทุราย กระสับกระส่าย
ความทุกข์มหาศาล ทำให้เธอเอาแต่ผูกจิตของเธอไว้กับอารมณ์ความเจ็บป่วยทางกาย และความเจ็บแค้นทางใจ ซึ่งมากเสียจน เธอเองก็บอกความต้องการของเธอไม่ถูก
ท่านแม่ชีค่อย ๆ สังเกตว่า คุณบัวไม่สบายตรงไหน เมื่อเห็นริมฝีปากเธอแห้งผาก ท่านจึงค่อย ๆ เอาสำลีชุบน้ำสะอาดลูบไปที่ริมฝีปากเธอเบา ๆ ให้ชุ่มชื้นและสบายขึ้น เมื่อเห็นเธอเจ็บปวด ท่านแม่ชี ค่อย ๆ เอามือวางทาบตรงกระหม่อมเธอ แล้วค่อย ๆ ใช้นิ้วหัวแม่โป้ง ลูบจากหว่างคิ้ว ผ่านไรผม ขึ้นไปที่กลางกระหม่อม ค่อย ๆ ทำซ้ำ ๆ หลายครั้ง จนอาการดิ้นทุรนทุรายของคุณบัวเธอดีขึ้น สิบวันผ่านไป คุณบัวเธอเล่าให้ท่านแม่ชีฟังว่า เธอทำสถิติใหม่ของการใช้ยาแก้ปวดลดลงไปเรื่อย ๆ จากที่เคยต้องเติมทุก ๒ ชั่วโมง มาเป็นไม่ใช้ยาแก้ปวดเลยเป็นเวลากว่าสิบชั่วโมง เธอเจ็บทรมานแค่ที่กาย แต่ใจเธอไม่ทุรนทุรายไปด้วย
เล่าเรื่องการอบรมธรรมะเพื่อการดูแลผู้ป่วย (24 พฤษภาคม 2558)
ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบคุณและกล่าวอนุโมทนากับผู้จัดงานทุกท่านที่ได้จัดการอบรมดี ๆ ที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ในสถานที่ที่กว้างขวาง สะอาด และสะดวก สบาย อาหาร ของว่างพร้อมเสร็จสรรพ
ที่สำคัญ เนื้อหาการอบรมมีประโยชน์มาก ๆ โดย พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน ผู้เป็นวิทยากร ท่านเป็นลูกศิษย์ ของหลวงพ่อ คำเขียน ซึ่งสอนการปฏิบัติธรรมและเจริญสติในแนวทางของ หลวงพ่อ เทียน และ คุณเกื้อจิต แขรัมย์ พยาบาล ได้ให้แง่คิด แบ่งปันประสบการณ์ที่น่าสนใจหลายอย่าง ที่นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วย ยังเป็นการดูแลจิตใจผู้ดูแลผู้ป่วย และ เรียนรู้ที่จะอาศัยความเจ็บป่วยเป็นเครื่องมือให้เห็น และเข้าใจถึงความไม่เที่ยงของสังขารได้แจ่มแจ้งขึ้น
ไม่ใช่เป็นการเรียนรู้ด้วยความหดหู่หรือหม่นหมอง แต่เป็นการเรียนรู้ที่จะจดจ่อ ซาบซึ้ง และมีความสุขกับปัจจุบันขณะได้
