ไม่ว่าคุณจะได้อ่านเรื่องราวแย่ๆของเนปาลมาขนาดไหน แท็กซี่จะพาอ้อมโลกรึเปล่า? อยู่ๆจะมีใครโดดขึ้นมาขอทิปบนรถไหม? พนักงานโรงแรมหิวทิปทุกคนรึเปล่า? จะมีน้ำลายกระเด็นใส่หัวไหม?
แต่ถ้าคนธรรมดาๆ ออกจะปอดแหก เงอะๆงะๆ อย่างพวกเราไปได้ ทำไมคุณจะไปไม่ได้ โยนข้อมูลร้ายๆทิ้งไป แล้วทำวีซ่าพรุ่งนี้เลย!
7 พฤษภาคม 2558
พวกเราคงรู้แล้วว่าเกิดอะไรขึ้น...
การสร้างสิ่งก่อสร้างในดูบาร์สแควร์ รวมทั้งโบราญสถานอื่นๆขึ้นมาใหม่ คงทำได้ไม่ง่ายนัก - หรืออาจจะทำไม่ได้อีกแล้ว - ยิ่งมาเกิดกับประเทศยากจน ที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลักอย่างเนปาล นับว่าเป็นเรื่องเศร้ามากสำหรับผม และเชื่อว่าหลายๆคนที่เคยไปเยือนประเทศนี้ก็คงรู้สึกไม่ต่างกัน
ถึงตอนนี้รีวิวนี้อาจจะไม่มีประโยชน์ในแง่ของการนำเที่ยว - เสียดาย อุตสาห์เขียนตั้งยืดยาวนิ >_< - แต่หวังว่ามันจะช่วยให้ใครที่ยังกล้าๆกลัวๆ ตัดสินใจออกเดินทางได้ง่ายขึ้นครับ
---------- ระยะเวลา ----------
12 มกราคม - 19 มกราคม รวมๆแล้วก็ 8 วัน เดินทาง 2 วัน หมกตัวกับกลิ่นอายแขกและฝุ่นควัน 6 วัน
---------- เตรียมตัวก่อนไป ----------
• เตรียมใจ กาฐมาณฑุเป็นเมืองสุดแสนอีแหละเขะขะ ฝุ่นเพียบ รถเก่าๆ เบาะเขรอะๆ คนขับรถตามใจฉัน เสียงแตรทุกห้าวินาที คน
น้ำลายตลอดเวลา ประตูห้องไม่มีลูกบิด และอะไรที่อยู่ในสภาพเก่าๆจะพังแหล่ไม่พังแหล่อีกสารพัด แต่เชื่อผม มันโคตรมีเสน่ห์เลย
• ถ้าคุณจะไปช่วงเดียวกับผม เตรียมเสื้อกันหนาวจัดเต็มไปด้วย ไม่เอาแบบพองๆฟรุ้งฟริ้ง เพราะนอกจากจะหนักแล้วยังกันอะไรไม่ได้ อุณหภูมิต่ำสุดอาจจะลงไปถึง 5 องศา ไม่ใช่เล่นๆนะคุณ
• ไฟดับ เนปาลใช้ไฟฟ้าพลังน้ำเป็นหลัก ในช่วงที่แล้งๆ ไฟฟ้าที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน เลยต้องมีการตัดไฟเป็นระยะ แต่โรงแรมและร้านอาหารส่วนใหญ่จะมีเครื่องปั่นไฟของตัวเอง ไม่น่ากลัว และแทบจะไม่กระทบกับการใช้ชีวิตเลย
• Temple ไม่ได้หน้าตาแบบวัดในบ้านเราเสมอไป ศาลเจ้าฮินดูเล็กๆ หรือสิ่งก่อสร้างที่สร้างถวายเทพเจ้า ก็เรียกว่าวัด เพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจถ้าคุณเห็นคำว่า Temple ในแผนที่ แต่กลายเป็นศาลเล็กจิ๋ว เตี้ยติดดิน
• การส่ายหัว อืม...คล้ายๆกับการเอียงคอไปมา แปลว่า “ใช่”
