สังคม ไทยเห่อค่านิยมส่งบุตรหลานเรียนโรงเรียนระดับท็อปไม่เลิก ดัน "แป๊ะเจี๊ยะ" พุ่งขึ้นทุกปี ตะลึง ! จองที่นั่งเรียนชั้นอนุบาล-ป.1 ต้องควักตั้งแต่ 2 แสน ทะลุถึงหลักล้าน เผย ร.ร.สาธิตของรัฐฮิตไม่แพ้ ร.ร.เอกชนมีชื่อเสียง นักวิชาการ TDRI จี้รัฐประกาศนโยบายชัดเจนเรื่องจ่ายเงินกินเปล่า
ค่านิยมเรื่องการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนดัง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงการมีพรรคพวกเพื่อนฝูง และสายสัมพันธ์หรือคอนเน็กชั่นทั้งทางสังคม ธุรกิจ และการเมืองในอนาคต ยังเป็นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยอมควักกระเป๋าจ่าย แม้ปัจจุบัน "ค่าบำรุงการศึกษา" หรือ "แป๊ะเจี๊ยะ" หรือ "เงินกินเปล่า" ของโรงเรียนดังหลายแห่งทั้งในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ตลอดจนโรงเรียนเอกชนที่มีชื่อเสียงพุ่งสูงขึ้นจากที่ผ่านมามาก
ล่าสุด "นายอุทิศ บัวศรี" ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุว่า ปี 2557 ที่ผ่านมาพบว่าโรงเรียนดังทั้งระบบเก็บเงินค่าแป๊ะเจี๊ยะสูงถึง 640 ล้านบาท เทียบกับปี 2542 มีการเก็บค่าแป๊ะเจี๊ยะ 190 ล้านบาท
แม้แต่ "พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย" รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) และรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีนโยบายจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวยังยอมรับว่าเป็นเรื่องยาก เพราะสมยอมกันระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียนโดยเฉพาะช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.เป็นช่วงที่นักเรียน-ผู้ปกครองต้องดิ้นรนชิงเก้าอี้เรียนโรงเรียนดังฝุ่นตลบ ก่อนเปิดเทอมการศึกษาใหม่ปี 2558-2559 ในเดือน พ.ค.นี้
2 แสน-1 ล้านชิงที่นั่งอนุบาล-ป.1
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ลงพื้นที่สำรวจโรงเรียนในระดับชั้น ม.1 สังกัด สพฐ. โรงเรียนสาธิตระดับชั้นอนุบาล-ป.1 สังกัด สกอ. และโรงเรียนเอกชนที่ชื่อเสียงระดับชั้น ป.1 ได้รับการเปิดเผยข้อมูลจากผู้ปกครองหลายรายว่า ปี 2558-2559 ต้องจ่าย
"ค่าบำรุงการศึกษา" หรือ "แป๊ะเจี๊ยะ" อยู่ระหว่าง 2-5 แสนบาท แต่บางแห่งต้องจ่ายตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไปใกล้เคียงกับปี 2557
ทั้งนี้ หลังจากโรงเรียนประกาศผลสอบ และรายงานตัวเมื่อ 2 เม.ย. และกำหนดมอบตัวนักเรียน 8 เม.ย.ที่ผ่านมา
นักเรียนทั้งหมดที่มีสิทธิ์เข้าเรียนต้องเรียนปรับพื้นฐานเตรียมตัวขึ้นชั้น ม.1 ทั้งในส่วนของห้องเรียนทั่วไป และห้องเรียนพิเศษ (Intensive) จนถึง 30 เม.ย. 2558 จากนั้นโรงเรียนในสังกัด สพฐ.จะเปิดภาคเรียนวันที่ 14-15 พ.ค. 2558 เป็นต้นไป
ควักกระเป๋าแลกคอนเน็กชั่น
