ป่วยหนัก?ป่วยเบา?อันไหนควรไปหาหมอหรือรักษาตัวเองก่อน

กระทู้สนทนา
สวัสดีครับ อมยิ้ม17

ทุกวันนี้คนไทยมีความเชื่อฝังหัวมาอย่างแรงกล้ายิ่งกว่าคำคุณย่าแย้มสอนว่า "เป็นไข้ต้องไปหาหมอ" ไม่ว่าจะไข้สูง ไข้ต่ำ ไข้เล็ก ไข้ใหญ่ รีบไปหาหมอก่อนเถิดเดี๊ยวสิ้นชีวาวาย

(หรอยรูปมาจากเพจ รู้ทันหมอ By Dr.P)


นั่นทำให้ปัญหาสุขภาพของไทยจึงมี"โรงพยาบาลเป็นศูนย์กลาง" มาเถิดพ่อจะปวดหัว อุจจาระไม่ออก อ่อนเพลีย กินไม่ได้ นอนไม่หลับ มาเลยจ้าพี่น้องสองมือล้วงกระเป๋ากำเงิน30บาทตามศรัทธาสองเท้าก้าวเข้ามาตลอด24ชม.ต้อนรับคุณยิ่งกว่า7-11

ผ่างงงงง!!!

คิวที่679นะคะ


เมื่อเกิดเหตุการณ์โรงพยาบาลปลากะป๋องก็ทำให้หลายคนหงุดหงิดยิ่งกว่ารถติดวันจันทร์ หมอเครียด คนไข้ก็เครียด คุณป้าพยาบาลอาวุโสก็เครียดจนหน้ายุ้ย บางคนอัพลงเฟสก่อดราม่าก็ยิ่งทวีความเครียด ครั้นจะกำเงินไปรพ.เอกชนช่วงนี้ก็ดันขายของไม่ดีอีก เมียก็ให้เงินวันละ100 คงต้องก้มหน้าก้มตารอคิวกันไปตามยถากรรม...


เหรอออ!!!!ครับ
คือผมอยากจะบอกว่า หลายๆคนที่มาOPDหรือห้องตรวจคนไข้นอกเนี่ยครับ เกือบครึ่งนี่ไม่มาก็ได้ครับ สามารถรักษาเบื้องต้นดูได้ก่อน หัวเราะ

เอ้า! จริงเหรอ คุณโกหกหรือเปล่า ถ้าลูกผมตายมาคุณรับผิดชอบมั้ย อย่าให้เรื่องนี้ถึงหูพี่flyนะ เศร้า

แหม่...นั่งลงเถิดท่าน ล้อมวงเข้ามา เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟัง(ยืมคุณเชษฐามา555)

1.ไข้ ปัญหาสามัญประจำโรงบาลฯ
- อาการไข้เนี่ย ถ้ามาพร้อมไอ น้ำมูก ส่วนใหญ่ก็ไข้หวัดบ้านๆเนี่ยล่ะครับ กินยาลดไข้ เช็ดตัว พักผ่อนก็หาย ส่วนใหญ่ติดเชื้อไวรัสบ้านๆไม่ต้องกินยาฆ่าเชื้อพวก อม็อกซี่ ออกเม็นติน รูริด อะไรเนี่ยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นครับทำให้ดื้อยาเปล่าๆ(ในเมืองเริ่มเป็นเยอะ แต่ดื้อยาเนี่ยไม่ทำให้เด็กดื้อนะครับ 555) ถ้า3-4วันไม่หายค่อยมาตรวจก็ได้ครับ
แต่ถ้ามีอาการหอบเหนื่อย ตัวเขียว หรือไอเสียงก้องในเด็ก อาจเป็นปอดบวมก็ให้รีบมารพ.ครับ
- ไข้ ไม่มีไอน้ำมูก ไข้เพียวๆเลยไม่ผสมโซดา ที่น่ากลัวคือไข้เลือดออก มาลาเรีย ไข้ฉี่หนู ซึ่งใน24ชม.แรกเจาะเลือดไปมักไม่บอกอะไร(คือผลแลบยังวินิจฉัยไม่ได้) สามารถกินยาลดไข้ พักผ่อนดูก่อนได้ ถ้า2-3วันไม่ดีขึ้นค่อยมารพ.ก็ได้ครับ
ยกเว้น ถ้าไข้สูงมาก หนาวสั่น สติสตังวูบๆเรียกไม่ค่อยตื่น ปากแห้ง ปัสสาวะไม่ออก อาจมีความดันต่ำให้รีบพามารพ.ครับ



