ระอุ...รอบ ใหม่สมรภูมิทีวีดิจิทัล ช่อง 3เตรียมถอดรายการแกรมมี่พ้นผัง ตัดปัญหาเหยียบเรือ 2 แคม "เวิร์คพอยท์" ยังลุ้นรายการ "ชิงร้อย ชิงล้าน" ติดร่างแหหรือไม่ ชี้สถานการณ์ชิงงบฯโฆษณาสุดดุเดือด อสมท เร่งซื้อลิขสิทธิ์รายการต่างประเทศเสริมทัพ
หลังจากออกอากาศมา ครบ 1 ปี ปรากฏภาพชัดเจนถึงการแข่งขันในสมรภูมิทีวีดิจิทัลทั้ง 24 ช่องดุเดือดเข้มข้น โดยเฉพาะการเสริมทัพรายการระดับแม่เหล็กเพื่อชิงคนดู ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง คือ ทีวีดิจิทัลหลายช่องที่เปลี่ยนบทบาทจากผู้ผลิตมาเป็นเจ้าของสถานีได้ดึง รายการที่เคยผลิตป้อนให้แก่ช่องเดิม (ช่อง 3-5-7-9) กลับคืน ขณะเดียวกันช่อง 3 ซึ่งเดิมมีผู้ผลิตนอกสังกัดจำนวนมากได้ยกรายการของแกรมมี่และเวิร์คพอยท์ออก จากผัง เพื่อตัดปัญหาเหยียบเรือสองแคมที่เกิดขึ้น
แหล่งข่าวระดับ สูงจากบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้รับทราบว่าช่อง 3 เตรียมถอดละครซิตคอม 2 เรื่อง (เฮง เฮง เฮง, ผู้กองเจ้าเสน่ห์) และวาไรตี้สมรภูมิพรมแดง จากผังเร็วกว่าที่กำหนด ปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจาว่าจะมีผลในช่วงใด อย่างไรก็ตาม แน่นอนแล้วว่า "ช่องวัน" จะนำซิตคอมที่ถูกถอดไปออกอากาศ เพื่อสร้างเรตติ้งคนดูให้มีความแข็งแกร่ง
ทั้งนี้ ตามข้อตกลงเดิม รายการสมรภูมิพรมแดงจะจบลงเดือนมิถุนายนนี้ ซิตคอม เฮง เฮง เฮง จะจบปลายเดือนกรกฎาคม และผู้กองเจ้าเสน่ห์จะจบเดือนสิงหาคมนี้ หลังจากปลายปีก่อนได้ทยอยถอดละครหลังข่าวออกจากช่อง 5 คงเหลือ "เซนสื่อรักสื่อวิญญาณ" ทุกวันศุกร์ ส่วนช่อง 9 หลังจากดึง "เดอะสตาร์" มาออกอากาศช่องวัน ยังเหลือซิตคอม 2 เรื่อง คือ บ้านนี้มีรัก และนัดกับนัด
ก่อนหน้านี้ นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด แม้จะมีช่องทีวีดิจิทัล 3 ช่อง แต่บริษัทจะยังโฟกัสที่ช่อง 3 ออริจินอลเป็นหลัก เพื่อรักษาฐานผู้ชม
ในกลุ่มคนเมืองและหัวเมืองใหญ่ ซึ่งเป็นฐานผู้ชมที่แข็งแกร่ง ชูคอนเทนต์ละครเป็นหัวหอกหลัก และเตรียมปรับผังรายการในช่วงบ่ายวันเสาร์-อาทิตย์ประมาณกลางปีนี้ เพื่อทำให้รายการแข็งแกร่งขึ้น และสอดรับกับไลฟ์สไตล์ผู้ชมมากขึ้น
นายชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานดิจิทัลทีวีบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารช่อง "เวิร์คพอยท์ครีเอทีฟทีวี" กล่าวว่า ปัจจุบันมีเพียง "ชิงร้อย ชิงล้าน Sunshine Day" ที่ออกอากาศช่อง 3 วันอาทิตย์ตอนบ่าย เพียง 1 รายการเท่านั้น ซึ่งยังคงออกอากาศตามเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ส่วนการดึงรายการที่เคยผลิตให้แก่ช่องฟรีทีวีเดิมมาไว้ในช่องของตัวเองก็ไม่ มีอะไรซับซ้อน เพราะเรตติ้งของช่องเวิร์คพอยท์เติบโตขึ้น ปัจจุบันเป็นอันดับ 3 รองจากช่อง 7 และช่อง 3 ตั้งแต่ต้นปีได้นำ รายการที่ถอดมาจากช่องฟรีทีวีเดิม 6-8 รายการ เช่น คนอวดผี, ชิงช้าสวรรค์, ตลก 6 ฉาก, แฟนพันธุ์แท้ MY Man Can แฟนฉันเก่ง, ใครคือใคร Identity Thailand กลับมาหมดแล้ว
