13 อาชีพที่ผู้หญิงเลือกได้

กระทู้ข่าว
1.   ทนายความ  ไปได้ไกลเท่าที่ต้องการ

เงินเดือน :  ในสำนักงานทนายความท้องถิ่นบางแห่งอาจเริ่มต้นที่ต่ำกว่า 3,000 บาท ส่วนในบริษัทต่างประเทศจะเริ่มต้นที่ประมาณ 16,000 บาท  และเงินเดือนขั้นสูงของทนายความซึ่งเป็นหุ้นส่วนบริษัทจะได้ 1,000,000 บาท ขึ้นไป
สัดส่วนระหว่างชายหญิง  :  มีทนายความผู้ชายมากกว่าผู้หญิงในอัตราส่วน 80 : 20 แต่ปัจจุบันสัดส่วนการสอบเข้าคณะนิติศาสตร์หรือสอบใบอนุญาตทนายความของผู้หญิงมีแนวโน้มสูงขึ้น
การเริ่มต้น  :  ต้องจบจากคณะนิติศาสตร์หากต้องการว่าความในศาลต้องสอบใบอนุญาตว่าความ  และหากจะสอบเป็นผู้พิพากษาต้องสอบจากเนติบัณฑิตจากเนติบัณฑิตยสภาก่อน  สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นที่ปรึกษากฎหมายทางธุรกิจควรเรียนจบจากต่างประเทศหรือใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับดีมาก
หน้าที่  :  เริ่มจากการเป็นทนายความที่ทำหน้าที่เสมียนหรือติดตามทนายความรุ่นพี่เพื่อเรียนรู้การทำงาน  ค้นคว้าวิจัยข้อกฎหมาย  ทำงานด้านเอกสาร  ประสานงาน  และเมื่อก้าวขึ้นระดับสูงก็ต้องดูแลลูกความ  วางโครงสร้างคดีว่าความ  ส่วนอัยการซึ่งเป้นทนายของรัฐนั้นจะดูแลการดำเนินการทางกฎหมายและรักษาผลประโยชน์ของภาครัฐเป็นหลัก
ความก้าวหน้า  :  ขึ้นอยู่กับความสามารถ  สติปัญญา  และโอกาส โดยตำแหน่งสูงสุดคือผู้พิพากษาหรือเป็นหุ้นส่วนบริษัทที่ปรึกษากฎหมาย
ข้อดี  :  เป็นอาชีพที่มีเกียรติ  ได้รับความไว้วางใจและการยอมรับจากสังคมสูง
ปัญหาในการทำงาน  :  งานหนัก  มีเวลาส่วนตัวน้อย  และต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำบ่อยๆ เพราะการทำคดีส่วนใหญ่มักมีเงื่อนไขทางด้านเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ
อคติทางเพศ  :  ไม่มี  ขึ้นอยู่กับความสามารถมากกว่า  แต่ทนายความหญิงอาจมีข้อจำกัดมากกว่าในกรณีที่ต้องออกพื้นที่  จึงเน้นทำคดีแพ่งและพาณิชย์มากกว่าคดีอาญา