โดยระหว่างเรียนปรับพื้นฐานถึงช่วงก่อนเปิดเทอม 14-15 พ.ค. ผู้ปกครองที่ต้องการให้บุตรหลานของตนเองเข้าโรงเรียนที่มีชื่อ อาทิ โรงเรียนแถวปากคลองตลาด, ถนนราชดำเนิน จะเป็นช่วงที่ผู้ปกครองยังหาที่เรียนให้บุตรหลานไม่ได้พยายามดิ้นรนหาช่องทางฝากบุตรหลาน
โดยส่วนใหญ่ใช้วิธีติดต่อขอพบผู้อำนวยการโรงเรียน และแม้จะไม่ยอมให้เข้าพบโดยอ้างว่าติดภารกิจหรือไม่ได้อยู่โรงเรียน แต่จะมีระดับรองผู้อำนวยการเป็นด่านหน้าพบปะพูดคุยแทน ซึ่งการพูดคุยจะเน้นไปที่ผลการเรียนของนักเรียน ความสามารถของผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลาน รวมทั้งการจ่ายค่าบำรุงการศึกษา
ผู้ปกครองรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ถ้าอยากให้ลูกเรียนก็ต้องยอมจ่าย เพราะต้องการให้ลูกอยู่ในสังคมที่ดี มีเพื่อนดี ๆ อีกอย่างต้องการซื้อคอนเน็กชั่นด้วย เพราะสมัยนี้คอนเน็กชั่นสำคัญมาก ยิ่งจบจากโรงเรียนดัง ๆ ไปเรียนต่อหรือทำงานที่ไหน เจอรุ่นพี่เขาก็จะดูแลกัน
"เงิน 2-5 แสนบาทถือว่าเยอะสำหรับเศรษฐกิจขณะนี้ แต่ปัญหาคือ จ่ายแล้วจะเข้าได้หรือเปล่ายังไม่รู้ เพราะเขาดูหลายอย่าง ทั้งเกรดนักเรียน มีเส้นสายหรือไม่ ผู้ปกครองมีเวลาดูแลลูกหรือเปล่าด้วย"
เจ้าของธุรกิจ-บิ๊ก ขรก.จองสาธิต
ขณะที่กลุ่มโรงเรียนสาธิต (ประถม) แตกต่างไปจากโรงเรียนสังกัด สพฐ. เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่เป็นเจ้าของธุรกิจ ระดับผู้บริหารหรือพนักงานบริษัทเอกชนที่รายได้
ค่อนข้างสูง เป็นข้าราชการระดับสูง หรือบางรายบ้านอยู่ใกล้โรงเรียน และที่มีสายสัมพันธ์กับสมาคมผู้ปกครองและครู กลุ่มนี้ส่วนใหญ่แย่งหาที่นั่งให้นักเรียน ไม่ว่าจะต้องจ่ายเงินค่าบำรุงการศึกษาสูงแค่ไหนโดยกลุ่มโรงเรียนสาธิต (ประถม) เปิดรับนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล-ป.1 ตั้งแต่อายุ 5 ปีครึ่งขึ้นไป จะขายใบสมัครเมื่อปลายเดือน ม.ค.-ก.พ.ของทุกปี สอบประมาณเดือน มี.ค. กำหนดมอบตัวราวกลางเดือน เม.ย. ทั้งนี้ ในปีการศึกษา 2558 นี้มีนักเรียนชั้นอนุบาล-ป.1 สมัครสอบแต่ละโรงเรียนกว่า 1,000 คน แต่รับได้เพียง 200-300 คน/ปี/โรงเรียนเท่านั้น ในจำนวนนี้ 130-150 คนแรกเป็นนักเรียนทั่วไปที่ผ่านสอบคัดเลือก อีก 150 คนเป็นบุตรพนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างประจำ รวมถึงบุตรหลานผู้สนับสนุนการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
"ตรงนี้เป็นช่องว่างให้ผู้ปกครองที่มองหาโอกาสวิ่งเต้นฝากบุตรหลาน เพราะกลุ่มโรงเรียนสาธิตจะเปิดห้องเรียนชั้นอนุบาล-ป.1 เพียง 4-7 ห้องเท่านั้น แต่ละห้องรับนักเรียนเพียง 40-45 คน หากผู้ปกครองต้องการให้บุตรหลานเรียนก็ต้องจ่ายค่าบำรุงการศึกษาพิเศษ 2 แสน-1 ล้านบาท"
