พอดีได้อ่านจากเฟสบุ๊กเพจ "Chatchapol Book"
คุณหมอชัชพล (เจ้าของผลงานหนังสือ เรื่องเล่าจากร่างกาย)
ได้เขียนให้ความรู้เรื่องอันตรายในการขับขี่ไว้ได้ดี และเป็นประโยชน์มาก
เลยอยากแชร์ให้หลาย ๆ ท่านได้อ่านกันด้วย
จะได้ช่วยกันไม่ประมาท ตั้งแต่ตัวเรา เพื่อนเรา และคนรอบ ๆ ตัวเรากันนะคะ
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
Chatchapol Book
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอันตรายจากการดื่มเหล้าแล้วขับรถ
และอะไรที่อันตรายพอกันแต่คนส่วนใหญ่ก็ยังทำ
มีใครเคยดื่มจนเมาแล้วขับรถบ้างไหมครับ?
ผมเดาว่ามีไม่เยอะมาก แล้วก็คงไม่ทำกันบ่อยๆ
แล้วมีใครเคยดื่มแอลกอฮอล์
ไม่ถึงกับเมาแล้วขับรถบ้างไหมครับ?
ผมเดาว่ากรณีนี้น่าจะเยอะกว่า
ลองนึกภาพในชีวิตจริงดูนะครับ
นัดสังสรรค์กับเพื่อนๆ ดื่มเหล้า จิบไวน์กันนิดหน่อย
พอให้รู้สึกกึ่มๆ คุยกันสนุกสนาน
หลังกินข้าวนั่งเม้าท์กันต่อไปเรื่อยๆจนหายมึน หน้าหายแดง
จากนั้นก็แยกย้ายกันขับรถกลับบ้าน
ตอนล่ำลากัน ไม่มีใครเมา ทุกคนคุยรู้เรื่อง
ถ้าให้คิดเลขก็คิดได้ เดินได้ตรง ยืนขาเดียวได้
แน่นอนว่า ในสภาพนั้นทุกคนเชื่อว่าตัวเองขับรถได้ปกติ
สามารถที่จะกลับถึงบ้านได้อย่างปลอดภัย
และส่วนใหญ่ก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ
หลายสิบครั้ง หรือเป็นร้อยครั้ง คุณขับรถกลับบ้านได้สบายๆ
คุณจึงเชื่อว่า
ดื่มแอลกอฮอล์ 'ถ้าไม่เมา เท่ากับ ขับรถได้ปลอดภัย'
แต่นั่นเป็นความเชื่อที่ผิดครับ
ในชีวิตจริงคนที่เมาเละเทะ เดินเซ แล้วขับรถ
คงมีไม่เยอะหรอกครับ
ส่วนใหญ่ถ้ารู้ตัวว่าเมา ก็คงไม่ขับ หรือ
ถ้าเมามากเพื่อนๆก็คงไม่ปล่อยให้ขับรถกลับเอง
กรณีนี้มันชัดเจนว่าอันตรายมาก
ใครๆก็รู้ เราคงไม่ต้องพูดถึงกัน
แต่กรณีที่น่าสนใจกว่า คือดื่มนิดหน่อย ไม่ถึงกับเมา แล้วขับรถ
หรือดื่มจนเมา รอจนรู้สึกว่าสร่าง แล้วจึงขับรถ
ซึ่งเชื่อว่าบนท้องถนนแต่ละคืนน่าจะมี กรณีนี้มากกว่า เมาแล้วขับมาก
และเป็นกรณีนี้ ที่หลายครั้งนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ
คำถามคือ ถ้าไม่เมา แล้วทำไมจึงเกิดอุบัติเหตุ?