2.   สื่อมวลชน  สื่อกลางของสังคม

เงินเดือน  :  เริ่มตั้งแต่ประมาณ 8,500 บาท จนถึง 50,000 บาทขึ้นไป + เงินประจำตำแหน่ง ค่าเดินทาง  ค่าเบี้ยเลี้ยง ฯลฯ
สัดส่วนระหว่างชายหญิง  :  ใกล้เคียงกัน  โดยถ้าเป็นสื่อในด้านที่เกี่ยวกับผู้หญิง เช่น นิตยสารผู้หญิงก็จะมีผู้หญิงทำงานมากกว่า
การเริ่มต้น  :  เรียนจบสาขาไหนก็ได้แต่ต้องเป็นคนที่มีความรู้รอบตัวมากและติดตามข่าวสารบ้านเมืองอย่างสม่ำเสมอ  กาเรียนเฉพาะเช่นในคณะนิเทศศาสตร์หรือวารสารศาสตร์จะทำให้เข้าสู่สายอาชีพได้ง่ายขึ้น
หน้าที่  :  นำเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นสู่สังคมโดยเฉพาะสื่อประเภทหนังสือพิมพ์  สามารถเป็นปากสียงให้ประชาชนธรรมดาๆในขณะที่สามารถตรวจสอบสถาบันที่มีอำนาจต่างๆได้  โดยถือเป็นสถาบันที่มีความเข้มแข็งมากสถาบันหนึ่ง
ความก้าวหน้า  :  ตำแหน่งไม่ใช่บทสรุปของงาน  คนมีความสามารถอาจได้เป็นถึงผู้บริหารองค์กร พอๆกับที่อาจพอใจในการเป็นผู้สื่อข่าวภาคสนามเช่นเดียวกับเงินเดือนที่ขึ้นอยู่กับความสามารถมากกว่าตำแหน่ง
ข้อดี  :  สามารถใช้อำนาจสื่อที่มีอยู่ในมือไปในทางที่มีประโยชน์ได้มาก  มีโอกาสเดินทางและรู้จักผู้คนทุกระดับชั้น รวมทั้งได้ประสบการณ์แปลกๆที่หายาก
ปัญหาในการทำงาน  :  งานหนัก  การแข่งขันสูง  ทั้งแข่งกับเวลาและสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและยังต้องแข่งกับเพื่อนร่วมอาชีพในลักษณะที่เป็น “ธุรกิจสื่อมวลชน”
อคติทางเพศ  :  ไม่ชัดเจนนัก  แต่สาเหตุที่ผู้หญิงมักไม่ได้ขึ้นสู่ตำแหน่งบริหารเป็นเพราะไม่สามารถทุ่มเทให้กับงานได้มากเท่าผู้ชาย  อาจเพราะเรื่องของครอบครัว  การทนแรงกดดันจากการแข่งขันได้น้อยกว่า  หรือมีข้อจำกัดในการทำงานบางประเภท  เช่น งานข่าวอาชญากรรม  ซึ่งมีความเสี่ยงสูง

3.  แอร์โฮสเตส  หวือหวากับรายได้และการเดินทาง

เงินเดือน  :  เริ่มที่ประมาณ  8,500 บาท  จนถึงประมาณ 80,000 บาท + ค่าเบี้ยเลี้ยง  ค่าชั่วโมงบิน  ค่าล่วงเวลาพิเศษ  ค่าภาษา ฯลฯ
สัดส่วนระหว่างชายหญิง  :  ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง
การเริ่มต้น  :  สิ่งสำคัญมากคือต้องมีสุขภาพแข็งแรง  บุคลิกดี  และทักษะทางภาษาดีโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ถ้ามีความรู้ด้านภาษาอื่นจะยิ่งได้เปรียบและทำให้ก้าวหน้าในอาชีพได้ดี
หน้าที่  :  ก่อนขึ้นเครื่องต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเที่ยวบินที่ต้องทำงาน  ทั้งชั่วโมงบิน  สภาพอากาศ  จำนวนผู้โดยสาร และการบริการผู้โดยสารประเภทต่างๆ เมื่ออยู่ในเที่ยวบินต้องบริการอาหารและเครื่องดื่มให้ผู้โดยสาร  ดูแลเรื่องความปลอดภัยอย่างเข้มงวด  รวมทั้งสามารถให้ข้อมูลต่างๆในการเดินทางกับผู้โดยสารได้
ความก้าวหน้า  :  เป็นงานที่รายได้ดี
ข้อดี  :  ได้เดินทางท่องเที่ยว  ทำให้ได้ประสบการณ์กว้างไกล  ได้พบผู้คนมากมาย  และทันสมัยอยู่เสมอ  รวมทั้งมีโอกาสสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนชาติต่างๆ และสร้างโอกาสในการทำงานในต่างประเทศ
ปัญหาในการทำงาน  :  ที่พบมากที่สุดคือปัญหาสุขภาพเนื่องจากต้องเผชิญกับสภาพอากาศแปรปรวน  การอดนอน  และการปรับเวลา  ซึ่งทำให้แอร์โฮสเตสส่วนใหญ่เกษียณตัวเองก่อนกำหนด
อคติทางเพศ  :  ไม่มี