"ช่วงแรกที่ย้ายช่อง กลัวเหมือนกันว่าเรตติ้งอาจลดลง แต่ปรากฏว่าเรตติ้งกลับเพิ่มขึ้น สะท้อนถึงว่าวันนี้ เรามีฐานคนดูประจำที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง"
สำหรับ การแข่งขันธุรกิจทีวีดิจิทัลปีนี้ ถือว่ารุนแรงขึ้นและจะเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ โดยแข่งขันกันที่คุณภาพคอนเทนต์รายการเป็นหลัก ถ้าคอนเทนต์ดีก็มีคนดู เม็ดเงินโฆษณาก็จะเพิ่มเข้ามา ซึ่งแนวโน้มโฆษณาไตรมาส 2 นี้เริ่มดีขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงพีกของการใช้เงินของสินค้าต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายในเดือนมิถุนายนนี้ เวิร์คพอยท์เตรียมปรับผังรายการอีกครั้ง โดยเฉพาะช่วงไพรมไทม์ จะมีรายการใหม่เพิ่มเข้ามาอีก 1-2 รายการ เช่น เวทีทอง เป็นต้น ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ อยู่ระหว่างพิจารณา ปัจจุบันแบ่งสัดส่วนคอนเทนต์เป็นผลิตเอง 70% รับจ้างผลิต 20% อีก 10% คอนเทนต์จากต่างประเทศ
"วันนี้ช่องที่มีเรตติ้งอันดับ 1-10 ค่อนข้างเสถียร ขณะที่เวิร์คพอยท์มีเรตติ้งทิ้งห่างอันดับ 4 ค่อนข้างมาก คาดว่าสิ้นปีจะมีรายได้ 1,800 ล้านบาท เชื่อว่าผู้ที่มีเรตติ้ง 10 อันดับแรกจะอยู่สมรภูมินี้ได้ เพราะจะมีงบฯโฆษณาเพิ่มเข้ามาต่อเนื่อง ส่วนที่เหลือคงมีแนวทางและกลยุทธ์ของตัวเอง ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้"
แหล่งข่าวในธุรกิจทีวี กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ท้ายที่สุดเชื่อว่าช่อง 3 ต้องถอดรายการชิงร้อยชิงล้านออกจากผังอย่างแน่นอน แม้จะมีเรตติ้งคนดูสูงมาก และเวิร์คพอยท์จะยังไม่มีความต้องการถอดรายการนี้กลับคืนไป เพราะค่าโฆษณาที่ได้รับสูงกว่าการดึงไปออกอากาศที่ช่องเวิร์คพอยท์
นายถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจ บริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ดิจิทัล ทีวี จำกัด ผู้บริหารช่องวัน กล่าวก่อนหน้านี้ว่า ปัจจุบัน "เดอะสตาร์" ถือเป็นรายการที่มีเรตติ้งสูงสุดของสถานี ขณะที่เป้าหมายจากนี้ไป คือ การเป็นเบอร์ 1 ในกลุ่มช่องใหม่ให้ได้ แม้ว่าภาพรวมการแข่งขัน 1 ปีที่ผ่านมา ฝุ่นตลบมาก ทำให้จากนี้ไปแต่ละช่องต้องวางกลยุทธ์ให้รอบคอบ
ล่าสุดช่องวันได้ดึงผู้ผลิตนอกค่ายเข้ามาเสริมทัพ โดยให้ "เจเอสแอล" มาผลิต2 รายการให้ คือ ทอล์กโชว์ "เจาะใจ" ที่ย้ายมาจากช่อง 5 จะออกอากาศคืนวันศุกร์ จะออกอากาศเดือนพฤษภาคมนี้ อีกรายการ คือ "มหัศจรรย์แห่งรัก" ซึ่งซื้อลิขสิทธิ์มาจากต่างประเทศ
