Lost River (Ryan Gosling, 2014)
"ความสวยงามที่พังทลาย"
1. นครดีทรอยต์
หนังตั้งอยู่บนพื้นฐานจริงที่เกิดขึ้นในสังคม นั่นคือ การล่มสลายของดีทรอยต์ นครล้มละลายหลังมีหนี้สินท่วมกว่า 5.4 แสนล้าน (ข้อมูลจากวิกิ) จากการบริหารงานผิดพลาดมานานหลายสิบปี ทำให้สาธารณูปโภคพื้นฐานถูกตัดขาด เกิดอาชญากรรมมากมาย ทำให้ประชากรเริ่มย้ายออกไปจากเมือง หากมองดูผิวเผินอาจดูเป็นเรื่องตลกที่ภาพที่เห็นตรงหน้ามีความเหนือจริงมาก ทั้งภาพบ้านร้าง ผุพัง หญ้าขึ้นรกชัฏ ถนนหนทางเน่าเฟะ ดังนั้นความเหนือจริงของเมืองแห่งนี้ที่ไม่น่าจะเป็นเรื่องจริง ถูกขับเน้นให้กลายเป็นพื้นที่แห่งความฝันร้ายที่หนังพยายามจะนำเสนอออกมา
2. ครอบครัว
แม้เกือบ 90% ของประชากรในเมืองแห่งนี้ได้โยกย้ายออกไปแสวงหาความสะดวกสบาย ณ ที่แห่งอื่นแล้ว แต่ยังมีอยู่สองครอบครัวที่ยังคงดิ้นรนอาศัยอยู่ท่ามกลางเศษซากปรักหักพังแห่งความสมัยใหม่ ครอบครัวหนึ่งคือครอบครัวแม่ม่ายลูกสอง และอีกหนึ่งคือย่ากับหลาน ที่บ้านอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน
2.1 ครอบครัวบิลลี่ แม่ม่ายลูก 2
บิลลี่ พยายามดิ้นรนให้ครอบครัวและลูกชายสองคนของเธอได้อาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้ต่อไปท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่หันหลังกลับไปไม่ได้ หนังเปิดเรื่องโดยการนำเสนอครอบครัวอย่างงดงาม ด้วยการใช้สไตล์ภาพที่ทำให้นึกถึงใน The Tree of Life โดยผู้กำกับมาลิค ซึ่งมาลิคมักนำเสนอครอบครัวชาวอเมริกันชนบทด้วยความสวยงาม แต่สำหรับ Lost River แล้ว การหยิบนำเทคนิคสไตล์การเคลื่อนกล้องแฮนด์เฮลด์ และถ่ายต้นหญ้าสีเขียวชอุ่ม รวมถึงการถ่ายทำภายในบ้านของแม่และลูกด้วยการเน้นจับอากัปกริยา ที่ถอดแบบมาจากสไตล์แบบ The Tree of life ให้ผลความความงดงามในช่วงเวลาสั้นๆ แต่หนังก็ทำให้เราหลุดออกจากความงามนั้นทันที เมื่อพยายามตัดสลับกับภาพภายนอกตัวบ้านที่เห็นสังคมผุกร่อน บ้านหลังที่กำลังถูกทำลาย มีแต่ความไม่น่ารื่นอภิรมย์สลับกัน จึงเกิดอาการ Irony หมายถึงว่าเมื่อหนังหยิบยืมการใช้สไตล์ภาพที่ให้ผลอารมณ์แบบหนึ่งมาใช้ในสภาพอีกแบบหนึ่งที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หรือมันคือการย้อนแยงกันทางความรู้สึก สไตล์ภาพที่สวยงามแต่ถูกถ่ายในสังคมที่เละเทะ นี่จึงเป็นฉลาดของการหยิบใช้รูปแบบการนำเสนอที่ได้ผลดีกับให้ความหมายและความรู้สึกแบบนั้น มาอยู่ในพื้นที่ใหม่ ให้อารมณ์เดิมแต่รู้สึกแบบใหม่ ซึ่งนี่สอดคล้องไปได้ดีกับการยึดมั่นกับความสวยงามที่ยังเต็มไปอยู่ในใจของครอบครัวนี้ที่ขัดกับพื้นที่แห่งความเป็นจริงของโลกภายนอก