4.  เลขานุการ  มือขวาของผู้บริหาร

เงินเดือน  :  ตั้งแต่ 8,500 บาท  จนถึง 300,000 บาท
สัดส่วนระหว่างชายหญิง  :  ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง  เพราะเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบสูง  และค่อนข้างจุกจิก  แต่เลขานุการในตำแหน่งสำคัญ เช่น เลขานุการองค์กรมักเป็นผู้ชาย
การเริ่มต้น  :  เรียนจบสาขาใดก็ได้  แต่ควรเรียนทักษะด้านเลขาฯเพิ่มเติม  ใช้คอมพิวเตอร์ได้ในระดับดี  หากมีความรู้ภาษาอังกฤษดีจะก้าวหน้ามาก  และที่สำคัญคือต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
หน้าที่  :  ถ้าเป็นเลขาฯแผนกจะเน้นการจัดการพื้นฐานในสำนักงาน  แต่เป็นเลขาฯของผู้บริหารจะต้องจัดการเรื่องต่างๆทั้งงานและส่วนตัวให้เจ้านาย  บางคนต้องเข้าร่วมประชุมออกงานพร้อมเจ้านายด้วย เลขาฯ ระดับผู้บริหารที่มีประสบการณ์และความสามารถสูงทำหน้าที่ไม่ต่างจากมือขวาของเจ้านาย  ซึ่งต้องมีไหวพริบ  รู้จักกาลเทศะ และกล้าตัดสินใจ
ความก้าวหน้า  :  โดยตำแหน่งแล้วมักเคลื่อนไหวน้อย  ความก้าวหน้าขึ้นอยู่กับว่าเป็นเลขาฯของใคร
ข้อดี  :  มีโอกาสได้เรียนรู้งานหลากหลาย ได้พบปะผู้คนมากมายโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงๆ เป็นการเปิดโลก  รู้จักวิเคราะห์นิสัยคน  เรียนรู้การเข้าสังคมได้หลายระดับ  ทำให้มีโอกาสเปลี่ยนสายงานหรือทำธุรกิจของตัวเองได้
ปัญหาในการทำงาน  :  เนื่องจากต้องทำงานใกล้ชิดกับเจ้านายจึงต้องปรับตัวสูงเพื่อให้ทำงานร่วมกันได้ดี  และยังต้องมีวิธีจัดการกับปัญหาและผู้คนอย่างฉลาดและรวดเร็ว  เนื่องจากต้องประสานงานกับบุคคลจำนวนมากอยู่ตลอดเวลา
อคติทางเพศ  :  มีน้อยมาก