• หูทวนลม ไม่ว่าใครจะเรียก หน้าเดิน อย่าสนใจ แล้วจะไม่มีใครมายุ่งกับคุณ
• ขอวีซ่าที่สถานทูตเนปาล ง่ายมาก เตรียมเงินกับเอกสารไปให้พร้อมก็พอครับ ดูรายละเอียดที่นี่เลย
http://www.nepalembassybangkok.com/
• เอารูปถ่ายที่เหลือจากตอนขอวีซ่าติดไปด้วย เอาไว้ใช้ทำบัตร multiple pass สำหรับกาฐมาณฑุ ดูบาร์สแควร์ (Kathmandu Durbar Square)
• ย่านที่เราจะไปพักชื่อว่าทาเมล (Thamel) เป็นศูนย์รวมนักท่องเที่ยว คล้ายๆถนนข้าวสาร ดึกๆก็จะมีฝรั่งออกมาแหกปากร้องเพลง หาอุปกรณ์ป้องกันเสียงไปด้วย ถ้าคุณหลับยาก
• จองโรงแรมจากเมืองไทยเลย ถ้าไม่จองไว้จะโดนแท็กซี่ ลากไปโรงแรมที่เค้าได้ส่วนแบ่ง… แต่ถ้าคุณอยากวัดดวงผมก็ไม่ห้ามนะครับ ^^
• กาฐมาณฑุเป็นเมืองที่ฝุ่นเยอะมากๆ ผมแนะนำให้ติดหน้ากากอนามัยไปด้วย ได้ใช้แน่ๆ ไปกี่วันก็เอาไปเท่านั้นเลยครับ
• ยาแก้โรคประจำตัว ยาแก้ท้องเสีย ผงเกลือแร่ ยาลดไข้ควรมีติดตัวไปบ้าง แต่ขาดเหลือยังไงซื้อที่โน้นก็ได้ครับ หาซื้อไม่ยาก คุณภาพใช้ได้ ราคาไม่แพง
• แลกเงินดอลล่าเตรียมไว้ เราจะเอาดอลล่าไปแลกเป็นรูปีที่เนปาลอีกที
• พิมพ์หลักฐานการจองโรงแรมติดตัวไปด้วย นอกจากจะเอาไว้โชว์กับเจ้าของโรงแรมแล้ว ถ้าคุณหลง - ซึ่งผมหลง - มันจะช่วยพาคุณไปถึงโรงแรมได้
---------- พักที่ไหน ----------
• ไปเนปาลงวดนี้ ผมจองโรงแรมไว้สามที่ คุณภาพดี สมราคา
o โรงแรมแรก Trekkers Home อยู่ใจกลางย่านทาเมลดังนั้นดึกๆจะอึกทึกครึกโครมหน่อย มีน้ำเปล่าให้เติมฟรี มีน้ำอุ่นให้ใช้ตลอด แต่บางครั้งน้ำจะ ออกมาแดงๆเหมือนน้ำคลอง ร้านอาหารที่ชั้นสองอร่อยดี แถมไม่แพง และพนักงานโคตรเป็นมิตร
o โรงแรมที่สอง Peacock Guesthouse ที่บักตะปูร์โรงแรมสวย ห้องกว้างใหญ่ มีข้าวเช้าให้กิน มีฮีทเตอร์ มีเครื่องทำน้ำอุ่นในห้องน้ำ แต่เป็นระบบแก๊ส ทำให้เหม็นแก๊ส ควบคุมอุณหภูมิยาก เจ้าของโรงแรมใจดีมากๆ ชอบมาเที่ยวเมืองไทย แล้วตระเวนกินในกรุงเทพ แต่ห้องที่นี่หนาวสุดๆ
o โรงแรมที่สาม Shree Tibet Family Guest House กลับมาในย่านทาเมลอีกครั้ง นอนโรงแรมนี้ อารมณ์คล้ายๆอยู่บ้านลุง นิ่งๆ ไม่มีใครมาวุ่นวาย ค่อนข้างสงบ ห้องอุ่นมาก มีทีวีให้ดูด้วย ไฟดับเป็นบางเวลา มีน้ำอุ่นบ้างไม่มีบ้าง แต่ราคาถูกที่สุดในสามที่
---------- ไปยังไง ----------