2.2 ครอบครัวแรท กับคุณย่า
ท่ามกลางสภาพผุกร่อนของเมืองภายนอก รวมถึงสภาพภายในบ้านของแรท ที่รกเละเทะและห่างไกลกับความสวยงามน่าอยู่อย่างไกลโข แต่คุณยายของเธอกลับแต่งตัวด้วยชุดสวยงาม ที่หลุดมาจากยุคที่เธอยังคงเยาว์วัยที่เคยเต็มไปด้วยความสวยงาม ซึ่งช่วงเวลาไปเคยพรากจากเธอไปได้ พร้อมทั้งยังคงเปิดหนังฟิล์มเก่าเล่นซ้ำเสมือนว่านี่คือสิ่งยึดเหนี่ยวเดียวที่เธอจะหลุดรอดออกไปจากสังคมแบบนี้จนวันตาย
3. การยึดติดกับความสวยงามที่ได้ผ่านไปแล้ว
ครอบครัวที่หนึ่งพวกเขาไม่ยอมย้ายออกไปเพราะเขาผูกพันกับพื้นที่ ตามคำบอกเล่าของแม่ ซึ่งแน่นอนครั้งหนึ่งเคยสวยงาม น่าอยู่ และเป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์แห่งความรุ่งโรจน์ชัชวาลของครอบครัวอเมริกันดรีมแบบอุดมคติ ซึ่งในวันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไป แต่ความรู้สึกเหล่านั้นยังอยู่ ยังคงโลดแล่นอยู่ภายใต้ความรู้สึก ที่เคยถูกหล่อเลี้ยงมาเสมอ ความงดงามจะคงอยู่ตลอดไป
ครอบครัวที่สอง ย่า ติดอยู่ในกับเรื่องราวเมืองใต้น้ำที่ถูกน้ำท่วมจมมิด น้ำไม่เพียงจะทำให้บ้านเธอจมหายไป แต่มันยังได้ท่วมความทรงจำอันดีงามที่เคยมีอยู่ให้ขาดอากาศหายใจและตายลงใต้แม่น้ำ ความทรงจำที่ครั้งหนึ่งเธอเคยมีร่วมกับสามี กับบ้านของพวกเขา ได้สลายหายไป เธอจึงอยู่ด้วยอาการที่ไม่สามารถลืมความหลังครั้งเยาว์วัยที่สวยงามได้ ไม่สามารถลืมวันแต่งงานของเธอ วันที่เธอสวยที่สุดวันหนึ่งในชีวิต วันที่เธอมีความสุขที่สุด สามีของเธอเสียชีวิตลง แต่วันนี้! ทุกอย่างสลายไป ไม่เหลืออะไรให้เธอได้วาดฝันอีกแล้ว นอกจากการหวนรำลึกถึงความทรงอันงดงาม ฟิล์มม้วนเก่าๆ ชุดสวยๆ เธอได้สตัฟฟ์ตัวเองให้อยู่กับความสวยงามที่เธอเหลืออยู่ตราบชั่วชีวิต
เมืองใต้น้ำจึงเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่ทำให้นึกถึงความรุ่งโรจน์ของเมืองที่คงหนึ่งเคยรุ่งเรืองก่อนจะล่มสลาย เทียบเท่ากับนครดีทรอยต์ที่ครั้งหนึ่งก็เมืองแห่งชั้นนำแห่งอุตสาหกรรมก็กำลังพังทลาย เป็นภาพซ้อนระหว่างกัน ที่แสดงให้เห็นความทรงจำถึงความสวยงามที่จากไปแล้วและไม่สามารถหวนคืนมาได้ ได้แต่พะเน้าพะนอ ความทรงจำเหล่านั้นเหมือนว่ามันยังคงอยู่กับเราวันนี้และไม่มีวันจากไป
4. เมืองที่รวมระหว่างอดีต-ปัจจุบัน และ อนาคต