5.  ล่าม  ผู้ช่วยของการสื่อสาร

เงินเดือน  :  ล่ามประจำเริ่มที่ประมาณ 20,000 บาท  จนถึง 60,000 บาท ส่วนล่ามอิสระจะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงาน  แต่โดยเฉลี่ยรายได้จะตกวันละ 10,000-30,000 บาท
สัดส่วนระหว่างชายหญิง  :  ใกล้เคียงกัน
การเริ่มต้น :  ต้องใช้ภาษานั้นๆได้อย่างดี อาจเรียนจบมาโดยตรง หรือเคยไปใช้ชีวิตในประเทศนั้น  นอกจากนี้ยังต้องมีควาชำนาญในเนื้อหาของงานที่แปล  และควรเข้ารับการอบรมหลักสูตรล่ามเบื้องต้นมาก่อน
หน้าที่  :  เป็นผู้ช่วยในการสื่อสารทำหน้าที่ถ่ายทอดภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง
ความก้วหน้า  :  วัดได้จากความสามารถในการรับงานที่ยากมากขึ้นเรื่อยๆ อาจเริ่มจากการเป็นล่ามทั่วไปและก้าวหน้าเป็นล่ามในที่ประชุมซึ่งเป็นล่ามพูดตาม แปลหลังจากที่ผู้พูดกล่าวจบประโยคแล้ว  โดยนั่งอยู่ร่วมกับผู้พูดด้วย  และที่ใช้ความสามารถสูงสุดคือ ล่ามพูดพร้อมโดยล่ามจะอยู่ที่ห้องเล็กๆแปลคำพูดไปพร้อมกับผู้พูด  โดยผู้ฟังจะได้ยินเสียงล่ามผ่านทางหูฟัง
ข้อดี  :  ได้เพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ ที่หลากหลายเปลี่ยนแปลงไปตามเรื่องที่แปล
ปัญหาในการทำงาน  :  นอกจากต้องเข้าใจในภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาแล้ว  ยังต้องจับความต่างในวิธีการพูดหรือความสั้นยาวของคำให้พอดีกัน  และในกรณีเป็นล่ามในงานสำคัญ เช่น ทางการเมืองหรือการทูตล่ามควรพยายามวางตัวเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจในตัวล่ามได้
อคติทางเพศ  :  มีน้อยมาก  ยกเว้นอาจมีบางกรณี เช่น กรณีที่ล่ามหญิงต้องเข้าไปแปลงานในโรงงาน  ซึ่งใช้ศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไกหากไม่ศึกษาข้อมูลให้ดี  อาจทำให้ได้รับความไว้วางใจน้อยกว่า

6.  นักสำรวจ  สื่อกลางระหว่างคนและโลก

เงินเดือน  :  สังกัดภาครัฐก็ได้ผลตอบแทนเหมือนข้าราชการทั่วไป   แต่ถ้าทำงานวิจัยในช่วงเริ่มต้นจะได้รับทุนประมาณโครงการละไม่เกิน  500,000 บาท ส่วนโครงการใหญ่ๆ อาจได้รับทุนเป็นล้านขึ้นไป ( ระยะเวลา 2 ปี รวมค่าใช้จ่ายในการทำงานและเงินเดือน )
สัดส่วนระหว่างชายหญิง  :  ปัจจุบันมีนักวิจัยคิดเป็น 17 คน ต่อประชากร 100,000 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  แต่เมื่อแยกตามความถนัดแล้วจะพบว่านักวิจัยด้านพฤกษศาสตร์จะเป็นผู้หญิงมากกว่า
การเริ่มต้น  :  ควรเรียนสายวิทย์หรือสายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจ  แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป  สิ่งสำคัญคือมีใจรักและตั้งใจจริงในการทำงาน
หน้าที่  :  ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงานที่ตั้งไว้  แล้วจึงสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลให้ได้ตามวัตถุประสงค์
ความก้าวหน้า  :  สามารถเป็นนักสำรวจเชิงลึกที่เชี่ยวชาญในแขนงนั้นๆและมีโอกาสได้รับทุนสนับสนุนมากขึ้น
ข้อดี  :  ได้ความภาคภูมิใจในการนำความรู้ใหม่ๆ มาเผยแพร่  ได้รับเกียรติและการยอมรับจากสังคมในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญ
ปัญหาในการทำงาน  :  ขาดแคลนคนทำงาน  เพราะขาดงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ
อคติทางเพศ  :  ไม่มี  แต่อาจมีปัญหาในการทำงานภาคสนามซึ่งยากลำบากสำหรับผู้หญิง