"ถามว่าคุ้มไหม ส่วนใหญ่บอกว่าคุ้ม เพราะบุตรหลานจะได้เรียนถึงชั้น ม.6 แต่เงินก็ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายว่าโรงเรียนจะรับนักเรียนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของนักเรียน ผู้ปกครอง และการอุทิศตนช่วยเหลือโรงเรียน และมหา"ลัยด้วย"
ร.ร.ดังเอกชน จองล่วงหน้า 1 ปี
เช่นเดียวกับโรงเรียนเอกชนที่มีชื่อเสียง อาทิ โรงเรียนแถวถนนสีลม ถนนสามเสน ซึ่งผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจของตัวเอง เป็นผู้บริหารระดับสูงในบริษัทเอกชน ข้าราชการ และนักการเมือง จึงพร้อมจ่ายแลกกับการให้บุตรหลานได้สังคมที่ดี แถมคอนเน็กชั่นปึ้กโดยไม่มีเงื่อนไข
โดยในส่วนของโรงเรียนเอกชนที่มีชื่อเสียงเหล่านี้ นอกจากรับสมัครนักเรียนใหม่ รับเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2558 ในวันที่ 18 พ.ค. 2558 แล้ว ขณะเดียวกัน ยังเปิดขายใบสมัครสอบเข้าชั้น ป.1 ในปีการศึกษาหน้าปี 2559 ไปพร้อม ๆ กัน
โดยเริ่มขายใบสมัครชุดละ 500 บาท ตั้งแต่ 1 เม.ย.-3 มิ.ย. 2558 ซึ่งผู้ปกครองต้องยื่นใบสมัครด้วยตนเองที่ห้องธุรการ โดยต้องกรอกตัวเลขลงในใบสมัครว่าจะร่วมเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับโรงเรียนจำนวนเท่าใด แต่จากการสอบถามผู้ปกครองส่วนใหญ่กรอกตัวเลขเป็นวงเงิน 2-5 แสนบาท
จากนั้นถ้าหากผู้ปกครองกรอกตัวเลขเป็นที่น่าพอใจ จะเรียกบุตรหลานเข้าสอบข้อเขียน 6 มิ.ย. 2558 สอบสัมภาษณ์ 7 มิ.ย. 2558 แต่ถ้าตัวเลขไม่เป็นที่น่าพอใจก็จะเปิดโอกาสให้กรอกใหม่
เทียบค่าเรียนโรงเรียนรัฐ-เอกชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเทียบค่าเล่าเรียนของกลุ่มโรงเรียนเอกชนดังกับโรงเรียนรัฐพบว่า แตกต่างกันมาก อย่างโรงเรียนเอกชนแถวถนนเพลินจิต และถนนคอนแวนต์ ที่จะเปิดรับสมัครนักเรียนอนุบาล-ป.1 ปีการศึกษา 2559 เดือน ส.ค.-ก.ย. และ ต.ค.-พ.ย. 2558 ค่าบำรุงการศึกษาไม่ต่ำกว่า 2 แสน-5 แสนบาท หรืออาจถึง 1 ล้านบาท เพราะบางชั้นเปิดเรียนเพียง 4 ห้อง รับนักเรียนได้เพียง 120 คน เทียบกับค่าเล่าเรียนของโรงเรียนสังกัด สพฐ.ชั้น ม.1 ประเภทห้องเรียนทั่วไปปีการศึกษา 2558/1 อาทิ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 10,000 บาท (7,000 บาทจ่ายให้สมาคมผู้ปกครองและครูสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์อีก 3,000 บาทเป็นค่าเทอม) โรงเรียนสตรีวิทยา 5,900 บาท ชั้น ป.1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) ค่าเทอมตลอดปี 21,200 บวกค่าแรกเข้า 3,000 บาท, โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 15,000 บาท ชั้น ป.1 โรงเรียนอัสสัมชัญ ค่าเทอมตลอดทั้งปี 91,900 บาท โรงเรียนเซนต์คาเบรียล 60,000 บาท โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย 60,000 บาท โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ภาคภาษาไทย 70,000 บาทตลอดทั้งปี ภาคภาษาอังกฤษ 250,000 บาทตลอดทั้งปี