นอกจากเมืองใต้น้ำที่เป็นเมืองนิทานปรัมปราของพื้นที่จากไปอย่างยาวนาน เป็นเรื่องราวที่ให้คนเฒ่าคนแก่เล่าถึงเมืองต้องคำสาปต่อๆ กันมา เพื่อสร้างมนต์ขลังให้กับพื้นที่ หรือจะเป็นคลับยามค่ำคืนที่เป็นเหมือนคลับสยองขวัญสมัยก่อนที่ชื่อ Grand Guignol ในปารีส ที่เป็นเหมือนที่พักผ่อนหย่อนใจของผู้คน ภายใต้สังคมเมืองสมัยใหม่ หรือกระทั่งเมืองดีทรอยต์เองที่แม้จะอ้างอิงจากความเป็นจริง แต่มันก็ให้ความรู้สึกแบบเมืองล่มสลายแบบในภาพยนตร์ (post-apocalyptic) หรือมีกลิ่นอายดิสโทเปีย ซึ่งเป็นเมืองที่ปรากฏในหนังยุคอนาคต จนทำให้บรรยากาศของภาพยนตร์เป็นการผสมผสานระหว่างช่วงเวลาต่างๆ ที่พร่าเลือนกัน ระหว่างอดีต-ปัจจุบัน และอนาคตได้ เป็นภาวะความรู้สึกเหมือนความฝันที่เราสามารถฝันถึงหลายช่วงเวลาซับท้อนกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ
5. เอกลักษณ์
ข้อครหาหนึ่งที่ไรอัน กอสลิ่ง ถูกวิจารณ์คือ ไรอัน ทำหนังคล้ายภาพตัดแปะของผู้กำกับหลายท่านจนตัวเองไร้ซึ่งเอกลักษณ์ ซึ่งคำวิจารณ์เหล่านี้เท่ากับว่าผู้พูดเชื่อมั่นในโลกที่มีเอกลักษณ์อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งหมายถึงว่าศิลปินที่ถูกยอมรับ พวกเขาจะต้องมีมีชุดความคิดเป็นของตัวเอง และจะต้องยึดมั่นแบบนั้นไป เพราะนั้นคือเอกลักษณ์ของตัวเอง หรือเป็นสิ่งที่เรามีไม่เหมือนกับคนอื่น และคนอื่นไม่เหมือนกับเรา ซึ่งเอาเข้าจริง เป็นสิ่งถ้ามานั่งคิดจริงจัง แล้วก็เถียงกันได้ไม่มีวันจบสิ้น ว่าสุดท้ายเรามีเอกลักษณ์ที่เป็นของเราคนเดียวได้หรือไม่ หรือเอกลักษณ์ของเรามันก็คือการสืบทอดอย่างละนิดละหน่อย ผสมกันจนกลายเป็นเราอยู่ทุกวันนี้เท่านั้น
6. ความเคร่งเครียดและความตลกขบขัน
ตัวละครตัวร้าย บูลลี่ ที่มีความเป็นตัวร้ายแบบการ์ตูนอยู่สูง เช่น หัวเราะเกินผู้เกินคน หรือการที่สไตล์วิชวลแบบหนังศิลปะสูงส่งแต่กลับมีอะไรที่สามารถหลุดขำออกมาได้ เช่น เกราะในเรื่องหรือการเต้นที่มันดูตลกมากกว่าสวยงาม นอกจากนี้หนังก็ยังอ้างอิงถึงหนังการ์ตูนและหนังตลกปัญญาอ่อนที่เอาไว้ดูขำ ที่พอมันมาอยู่ในหนังที่ผู้กำกับพยายามจะทำหนังให้ดูเป็นหนังคัลท์คลาสสิกตามแบบฉบับที่มีสไตล์ เช่น เดวิด ลินซ์ ฯลฯ ซึ่งทำให้มีดูประหลาดดี มันทำให้มนต์ขลังของหนังสไตล์นี้หลุดลุ่ยออกไป
7. สุดท้าย
ชัดเจนว่า Lost River คือการทำหนังที่ตัวผู้กำกับทำหนังในแบบที่ตัวเองชอบ(ดู) หรือหนังที่ตัวเองอยากทำจากผู้กำกับที่เป็นแรงบันดาลใจหลายต่อหลายคน หรือเป็นภาพความรู้สึกจากหนังที่เขาอาจยึดติดและกลายเป็นแรงบันดาลใจ ซึ่งภาพยนตร์เก่าเป็นสัญลักษณ์แห่งอดีต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ไม่ต่างจากตัวละครสองครอบครัวที่กำลังยึดติดต่อความสวยงามของอดีตที่ตัวเองเคยผ่านพบมาและไม่อยากปล่อยมือไป