ฟากนายศิวะพร ชมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารช่อง เอ็มคอท เอชดี และเอ็มคอทแฟมิลี่ ให้มุมมองว่า ไม่ว่าสถานีจะผลิตรายการเอง หรือต้องจ้างผลิต ถือว่าไม่มีความได้เปรียบเสียเปรียบทางการแข่งขัน เนื่องจากงบฯโฆษณาทีวีดิจิทัลยังไม่เพิ่มขึ้น คำถามคือช่องที่ลงทุนคอนเทนต์มาก ๆ จะอยู่ได้อย่างไร ปัจจุบัน อสมท ผลิตรายการเอง 55-60% จ้างผลิตและหารายได้ร่วมกับผู้ผลิต (Time Sharing) ประมาณ 40-45% ขณะที่สิ้นปีนี้จะเพิ่มสัดส่วนรายการที่ผลิตเองเป็น 70% ด้วยการเดินหน้าซื้อลิขสิทธิ์รายการจากต่างประเทศเข้ามาเสริม
เช่น เดียวกับ พลเอกสุรวัช บุตรวงษ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 กล่าวว่า มีผู้ผลิตหลายรายถอดรายการจากช่อง 5 ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะต้องการนำคอนเทนต์ไปสร้างช่องของตัวเองให้แข็งแกร่ง ซึ่งช่อง 5 ก็หารายการใหม่มาทดแทน รวมถึงปรับลดค่าเช่าเวลาลง 25-35% ปัจจุบันสถานีมีผู้ผลิต 150-180 ราย
ขณะที่งบฯโฆษณาทีวีดิจิทัล (ไม่รวมช่อง 3-5-7-9) จากรายงาน บริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ไตรมาสแรกปีนี้มีมูลค่า 8,725 ล้านบาท โต 100% จากปีก่อน (ออกอากาศเดือนเมษายน 2557) หรือคิดเป็นสัดส่วน 26.47% ของสื่อทีวีรวมทั้งหมด 24,441 ล้านบาท
ที่มา: เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1430207944
"เวิร์คพอยท์-ช่อง3-GMM"เดือด! ถอดรายการกลับช่องชิงเรตติ้ง
หลังจากออกอากาศมา ครบ 1 ปี ปรากฏภาพชัดเจนถึงการแข่งขันในสมรภูมิทีวีดิจิทัลทั้ง 24 ช่องดุเดือดเข้มข้น โดยเฉพาะการเสริมทัพรายการระดับแม่เหล็กเพื่อชิงคนดู ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง คือ ทีวีดิจิทัลหลายช่องที่เปลี่ยนบทบาทจากผู้ผลิตมาเป็นเจ้าของสถานีได้ดึง รายการที่เคยผลิตป้อนให้แก่ช่องเดิม (ช่อง 3-5-7-9) กลับคืน ขณะเดียวกันช่อง 3 ซึ่งเดิมมีผู้ผลิตนอกสังกัดจำนวนมากได้ยกรายการของแกรมมี่และเวิร์คพอยท์ออก จากผัง เพื่อตัดปัญหาเหยียบเรือสองแคมที่เกิดขึ้น
แหล่งข่าวระดับ สูงจากบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้รับทราบว่าช่อง 3 เตรียมถอดละครซิตคอม 2 เรื่อง (เฮง เฮง เฮง, ผู้กองเจ้าเสน่ห์) และวาไรตี้สมรภูมิพรมแดง จากผังเร็วกว่าที่กำหนด ปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจาว่าจะมีผลในช่วงใด อย่างไรก็ตาม แน่นอนแล้วว่า "ช่องวัน" จะนำซิตคอมที่ถูกถอดไปออกอากาศ เพื่อสร้างเรตติ้งคนดูให้มีความแข็งแกร่ง