บินไปกับ Nepal Airline สายการบินที่ให้บรรยากาศของเนปาลอย่างเต็มเปี่ยม ไฟสีส้มสลัวๆ เบาะเก่าๆ ห้องน้ำเก่าๆ แต่อาหารอร่อย บินนิ่ม ลงจอดเนียน และที่สำคัญ ราคาประหยัด
Nepal Airlines บินเฉพาะวันจันทร์ และศุกร์เท่านั้น สนใจติดต่อ 02 266 7146-7
---------- เดินทางยังไง ----------
-- จากสนามบินไปโรงแรม --
ฉบับสั้น
ให้โรงแรมมารับ ตอนจองโรงแรม ส่วนใหญ่เค้าจะเขียนไว้ว่ามีบริการ pick up รึเปล่า บางเจ้าอาจจะฟรี แต่บางเจ้าก็ไม่ฟรี
ถ้าคุณไม่ให้โรงแรมมารับ เตรียมที่อยู่ของโรงแรมไว้ – ซึ่งจะอยู่ในใบจองโรงแรม – แล้วใช้บริการแท็กซี่ของสนามบินก็ได้ครับ ราคาสูงกว่าบริการของโรมแรมนิดเดียว
ฉบับยาว เพื่อศักดิ์ศรีของพี่น้องชาวเนปาล!!! เอ่อ...ไปเป็นพี่น้องกับเค้าตั้งแต่เมื่อไหร่...
อันที่จริงผมติดต่อให้ Trekker Home มารับ แต่โชคร้าย เครื่องบินดีเลย์ และการรอคอยกระเป๋าที่ยาวนาน รวมๆแล้วก็สายไปราวสองชั่วโมง
ผมกับอาเจ้จ้ำออกมานอกสนามบิน มองซ้ายมองขวา ไม่เจอคนขับรถจากโรงแรม ท่ามกลางไฟสลัวๆ และอากาศหนาวเหน็บ จังหวะนั้นเอง สายตาของแขกนับสิบคนก็จ้องมา
"แท็กซี่" "แท็กซี่" "ยู แท็กซี่?"
"หนีห่าว" "อา ยู เจแปนนีส?" "โคเรียน?" เมื่อเห็นผมไม่ตอบรับก็เริ่มเปลี่ยนกลยุทธ์
ผมเริ่มเข้าใจแมงเม่าแล้วว่าทำไมมันถึงชอบบินเข้าหาแสงไฟ เพราะท่ามกลางสถานการณ์แบบนี้ ผมก็เลือกติดต่อเค้าเตอร์แท็กซีที่ไฟสว่างที่สุดเหมือนกัน!
เค้าเตอร์นี้อยู่นอกตัวอาคาร มีคนนั่งอยู่สามสี่คน มีป้ายเขียนว่า "Prepaid Taxi" ติดอยู่
"ยูจะไปไหน" หนุ่มเนปาลผิวเข้มถามขึ้นน้ำเสียงเรียบๆ เมื่อเห็นผมเดินเข้าไป
"ผมจะไป Trekker Home" แล้วก็ควักใบจองโรงแรม ซึ่งเปล่งประกายเหมือนของวิเศษของโดราเอม่อน เพราะมันมีที่อยู่ของโรมแรม และผมรู้ว่ามันจะทำให้ผมถึงที่หมายโดยสวัสดิ์ภาพ
พี่แขกสามสี่คนเอาใบจองโรงแรมไปพลิกคว่ำพลิกหงาย คุยกันโขมงโฉงเฉง อึดใจนึงก็พูดขึ้นว่า
"เก้าดอลล่า"
ผมนับอย่างลนลาน ไม่รู้สติสตังหายไปไหน อาจจะเพราะแรงกดดันจากสายตาของแท็กซี่นับสิบข้างนอกนั่น
"โอเค เก้าดอลล่า" ผมทวนพร้อมกับยืนเงินไป
"โนๆๆๆ นี่มันแบ๊งค์ร้อยดอลล่า ไม่ใช่หนึ่งดอลล่า ผมว่าคุณสับสนแล้วหละ"
โอ้อออออออออออววววว นั่นมันตั้งสามพันเชียวนะคู๊ณ เกือบจะเป็นการนั่งแท็กซีที่แพงที่สุดในชีวิตไปซะแล้ว
โชคดีจริงๆที่พี่แขกเตือนไว้...
