คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
เท้าความก่อนว่า.. มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ตื่นกลางวันและนอนกลางคืนค่ะ
สายตาเราที่มองไม่เห็นตอนกลางคืนบอกอย่างนั้น และมันก็มักจะมีปฏิกิริยากับแสงสว่างโดยธรรมชาติ
เมื่อเป็นงั้นมนุษย์จึงควรนอนในช่วงเวลาที่พอนับไป 6-9 ชั่วโมง จะไปโผล่ช่วงเช้าพอดีค่ะ
นั่นคือระหว่าง 3 ทุ่มถึงเที่ยงคืน เพื่อให้ร่างกายมันได้นอนยาว หลั่งฮอร์โมน ฟื้นฟูระบบต่าง ๆ อย่างเต็มที่
คนเราเลยถูกฝึกให้นอนในช่วงเวลาเดิม ๆ ที่แน่นอนตั้งแต่เด็ก และเมื่อเราทำซ้ำ ๆ ทุกคืน
ระบบร่างกายมันจะบันทึกเป็นนาฬิกาชีวิต กลายเป็นวงจร มันจะรู้ว่าเวลาไหนต้องง่วง เวลาไหนต้องเตรียมรับมือกับอะไร
วัยเด็กเป็นวัยที่ต้องการการพักผ่อนเยอะ เพราะเป็นช่วงที่มีการเติบโตรวดเร็วต่อเนื่อง
เด็กจึงควรจะนอน 10-11 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย เมื่อเป็นอย่างนั้นพวกเค้าเลยต้องนอนเร็ว 2-3 ทุ่ม
เพื่อที่จะได้ไปตื่นเอาตอนที่แสงสว่างมันแยงตาปลุกพอดี พ่อแม่ควรจะตั้งนาฬิกาชีวิตให้แน่นอนแบบนี้
..
สำหรับ Growth Hormone นั้น มันจะหลั่งออกมาในช่วงการนอนหลับ Stage 3-4 และช่วง REM Sleep
ซึ่งในคืนหนึ่งคนเราจะนอนวนมาแตะช่วงนี้หลายครั้งค่ะ และมันก็จะหลั่งของมันไปตามวงจรเรื่อย ๆ
โดยการหลั่งของมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาตามหน้าปัดนาฬิกาเลย แต่ขึ้นอยู่กับวงจรการนอนตามกิจวัตรของแต่ละคน
เด็กที่ถูกฝึกให้นอนหลับปุ๋ยไปตอน 2 ทุ่ม ก็จะเริ่มต้นวงจรการนอนได้เร็วกว่าเด็กที่นอนตอน 3 ทุ่ม
ดังนั้นช่วงที่นอนหลับแตะ Stage 3-4 และช่วง REM Sleep ก็จะไม่เท่ากันอยู่แล้วค่ะ..
จากคำอธิบายของเราด้านบน ขอตอบคำถามแค่ 2 ข้อดังนี้นะคะ
1. จริงค่ะ แต่เหตุผลไม่ได้เกี่ยวกับหน้าปัดนาฬิกา แต่เป็นพราะว่า.. ถ้าหากคุณให้เด็กเล็กนอนก่อน 3 ทุ่ม
แล้วพอถึง 6-7 โมงที่แสงสว่างหรือเสียงรอบข้างปลุกเด็กให้ตื่นขึ้นมา เด็กก็จะนอนเพียงพอครบ 10-11 ชม. พอดี
ซึ่งตลอดระยะเวลา 10-11 ชม. นี้ ก็มี Stage การนอนวนลูป หลั่งฮอร์โมนอย่างเต็มที่มากครั้งกว่า
แต่หากคุณให้เด็กเล็กนอน 5 ทุ่ม เด็กก็มักจะรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาตอนที่แสงสว่างปลุกอยู่ดีค่ะ คือ 6-7 โมง
