https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1597797053843301&set=a.1567191500237190.1073741827.100008390657373&type=1&theater
# จอมทัพธรรมแห่งยุคกึ่งพุทธกาล #
อีกฐานะหนึ่งที่จะต้องพูดถึงก็คือ หลวงปู่มั่นผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น " จอมทัพธรรมแห่งยุคกึ่งพุทธกาล " คำว่าจอมทัพธรรมนี้หมายความว่า ท่านเป็นผู้สามารถสั่งสอนให้ลูกศิษย์บรรลุธรรมได้เช่นเดียวกับท่าน และเป็นผู้นำในการเผยแผ่ธรรมะในขั้นปฏิบัติ โดยท่านเองก็มีลูกศิษย์ลูกหามากมายที่สำเร็จธรรมเป็นอริยบุคคล
ส่วนตัวแล้วบางครั้งผมก็รู้สึกว่า หลวงปู่มั่นและท่านพุทธทาสนั้นมีความคล้ายคลึงกันมาก คือ เป็นผู้ยิ่งใหญ่เหมือนๆ กัน สามารถสั่นสะเทือนโลกได้เท่าๆ กัน แต่เป็นความงามคนละเฉดสี เป็นเพชรที่สวยไปคนละแบบ การพบหลวงปู่มั่นดุจการค้นพบเพชรในป่าลึก ส่วนการพบท่านพุทธทาสนั้นดุจการค้นพบเพชรในท้องทะเล
ท่านพุทธทาสสอนปุถุชนให้กลายเป็นกัลยาณชน เป็นระลอกคลื่นกลางมหาสมุทรที่แรงและเร็ว ขณะที่หลวงปู่มั่นนั้นท่านสอนกัลยาณชนให้กลายเป็นอริยบุคคล เป็นสายลมเย็นที่แหวกม่านพงพนาที่เงียบเชียบทว่าล้ำลึก อดรู้สึกไม่ได้ว่า ความดีงามของอริยบุคคลทั้งสองนั้น ราวกับเป็นอัครสาวกในยุคกึ่งพุทธกาลเลยทีเดียว
เรื่องนี้ทำให้นึกถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง พระสารีบุตรว่าเป็นอัครสาวกคู่กับพระมหาโมคคัลลานะ โดยตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า " ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายคบกับสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด สารีบุตรเปรียบเหมือนมารดาผู้ให้กำเนิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกที่เกิดแล้วนั้น สารีบุตรย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้องบนสูงกว่านั้น "
ด้วยเหตุนี้จึงมีคำยกย่องว่า พระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา และพระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ความดีงามที่อริยบุคคลทั้งหลวงปู่มั่นและท่านพุทธทาสกระทำนั้น น่าจะเรียกได้ว่าเป็นอัครสาวกในยุคกึ่งพุทธกาลเลยทีเดียว
บันทึกการเดินทางตามรอยธุดงค์ หลวงปู่มั่น จอมทัพธรรม
พศิน อินทรวงค์
-----------------------------------------------------
สรุปท่านดีงามทั้งคู่นะครับ เรียกว่าเป็นอัครสาวกในสมัยกึ่งพุทธกาลได้เลยทีเดียว
เทียบหลวงปู่มั่นและท่านพุทธทาสให้ดู ชนชาวเราในห้องศาสนานี้จะได้เลิกทุ่มเถียงกันเสียที
# จอมทัพธรรมแห่งยุคกึ่งพุทธกาล #
อีกฐานะหนึ่งที่จะต้องพูดถึงก็คือ หลวงปู่มั่นผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น " จอมทัพธรรมแห่งยุคกึ่งพุทธกาล " คำว่าจอมทัพธรรมนี้หมายความว่า ท่านเป็นผู้สามารถสั่งสอนให้ลูกศิษย์บรรลุธรรมได้เช่นเดียวกับท่าน และเป็นผู้นำในการเผยแผ่ธรรมะในขั้นปฏิบัติ โดยท่านเองก็มีลูกศิษย์ลูกหามากมายที่สำเร็จธรรมเป็นอริยบุคคล
ส่วนตัวแล้วบางครั้งผมก็รู้สึกว่า หลวงปู่มั่นและท่านพุทธทาสนั้นมีความคล้ายคลึงกันมาก คือ เป็นผู้ยิ่งใหญ่เหมือนๆ กัน สามารถสั่นสะเทือนโลกได้เท่าๆ กัน แต่เป็นความงามคนละเฉดสี เป็นเพชรที่สวยไปคนละแบบ การพบหลวงปู่มั่นดุจการค้นพบเพชรในป่าลึก ส่วนการพบท่านพุทธทาสนั้นดุจการค้นพบเพชรในท้องทะเล
ท่านพุทธทาสสอนปุถุชนให้กลายเป็นกัลยาณชน เป็นระลอกคลื่นกลางมหาสมุทรที่แรงและเร็ว ขณะที่หลวงปู่มั่นนั้นท่านสอนกัลยาณชนให้กลายเป็นอริยบุคคล เป็นสายลมเย็นที่แหวกม่านพงพนาที่เงียบเชียบทว่าล้ำลึก อดรู้สึกไม่ได้ว่า ความดีงามของอริยบุคคลทั้งสองนั้น ราวกับเป็นอัครสาวกในยุคกึ่งพุทธกาลเลยทีเดียว
เรื่องนี้ทำให้นึกถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง พระสารีบุตรว่าเป็นอัครสาวกคู่กับพระมหาโมคคัลลานะ โดยตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า " ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายคบกับสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด สารีบุตรเปรียบเหมือนมารดาผู้ให้กำเนิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกที่เกิดแล้วนั้น สารีบุตรย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้องบนสูงกว่านั้น "
ด้วยเหตุนี้จึงมีคำยกย่องว่า พระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา และพระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ความดีงามที่อริยบุคคลทั้งหลวงปู่มั่นและท่านพุทธทาสกระทำนั้น น่าจะเรียกได้ว่าเป็นอัครสาวกในยุคกึ่งพุทธกาลเลยทีเดียว
บันทึกการเดินทางตามรอยธุดงค์ หลวงปู่มั่น จอมทัพธรรม
พศิน อินทรวงค์
-----------------------------------------------------
สรุปท่านดีงามทั้งคู่นะครับ เรียกว่าเป็นอัครสาวกในสมัยกึ่งพุทธกาลได้เลยทีเดียว