ถึงจุดนี้ ผมต้องขอโวยแทนพี่น้องเนปาลีหน่อยเถอะ เรามักจะพูดถึงความตุกติกของคนเนปาล หิวเงิน ตอดเล็กตอดน้อย ซึ่งมันทำให้เกิดบรรยากาศที่ไม่น่าไว้ใจขึ้นตั้งแต่ผมเหยียบเท้าลงบนประเทศนี้
ขอยืนยันเลยว่าคนดีๆเค้าก็มีนะครับ อย่าเหมา และตลอดการเดินทาง ผมเจอคนน่ารักๆเยอะมาก
สุดท้ายผมกับอาเจ้ก็ขึ้นไปนั่งบนแท็กซีโทรมๆคันหนึ่ง วิ่งปุเลงๆฝ่าความมืดเข้าไปในซอยแคบๆ ในที่สุดก็มาหยุดอยู่หน้าโรงแรม
ถึงแล้ว ทาเมลถนนข้าวสารแห่งเนปาล แต่ถาพตรงหน้านี่มัน...
-- การเดินทางในกาฐมาณฑุ --
ก่อนอื่น คุณต้องจำเส้นทางย่านทาเมลให้ได้ โดยเฉพาะจุดศูนย์กลางที่เรียกว่าทาเมลโช๊ค (Thamel Chowk) ขอแผนที่จากโรงแรม ถามเค้าซะหน่อยว่าทาเมลโช๊คไปทางไหน แล้วลุย
เมื่อคุ้นกับโซนนี้แล้ว คุณจะหาของกิน ช็อปปิ้ง รวมทั้งไปสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอย่าง Kathmandu Durbar Square ได้สบายๆ - และจะไม่หลงเหมือนผม
ระหว่างทางอาจจะเจอคนพยายามเรียกคุณด้วยสารพัดภาษา อย่าสนใจ เดินหน้าลูกเดียวครับ
ส่วนการเดินทางไปสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆเช่น สวยมภูวนาถ หรือ ปศุปตินาถ ไม่ต้องคิดมากครับ เรียกแท็กซี่เลย
-- การเดินทางออกนอกกาฐมาณฑุ --
วิธีแรก
ผมใช้บริการโรงแรมในทาเมลให้จัดทริปไป “นากาก็อต” และ “บักตะปูร์” (Nagarkot and Bhaktapur) ค้างที่บักตะปูร์หนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเค้าก็จะมารับกลับทาเมล สะดวกสบายระดับ VIP แต่น่าจะทำร้ายกระเป๋าตังค์มากกว่าที่ควร
วิธีที่สอง
ขึ้นแท็กซี่จากทาเมล > นากาก็อต > ให้เค้ารอบนนากาก็อต ตกลงเวลากันดีๆ > บักตะปูร์ > วันรุ่งขึ้น แท็กซี่กลับทาเมล
วิธีนี้น่าจะถูกกว่าแบบแรก แต่จะถูกกว่ากันเท่าไหร่ ผมบอกไม่ได้ ไม่มีประสบการณ์จ้า
วิธีที่สาม
Tourist Bus หรือ รถบัสสำหรับนักท่องเที่ยว ราคาถูกกว่าแท็กซี่ซักสิบเท่า ถ้ากายพร้อม ใจพร้อม การได้ใกล้ชิดกับพี่น้องชาวเนปาลคือสิ่งที่คุณแสวงหา คงไม่มีทางไหนดีกว่านี้
ถ้าตัดสินใจแล้วว่าจะลุย โปรดปรึกษาโรงแรมที่ท่านพัก ผมมั่นใจว่าเค้าชี้ทางให้คุณได้
[CR] Review: ลูกหมาตะลุยม่านหมอก กาฐมาณฑุในความทรงจำ
ไม่ว่าคุณจะได้อ่านเรื่องราวแย่ๆของเนปาลมาขนาดไหน แท็กซี่จะพาอ้อมโลกรึเปล่า? อยู่ๆจะมีใครโดดขึ้นมาขอทิปบนรถไหม? พนักงานโรงแรมหิวทิปทุกคนรึเปล่า? จะมีน้ำลายกระเด็นใส่หัวไหม?