หรือแพชชั่นที่ตัวไรอันมีต่อหนังเก่า ก็ไม่ต่างจากที่ตัวละครสองครอบครัวมีต่อเรื่องเล่าในหนังเช่นกัน ซึ่งสุดท้ายแล้วไม่ใช่เรื่องผิดแปลกหรือน่ากลัวแต่อย่างใด แต่มันอยู่ที่ว่าเราจะสามารถรักษาสมดุลระหว่างการหลุดออกจากการโหยหาความสวยงามที่เราเคยมีและเผชิญหน้าต่อสิ่งที่เป็นปัจจุบันได้อย่างไร ในตอนท้ายเราเห็นว่า ทุกคนตัดสินใจเดินทางออกจากเมือง เพื่อไปเผชิญหน้ากับโลกใบใหม่ โดยโบนส์ได้เก็บของที่ระลึกจากเมืองใต้น้ำ และติดสิ่งนั้นไปออกจากเมืองไป ซึ่งแน่นอน ชิ้นส่วนที่โบนส์หยิบจับมานั้นจึงเหมือนสัญลักษณ์ของสิ่งเก่าแก่ในด้านความรู้สึก หรือมันก็คงเหมือนเป็นชิ้นส่วนแรงบันดาลใจของเราที่เราสามารถหยิบจับพร้อมใช้ได้หรือเป็นเท้าข้างหนึ่งของเราที่จะหลงลืมอัตลักษณ์ตัวตนและรากเหง้าของเราไม่ได้เลย แต่เท้าข้างหนึ่งของเรานั้นก็ควรต้องเป็นเท้าที่มีเสรีภาพที่จะเผชิญหน้าความเป็นจริงได้ โดยแยกหรือหลุดออกจากคุณค่า,ตัวตน,รากเหง้า และแรงบันดาลใจของเราให้ได้ เพราะการยืนอยู่ในข้างเท้าข้างไหนมากเกินไป ส้นเท้าของเราระบมเหลือเกิน
ขอบคุณครับ
วิเคราห์/วิจารณ์ Lost River ผลงานกำกับเรื่องแรกของไรอัน กอสลิ่ง
"ความสวยงามที่พังทลาย"
1. นครดีทรอยต์
หนังตั้งอยู่บนพื้นฐานจริงที่เกิดขึ้นในสังคม นั่นคือ การล่มสลายของดีทรอยต์ นครล้มละลายหลังมีหนี้สินท่วมกว่า 5.4 แสนล้าน (ข้อมูลจากวิกิ) จากการบริหารงานผิดพลาดมานานหลายสิบปี ทำให้สาธารณูปโภคพื้นฐานถูกตัดขาด เกิดอาชญากรรมมากมาย ทำให้ประชากรเริ่มย้ายออกไปจากเมือง หากมองดูผิวเผินอาจดูเป็นเรื่องตลกที่ภาพที่เห็นตรงหน้ามีความเหนือจริงมาก ทั้งภาพบ้านร้าง ผุพัง หญ้าขึ้นรกชัฏ ถนนหนทางเน่าเฟะ ดังนั้นความเหนือจริงของเมืองแห่งนี้ที่ไม่น่าจะเป็นเรื่องจริง ถูกขับเน้นให้กลายเป็นพื้นที่แห่งความฝันร้ายที่หนังพยายามจะนำเสนอออกมา
2. ครอบครัว
แม้เกือบ 90% ของประชากรในเมืองแห่งนี้ได้โยกย้ายออกไปแสวงหาความสะดวกสบาย ณ ที่แห่งอื่นแล้ว แต่ยังมีอยู่สองครอบครัวที่ยังคงดิ้นรนอาศัยอยู่ท่ามกลางเศษซากปรักหักพังแห่งความสมัยใหม่ ครอบครัวหนึ่งคือครอบครัวแม่ม่ายลูกสอง และอีกหนึ่งคือย่ากับหลาน ที่บ้านอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน
2.1 ครอบครัวบิลลี่ แม่ม่ายลูก 2