ทั้งนี้ ตามข้อตกลงเดิม รายการสมรภูมิพรมแดงจะจบลงเดือนมิถุนายนนี้ ซิตคอม เฮง เฮง เฮง จะจบปลายเดือนกรกฎาคม และผู้กองเจ้าเสน่ห์จะจบเดือนสิงหาคมนี้ หลังจากปลายปีก่อนได้ทยอยถอดละครหลังข่าวออกจากช่อง 5 คงเหลือ "เซนสื่อรักสื่อวิญญาณ" ทุกวันศุกร์ ส่วนช่อง 9 หลังจากดึง "เดอะสตาร์" มาออกอากาศช่องวัน ยังเหลือซิตคอม 2 เรื่อง คือ บ้านนี้มีรัก และนัดกับนัด
ก่อนหน้านี้ นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด แม้จะมีช่องทีวีดิจิทัล 3 ช่อง แต่บริษัทจะยังโฟกัสที่ช่อง 3 ออริจินอลเป็นหลัก เพื่อรักษาฐานผู้ชม
ในกลุ่มคนเมืองและหัวเมืองใหญ่ ซึ่งเป็นฐานผู้ชมที่แข็งแกร่ง ชูคอนเทนต์ละครเป็นหัวหอกหลัก และเตรียมปรับผังรายการในช่วงบ่ายวันเสาร์-อาทิตย์ประมาณกลางปีนี้ เพื่อทำให้รายการแข็งแกร่งขึ้น และสอดรับกับไลฟ์สไตล์ผู้ชมมากขึ้น
นายชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานดิจิทัลทีวีบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารช่อง "เวิร์คพอยท์ครีเอทีฟทีวี" กล่าวว่า ปัจจุบันมีเพียง "ชิงร้อย ชิงล้าน Sunshine Day" ที่ออกอากาศช่อง 3 วันอาทิตย์ตอนบ่าย เพียง 1 รายการเท่านั้น ซึ่งยังคงออกอากาศตามเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ส่วนการดึงรายการที่เคยผลิตให้แก่ช่องฟรีทีวีเดิมมาไว้ในช่องของตัวเองก็ไม่ มีอะไรซับซ้อน เพราะเรตติ้งของช่องเวิร์คพอยท์เติบโตขึ้น ปัจจุบันเป็นอันดับ 3 รองจากช่อง 7 และช่อง 3 ตั้งแต่ต้นปีได้นำ รายการที่ถอดมาจากช่องฟรีทีวีเดิม 6-8 รายการ เช่น คนอวดผี, ชิงช้าสวรรค์, ตลก 6 ฉาก, แฟนพันธุ์แท้ MY Man Can แฟนฉันเก่ง, ใครคือใคร Identity Thailand กลับมาหมดแล้ว
"ช่วงแรกที่ย้ายช่อง กลัวเหมือนกันว่าเรตติ้งอาจลดลง แต่ปรากฏว่าเรตติ้งกลับเพิ่มขึ้น สะท้อนถึงว่าวันนี้ เรามีฐานคนดูประจำที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง"
สำหรับ การแข่งขันธุรกิจทีวีดิจิทัลปีนี้ ถือว่ารุนแรงขึ้นและจะเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ โดยแข่งขันกันที่คุณภาพคอนเทนต์รายการเป็นหลัก ถ้าคอนเทนต์ดีก็มีคนดู เม็ดเงินโฆษณาก็จะเพิ่มเข้ามา ซึ่งแนวโน้มโฆษณาไตรมาส 2 นี้เริ่มดีขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงพีกของการใช้เงินของสินค้าต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายในเดือนมิถุนายนนี้ เวิร์คพอยท์เตรียมปรับผังรายการอีกครั้ง โดยเฉพาะช่วงไพรมไทม์ จะมีรายการใหม่เพิ่มเข้ามาอีก 1-2 รายการ เช่น เวทีทอง เป็นต้น ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ อยู่ระหว่างพิจารณา ปัจจุบันแบ่งสัดส่วนคอนเทนต์เป็นผลิตเอง 70% รับจ้างผลิต 20% อีก 10% คอนเทนต์จากต่างประเทศ