TDRI ชี้นโยบายรัฐต้องชัด
ด้านนายภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค นักวิจัยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้มุมมองเรื่องการจ่ายเงินค่าบำรุงการศึกษาพิเศษว่า เป็นเพราะโรงเรียนได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐไม่เพียงพอ และด้วยความที่โรงเรียนมีความเป็นเอกเทศ มีอิสระในการจัดการ จึงต้องหาแนวทางเพิ่มรายได้มาพัฒนานักเรียนและสถานศึกษาตนมองว่าโรงเรียนที่รับแป๊ะเจี๊ยะบางแห่งไม่ได้มุ่งเน้นแต่การหาเงินเข้ามาพัฒนาโรงเรียน แต่ได้สร้างสมดุลในด้านคุณภาพการศึกษาด้วย ประเด็นนี้ยังเป็นเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา นักเรียนที่ผู้ปกครองจ่ายแป๊ะเจี๊ยะย่อมได้เปรียบนักเรียนอื่น ๆ
"ทางออกคือ รัฐต้องมีนโยบายชัดเจนมากพอ ระบุเลยว่าหากโรงเรียนใดมีการรับแป๊ะเจี๊ยะต้องรายงานไปทาง สพฐ.และ สกอ.ให้เข้ามาจัดการ แต่ปัญหาอยู่ที่โรงเรียนกลับมองว่าเงินแป๊ะเจี๊ยะไม่ใช่เรื่องผิด เพราะไม่ได้นำเงินไปให้ครูหรือผู้บริหาร แต่นำไปพัฒนาโรงเรียน ท้ายสุดนักเรียนได้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม หากรัฐไม่มีมาตรการควบคุม อาจเป็นช่องทางแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบได้"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1431003060
http://bit.ly/ชมรมผู้ไม่ใฝ่ใจบริโภคนิยมวัตถุนิยม
ต้นทุนการศึกษาพุ่ง"หลักล้าน" จองข้ามปีร.ร.สาธิต-เอกชนดัง
ค่านิยมเรื่องการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนดัง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงการมีพรรคพวกเพื่อนฝูง และสายสัมพันธ์หรือคอนเน็กชั่นทั้งทางสังคม ธุรกิจ และการเมืองในอนาคต ยังเป็นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยอมควักกระเป๋าจ่าย แม้ปัจจุบัน "ค่าบำรุงการศึกษา" หรือ "แป๊ะเจี๊ยะ" หรือ "เงินกินเปล่า" ของโรงเรียนดังหลายแห่งทั้งในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ตลอดจนโรงเรียนเอกชนที่มีชื่อเสียงพุ่งสูงขึ้นจากที่ผ่านมามาก
ล่าสุด "นายอุทิศ บัวศรี" ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุว่า ปี 2557 ที่ผ่านมาพบว่าโรงเรียนดังทั้งระบบเก็บเงินค่าแป๊ะเจี๊ยะสูงถึง 640 ล้านบาท เทียบกับปี 2542 มีการเก็บค่าแป๊ะเจี๊ยะ 190 ล้านบาท
แม้แต่ "พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย" รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) และรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีนโยบายจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวยังยอมรับว่าเป็นเรื่องยาก เพราะสมยอมกันระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียนโดยเฉพาะช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.เป็นช่วงที่นักเรียน-ผู้ปกครองต้องดิ้นรนชิงเก้าอี้เรียนโรงเรียนดังฝุ่นตลบ ก่อนเปิดเทอมการศึกษาใหม่ปี 2558-2559 ในเดือน พ.ค.นี้