แต่ถ้าคนธรรมดาๆ ออกจะปอดแหก เงอะๆงะๆ อย่างพวกเราไปได้ ทำไมคุณจะไปไม่ได้ โยนข้อมูลร้ายๆทิ้งไป แล้วทำวีซ่าพรุ่งนี้เลย!
7 พฤษภาคม 2558
พวกเราคงรู้แล้วว่าเกิดอะไรขึ้น...
การสร้างสิ่งก่อสร้างในดูบาร์สแควร์ รวมทั้งโบราญสถานอื่นๆขึ้นมาใหม่ คงทำได้ไม่ง่ายนัก - หรืออาจจะทำไม่ได้อีกแล้ว - ยิ่งมาเกิดกับประเทศยากจน ที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลักอย่างเนปาล นับว่าเป็นเรื่องเศร้ามากสำหรับผม และเชื่อว่าหลายๆคนที่เคยไปเยือนประเทศนี้ก็คงรู้สึกไม่ต่างกัน
ถึงตอนนี้รีวิวนี้อาจจะไม่มีประโยชน์ในแง่ของการนำเที่ยว - เสียดาย อุตสาห์เขียนตั้งยืดยาวนิ >_< - แต่หวังว่ามันจะช่วยให้ใครที่ยังกล้าๆกลัวๆ ตัดสินใจออกเดินทางได้ง่ายขึ้นครับ
---------- ระยะเวลา ----------
12 มกราคม - 19 มกราคม รวมๆแล้วก็ 8 วัน เดินทาง 2 วัน หมกตัวกับกลิ่นอายแขกและฝุ่นควัน 6 วัน
---------- เตรียมตัวก่อนไป ----------
• เตรียมใจ กาฐมาณฑุเป็นเมืองสุดแสนอีแหละเขะขะ ฝุ่นเพียบ รถเก่าๆ เบาะเขรอะๆ คนขับรถตามใจฉัน เสียงแตรทุกห้าวินาที คนน้ำลายตลอดเวลา ประตูห้องไม่มีลูกบิด และอะไรที่อยู่ในสภาพเก่าๆจะพังแหล่ไม่พังแหล่อีกสารพัด แต่เชื่อผม มันโคตรมีเสน่ห์เลย
• ถ้าคุณจะไปช่วงเดียวกับผม เตรียมเสื้อกันหนาวจัดเต็มไปด้วย ไม่เอาแบบพองๆฟรุ้งฟริ้ง เพราะนอกจากจะหนักแล้วยังกันอะไรไม่ได้ อุณหภูมิต่ำสุดอาจจะลงไปถึง 5 องศา ไม่ใช่เล่นๆนะคุณ
• ไฟดับ เนปาลใช้ไฟฟ้าพลังน้ำเป็นหลัก ในช่วงที่แล้งๆ ไฟฟ้าที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน เลยต้องมีการตัดไฟเป็นระยะ แต่โรงแรมและร้านอาหารส่วนใหญ่จะมีเครื่องปั่นไฟของตัวเอง ไม่น่ากลัว และแทบจะไม่กระทบกับการใช้ชีวิตเลย
• Temple ไม่ได้หน้าตาแบบวัดในบ้านเราเสมอไป ศาลเจ้าฮินดูเล็กๆ หรือสิ่งก่อสร้างที่สร้างถวายเทพเจ้า ก็เรียกว่าวัด เพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจถ้าคุณเห็นคำว่า Temple ในแผนที่ แต่กลายเป็นศาลเล็กจิ๋ว เตี้ยติดดิน
• การส่ายหัว อืม...คล้ายๆกับการเอียงคอไปมา แปลว่า “ใช่”
• หูทวนลม ไม่ว่าใครจะเรียก หน้าเดิน อย่าสนใจ แล้วจะไม่มีใครมายุ่งกับคุณ
