พม่ากับโรฮิงยา

สืบเนื่องจากกระทู้ที่แล้ว
http://ppantip.com/topic/33658405

หลังจากที่พอเข้าใจได้ ว่าเป็นเพราะอะไร บังคลาเทศถึงไม่สามารถรับชาวโรฮิงยาได้อีกต่อไป ผมสงสัยต่ออีกว่า แล้วพม่าประเทศต้นทาง เขาจัดการกับชาวโรฮิงยาอย่างไร ทำไมปล่อยให้ชาวโรฮิงยาลอยเรือออกมาตามยถากรรมแบบนี้

ผมเจอข่าวอยู่ 2 ข่าวที่พอจะตอบความสงสัยที่ว่า

ข่าวแรกออกเมื่อ 2 ที่แล้ว (2013) หัวข้อข่าวคือ พม่าสนับสนุนนโยบายให้ชาวโรฮิงยามีลูกได้ 2 คน (two-child policy) โดยบอกว่าทำเพื่อควบคุมจำนวนประชากรของโรฮิงยาที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีปัญหาจราจลกับชาวยะไข่ในปีก่อนหน้า

"This will benefit the Bengali women," Khin Yi said in an interview with Reuters.
"The Bengali women living in the Rakhine State have a lot of children. In some areas, one family has 10 or 12 children," said Khin Yi. "It's not good for child nutrition. It's not very easy for schooling. It is not very easy to take care of the children."


http://www.reuters.com/article/2013/06/11/us-myanmar-rohingya-idUSBRE95A04B20130611

การออกนโยบายแบบนี้ออกมา ทำให้พม่าถูกโจมตีจากต่างชาติในเรื่องสิทธิเสรีภาพ แต่พม่าก็บอกว่า ทำเพื่อประโยชน์ของชาวโรฮิงยาเอง ครอบครัวโรฮิงยามีลูกกันมากเกินไป บางบ้านมีลูก 10-12 คน ทำให้เลี้ยงดูเด็กได้ไม่ดี

ปัญหาคือ ชาวโรฮิงยาไม่เอาด้วยกับนโยบายแบบนี้ มีการหลบเลี่ยงด้วยวิธีต่างๆ เช่นติดสินบนเจ้าหน้าที่ หรือเอาชื่อลูกตัวเองไปฝากไว้กับบ้านอื่น

ประเด็นนี้พูดยากว่าผิดหรือถูก แต่ผมเห็นว่าพม่ามีความพยายามจะจัดการกับปัญหาโรฮิงยาในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะเรื่องจำนวนประชากร

ข่าวที่สอง เป็นข่าวปีที่แล้ว (2014) เป็นเรื่องที่พม่าเสนอจะให้สัญชาติพม่ากับชาวโรฮิงยา ถ้าชาวโรฮิงยาจะยอมรับว่ามีเชื้อชาติเป็น Bengali ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งความพยายามที่จะแก้ปัญหาโรฮิงยาของพม่า แต่ก็ดูไม่ได้เป็นไปตามแผนง่ายๆ เพราะชาวโรฮิงยาก็เหมือนจะไม่เอาด้วย (อีก)

More controversially, the plan contains a section on a process to determine whether Rohingya are citizens. Rohingya would be required to register their identities as Bengali, a term most reject because it implies they are illegal immigrants from Bangladesh despite having lived in the area for generations.

http://www.reuters.com/article/2014/09/30/us-myanmar-rohingya-idUSKCN0HP15T20140930

ปัญหาของประเด็นนี้คือ การระบุว่าเป็นเชื้อชาติ Bengali เป็นการบอกเป็นนัยว่าเป็นผู้อพยพอย่างผิดกฎหมายจากบังคลาเทศ ซึ่งชาวโรฮิงยารับไม่ได้ เพราะเถียงว่าพวกเขาอยู่ตรงนี้มาหลายชั่วอายุคนแล้ว

อ่านๆไป ผมก็เห็นใจพม่าอีกแล้ว เหมือนกับที่รู้สึกเห็นใจบังคลาเทศ ไม่ใช่พม่าจะไม่พยายามแก้ปัญหา แต่เขาลองดูหลายวิธี ขนาดเสนอให้สัญชาติ แต่ดูเหมือนชาวโรฮิงยาจะมีข้อโต้แย้งนี่นั่นอยู่เสมอ ชาวโรฮิงยาคงมีเหตผลของเขา แต่ข่าวนี้ 2 ข่าวก็ทำให้ผมเข้าใจพม่าได้ดีขึ้น และหวังว่าคนที่ตำหนิพม่า คงเข้าใจพม่าได้ดีขึ้นเหมือนผม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่