บิลลี่ พยายามดิ้นรนให้ครอบครัวและลูกชายสองคนของเธอได้อาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้ต่อไปท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่หันหลังกลับไปไม่ได้ หนังเปิดเรื่องโดยการนำเสนอครอบครัวอย่างงดงาม ด้วยการใช้สไตล์ภาพที่ทำให้นึกถึงใน The Tree of Life โดยผู้กำกับมาลิค ซึ่งมาลิคมักนำเสนอครอบครัวชาวอเมริกันชนบทด้วยความสวยงาม แต่สำหรับ Lost River แล้ว การหยิบนำเทคนิคสไตล์การเคลื่อนกล้องแฮนด์เฮลด์ และถ่ายต้นหญ้าสีเขียวชอุ่ม รวมถึงการถ่ายทำภายในบ้านของแม่และลูกด้วยการเน้นจับอากัปกริยา ที่ถอดแบบมาจากสไตล์แบบ The Tree of life ให้ผลความความงดงามในช่วงเวลาสั้นๆ แต่หนังก็ทำให้เราหลุดออกจากความงามนั้นทันที เมื่อพยายามตัดสลับกับภาพภายนอกตัวบ้านที่เห็นสังคมผุกร่อน บ้านหลังที่กำลังถูกทำลาย มีแต่ความไม่น่ารื่นอภิรมย์สลับกัน จึงเกิดอาการ Irony หมายถึงว่าเมื่อหนังหยิบยืมการใช้สไตล์ภาพที่ให้ผลอารมณ์แบบหนึ่งมาใช้ในสภาพอีกแบบหนึ่งที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หรือมันคือการย้อนแยงกันทางความรู้สึก สไตล์ภาพที่สวยงามแต่ถูกถ่ายในสังคมที่เละเทะ นี่จึงเป็นฉลาดของการหยิบใช้รูปแบบการนำเสนอที่ได้ผลดีกับให้ความหมายและความรู้สึกแบบนั้น มาอยู่ในพื้นที่ใหม่ ให้อารมณ์เดิมแต่รู้สึกแบบใหม่ ซึ่งนี่สอดคล้องไปได้ดีกับการยึดมั่นกับความสวยงามที่ยังเต็มไปอยู่ในใจของครอบครัวนี้ที่ขัดกับพื้นที่แห่งความเป็นจริงของโลกภายนอก
2.2 ครอบครัวแรท กับคุณย่า
ท่ามกลางสภาพผุกร่อนของเมืองภายนอก รวมถึงสภาพภายในบ้านของแรท ที่รกเละเทะและห่างไกลกับความสวยงามน่าอยู่อย่างไกลโข แต่คุณยายของเธอกลับแต่งตัวด้วยชุดสวยงาม ที่หลุดมาจากยุคที่เธอยังคงเยาว์วัยที่เคยเต็มไปด้วยความสวยงาม ซึ่งช่วงเวลาไปเคยพรากจากเธอไปได้ พร้อมทั้งยังคงเปิดหนังฟิล์มเก่าเล่นซ้ำเสมือนว่านี่คือสิ่งยึดเหนี่ยวเดียวที่เธอจะหลุดรอดออกไปจากสังคมแบบนี้จนวันตาย
3. การยึดติดกับความสวยงามที่ได้ผ่านไปแล้ว
ครอบครัวที่หนึ่งพวกเขาไม่ยอมย้ายออกไปเพราะเขาผูกพันกับพื้นที่ ตามคำบอกเล่าของแม่ ซึ่งแน่นอนครั้งหนึ่งเคยสวยงาม น่าอยู่ และเป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์แห่งความรุ่งโรจน์ชัชวาลของครอบครัวอเมริกันดรีมแบบอุดมคติ ซึ่งในวันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไป แต่ความรู้สึกเหล่านั้นยังอยู่ ยังคงโลดแล่นอยู่ภายใต้ความรู้สึก ที่เคยถูกหล่อเลี้ยงมาเสมอ ความงดงามจะคงอยู่ตลอดไป