มีความรู้สึกที่อิ่มเอิบ เป็นมิตรกับทุกสิ่งรอบตัว ผลที่ได้คือ ความกระสับกระส่าย ทุรนทุราย ดิ้นรนทั้งกายและใจก็จะค่อย ๆ ระงับลง รู้จักหาความสุขจากสิ่งง่าย ๆ เช่น การทำความรู้สึกตัว การหายใจ การขยับมือ ได้ดีขึ้น
ความสุข สงบ ถ้าเรารู้จักมองมันดี ๆ ก็ไม่ใช่ของหายาก ราคาแพงเลย
ดิฉันเอง เข้าร่วมการอบรมธรรมะเพื่อการเยียวยาผู้ป่วย ครั้งนี้เป็นครั้งที่สอง ไม่เคยรู้สึกเบื่อหน่ายเลย กลับพบแง่คิดใหม่ ๆ ให้ได้เรียนรู้เสมอ จึงขอนำมาแบ่งปัน ณ ที่นี้ด้วย
พระอาจารย์ ครรชิต ท่านเปิดการอบรม ด้วยคำพูดโดนใจค่ะ ท่านบอกว่า “คนเรามักมองธรรมะเป็นเรื่องไกลตัว” เรามักมองว่า คนเรายังอีกนานกว่าจะตาย แต่จากประสบการณ์ที่ท่านบวชมา ๑๙ ปี สวดงานศพมานับครั้งไม่ถ้วน ท่านกลับแทบไม่พบใครที่อยู่ถึงร้อยปีเลย
คำว่า “ธรรมะ” ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะคนที่เข้าวัดเท่านั้น แต่ธรรมะ สามารถมีได้ใน คนที่อยู่อย่างเข้าใจธรรมชาติ ไม่ปล่อยใจให้เตลิดเพลิดเพลินกับสิ่งต่าง ๆ ทั้งอารมณ์ โลภ โกรธ หลง หรือ อดีตที่ผ่านไปแล้ว อนาคตที่ยังมาไม่ถึง
พระอาจารย์ท่านเล่าว่า เคยได้มีโอกาสคุยกับ อากง ท่านหนึ่ง ที่เสียชีวิตเมื่ออายุ ๑๐๕ ปี ถึงเคล็บลับการมีอายุยืนยาวอย่างเป็นธรรมชาติและอย่างมีคุณภาพของอากง พระท่านบอกว่า อากง สรุปสั้น ๆ แบบคนมีธรรมะในจิตใจให้เป็นภาษาง่าย ๆ เลยว่า
“อดีตจบไปแล้ว อนาคตยังมาไม่ถึง ทำวันนี้ให้ดีที่สุด มีอะไรดี ๆ ก็แบ่งปันกันไป”
ฟังดูเหมือนเป็นคำพูดง่าย ๆ หลาย ๆ คนอาจบอกด้วยซ้ำว่า เป็น สามัญสำนึก หรือ Common Sense แต่เชื่อดิฉันเถิดค่ะว่า
Common sense is not so common นะคะ
เอาล่ะค่ะ ดิฉัน ขอเลือกที่จะเชื่อฟังอากง และขอแชร์ “อะไรดี ๆ “ หรือ ข้อคิดที่ได้จากการสรุปการสัมมนาครั้งนี้เป็นข้อ ๆ ดังนี้ค่ะ
การดูแลผู้ป่วยควรทำอย่างไร ?