7.  โปรแกรมเมอร์  ผสานเทคโนโลยีเข้ากับการใช้งาน

เงินเดือน  :  ตั้งแต่ 15,000 บาท จนถึง 100,000 บาทขึ้นไป  หรือมีรายได้จากการรับงานอิสระเป็นโครงการ  ซึ่งรายได้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์และผลงานที่ผ่านมาเป็นหลัก
สัดส่วนระหว่างชายหญิง  :  ส่วนใหญ่เป็นชายประมาณ  70-80%
การเริ่มต้น  :  ควรมีพื้นฐานที่ดีทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  สถิติ  และภาษาอังกฤษ  การหาความรู้ด้านคอมพิวเตอร์เริ่มจากการไปลงคอร์สเรียนด้านการเขียนโปรแกรมตามมหาวิทยาลัย  โดยไม่จำเป็นต้องเรียนหลักสูตรปริญญา
หน้าที่  :  ออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้งาน  รวมทั้งติดตามผลการใช้งานและแก้ไขโปรแกรม  และในบางกรณีโปรแกรมเมอร์ต้องติดต่อและดูแลลูกค้าด้วย
ความก้าวหน้า  :  เนื่องจากเป็นสายอาชีพที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วตลาดแรงงานจึงยังต้องการมาก  ทั้งงานรับจ้างและสร้างธุรกิจของตนเอง  และมีโอกาสในการทำรายได้มาก
ข้อดี  :  โปรแกรมเมอร์ที่มีฝีมือจะได้ใบรับรองในอาชีพและสาขาที่ตนถนัดและมีโอกาสรับงานได้มาก  โดยเฉพาะงานจากต่างประเทศซึ่งจะทำรายได้ดีขึ้นเป็นหลายเท่าตัว  โดยสามารถรับและส่งงานผ่านอินเทอร์เน็ตได้
ปัญหาในการทำงาน  :  เนื่องจากเทคโนโลยีทางด้านนี้ก้าวหน้าไปเร็วมาก  โปรแกรมเมอร์จึงมักต้องทุ่มเทเวลาและงบประมาณในการเพิ่มพูนความรู้ของตัวเองอยู่ตลอดเวลา  รวมทั้งต้องเรียนรู้ด้านการตลาดและการตอบสนองความต้องการของลูกค้า  ซึ่งโปรแกรมเมอร์ส่วนใหญ่ยังขาดทักษะนี้
อคติทางเพศ  :  ไม่มี  เนื่องจากยอมรับกันว่าเรื่องของเทคนิคนั้นทั้งหญิงและชายสามารถเรียนรู้ได้เท่ากัน  ส่วนผู้หญิงอาจได้เปรียบกว่าในแง่การเข้าถึงลูกค้า

8.  แพทย์  งานหนักที่ต้องเสียสละและเมตตา

เงินเดือน  :  ช่วงใช้ทุนระยะเวลา 3 ปี  จะได้รับเงินเดือนอัตราเดียวกับข้าราชการระดับ 4 คือประมาณ 8,610 บาท ส่วนเงินเดือนขั้นสูง  ถ้าเป็นโรงพยาบาลของรัฐ  ก็ปรับเงินเดือนตามอัตราข้าราชการ  แต่ถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนขนาดกลางจะได้รับเงินเดือนประมาณ 100,000 บาทขึ้นไป
สัดส่วนระหว่างชายหญิง  :  มีแพทย์ชายมากกว่าแพทย์หญิง 2 เท่า  แต่สัดส่วนของนักเรียนแพทย์ในปัจจุบันจะมีชายและหญิงไล่เลี่ยกัน
การเริ่มต้น  :  เริ่มจากการเลือกเรียนสายวิทย์ตั้งแต่มัธยมปลาย  ต้องมีผลการเรียนดี และควรผ่านคอร์สอบรมหลักสูตรการเตรียมตัวเป็นนักเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยต่างๆเปิดขึ้น  เพื่อการเตรียมตัวและตัดสินใจ  นักเรียนแพทย์จะใช้เวลาเรียน 6 ปี ในระดับปริญญาตรี  จากนั้นจึงเรียนเป็นแพทย์เฉพาะทางต่อไป
หน้าที่  :  ตรวจรักษาผู้เจ็บป่วยและติดตามผล  ซึ่งเป็นงานที่ต้องเสียสละ  อดทน  มีความเมตตา  และรับผิดชอบสูง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่