คำตอบคือ เพราะอุบัติเหตุไม่ได้เกิดจากการเมาครับ แต่
เกิดจากการตอบสนองของสมองที่ช้าลง
หรือพูดสั้นๆว่า สมองคิดได้ช้าลง
ส่วนใหญ่เวลาเราขับรถ มีไม่บ่อยหรอกครับ
ที่จะเกิดเรื่องน่าตื่นเต้นให้เราต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว
เช่น หักพวงมาลัยหลบทันที หรือเบรกกะทันหัน
แม้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นไม่บ่อย
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิดขึ้นเลย
เหตุการณ์คับขันเหล่านี้
เวลาในการตัดสินใจเพียงแค่เสี้ยววินาที
อาจนำมาซึ่งผลที่แตกต่างกันมาก
โดยสรุป จะเห็นว่าการอุบัติเหตุที่จาการดื่มแอลกอฮอล์
ไม่ได้เกิดจากการเมาแต่เพียงอย่างเดียว
แต่ในภาวะที่เราไม่รู้สึกว่าตัวเองเมา
ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุก็ยังมากขึ้น
ยิ่งบวกปัจจัยอื่นเข้าไปอีก เช่น
กลางคืนมองเห็นได้ไม่ไกลเท่ากลางวัน
คนอื่นก็ดื่มเหมือนกัน คิดช้าเหมือนกัน
ความเสี่ยงก็ยิ่งสูง
คราวนี้มาถึงอีกอย่างที่อันตรายพอกัน
จากที่เราเข้าใจตรงกันแล้วว่า
อุบัติเหตุไม่ได้เกิดจากอาการเมาแต่เพียงอย่างเดียว
แต่เกิดจากการที่สมองคิดช้า ตอบสนองช้า
เราจึงรู้ว่า ภาวะอดนอนและคุยโทรศัพท์ขณะขับรถ
อันตรายพอๆกับดื่มแล้วขับรถ
สำหรับการอดนอนไม่ต้องอธิบายมาก
เชื่อว่าใครๆก็รู้ว่าอดนอนแล้วคิดช้าลง ตอบสนองช้าลง
ถ้าใครชอบเล่นเกมที่ต้องอาศัยปฏิกิริยาตอบสนองเร็วๆ
อาจจะเคยสังเกตว่าตอนง่วงๆ หรือเล่นเกมดึกๆ
มักจะได้คะแนนน้อยกว่าตอนตื่นตัว
สำหรับการคุยโทรศัพท์ขณะขับรถ
หลายคนเข้าใจว่า อันตรายเกิดจากการขับมือเดียว
ไม่ใช่ครับ อันตรายจริงๆเกิดจากการ 'คุยขณะขับ'
การคุยโทรศัพท์ขณะขับ คนที่อยู่ปลายสาย ไม่ได้นั่งอยู่ในรถกับเรา
เขาและเราจึงมีแนวโน้มจะคุยโต้ตอบกันเหมือนขณะไม่ได้ขับรถ
ถ้าเป็นคนที่นั่งกับเราในรถ
เขาอาจจะไม่ถามคำถามขณะเรากำลังจะแซง หรือกำลังเข้าโค้ง
แต่คนในโทรศัพท์จะไม่เห็นสิ่งที่เราเห็น
ส่วนเราเองก็จะเผลอตัว พยายามคิด พูดคุย
ตอบโต้ตามความคาดหวังของคนในโทรศัพท์
สมองของมนุษย์ไม่เหมือนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
คือ สมองมนุษย์ multitask ไม่ได้
เวลาเราต้องสนใจสองเรื่องพร้อมกัน
สมองเราจะต้องสลับความสนใจไปมาอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นเมื่อเราคุยโทรศัพท์ไปด้วย ขับรถไปด้วย
การคิด การตอบสนองในการขับรถจะช้าลง
เสี้ยวเวลาที่ช้าลงไปนี้ อาจหมายถึงชีวิตของเราและคนอื่น
อะแฮ่ม อะแฮ่ม โหล โหล ..... ประโยคสำคัญอยู่ตรงนี้ครับ....
การใช้สมอลล์ทอล์ก หรือแฮนด์ส์ฟรี ไม่ได้ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ
เพราะอุบัติเหตุไม่ได้เกิดจาการขับรถมือเดียว
แต่เกิดจากการพูดคุย
มีงานวิจัยด้วยซ้ำว่า
การใช้สมอลล์ทอล์ก เพิ่มความเสี่ยงของอุบัติเหตุ
เพราะ มันทำให้เข้าใจผิดว่าปลอดภัย
คนจึงมีแนวโน้มจะคุยมากขึ้น นานขึ้น ระวังน้อยลง
ขอสรุปของสรุปอีกครั้งนะครับ
จะเห็นว่าการ 'เมาไม่ขับ' อาจจะช้าเกินไป
เพราะประสิทธิภาพในการขับหายไปเยอะแล้วกว่าจะถึง 'จุดเมา'
การดื่มแล้วขับ คุยขณะขับ อดนอนแล้วขับ
ทำให้การตอบสนองขณะขับของเรา
หายไปหลายเสี้ยววินาที
เราไม่รู้หรอกครับว่าวันไหน คืนไหนที่
"เสี้ยววินาที" ซึ่งหายไปนี้
จะเปลี่ยนชีวิตที่เหลือของเราไปทั้งชีวิต
คัดจาก:
https://www.facebook.com/ChatchapolBook/posts/1109552742395403
ดื่มแล้วไม่เมา เท่ากับ ขับรถได้ปลอดภัย – เป็นความเชื่อที่ผิด!