- พยายามให้ผู้ป่วยระลึกถึงแต่เรื่องดีงาม --- พระอาจารย์ครรชิตท่านบอกว่า ควรหมั่นนำจิตใจผู้ป่วยไปอยู่ใน “ฝ่ายกุศล” ให้ระลึกถึงความดี ความสำเร็จ ความรับผิดชอบที่ผู้ป่วยได้ทำ พูดแต่เรื่องดี ๆ หรือ อาจจะชวนผู้ป่วยสวดมนต์
พี่เกื้อจิต ได้เล่าว่า พยายามให้ผู้ป่วยระลึกถึงความดีงามที่ตัวเองทำบ่อย ๆ เพื่อเป็นร่องเป็นรอยให้กับฝ่ายกุศลนั้น ๆ ได้ผนึกแน่นในใจอันจะทำให้ผู้ป่วยได้ไปสู่สุคติ (พูดถึงเรื่อง การสร้างร่องรอย ของความคิดที่ดีงาม ในสมองของคนแล้ว นึกถึงเรื่องการสัมมนาเรื่อง NLP สำหรับนักลงทุน ที่ดิฉันเพิ่งไปเข้ามาเมื่อวันเสาร์เลยค่ะ น่าสนใจที่ว่า ศาสตร์ต่างสายกันมาลงรอยกันได้อย่างลงตัว โดย NLP บอกว่า สมองของเรามีนิวรอนจำนวนมากมายที่ยึดโยงกันเป็นใยเครือข่ายมหึมาในสมองของเรา เมื่อเรานึกถึงเรื่องใด เครือข่ายความคิดนั้น ๆ ก็จะผนึกแนบแน่นและเป็นร่องลึกในสมองเรามากขึ้นๆ เรื่อย ๆ คิดลบก็เป็นลบ คิดบวก ชีวิตก็เป็นบวก)
มีเพื่อนพยาบาลของพี่เกื้อคนหนึ่ง ป่วยหนักเป็นมะเร็ง เธอกังวล และนอนไม่หลับ ไม่กระทั่งจะหลับตานอน
พอพี่เกื้อถามเธอว่า ทำไมไม่นอน เธอตอบว่า สมัยก่อน เธอชอบทานหอยจุ๊บมาก และการจะปรุงหอยให้อร่อย เธอมักจะแช่หอยในน้ำ และละลายพริกลงไปในกาละมังด้วย เพื่อให้หอยจุ๊บแสบตัวและคายดินออกมาจนหมด เมื่อเธอหลับตาเมื่อไร ภาพพวกนี้มันจะตามมาหลอกหลอนจนเธอนอนหลับไม่ได้อยู่ตลอด
พี่เกื้อจึงได้ถามเธอว่า ตอนเธอเป็นพยาบาลน่ะ ได้เคยดูแลคนไข้อย่างดี เช็ดอุจจาระ ปัสสาวะให้คนไข้ไหม เคยอดตาหลับขับตานอน มาวัดไข้ ป้อนยาให้คนไข้จนหายป่วยดีไหม ? เมื่อเห็นเพื่อนพยักหน้าเบา ๆ พี่เกื้อจึงสำทับกับเพื่อนว่า “ให้นึกเรื่องพวกนี้ นึกถึงความดีงามที่ตัวเองทำ จะได้ไม่วนเวียนเอาความคิดอกุศล อดีตที่เคยทำผิดมาทำร้ายตัวเอง”
- สัมผัสผู้ป่วยด้วยความรัก ความเมตตา ปรารถนาดี อาจจะค่อย ๆ เอามือทาบไปที่หน้าผากผู้ป่วยวางฝ่ามือไว้ตรงกระหม่อม แล้วค่อย ๆ ใช้นิ้วโป้งลูบจากแนวหว่างคิ้วจนถึงไรผมตรงกระหม่อม ลงน้ำหนักมือเบา ๆ อย่างอ่อนโยน หรือ อาจจะนวด บีบ เบา ๆ ไปตามแขน และขา ลงน้ำหนักให้เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย
พระอาจารย์ท่านเล่าว่า มีกรณี ของผู้ป่วยที่เป็นเจ้าชายนิทรา นอนนิ่ง ไม่รู้สึกตัวอยู่เป็นเดือน หลังจากญาติค่อย ๆ บีบ ค่อย ๆ นวด ตามเนื้อตามตัว พูดคุยราวกับผู้ป่วยยังมีสติสัมปชัญญะ ผู้ป่วยก็ค่อย ๆ ฟื้นขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์