• ขอวีซ่าที่สถานทูตเนปาล ง่ายมาก เตรียมเงินกับเอกสารไปให้พร้อมก็พอครับ ดูรายละเอียดที่นี่เลย http://www.nepalembassybangkok.com/
• เอารูปถ่ายที่เหลือจากตอนขอวีซ่าติดไปด้วย เอาไว้ใช้ทำบัตร multiple pass สำหรับกาฐมาณฑุ ดูบาร์สแควร์ (Kathmandu Durbar Square)
• ย่านที่เราจะไปพักชื่อว่าทาเมล (Thamel) เป็นศูนย์รวมนักท่องเที่ยว คล้ายๆถนนข้าวสาร ดึกๆก็จะมีฝรั่งออกมาแหกปากร้องเพลง หาอุปกรณ์ป้องกันเสียงไปด้วย ถ้าคุณหลับยาก
• จองโรงแรมจากเมืองไทยเลย ถ้าไม่จองไว้จะโดนแท็กซี่ ลากไปโรงแรมที่เค้าได้ส่วนแบ่ง… แต่ถ้าคุณอยากวัดดวงผมก็ไม่ห้ามนะครับ ^^
• กาฐมาณฑุเป็นเมืองที่ฝุ่นเยอะมากๆ ผมแนะนำให้ติดหน้ากากอนามัยไปด้วย ได้ใช้แน่ๆ ไปกี่วันก็เอาไปเท่านั้นเลยครับ
• ยาแก้โรคประจำตัว ยาแก้ท้องเสีย ผงเกลือแร่ ยาลดไข้ควรมีติดตัวไปบ้าง แต่ขาดเหลือยังไงซื้อที่โน้นก็ได้ครับ หาซื้อไม่ยาก คุณภาพใช้ได้ ราคาไม่แพง
• แลกเงินดอลล่าเตรียมไว้ เราจะเอาดอลล่าไปแลกเป็นรูปีที่เนปาลอีกที
• พิมพ์หลักฐานการจองโรงแรมติดตัวไปด้วย นอกจากจะเอาไว้โชว์กับเจ้าของโรงแรมแล้ว ถ้าคุณหลง - ซึ่งผมหลง - มันจะช่วยพาคุณไปถึงโรงแรมได้
---------- พักที่ไหน ----------
• ไปเนปาลงวดนี้ ผมจองโรงแรมไว้สามที่ คุณภาพดี สมราคา
o โรงแรมแรก Trekkers Home อยู่ใจกลางย่านทาเมลดังนั้นดึกๆจะอึกทึกครึกโครมหน่อย มีน้ำเปล่าให้เติมฟรี มีน้ำอุ่นให้ใช้ตลอด แต่บางครั้งน้ำจะ ออกมาแดงๆเหมือนน้ำคลอง ร้านอาหารที่ชั้นสองอร่อยดี แถมไม่แพง และพนักงานโคตรเป็นมิตร
o โรงแรมที่สอง Peacock Guesthouse ที่บักตะปูร์โรงแรมสวย ห้องกว้างใหญ่ มีข้าวเช้าให้กิน มีฮีทเตอร์ มีเครื่องทำน้ำอุ่นในห้องน้ำ แต่เป็นระบบแก๊ส ทำให้เหม็นแก๊ส ควบคุมอุณหภูมิยาก เจ้าของโรงแรมใจดีมากๆ ชอบมาเที่ยวเมืองไทย แล้วตระเวนกินในกรุงเทพ แต่ห้องที่นี่หนาวสุดๆ
o โรงแรมที่สาม Shree Tibet Family Guest House กลับมาในย่านทาเมลอีกครั้ง นอนโรงแรมนี้ อารมณ์คล้ายๆอยู่บ้านลุง นิ่งๆ ไม่มีใครมาวุ่นวาย ค่อนข้างสงบ ห้องอุ่นมาก มีทีวีให้ดูด้วย ไฟดับเป็นบางเวลา มีน้ำอุ่นบ้างไม่มีบ้าง แต่ราคาถูกที่สุดในสามที่
---------- ไปยังไง ----------
บินไปกับ Nepal Airline สายการบินที่ให้บรรยากาศของเนปาลอย่างเต็มเปี่ยม ไฟสีส้มสลัวๆ เบาะเก่าๆ ห้องน้ำเก่าๆ แต่อาหารอร่อย บินนิ่ม ลงจอดเนียน และที่สำคัญ ราคาประหยัด