(จะลุกขึ้นมางอแงแล้วนอนหลับต่อหรือไม่อันนี้ก็อีกเรื่อง แต่การหลับยาวสิ้นสุดแค่นั้นแล้วค่ะ)
ซึ่งถ้านับระยะเวลาการนอนต่อเนื่องในกรณีนี้ ก็ได้แค่ 7-8 ชม. เท่านั้น ดังนั้นเมื่อระยะการนอนมันน้อยกว่า
จำนวนรอบของการหลั่ง Growth Hormone มันก็น้อยกว่าอยู่แล้ว
2. ถ้าเด็ก ก. ถูกฝึกให้นอน 3 ทุ่ม ตื่น 6 โมงเช้าเป็นนิสัย
และเด็ก ข. ถูกฝึกให้นอน 5 ทุ่ม ตื่น 8 โมงเช้าเป็นนิสัย การหลั่งฮอร์โมนก็เท่ากันค่ะ
แต่ถ้าสมมติว่าเด็ก ก. ที่เคยนอน 3 ทุ่ม จู่ ๆ ไปเปลี่ยนให้เค้านอน 5 ทุ่มเที่ยงคืน
ตรงนี้นาฬิกาชีวิตจะรวนค่ะ อย่างที่บอกว่าคนเราถ้าฝึกให้ทำอะไรซ้ำ ๆ ร่างกายจะรู้เวลารู้หน้าที่
หากจู่ ๆ ไปเปลี่ยนมัน.. มันก็จะกระทบกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ได้ค่ะ
สายตาเราที่มองไม่เห็นตอนกลางคืนบอกอย่างนั้น และมันก็มักจะมีปฏิกิริยากับแสงสว่างโดยธรรมชาติ
เมื่อเป็นงั้นมนุษย์จึงควรนอนในช่วงเวลาที่พอนับไป 6-9 ชั่วโมง จะไปโผล่ช่วงเช้าพอดีค่ะ
นั่นคือระหว่าง 3 ทุ่มถึงเที่ยงคืน เพื่อให้ร่างกายมันได้นอนยาว หลั่งฮอร์โมน ฟื้นฟูระบบต่าง ๆ อย่างเต็มที่
คนเราเลยถูกฝึกให้นอนในช่วงเวลาเดิม ๆ ที่แน่นอนตั้งแต่เด็ก และเมื่อเราทำซ้ำ ๆ ทุกคืน
ระบบร่างกายมันจะบันทึกเป็นนาฬิกาชีวิต กลายเป็นวงจร มันจะรู้ว่าเวลาไหนต้องง่วง เวลาไหนต้องเตรียมรับมือกับอะไร
วัยเด็กเป็นวัยที่ต้องการการพักผ่อนเยอะ เพราะเป็นช่วงที่มีการเติบโตรวดเร็วต่อเนื่อง
เด็กจึงควรจะนอน 10-11 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย เมื่อเป็นอย่างนั้นพวกเค้าเลยต้องนอนเร็ว 2-3 ทุ่ม
เพื่อที่จะได้ไปตื่นเอาตอนที่แสงสว่างมันแยงตาปลุกพอดี พ่อแม่ควรจะตั้งนาฬิกาชีวิตให้แน่นอนแบบนี้
..
สำหรับ Growth Hormone นั้น มันจะหลั่งออกมาในช่วงการนอนหลับ Stage 3-4 และช่วง REM Sleep
ซึ่งในคืนหนึ่งคนเราจะนอนวนมาแตะช่วงนี้หลายครั้งค่ะ และมันก็จะหลั่งของมันไปตามวงจรเรื่อย ๆ
โดยการหลั่งของมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาตามหน้าปัดนาฬิกาเลย แต่ขึ้นอยู่กับวงจรการนอนตามกิจวัตรของแต่ละคน
เด็กที่ถูกฝึกให้นอนหลับปุ๋ยไปตอน 2 ทุ่ม ก็จะเริ่มต้นวงจรการนอนได้เร็วกว่าเด็กที่นอนตอน 3 ทุ่ม
ดังนั้นช่วงที่นอนหลับแตะ Stage 3-4 และช่วง REM Sleep ก็จะไม่เท่ากันอยู่แล้วค่ะ..