2 แสน-1 ล้านชิงที่นั่งอนุบาล-ป.1
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ลงพื้นที่สำรวจโรงเรียนในระดับชั้น ม.1 สังกัด สพฐ. โรงเรียนสาธิตระดับชั้นอนุบาล-ป.1 สังกัด สกอ. และโรงเรียนเอกชนที่ชื่อเสียงระดับชั้น ป.1 ได้รับการเปิดเผยข้อมูลจากผู้ปกครองหลายรายว่า ปี 2558-2559 ต้องจ่าย
"ค่าบำรุงการศึกษา" หรือ "แป๊ะเจี๊ยะ" อยู่ระหว่าง 2-5 แสนบาท แต่บางแห่งต้องจ่ายตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไปใกล้เคียงกับปี 2557
ทั้งนี้ หลังจากโรงเรียนประกาศผลสอบ และรายงานตัวเมื่อ 2 เม.ย. และกำหนดมอบตัวนักเรียน 8 เม.ย.ที่ผ่านมา
นักเรียนทั้งหมดที่มีสิทธิ์เข้าเรียนต้องเรียนปรับพื้นฐานเตรียมตัวขึ้นชั้น ม.1 ทั้งในส่วนของห้องเรียนทั่วไป และห้องเรียนพิเศษ (Intensive) จนถึง 30 เม.ย. 2558 จากนั้นโรงเรียนในสังกัด สพฐ.จะเปิดภาคเรียนวันที่ 14-15 พ.ค. 2558 เป็นต้นไป
ควักกระเป๋าแลกคอนเน็กชั่น
โดยระหว่างเรียนปรับพื้นฐานถึงช่วงก่อนเปิดเทอม 14-15 พ.ค. ผู้ปกครองที่ต้องการให้บุตรหลานของตนเองเข้าโรงเรียนที่มีชื่อ อาทิ โรงเรียนแถวปากคลองตลาด, ถนนราชดำเนิน จะเป็นช่วงที่ผู้ปกครองยังหาที่เรียนให้บุตรหลานไม่ได้พยายามดิ้นรนหาช่องทางฝากบุตรหลาน
โดยส่วนใหญ่ใช้วิธีติดต่อขอพบผู้อำนวยการโรงเรียน และแม้จะไม่ยอมให้เข้าพบโดยอ้างว่าติดภารกิจหรือไม่ได้อยู่โรงเรียน แต่จะมีระดับรองผู้อำนวยการเป็นด่านหน้าพบปะพูดคุยแทน ซึ่งการพูดคุยจะเน้นไปที่ผลการเรียนของนักเรียน ความสามารถของผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลาน รวมทั้งการจ่ายค่าบำรุงการศึกษา
ผู้ปกครองรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ถ้าอยากให้ลูกเรียนก็ต้องยอมจ่าย เพราะต้องการให้ลูกอยู่ในสังคมที่ดี มีเพื่อนดี ๆ อีกอย่างต้องการซื้อคอนเน็กชั่นด้วย เพราะสมัยนี้คอนเน็กชั่นสำคัญมาก ยิ่งจบจากโรงเรียนดัง ๆ ไปเรียนต่อหรือทำงานที่ไหน เจอรุ่นพี่เขาก็จะดูแลกัน
"เงิน 2-5 แสนบาทถือว่าเยอะสำหรับเศรษฐกิจขณะนี้ แต่ปัญหาคือ จ่ายแล้วจะเข้าได้หรือเปล่ายังไม่รู้ เพราะเขาดูหลายอย่าง ทั้งเกรดนักเรียน มีเส้นสายหรือไม่ ผู้ปกครองมีเวลาดูแลลูกหรือเปล่าด้วย"
เจ้าของธุรกิจ-บิ๊ก ขรก.จองสาธิต
ขณะที่กลุ่มโรงเรียนสาธิต (ประถม) แตกต่างไปจากโรงเรียนสังกัด สพฐ. เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่เป็นเจ้าของธุรกิจ ระดับผู้บริหารหรือพนักงานบริษัทเอกชนที่รายได้