"วันนี้ช่องที่มีเรตติ้งอันดับ 1-10 ค่อนข้างเสถียร ขณะที่เวิร์คพอยท์มีเรตติ้งทิ้งห่างอันดับ 4 ค่อนข้างมาก คาดว่าสิ้นปีจะมีรายได้ 1,800 ล้านบาท เชื่อว่าผู้ที่มีเรตติ้ง 10 อันดับแรกจะอยู่สมรภูมินี้ได้ เพราะจะมีงบฯโฆษณาเพิ่มเข้ามาต่อเนื่อง ส่วนที่เหลือคงมีแนวทางและกลยุทธ์ของตัวเอง ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้"
แหล่งข่าวในธุรกิจทีวี กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ท้ายที่สุดเชื่อว่าช่อง 3 ต้องถอดรายการชิงร้อยชิงล้านออกจากผังอย่างแน่นอน แม้จะมีเรตติ้งคนดูสูงมาก และเวิร์คพอยท์จะยังไม่มีความต้องการถอดรายการนี้กลับคืนไป เพราะค่าโฆษณาที่ได้รับสูงกว่าการดึงไปออกอากาศที่ช่องเวิร์คพอยท์
นายถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจ บริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ดิจิทัล ทีวี จำกัด ผู้บริหารช่องวัน กล่าวก่อนหน้านี้ว่า ปัจจุบัน "เดอะสตาร์" ถือเป็นรายการที่มีเรตติ้งสูงสุดของสถานี ขณะที่เป้าหมายจากนี้ไป คือ การเป็นเบอร์ 1 ในกลุ่มช่องใหม่ให้ได้ แม้ว่าภาพรวมการแข่งขัน 1 ปีที่ผ่านมา ฝุ่นตลบมาก ทำให้จากนี้ไปแต่ละช่องต้องวางกลยุทธ์ให้รอบคอบ
ล่าสุดช่องวันได้ดึงผู้ผลิตนอกค่ายเข้ามาเสริมทัพ โดยให้ "เจเอสแอล" มาผลิต2 รายการให้ คือ ทอล์กโชว์ "เจาะใจ" ที่ย้ายมาจากช่อง 5 จะออกอากาศคืนวันศุกร์ จะออกอากาศเดือนพฤษภาคมนี้ อีกรายการ คือ "มหัศจรรย์แห่งรัก" ซึ่งซื้อลิขสิทธิ์มาจากต่างประเทศ
ฟากนายศิวะพร ชมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารช่อง เอ็มคอท เอชดี และเอ็มคอทแฟมิลี่ ให้มุมมองว่า ไม่ว่าสถานีจะผลิตรายการเอง หรือต้องจ้างผลิต ถือว่าไม่มีความได้เปรียบเสียเปรียบทางการแข่งขัน เนื่องจากงบฯโฆษณาทีวีดิจิทัลยังไม่เพิ่มขึ้น คำถามคือช่องที่ลงทุนคอนเทนต์มาก ๆ จะอยู่ได้อย่างไร ปัจจุบัน อสมท ผลิตรายการเอง 55-60% จ้างผลิตและหารายได้ร่วมกับผู้ผลิต (Time Sharing) ประมาณ 40-45% ขณะที่สิ้นปีนี้จะเพิ่มสัดส่วนรายการที่ผลิตเองเป็น 70% ด้วยการเดินหน้าซื้อลิขสิทธิ์รายการจากต่างประเทศเข้ามาเสริม
เช่น เดียวกับ พลเอกสุรวัช บุตรวงษ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 กล่าวว่า มีผู้ผลิตหลายรายถอดรายการจากช่อง 5 ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะต้องการนำคอนเทนต์ไปสร้างช่องของตัวเองให้แข็งแกร่ง ซึ่งช่อง 5 ก็หารายการใหม่มาทดแทน รวมถึงปรับลดค่าเช่าเวลาลง 25-35% ปัจจุบันสถานีมีผู้ผลิต 150-180 ราย
ขณะที่งบฯโฆษณาทีวีดิจิทัล (ไม่รวมช่อง 3-5-7-9) จากรายงาน บริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ไตรมาสแรกปีนี้มีมูลค่า 8,725 ล้านบาท โต 100% จากปีก่อน (ออกอากาศเดือนเมษายน 2557) หรือคิดเป็นสัดส่วน 26.47% ของสื่อทีวีรวมทั้งหมด 24,441 ล้านบาท
ที่มา: เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1430207944