ครอบครัวที่สอง ย่า ติดอยู่ในกับเรื่องราวเมืองใต้น้ำที่ถูกน้ำท่วมจมมิด น้ำไม่เพียงจะทำให้บ้านเธอจมหายไป แต่มันยังได้ท่วมความทรงจำอันดีงามที่เคยมีอยู่ให้ขาดอากาศหายใจและตายลงใต้แม่น้ำ ความทรงจำที่ครั้งหนึ่งเธอเคยมีร่วมกับสามี กับบ้านของพวกเขา ได้สลายหายไป เธอจึงอยู่ด้วยอาการที่ไม่สามารถลืมความหลังครั้งเยาว์วัยที่สวยงามได้ ไม่สามารถลืมวันแต่งงานของเธอ วันที่เธอสวยที่สุดวันหนึ่งในชีวิต วันที่เธอมีความสุขที่สุด สามีของเธอเสียชีวิตลง แต่วันนี้! ทุกอย่างสลายไป ไม่เหลืออะไรให้เธอได้วาดฝันอีกแล้ว นอกจากการหวนรำลึกถึงความทรงอันงดงาม ฟิล์มม้วนเก่าๆ ชุดสวยๆ เธอได้สตัฟฟ์ตัวเองให้อยู่กับความสวยงามที่เธอเหลืออยู่ตราบชั่วชีวิต
เมืองใต้น้ำจึงเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่ทำให้นึกถึงความรุ่งโรจน์ของเมืองที่คงหนึ่งเคยรุ่งเรืองก่อนจะล่มสลาย เทียบเท่ากับนครดีทรอยต์ที่ครั้งหนึ่งก็เมืองแห่งชั้นนำแห่งอุตสาหกรรมก็กำลังพังทลาย เป็นภาพซ้อนระหว่างกัน ที่แสดงให้เห็นความทรงจำถึงความสวยงามที่จากไปแล้วและไม่สามารถหวนคืนมาได้ ได้แต่พะเน้าพะนอ ความทรงจำเหล่านั้นเหมือนว่ามันยังคงอยู่กับเราวันนี้และไม่มีวันจากไป
4. เมืองที่รวมระหว่างอดีต-ปัจจุบัน และ อนาคต
นอกจากเมืองใต้น้ำที่เป็นเมืองนิทานปรัมปราของพื้นที่จากไปอย่างยาวนาน เป็นเรื่องราวที่ให้คนเฒ่าคนแก่เล่าถึงเมืองต้องคำสาปต่อๆ กันมา เพื่อสร้างมนต์ขลังให้กับพื้นที่ หรือจะเป็นคลับยามค่ำคืนที่เป็นเหมือนคลับสยองขวัญสมัยก่อนที่ชื่อ Grand Guignol ในปารีส ที่เป็นเหมือนที่พักผ่อนหย่อนใจของผู้คน ภายใต้สังคมเมืองสมัยใหม่ หรือกระทั่งเมืองดีทรอยต์เองที่แม้จะอ้างอิงจากความเป็นจริง แต่มันก็ให้ความรู้สึกแบบเมืองล่มสลายแบบในภาพยนตร์ (post-apocalyptic) หรือมีกลิ่นอายดิสโทเปีย ซึ่งเป็นเมืองที่ปรากฏในหนังยุคอนาคต จนทำให้บรรยากาศของภาพยนตร์เป็นการผสมผสานระหว่างช่วงเวลาต่างๆ ที่พร่าเลือนกัน ระหว่างอดีต-ปัจจุบัน และอนาคตได้ เป็นภาวะความรู้สึกเหมือนความฝันที่เราสามารถฝันถึงหลายช่วงเวลาซับท้อนกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ
5. เอกลักษณ์
ข้อครหาหนึ่งที่ไรอัน กอสลิ่ง ถูกวิจารณ์คือ ไรอัน ทำหนังคล้ายภาพตัดแปะของผู้กำกับหลายท่านจนตัวเองไร้ซึ่งเอกลักษณ์ ซึ่งคำวิจารณ์เหล่านี้เท่ากับว่าผู้พูดเชื่อมั่นในโลกที่มีเอกลักษณ์อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งหมายถึงว่าศิลปินที่ถูกยอมรับ พวกเขาจะต้องมีมีชุดความคิดเป็นของตัวเอง และจะต้องยึดมั่นแบบนั้นไป เพราะนั้นคือเอกลักษณ์ของตัวเอง หรือเป็นสิ่งที่เรามีไม่เหมือนกับคนอื่น และคนอื่นไม่เหมือนกับเรา ซึ่งเอาเข้าจริง เป็นสิ่งถ้ามานั่งคิดจริงจัง แล้วก็เถียงกันได้ไม่มีวันจบสิ้น ว่าสุดท้ายเรามีเอกลักษณ์ที่เป็นของเราคนเดียวได้หรือไม่ หรือเอกลักษณ์ของเรามันก็คือการสืบทอดอย่างละนิดละหน่อย ผสมกันจนกลายเป็นเราอยู่ทุกวันนี้เท่านั้น
