เหตุใดสมาชิกในห้องศาสนา (พุทธ) จึงกลัวกันจังกับคำว่า "งมงาย" เหมือนเห็นอยู่กับตาว่างมงายแต่ห้ามคนอื่นว่าไม่ให้พูด?

นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าเหตุใดเพื่อนสมาชิกหลายๆท่านในห้องศาสนา (พุทธ) นั้นจึงไม่ชอบ ไม่นิยม ไม่กล้าใช้ คำว่า งมงาย ขอรับ?
เวลามีผู้ตั้งกระทู้ที่แสดงให้เห็นถึงความงมงายบางอย่าง หลายๆท่านก็จะปัดไปใช้คำว่าความเชื่อหรือต่อว่าผู้ที่ตีแผ่ความจริงที่เกิดขึ้นนั้นว่าดูถูกคนอื่นบ้าง เป็นคนพาลบ้าง ... กระผมจึงสงสัยว่าคำว่า งมงาย นั้นมันไม่ดีอย่างไรครับ? มันเป็นแค่คำนิยามที่อธิบายถึงลักษณะทางความคิดหรือการกระทำบางอย่างนิครับ ผมอบากทราบว่าการใช้คำว่า งมงาย แบบไหนจึงจะถูกที่ถูกเวลาและไม่เป็นการไปตัดสินคนอื่นขอรับ?

การกราบไหว้จอมปลวก ต้นตะเคียน ลูกวัวสองหัว นั่งดูน้ำตาเทียน ขูดต้นไม้เพื่อเลขเด็ด บูชาปลัดขิก ควายธนู เลี้ยงกุมารทอง สักยันต์หนุมานครอบครูให้พ่อแก่องค์ลง ทุ่มเงินให้วัดธรรมกาย หรือกราบไหว้ศรัทธาพระที่อวดว่าไปพบพระพุทธเจ้ามาแล้ว (อย่าเช่นเณรคำ) นั้นนับว่าเป็นความงมงายหรือไม่ขอรับ?

หลายท่านคงตอบว่า เป็นความเชื่อ เป็นความศรัทธา แต่แท้ที่จริงแล้วมันคือความงมงายที่ท่านไม่เลือกที่จะนิยามมันว่า งมงาย แต่ท่านใช้คำอื่นหรือความรู้สึกอื่น (เช่น ความเข้าใจ ความเห็นใจ ความสงสารที่เค้ามีปัญญาน้อย) มาปรุงแต่งครอบความงมงาย แล้วก็บอกว่ามองแบบนี้เข้าใจเช่นนี้คือความเมตตาหรือเปล่าขอรับ?

ส่วนพวกที่เห็นอย่างไร ก็ว่าอย่างนั้น เห็นว่างมงายก็ว่างมงาย ไม่ได้ไปตัดสินใคร ไม่ได้ดูถูกใคร
คนแบบนี้คือผู้ที่ไม่มีความเข้าใจผู้อื่น เป็นคนพาล เป็นผู้ที่ไม่ได้ศึกษาหรือปฏิบัติอย่างจริงจังหรือขอรับ?

กราบขอความรู้จากผู้รู้ทั้งหลายด้วยขอรับ

ไข่แมว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่