คุณหมอชัชพล (เจ้าของผลงานหนังสือ เรื่องเล่าจากร่างกาย)
ได้เขียนให้ความรู้เรื่องอันตรายในการขับขี่ไว้ได้ดี และเป็นประโยชน์มาก
เลยอยากแชร์ให้หลาย ๆ ท่านได้อ่านกันด้วย
จะได้ช่วยกันไม่ประมาท ตั้งแต่ตัวเรา เพื่อนเรา และคนรอบ ๆ ตัวเรากันนะคะ
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
Chatchapol Book
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอันตรายจากการดื่มเหล้าแล้วขับรถ
และอะไรที่อันตรายพอกันแต่คนส่วนใหญ่ก็ยังทำ
มีใครเคยดื่มจนเมาแล้วขับรถบ้างไหมครับ?
ผมเดาว่ามีไม่เยอะมาก แล้วก็คงไม่ทำกันบ่อยๆ
แล้วมีใครเคยดื่มแอลกอฮอล์
ไม่ถึงกับเมาแล้วขับรถบ้างไหมครับ?
ผมเดาว่ากรณีนี้น่าจะเยอะกว่า
ลองนึกภาพในชีวิตจริงดูนะครับ
นัดสังสรรค์กับเพื่อนๆ ดื่มเหล้า จิบไวน์กันนิดหน่อย
พอให้รู้สึกกึ่มๆ คุยกันสนุกสนาน
หลังกินข้าวนั่งเม้าท์กันต่อไปเรื่อยๆจนหายมึน หน้าหายแดง
จากนั้นก็แยกย้ายกันขับรถกลับบ้าน
ตอนล่ำลากัน ไม่มีใครเมา ทุกคนคุยรู้เรื่อง
ถ้าให้คิดเลขก็คิดได้ เดินได้ตรง ยืนขาเดียวได้
แน่นอนว่า ในสภาพนั้นทุกคนเชื่อว่าตัวเองขับรถได้ปกติ
สามารถที่จะกลับถึงบ้านได้อย่างปลอดภัย
และส่วนใหญ่ก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ
หลายสิบครั้ง หรือเป็นร้อยครั้ง คุณขับรถกลับบ้านได้สบายๆ
คุณจึงเชื่อว่า
ดื่มแอลกอฮอล์ 'ถ้าไม่เมา เท่ากับ ขับรถได้ปลอดภัย'
แต่นั่นเป็นความเชื่อที่ผิดครับ
ในชีวิตจริงคนที่เมาเละเทะ เดินเซ แล้วขับรถ
คงมีไม่เยอะหรอกครับ
ส่วนใหญ่ถ้ารู้ตัวว่าเมา ก็คงไม่ขับ หรือ
ถ้าเมามากเพื่อนๆก็คงไม่ปล่อยให้ขับรถกลับเอง
กรณีนี้มันชัดเจนว่าอันตรายมาก
ใครๆก็รู้ เราคงไม่ต้องพูดถึงกัน
แต่กรณีที่น่าสนใจกว่า คือดื่มนิดหน่อย ไม่ถึงกับเมา แล้วขับรถ
หรือดื่มจนเมา รอจนรู้สึกว่าสร่าง แล้วจึงขับรถ
ซึ่งเชื่อว่าบนท้องถนนแต่ละคืนน่าจะมี กรณีนี้มากกว่า เมาแล้วขับมาก
และเป็นกรณีนี้ ที่หลายครั้งนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ
คำถามคือ ถ้าไม่เมา แล้วทำไมจึงเกิดอุบัติเหตุ?