ค่อนข้างสูง เป็นข้าราชการระดับสูง หรือบางรายบ้านอยู่ใกล้โรงเรียน และที่มีสายสัมพันธ์กับสมาคมผู้ปกครองและครู กลุ่มนี้ส่วนใหญ่แย่งหาที่นั่งให้นักเรียน ไม่ว่าจะต้องจ่ายเงินค่าบำรุงการศึกษาสูงแค่ไหนโดยกลุ่มโรงเรียนสาธิต (ประถม) เปิดรับนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล-ป.1 ตั้งแต่อายุ 5 ปีครึ่งขึ้นไป จะขายใบสมัครเมื่อปลายเดือน ม.ค.-ก.พ.ของทุกปี สอบประมาณเดือน มี.ค. กำหนดมอบตัวราวกลางเดือน เม.ย. ทั้งนี้ ในปีการศึกษา 2558 นี้มีนักเรียนชั้นอนุบาล-ป.1 สมัครสอบแต่ละโรงเรียนกว่า 1,000 คน แต่รับได้เพียง 200-300 คน/ปี/โรงเรียนเท่านั้น ในจำนวนนี้ 130-150 คนแรกเป็นนักเรียนทั่วไปที่ผ่านสอบคัดเลือก อีก 150 คนเป็นบุตรพนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างประจำ รวมถึงบุตรหลานผู้สนับสนุนการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
"ตรงนี้เป็นช่องว่างให้ผู้ปกครองที่มองหาโอกาสวิ่งเต้นฝากบุตรหลาน เพราะกลุ่มโรงเรียนสาธิตจะเปิดห้องเรียนชั้นอนุบาล-ป.1 เพียง 4-7 ห้องเท่านั้น แต่ละห้องรับนักเรียนเพียง 40-45 คน หากผู้ปกครองต้องการให้บุตรหลานเรียนก็ต้องจ่ายค่าบำรุงการศึกษาพิเศษ 2 แสน-1 ล้านบาท"
"ถามว่าคุ้มไหม ส่วนใหญ่บอกว่าคุ้ม เพราะบุตรหลานจะได้เรียนถึงชั้น ม.6 แต่เงินก็ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายว่าโรงเรียนจะรับนักเรียนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของนักเรียน ผู้ปกครอง และการอุทิศตนช่วยเหลือโรงเรียน และมหา"ลัยด้วย"
ร.ร.ดังเอกชน จองล่วงหน้า 1 ปี
เช่นเดียวกับโรงเรียนเอกชนที่มีชื่อเสียง อาทิ โรงเรียนแถวถนนสีลม ถนนสามเสน ซึ่งผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจของตัวเอง เป็นผู้บริหารระดับสูงในบริษัทเอกชน ข้าราชการ และนักการเมือง จึงพร้อมจ่ายแลกกับการให้บุตรหลานได้สังคมที่ดี แถมคอนเน็กชั่นปึ้กโดยไม่มีเงื่อนไข
โดยในส่วนของโรงเรียนเอกชนที่มีชื่อเสียงเหล่านี้ นอกจากรับสมัครนักเรียนใหม่ รับเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2558 ในวันที่ 18 พ.ค. 2558 แล้ว ขณะเดียวกัน ยังเปิดขายใบสมัครสอบเข้าชั้น ป.1 ในปีการศึกษาหน้าปี 2559 ไปพร้อม ๆ กัน
โดยเริ่มขายใบสมัครชุดละ 500 บาท ตั้งแต่ 1 เม.ย.-3 มิ.ย. 2558 ซึ่งผู้ปกครองต้องยื่นใบสมัครด้วยตนเองที่ห้องธุรการ โดยต้องกรอกตัวเลขลงในใบสมัครว่าจะร่วมเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับโรงเรียนจำนวนเท่าใด แต่จากการสอบถามผู้ปกครองส่วนใหญ่กรอกตัวเลขเป็นวงเงิน 2-5 แสนบาท
จากนั้นถ้าหากผู้ปกครองกรอกตัวเลขเป็นที่น่าพอใจ จะเรียกบุตรหลานเข้าสอบข้อเขียน 6 มิ.ย. 2558 สอบสัมภาษณ์ 7 มิ.ย. 2558 แต่ถ้าตัวเลขไม่เป็นที่น่าพอใจก็จะเปิดโอกาสให้กรอกใหม่
