7 Eleven เต็มเมือง : แล้วโชว์ห่วยที่ญี่ปุ่นเขาอยู่กันอย่างไร ?

พอดีได้ไปอ่านบทความมาน่ะครับ
เห็นว่าน่าสนใจ  ขออนุญาตนำบางส่วนมาเผยแพร่เพื่อแชร์ความรู้นะครับ
http://www.cookiecoffee.com/backpack/74530/7-eleven-japan-conveniece-store-flood-survice-retail-small-shop


ใครที่เคยไปเที่ยวญี่ปุ่นด้วยตัวเองคงเคยแวะ “ร้านสะดวกซื้อ [Convenience Store]” ที่มีเต็มประเทศนี้, เอาแค่ 7 Eleven ก็มีถึง 16000 สาขา [ถ้านับ Lawson ด้วยก็เพิ่มเข้าไปอีก 12000 สาขาและ Family Mart อีก 11200 สาขา]

นอกจากนี้ก็ยังมี Supermarket ขนาดเล็กที่ขายผักสดและผลไม้ทั่วทุกมุมเมืองอย่าง Aeon

แถมด้วย “ร้านร้อยเยน” ที่ขายของเหมือน Convenience Store แต่ถูกลงอีกระดับ อาทิ Lawson 100

และแน่นอน, 7 Eleven ที่ญี่ปุ่นมีทั้งห้องน้ำให้ใช้ฟรี / ไปรษณีย์ / 7 Bank & ATM / กาแฟและตู้กด Slurpee

แล้ว “โชว์ห่วย” หรือร้านขายของชำในญี่ปุ่นเขาอยู่กันอย่างไร…


1. การรวมตัวกันของโชว์ห่วย / ร้านขายผักและสารพัดสิ่ง

นอกจากจะต่อสู้กับ 7 Eleven / Lawson / Family Mart แล้ว, ร้านขายของชำเล็กๆ ไปจนถึงร้านขายของสดก็ยังต้องต่อกรกับ Supermarket และห้างใหญ่ แต่วิธีหนึ่งที่ร้านพวกนี้ใช้ก็คือ การรวมตัวกันในท้องถิ่น

อาทิเช่น มีบัตรสะสมแต้ม [ไม้ตายมาตรฐานคนญี่ปุ่น ยิ้ม], ที่ทุกร้านจับมือกันพร้อมใจ

ซื้อ Snack ในร้านโชห่วย A ก็ได้ดาว, ไปซื้อผักที่ร้าน B ก็มีคะแนนและเมื่อสะสมแต้มครบก็แลกของ

7 Eleven ไม่ได้มีสินค้าครบทุกสิ่งเท่าร้านโชห่วย + ร้านผัก + ร้านผลไม้ + ร้านขายยา + ร้าน B + ร้าน C + ร้าน Z

เรียกง่ายๆ ก็คือ ทุกร้านรวมกันเป็น “Supermarket” ที่มีความเป็นเอกเทศ

โดยอาศัยความเชื่อใจ, อัธยาศัยและรอยยิ้มของคนในท้องถิ่นที่มีให้กันมายาวนานนั่นเอง

2. ปรับปรุงความสะอาด / มาตรฐานของสินค้าและบริการ

ข้อนี้อาจง่ายกว่าไทย เพราะไม่ว่าอย่างไร, ญี่ปุ่นก็คือญี่ปุ่น

ความสะอาดต้องมีอยู่แล้วและตั้งแต่ผมไป Backpack ประเทศนี้มาสิบหนจนมีแฟนเป็นสาว Kyoto, บอกได้เลยว่ายังไม่เคยโดนโกงสักครั้ง แต่ถ้าเข้าร้านโชว์ห่วยไทย ไม่มีใครรับประกันได้ว่าผมจะไม่โดนอาแปะด่าและไม่โดนอาม่าโกง

อีกสิ่งหนึ่งที่ผมประทับใจในการทอนเงินของคนญี่ปุ่นก็คือ เขาจะหยิบธนบัตรมานับทีละใบให้เราเห็น

เป็นเรื่องที่ผมว่าร้านโชห่วย [หรือร้าน Chain / Franchise ใดๆ] เองก็น่าจะทำได้

[เพราะในความเป็นจริง, พนักงานก็ต้องนับอยู่แล้ว แค่แสดงให้เห็นชัดๆ เท่านั้น จึงไม่เสียเวลาเพิ่ม]

3. บริการส่งถึงบ้าน

บางครั้งคนญี่ปุ่นที่เราเห็นว่าขยันสุดๆ, ก็ขี้เกียจอย่างเหลือเชื่อ…

ตอนผมไปพัก Hostel ที่ Sendai, มีร้าน Ramen ใกล้ๆ ที่พร้อมส่งอาหารถึงบ้านและร้านเขาก็มีสินค้ากระจุกกระจิกอย่างพวกเหล้าเบียร์ / ขนมซองๆ / ไปจนถึงของใช้ประจำวัน ซึ่งทุกอย่างสามารถปั่นจักรยานมาส่งได้หมด

เมืองไทยเรายิ่งกว่าเพราะอากาศมันร้อน, ซึ่งนั่นก็คือสาเหตุหนึ่งที่คนหนีเข้าไปหาแอร์ใน 7 Eleven

อย่างในหมู่บ้านผม, ก็มีร้านอาหารตามสั่งเจ้าหนึ่งที่ขายดีกว่าใครเพราะมี Delivery ด้วยจักรยานเช่นกัน

ฟังดูไร้สาระ แต่ผมขอบอกว่าตอนนี้ 7 Eleven ที่ Tokyo ก็เริ่มใช้แนวคิด “จักรยานไฟฟ้า” ส่งของแล้ว

เพราะญี่ปุ่นมีลักษณะเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น, การเดินมาซื้ออาจเริ่มไม่สะดวกเท่าส่งถึงบ้านครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่