การสัมผัส การกอด มีพลังเยียวยาอันยิ่งใหญ่ ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกว่า ตนเองไม่ถูกทอดทิ้ง และได้รับความอบอุ่นกาย อบอุ่นใจจากกระแสความปรารถนาดีที่ผู้ดูแลส่งมาให้
เรื่องมหัศจรรย์แห่งการกอดนี้ ได้รับการยืนยันจาก ผู้เข้าร่วมสัมมนาท่านหนึ่ง เธอชื่อ พี่หยก พี่หยกเป็นพยาบาลจากตะกั่วป่า พังงา เธอเคยเป็นผู้หญิงที่สวยมากมาก่อน ปัจจุบัน เธอป่วยเป็นมะเร็งตับมาประมาณแปดปีแล้ว ตาเหลือง เนื้อตัวคล้ำจากการเข้ารับการบำบัดด้วยคีโมมาหลายครั้ง แต่เธอยังมีกำลังใจอย่างเต็มเปี่ยม และถือคติว่า จะทำทุกวันให้ดีที่สุด และปล่อยวางกับผลลัพธ์ จากที่คุณหมอเคยบอกว่า เธอจะอยู่ได้ไม่กี่เดือน แต่ชีวิตเธอจากวันนั้นจนถึงวันนี้ ก็ยืดต่อมาอีกแปดปีกว่าแล้ว
เธอเล่าว่า สมัยก่อน เธอก็ไม่เคยคิดว่า การกอดมันจะมหัศจรรย์ถึงเพียงนี้ แต่เมื่อเธอมาป่วยด้วยมะเร็ง หลายครั้งเธอรู้สึกอ่อนแอ และได้รับการกอดที่อบอุ่นจากเพื่อน เธอยืนยันว่า ทุกครั้งที่เพื่อนกอด มันเหมือนมีพลังแล่นเข้ามาในร่างกาย เธอเล่าติดตลกว่า วันไหน ที่รู้สึกแย่ ๆ ก็จะขับรถไปหาเพื่อนแล้วบอกว่า “พวกเธอมากอดชั้นหน่อย”
แน่นอนค่ะว่า อ้อมกอดจากเพื่อนที่รักและปรารถนาดีต่อพี่หยก ทำให้เธอยืนหยัดต่อสู้มาได้จนถึงทุกวันนี้
- พยายามให้ผู้ป่วยอยู่กับ “ปัจจุบันขณะ” ทั้งพระอาจารย์ และ พี่เกื้อจิต เล่าให้ฟังว่า ผู้ป่วยหลายราย พอทราบว่า เป็นมะเร็ง ก็มักจะกังวลไปก่อน และตั้งคำถามถึงอนาคตอย่างหวาดกลัว เช่น “อยู่ได้อีกกี่เดือน” “จะตายไหมเนี่ย” “ลูกจะอยู่ยังไง” ความทุกข์ ความกังวลนี้เองที่ทำให้สภาพร่างกายผู้ป่วยแย่ลง การที่ผู้ป่วย จมจ่อมอยู่กับความกังวลเศร้าหมองของตัวเอง ยังทำให้ผู้ดูแล คนใกล้ชิด เช่น ลูก สามี หรือ ภรรยา ญาติ มิตร พลอยทุกข์ใจไปด้วย ลงท้าย เราจึงมักเห็น คนป่วยหนึ่งคน ทำให้คนรอบข้างอีกหลายคน เป็นทุกข์ไปด้วย
ทีนี้ บรรยากาศแห่งความหม่นเศร้าก็จะแผ่คลุมไปทั้งครอบครัว ให้พยายามตัดความกังวลของผู้ป่วยออกไปค่ะ ถ้าผู้ป่วยห่วงสมบัติ ก็พยายามแนะให้ปล่อยวาง ถ้าห่วงลูก ก็ชี้ให้เห็นว่า ลูกดูแลตัวเองได้ มีเด็กอีกหลายคน เป็นเด็กกำพร้าเสียด้วยซ้ำ ยังสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้