เทียบค่าเรียนโรงเรียนรัฐ-เอกชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเทียบค่าเล่าเรียนของกลุ่มโรงเรียนเอกชนดังกับโรงเรียนรัฐพบว่า แตกต่างกันมาก อย่างโรงเรียนเอกชนแถวถนนเพลินจิต และถนนคอนแวนต์ ที่จะเปิดรับสมัครนักเรียนอนุบาล-ป.1 ปีการศึกษา 2559 เดือน ส.ค.-ก.ย. และ ต.ค.-พ.ย. 2558 ค่าบำรุงการศึกษาไม่ต่ำกว่า 2 แสน-5 แสนบาท หรืออาจถึง 1 ล้านบาท เพราะบางชั้นเปิดเรียนเพียง 4 ห้อง รับนักเรียนได้เพียง 120 คน เทียบกับค่าเล่าเรียนของโรงเรียนสังกัด สพฐ.ชั้น ม.1 ประเภทห้องเรียนทั่วไปปีการศึกษา 2558/1 อาทิ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 10,000 บาท (7,000 บาทจ่ายให้สมาคมผู้ปกครองและครูสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์อีก 3,000 บาทเป็นค่าเทอม) โรงเรียนสตรีวิทยา 5,900 บาท ชั้น ป.1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) ค่าเทอมตลอดปี 21,200 บวกค่าแรกเข้า 3,000 บาท, โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 15,000 บาท ชั้น ป.1 โรงเรียนอัสสัมชัญ ค่าเทอมตลอดทั้งปี 91,900 บาท โรงเรียนเซนต์คาเบรียล 60,000 บาท โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย 60,000 บาท โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ภาคภาษาไทย 70,000 บาทตลอดทั้งปี ภาคภาษาอังกฤษ 250,000 บาทตลอดทั้งปี
TDRI ชี้นโยบายรัฐต้องชัด
ด้านนายภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค นักวิจัยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้มุมมองเรื่องการจ่ายเงินค่าบำรุงการศึกษาพิเศษว่า เป็นเพราะโรงเรียนได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐไม่เพียงพอ และด้วยความที่โรงเรียนมีความเป็นเอกเทศ มีอิสระในการจัดการ จึงต้องหาแนวทางเพิ่มรายได้มาพัฒนานักเรียนและสถานศึกษาตนมองว่าโรงเรียนที่รับแป๊ะเจี๊ยะบางแห่งไม่ได้มุ่งเน้นแต่การหาเงินเข้ามาพัฒนาโรงเรียน แต่ได้สร้างสมดุลในด้านคุณภาพการศึกษาด้วย ประเด็นนี้ยังเป็นเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา นักเรียนที่ผู้ปกครองจ่ายแป๊ะเจี๊ยะย่อมได้เปรียบนักเรียนอื่น ๆ
"ทางออกคือ รัฐต้องมีนโยบายชัดเจนมากพอ ระบุเลยว่าหากโรงเรียนใดมีการรับแป๊ะเจี๊ยะต้องรายงานไปทาง สพฐ.และ สกอ.ให้เข้ามาจัดการ แต่ปัญหาอยู่ที่โรงเรียนกลับมองว่าเงินแป๊ะเจี๊ยะไม่ใช่เรื่องผิด เพราะไม่ได้นำเงินไปให้ครูหรือผู้บริหาร แต่นำไปพัฒนาโรงเรียน ท้ายสุดนักเรียนได้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม หากรัฐไม่มีมาตรการควบคุม อาจเป็นช่องทางแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบได้"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1431003060
http://bit.ly/ชมรมผู้ไม่ใฝ่ใจบริโภคนิยมวัตถุนิยม