จากคำอธิบายของเราด้านบน ขอตอบคำถามแค่ 2 ข้อดังนี้นะคะ
1. จริงค่ะ แต่เหตุผลไม่ได้เกี่ยวกับหน้าปัดนาฬิกา แต่เป็นพราะว่า.. ถ้าหากคุณให้เด็กเล็กนอนก่อน 3 ทุ่ม
แล้วพอถึง 6-7 โมงที่แสงสว่างหรือเสียงรอบข้างปลุกเด็กให้ตื่นขึ้นมา เด็กก็จะนอนเพียงพอครบ 10-11 ชม. พอดี
ซึ่งตลอดระยะเวลา 10-11 ชม. นี้ ก็มี Stage การนอนวนลูป หลั่งฮอร์โมนอย่างเต็มที่มากครั้งกว่า
แต่หากคุณให้เด็กเล็กนอน 5 ทุ่ม เด็กก็มักจะรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาตอนที่แสงสว่างปลุกอยู่ดีค่ะ คือ 6-7 โมง
(จะลุกขึ้นมางอแงแล้วนอนหลับต่อหรือไม่อันนี้ก็อีกเรื่อง แต่การหลับยาวสิ้นสุดแค่นั้นแล้วค่ะ)
ซึ่งถ้านับระยะเวลาการนอนต่อเนื่องในกรณีนี้ ก็ได้แค่ 7-8 ชม. เท่านั้น ดังนั้นเมื่อระยะการนอนมันน้อยกว่า
จำนวนรอบของการหลั่ง Growth Hormone มันก็น้อยกว่าอยู่แล้ว
2. ถ้าเด็ก ก. ถูกฝึกให้นอน 3 ทุ่ม ตื่น 6 โมงเช้าเป็นนิสัย
และเด็ก ข. ถูกฝึกให้นอน 5 ทุ่ม ตื่น 8 โมงเช้าเป็นนิสัย การหลั่งฮอร์โมนก็เท่ากันค่ะ
แต่ถ้าสมมติว่าเด็ก ก. ที่เคยนอน 3 ทุ่ม จู่ ๆ ไปเปลี่ยนให้เค้านอน 5 ทุ่มเที่ยงคืน
ตรงนี้นาฬิกาชีวิตจะรวนค่ะ อย่างที่บอกว่าคนเราถ้าฝึกให้ทำอะไรซ้ำ ๆ ร่างกายจะรู้เวลารู้หน้าที่
หากจู่ ๆ ไปเปลี่ยนมัน.. มันก็จะกระทบกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ได้ค่ะ
แสดงความคิดเห็น
การหลั่ง Growth Hormone เกี่ยวข้องกับเวลานอน หรือไม่?
1. ที่มีคนกล่าวกันว่า "ในเด็กเล็กเข้านอนแต่หัวค่ำ (ก่อนสามทุ่ม) เพราะถ้านอนดึก (ห้าทุ่ม) จะทำให้ Growth Hormone ไม่หลั่งหรือหลั่งน้อยกว่า" คำกล่าวนี้เป็นจริงหรือไม่?
ถ้าจริง กรุณาตอบข้อถัดไปครับ
2. ผมสงสัยว่า ถ้าเด็กนอนเพียงพอและหลับลึกเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน เช่น เด็ก ก. นอนหลับสามทุ่ม ตื่นหกโมงเช้า กับเด็ก ข. นอนหลับห้าทุ่ม ตื่นแปดโมงเช้า สมมุติว่าปัจจัยอื่นๆ ควบคุมให้เหมือนกัน คำถาม เด็ก ก. กับ ข. จะมีการหลั่ง Growth Hormone เท่ากัน หรือใกล้เคียงกันหรือไม่? ถ้าไม่ เพราะเหตุใด?
ถ้าข้อสอง ตอบว่าไม่ เนื่องจากเวลาเริ่มนอนหลับ กรุณาตอบข้อถัดไปครับ
3. เด็กจะใช้เวลาใดในการอ้างอิงเวลาที่เริ่มนอนหลับ เช่น เด็กอาศัยอยู่ประเทศไทยใช้เวลาประเทศไทย เด็กอาศัยอยู่อเมริกาใช้เวลาอเมริกา และเพราะเหตุใด? การทำงานของการหลั่ง Growth Hormone เกี่ยวข้องกับเวลาเพราะเหตุใด? ทั้งนี้กำหนดให้ปัจจัยความเคยชินในการพักผ่อนและอื่นๆ ในชีวิตประจำวันเหมือนกันในเวลาอ้างอิงของแต่ละที่อยู่แต่ละประเทศ
ขอบคุณครับ ที่ช่วยตอบข้อข้องใจต่างๆ