Nepal Airlines บินเฉพาะวันจันทร์ และศุกร์เท่านั้น สนใจติดต่อ 02 266 7146-7
---------- เดินทางยังไง ----------
-- จากสนามบินไปโรงแรม --
ฉบับสั้น
ให้โรงแรมมารับ ตอนจองโรงแรม ส่วนใหญ่เค้าจะเขียนไว้ว่ามีบริการ pick up รึเปล่า บางเจ้าอาจจะฟรี แต่บางเจ้าก็ไม่ฟรี
ถ้าคุณไม่ให้โรงแรมมารับ เตรียมที่อยู่ของโรงแรมไว้ – ซึ่งจะอยู่ในใบจองโรงแรม – แล้วใช้บริการแท็กซี่ของสนามบินก็ได้ครับ ราคาสูงกว่าบริการของโรมแรมนิดเดียว
ฉบับยาว เพื่อศักดิ์ศรีของพี่น้องชาวเนปาล!!! เอ่อ...ไปเป็นพี่น้องกับเค้าตั้งแต่เมื่อไหร่...
อันที่จริงผมติดต่อให้ Trekker Home มารับ แต่โชคร้าย เครื่องบินดีเลย์ และการรอคอยกระเป๋าที่ยาวนาน รวมๆแล้วก็สายไปราวสองชั่วโมง
ผมกับอาเจ้จ้ำออกมานอกสนามบิน มองซ้ายมองขวา ไม่เจอคนขับรถจากโรงแรม ท่ามกลางไฟสลัวๆ และอากาศหนาวเหน็บ จังหวะนั้นเอง สายตาของแขกนับสิบคนก็จ้องมา
"แท็กซี่" "แท็กซี่" "ยู แท็กซี่?"
"หนีห่าว" "อา ยู เจแปนนีส?" "โคเรียน?" เมื่อเห็นผมไม่ตอบรับก็เริ่มเปลี่ยนกลยุทธ์
ผมเริ่มเข้าใจแมงเม่าแล้วว่าทำไมมันถึงชอบบินเข้าหาแสงไฟ เพราะท่ามกลางสถานการณ์แบบนี้ ผมก็เลือกติดต่อเค้าเตอร์แท็กซีที่ไฟสว่างที่สุดเหมือนกัน!
เค้าเตอร์นี้อยู่นอกตัวอาคาร มีคนนั่งอยู่สามสี่คน มีป้ายเขียนว่า "Prepaid Taxi" ติดอยู่
"ยูจะไปไหน" หนุ่มเนปาลผิวเข้มถามขึ้นน้ำเสียงเรียบๆ เมื่อเห็นผมเดินเข้าไป
"ผมจะไป Trekker Home" แล้วก็ควักใบจองโรงแรม ซึ่งเปล่งประกายเหมือนของวิเศษของโดราเอม่อน เพราะมันมีที่อยู่ของโรมแรม และผมรู้ว่ามันจะทำให้ผมถึงที่หมายโดยสวัสดิ์ภาพ
พี่แขกสามสี่คนเอาใบจองโรงแรมไปพลิกคว่ำพลิกหงาย คุยกันโขมงโฉงเฉง อึดใจนึงก็พูดขึ้นว่า
"เก้าดอลล่า"
ผมนับอย่างลนลาน ไม่รู้สติสตังหายไปไหน อาจจะเพราะแรงกดดันจากสายตาของแท็กซี่นับสิบข้างนอกนั่น
"โอเค เก้าดอลล่า" ผมทวนพร้อมกับยืนเงินไป
"โนๆๆๆ นี่มันแบ๊งค์ร้อยดอลล่า ไม่ใช่หนึ่งดอลล่า ผมว่าคุณสับสนแล้วหละ"
โอ้อออออออออออววววว นั่นมันตั้งสามพันเชียวนะคู๊ณ เกือบจะเป็นการนั่งแท็กซีที่แพงที่สุดในชีวิตไปซะแล้ว
โชคดีจริงๆที่พี่แขกเตือนไว้...