6. ความเคร่งเครียดและความตลกขบขัน
ตัวละครตัวร้าย บูลลี่ ที่มีความเป็นตัวร้ายแบบการ์ตูนอยู่สูง เช่น หัวเราะเกินผู้เกินคน หรือการที่สไตล์วิชวลแบบหนังศิลปะสูงส่งแต่กลับมีอะไรที่สามารถหลุดขำออกมาได้ เช่น เกราะในเรื่องหรือการเต้นที่มันดูตลกมากกว่าสวยงาม นอกจากนี้หนังก็ยังอ้างอิงถึงหนังการ์ตูนและหนังตลกปัญญาอ่อนที่เอาไว้ดูขำ ที่พอมันมาอยู่ในหนังที่ผู้กำกับพยายามจะทำหนังให้ดูเป็นหนังคัลท์คลาสสิกตามแบบฉบับที่มีสไตล์ เช่น เดวิด ลินซ์ ฯลฯ ซึ่งทำให้มีดูประหลาดดี มันทำให้มนต์ขลังของหนังสไตล์นี้หลุดลุ่ยออกไป
7. สุดท้าย
ชัดเจนว่า Lost River คือการทำหนังที่ตัวผู้กำกับทำหนังในแบบที่ตัวเองชอบ(ดู) หรือหนังที่ตัวเองอยากทำจากผู้กำกับที่เป็นแรงบันดาลใจหลายต่อหลายคน หรือเป็นภาพความรู้สึกจากหนังที่เขาอาจยึดติดและกลายเป็นแรงบันดาลใจ ซึ่งภาพยนตร์เก่าเป็นสัญลักษณ์แห่งอดีต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ไม่ต่างจากตัวละครสองครอบครัวที่กำลังยึดติดต่อความสวยงามของอดีตที่ตัวเองเคยผ่านพบมาและไม่อยากปล่อยมือไป หรือแพชชั่นที่ตัวไรอันมีต่อหนังเก่า ก็ไม่ต่างจากที่ตัวละครสองครอบครัวมีต่อเรื่องเล่าในหนังเช่นกัน ซึ่งสุดท้ายแล้วไม่ใช่เรื่องผิดแปลกหรือน่ากลัวแต่อย่างใด แต่มันอยู่ที่ว่าเราจะสามารถรักษาสมดุลระหว่างการหลุดออกจากการโหยหาความสวยงามที่เราเคยมีและเผชิญหน้าต่อสิ่งที่เป็นปัจจุบันได้อย่างไร ในตอนท้ายเราเห็นว่า ทุกคนตัดสินใจเดินทางออกจากเมือง เพื่อไปเผชิญหน้ากับโลกใบใหม่ โดยโบนส์ได้เก็บของที่ระลึกจากเมืองใต้น้ำ และติดสิ่งนั้นไปออกจากเมืองไป ซึ่งแน่นอน ชิ้นส่วนที่โบนส์หยิบจับมานั้นจึงเหมือนสัญลักษณ์ของสิ่งเก่าแก่ในด้านความรู้สึก หรือมันก็คงเหมือนเป็นชิ้นส่วนแรงบันดาลใจของเราที่เราสามารถหยิบจับพร้อมใช้ได้หรือเป็นเท้าข้างหนึ่งของเราที่จะหลงลืมอัตลักษณ์ตัวตนและรากเหง้าของเราไม่ได้เลย แต่เท้าข้างหนึ่งของเรานั้นก็ควรต้องเป็นเท้าที่มีเสรีภาพที่จะเผชิญหน้าความเป็นจริงได้ โดยแยกหรือหลุดออกจากคุณค่า,ตัวตน,รากเหง้า และแรงบันดาลใจของเราให้ได้ เพราะการยืนอยู่ในข้างเท้าข้างไหนมากเกินไป ส้นเท้าของเราระบมเหลือเกิน
สามารถติดตามกันต่อได้ที่เพจ https://www.facebook.com/A.Surrealism
หรือบล็อก A-Bellamy.com
ขอบคุณครับ