2. ท้องเสีย
ส่วนใหญ่มักเป็นแบบเบาๆจิ้บๆ สำคัญคือกินน้ำเกลือแร่เข้าไปทดแทน ถ้าอาหารเป็นพิษวันเดียวก็หายครับ ที่ควรสังเกตุคือ สีอุจจาระ ถ่ายมีมูกมีเลือดปนมั้ย มีพยาธิมั้ย
อาการที่แสดงว่าเป็นหนักควรพบแพทย์คือ ปากแห้ง ลิ้นแห้ง ตาโบ๋ ซึม กินไม่ได้ โดยเฉพาะเด็กเล็ก หรือคนแก่

3. ปัสสาวะแสบขัด
-คุณผู้หญิง ถ้ากลั้นปัสสาวะบ่อยๆ กินน้ำน้อย หรือเจอชักโครกสกปรก มักไม่พ้นติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ(ปัญหาโรคแตกเลยครับ ห้องน้ำกับผู้หญืงเนี่ย555) ต้องสังเกตุตอนปัสสาวะครับ ถ้าแสบขัดไม่สะดวกเหมือนผ่านลูกระนาด ปวดเอว ควรพบแพทย์เพื่อตรวจปัสสาวะดูครับ
- คุณผู้ชาย ถ้ามีประวัติซุกซนตะลุยไม่พกถุง หนอนมีหนองออกมา ไม่พ้นติดเชื้อล่ะครับ หรือ ผู้สูงวัยลำกล้องไม่เดินเครื่อง ออกกระปิดกระปรอย ไม่พุ่งซูซ่าอาจเป็นต่อมลูกหมากโตควรไปพบแพทย์ครับ

4.จุกแน่นหน้าอก/ลิ้นปี่
อันนี้สำคัญมากครับ เพราะแยกกับโรคหัวใจได้ยาก

- โรคกระเพาะ มักปวดแบบจุกปวดแน่นใต้ลิ้นปี่ เรอเปรี้ยว ปวดร้อนขึ้นมากลางอก บางทีเป็นตอนกินข้าวหรือหลังกินข้าว ซึ่งถ้าเป็นคนหนุ่มสาวปวดแบบนี้ลองกินยากระเพาะดูก่อนก็ได้ครับ แต่ถ้าเป็นโรคเบาหวานด้วยอาการปวดแบบนี้ก็เป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้ครับ
- โรคหัวใจขาดเลือดมักมีอาการปวดหน้าอกเหมือนโดนรัด(เขาว่าเหมือนช้างถีบ) ใจสั่น เหงื่อแตกตัวเย็น บางทีปวดร้าวไปต้นแขนซ้าย ปวดมากกกกกก(กว่าโดนแฟนทิ้ง) โดยเฉพาะผู้สูงอายุ คนมีโรคประจำตัว(เบาหวาน/ความดัน/ไขมัน ครบแพ๊กเกจ) และคนสูบบุหรี่(ตัวร้ายเลย)
ซึ่งถ้าเป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว หรือสูบบุหรี่ ยังไงก็ควรตรวจคลื่นหัวใจ(EKG) เพื่อแยกโรคหัวใจขาดเลือด ถ้าแพทย์ไม่ส่งตรวจลองถามดูก็ได้ครับ

ทั้งสี่อย่างนี่มาOPDกว่า80%ล่ะครับ ซึ่งหากไม่เป็นหนักสามารถรักษาตัวเองเบื้องต้นดูก่อนได้ครับ ควรมียาสามัญประจำบ้านติดไว้ สำหรับเด็กยาน้ำควรดูวันหมดอายุ เด็กมีไข้ให้เช็ดตัวก่อน ถ้าไข้ไม่ลงจริงๆค่อยกินยาพารา ยาพาราเด็ก10กิโล กิน1ช้อน กินทุก6ชั่วโมงนะครับ กินถี่เดี๊ยวตับเดี้ยง ยาเด็กควรถามขนาดยาและวิธีกินกับเภสัชกรนะครับ

คือทั้งหมดทั้งปวงนี่สุขภาพเราสามารถ "ป้องกันโรค" ได้นะครับ ฝรั่งเขาเรียกว่า Prevention แค่ไม่กินเหล้า(มาก) ไม่สูบบุหรี่(เลย) ออกกำลังกาย ไม่เล่นพันทิพจนลืมครอบครัว(555) แค่นี้ล่ะครับจะมีเงินล้านสิบล้านอิสระภาพทางการเงิน ปอร์เช่ คอนโดอะไรก็ไม่คุ้มนะครับ "ถ้าร่างกายเราพัง"
ซึ่ง"การป้องกันโรคนี่สำคัญกว่ารักษาโรคนะครับ" ดูแลตัวเองดีๆไม่ให้ผุพังดีกว่า เหมือนกับขับรถให้ไม่ชนดีกว่าไปคอยซ่อมรถตอนมันชนไปแล้วล่ะครับ

ฝันดีราตรีสวัสดิ์ จุ้ฟๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่