อันนี้ แล้วแต่เทคนิคของแต่ละท่านนะคะ ว่าจะพูด จะปฏิบัติกับผู้ป่วยอย่างไร เพื่อทำให้ผู้ป่วยปล่อยวาง และจดจ่อกับปัจจุบันขณะ
- ให้ “สังเกต” ความต้องการของผู้ป่วย --- พระอาจารย์ ครรชิต เล่าว่า ตอนที่หลวงพ่อคำเขียน ท่านป่วยหนัก จนบางครั้งก็พูดได้ไม่ถนัดนัก พระอาจารย์ท่านนึกในใจแต่ยังไม่ทันพูดออกไปตอนที่ปรนนิบัติหลวงพ่อว่า “หลวงพ่อครับ ถ้ามีอะไรที่จะให้รับใช้หลวงพ่อบอกได้เลยนะครับ ไม่ต้องเกรงใจ”
แต่หลวงพ่อดักคอ ออกมาด้วยการเล่าว่า “ตอนที่แม่อาตมาป่วย อาตมาก็อยากจะบอกแม่เหมือนกันว่า มีอะไรให้ผมรับใช้แม่บอกได้เลย แม่ผมตอบมาสั้น ๆ ว่า ให้สังเกตเอา”
มีหลายเหตุผลที่ผู้ป่วยไม่บอกความต้องการของตนเอง
อาจจะรู้สึกเกรงใจ
อาจจะรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระ หรือ ไร้ความสามารถที่จะทำอะไรง่าย ๆ ที่เคยทำได้
อาจจะป่วย หรือ เจ็บไปหมดทั้งตัว จนไม่รู้ว่า ตนเองต้องการอะไรกันแน่ ท้ายที่สุดได้แต่ครวญครางว่า “อยากตาย อยากตาย”
มีตัวอย่างที่งดงามของการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายของท่านแม่ชีศันสนีย์ ที่พระอาจารย์เอามาฉายให้ดูด้วยค่ะ
ท่านแม่ชีได้ไปดูแลผู้ป่วยชื่อ บัว ซึ่งเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย หมอที่ญี่ปุ่นบอกว่า จะต้องตายภายในสองเดือน
คุณบัวเธอมีความป่วยกาย ป่วยใจ และปมเคียดแค้นในใจมากมาย (จะได้เล่าต่อไปในกรณีศึกษานะคะ) จนทำให้เมื่อวันแรก ๆ ที่ท่านแม่ชีไปเยี่ยม เธอได้แต่ร้องเรียกหาความตายด้วยความทุรนทุราย กระสับกระส่าย
ความทุกข์มหาศาล ทำให้เธอเอาแต่ผูกจิตของเธอไว้กับอารมณ์ความเจ็บป่วยทางกาย และความเจ็บแค้นทางใจ ซึ่งมากเสียจน เธอเองก็บอกความต้องการของเธอไม่ถูก
ท่านแม่ชีค่อย ๆ สังเกตว่า คุณบัวไม่สบายตรงไหน เมื่อเห็นริมฝีปากเธอแห้งผาก ท่านจึงค่อย ๆ เอาสำลีชุบน้ำสะอาดลูบไปที่ริมฝีปากเธอเบา ๆ ให้ชุ่มชื้นและสบายขึ้น เมื่อเห็นเธอเจ็บปวด ท่านแม่ชี ค่อย ๆ เอามือวางทาบตรงกระหม่อมเธอ แล้วค่อย ๆ ใช้นิ้วหัวแม่โป้ง ลูบจากหว่างคิ้ว ผ่านไรผม ขึ้นไปที่กลางกระหม่อม ค่อย ๆ ทำซ้ำ ๆ หลายครั้ง จนอาการดิ้นทุรนทุรายของคุณบัวเธอดีขึ้น สิบวันผ่านไป คุณบัวเธอเล่าให้ท่านแม่ชีฟังว่า เธอทำสถิติใหม่ของการใช้ยาแก้ปวดลดลงไปเรื่อย ๆ จากที่เคยต้องเติมทุก ๒ ชั่วโมง มาเป็นไม่ใช้ยาแก้ปวดเลยเป็นเวลากว่าสิบชั่วโมง เธอเจ็บทรมานแค่ที่กาย แต่ใจเธอไม่ทุรนทุรายไปด้วย