คำตอบคือ เพราะอุบัติเหตุไม่ได้เกิดจากการเมาครับ แต่
เกิดจากการตอบสนองของสมองที่ช้าลง
หรือพูดสั้นๆว่า สมองคิดได้ช้าลง
ส่วนใหญ่เวลาเราขับรถ มีไม่บ่อยหรอกครับ
ที่จะเกิดเรื่องน่าตื่นเต้นให้เราต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว
เช่น หักพวงมาลัยหลบทันที หรือเบรกกะทันหัน
แม้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นไม่บ่อย
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิดขึ้นเลย
เหตุการณ์คับขันเหล่านี้
เวลาในการตัดสินใจเพียงแค่เสี้ยววินาที
อาจนำมาซึ่งผลที่แตกต่างกันมาก
โดยสรุป จะเห็นว่าการอุบัติเหตุที่จาการดื่มแอลกอฮอล์
ไม่ได้เกิดจากการเมาแต่เพียงอย่างเดียว
แต่ในภาวะที่เราไม่รู้สึกว่าตัวเองเมา
ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุก็ยังมากขึ้น
ยิ่งบวกปัจจัยอื่นเข้าไปอีก เช่น
กลางคืนมองเห็นได้ไม่ไกลเท่ากลางวัน
คนอื่นก็ดื่มเหมือนกัน คิดช้าเหมือนกัน
ความเสี่ยงก็ยิ่งสูง
คราวนี้มาถึงอีกอย่างที่อันตรายพอกัน
จากที่เราเข้าใจตรงกันแล้วว่า
อุบัติเหตุไม่ได้เกิดจากอาการเมาแต่เพียงอย่างเดียว
แต่เกิดจากการที่สมองคิดช้า ตอบสนองช้า
เราจึงรู้ว่า ภาวะอดนอนและคุยโทรศัพท์ขณะขับรถ
อันตรายพอๆกับดื่มแล้วขับรถ
สำหรับการอดนอนไม่ต้องอธิบายมาก
เชื่อว่าใครๆก็รู้ว่าอดนอนแล้วคิดช้าลง ตอบสนองช้าลง
ถ้าใครชอบเล่นเกมที่ต้องอาศัยปฏิกิริยาตอบสนองเร็วๆ
อาจจะเคยสังเกตว่าตอนง่วงๆ หรือเล่นเกมดึกๆ
มักจะได้คะแนนน้อยกว่าตอนตื่นตัว
สำหรับการคุยโทรศัพท์ขณะขับรถ
หลายคนเข้าใจว่า อันตรายเกิดจากการขับมือเดียว
ไม่ใช่ครับ อันตรายจริงๆเกิดจากการ 'คุยขณะขับ'
การคุยโทรศัพท์ขณะขับ คนที่อยู่ปลายสาย ไม่ได้นั่งอยู่ในรถกับเรา
เขาและเราจึงมีแนวโน้มจะคุยโต้ตอบกันเหมือนขณะไม่ได้ขับรถ
ถ้าเป็นคนที่นั่งกับเราในรถ
เขาอาจจะไม่ถามคำถามขณะเรากำลังจะแซง หรือกำลังเข้าโค้ง
แต่คนในโทรศัพท์จะไม่เห็นสิ่งที่เราเห็น
ส่วนเราเองก็จะเผลอตัว พยายามคิด พูดคุย
ตอบโต้ตามความคาดหวังของคนในโทรศัพท์
สมองของมนุษย์ไม่เหมือนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
คือ สมองมนุษย์ multitask ไม่ได้
เวลาเราต้องสนใจสองเรื่องพร้อมกัน
สมองเราจะต้องสลับความสนใจไปมาอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นเมื่อเราคุยโทรศัพท์ไปด้วย ขับรถไปด้วย
การคิด การตอบสนองในการขับรถจะช้าลง
เสี้ยวเวลาที่ช้าลงไปนี้ อาจหมายถึงชีวิตของเราและคนอื่น
อะแฮ่ม อะแฮ่ม โหล โหล ..... ประโยคสำคัญอยู่ตรงนี้ครับ....
การใช้สมอลล์ทอล์ก หรือแฮนด์ส์ฟรี ไม่ได้ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ
เพราะอุบัติเหตุไม่ได้เกิดจาการขับรถมือเดียว
แต่เกิดจากการพูดคุย
มีงานวิจัยด้วยซ้ำว่า
การใช้สมอลล์ทอล์ก เพิ่มความเสี่ยงของอุบัติเหตุ
เพราะ มันทำให้เข้าใจผิดว่าปลอดภัย
คนจึงมีแนวโน้มจะคุยมากขึ้น นานขึ้น ระวังน้อยลง
ขอสรุปของสรุปอีกครั้งนะครับ
จะเห็นว่าการ 'เมาไม่ขับ' อาจจะช้าเกินไป
เพราะประสิทธิภาพในการขับหายไปเยอะแล้วกว่าจะถึง 'จุดเมา'
การดื่มแล้วขับ คุยขณะขับ อดนอนแล้วขับ
ทำให้การตอบสนองขณะขับของเรา
หายไปหลายเสี้ยววินาที
เราไม่รู้หรอกครับว่าวันไหน คืนไหนที่
"เสี้ยววินาที" ซึ่งหายไปนี้
จะเปลี่ยนชีวิตที่เหลือของเราไปทั้งชีวิต
คัดจาก: https://www.facebook.com/ChatchapolBook/posts/1109552742395403