ถึงจุดนี้ ผมต้องขอโวยแทนพี่น้องเนปาลีหน่อยเถอะ เรามักจะพูดถึงความตุกติกของคนเนปาล หิวเงิน ตอดเล็กตอดน้อย ซึ่งมันทำให้เกิดบรรยากาศที่ไม่น่าไว้ใจขึ้นตั้งแต่ผมเหยียบเท้าลงบนประเทศนี้
ขอยืนยันเลยว่าคนดีๆเค้าก็มีนะครับ อย่าเหมา และตลอดการเดินทาง ผมเจอคนน่ารักๆเยอะมาก
สุดท้ายผมกับอาเจ้ก็ขึ้นไปนั่งบนแท็กซีโทรมๆคันหนึ่ง วิ่งปุเลงๆฝ่าความมืดเข้าไปในซอยแคบๆ ในที่สุดก็มาหยุดอยู่หน้าโรงแรม
ถึงแล้ว ทาเมลถนนข้าวสารแห่งเนปาล แต่ถาพตรงหน้านี่มัน...
-- การเดินทางในกาฐมาณฑุ --
ก่อนอื่น คุณต้องจำเส้นทางย่านทาเมลให้ได้ โดยเฉพาะจุดศูนย์กลางที่เรียกว่าทาเมลโช๊ค (Thamel Chowk) ขอแผนที่จากโรงแรม ถามเค้าซะหน่อยว่าทาเมลโช๊คไปทางไหน แล้วลุย
เมื่อคุ้นกับโซนนี้แล้ว คุณจะหาของกิน ช็อปปิ้ง รวมทั้งไปสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอย่าง Kathmandu Durbar Square ได้สบายๆ - และจะไม่หลงเหมือนผม
ระหว่างทางอาจจะเจอคนพยายามเรียกคุณด้วยสารพัดภาษา อย่าสนใจ เดินหน้าลูกเดียวครับ
ส่วนการเดินทางไปสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆเช่น สวยมภูวนาถ หรือ ปศุปตินาถ ไม่ต้องคิดมากครับ เรียกแท็กซี่เลย
-- การเดินทางออกนอกกาฐมาณฑุ --
วิธีแรก
ผมใช้บริการโรงแรมในทาเมลให้จัดทริปไป “นากาก็อต” และ “บักตะปูร์” (Nagarkot and Bhaktapur) ค้างที่บักตะปูร์หนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเค้าก็จะมารับกลับทาเมล สะดวกสบายระดับ VIP แต่น่าจะทำร้ายกระเป๋าตังค์มากกว่าที่ควร
วิธีที่สอง
ขึ้นแท็กซี่จากทาเมล > นากาก็อต > ให้เค้ารอบนนากาก็อต ตกลงเวลากันดีๆ > บักตะปูร์ > วันรุ่งขึ้น แท็กซี่กลับทาเมล
วิธีนี้น่าจะถูกกว่าแบบแรก แต่จะถูกกว่ากันเท่าไหร่ ผมบอกไม่ได้ ไม่มีประสบการณ์จ้า
วิธีที่สาม
Tourist Bus หรือ รถบัสสำหรับนักท่องเที่ยว ราคาถูกกว่าแท็กซี่ซักสิบเท่า ถ้ากายพร้อม ใจพร้อม การได้ใกล้ชิดกับพี่น้องชาวเนปาลคือสิ่งที่คุณแสวงหา คงไม่มีทางไหนดีกว่านี้
ถ้าตัดสินใจแล้วว่าจะลุย โปรดปรึกษาโรงแรมที่ท่านพัก ผมมั่นใจว่าเค้าชี้ทางให้คุณได้